ไม่ฟื้นจริง! หุ้นไทยร่วงหนัก 32 จุด พอร์ตโบรกฯเทขาย 2.5 พันล้าน ต่างชาติซ้ำอีก 2 พันล้าน โดยรวมแค่ 3 วันทำการของมิถุนายน ต่างชาติขายไปแล้ว 1.2 หมื่นล้าน โบรกฯเตือนนักลงทุนอย่างประมาท แรงขายอาจต่อเนื่องจนถึงจันทร์หน้า (10มิ.ย.) แม้อาจรีบาวด์บ้างเล็กน้อยวันนี้ “โกลเบล็ก”ย้ำยังไร้ปัจจัยบวก ด้าน “ทิสโก้”คาดลงยาวถึงก.ค.
ความเคลื่อนไหว ดัชนีตลาดหุ้นไทย วานนี้(05 มิ.ย.) ตั้แต่เปิดตลาด ดัชนีปรับตัวลดลงแรงอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน โดยมีแรงขายในกลุ่มสื่อสารและธนาคารเข้ามาจำนวนมาก ทั้งนี้ดัชนีปิดที่ระดับ 1,522.66 จุด ลดลง32.95 จุด หรือ 2% มูลค่าการซื้อขาย 50,717.88 ล้านบาท โดยปรับตัวสูงสุดระหว่างวันอยู่ที่ 1,549.38 จุด ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบหลักยังมาจากความกังวลของนักลงทุนต่อมาตการQE3ของสหรัฐฯและการอ่อนค่าของเงินบาท
ขณะที่ ความเคลื่อนของตลาดหุ้นอื่นๆ ในเอเชีย ดัชนี Nikkei ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดลบที่ 518.89 จุด หรือ 3.99% และดัชนีHang Seng ของฮ่องกงนั้น ปิดลบที่ 216.28 หรือ 0.98%
สำหรับการซื้อขายแยกตามกลุ่มนักลงทุนพบว่า บัญชีบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ขายสุทธิ 2,545.29 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิ 2,114.27 ล้านบาท
โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ซื้อสุทธิ 3,158.26 ล้านบาท และสถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 1,501.30 ล้านบาท แต่เพียง 3 วันทำการของเดือนมิถุนายน นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิออกไปแล้ว 12,620.34 ล้านบาท
นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัยหลักทรัพย์ บล. เมย์แบงก์ กิมเอ็ง หรือ MBKET กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในระยะนี้ยังอยู่ในช่วงขาลงจากแรงเทขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าน่าจะมีแรงเทขายยาวไปจนถึงวันจันทร์หน้า ซึ่งต้องดูยอดสรุปตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯอีกครั้งในวันศุกร์นี้ ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่ามาตรการ QE และตัวเลขการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ ตลอดถึงการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะลดวงเงินการซื้อพันธบัตรลง จะมีผลกระทบกับตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงภูมิภาคเอเซียด้วย
อย่างไรก็ดีบรรยากาศโดยรวมของการลงทุนตลาดหุ้นไทยในระยะนี้ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลงมากเท่าใด โดยหุ้นกลุ่มที่ยังน่าจับตาและยังน่าลงทุนระยะยาว ได้แก่หุ้นกลุ่มธนาคาร เพราะราคาถือลดลงมาในระดับที่ถือว่าถูก ในแง่ของมูลค่าหุ้น โดยให้แนวรับสำคัญอยู่ 1,520 จุด แนวต้านจะอยู่ที่ 1,550 จุด และแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,500 จุด
นักวิเคราะห์อีกรายให้ความเห็นว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรง ตามตลาดหุ้นในต่างประเทศ ปัจจัยหลักที่กดดันคือความกังวลมาตรการ QE ที่ทางเฟดอาจจะลดระดับเม็ดเงินลง หรืออาจจะยุติเร็วกว่ากำหนด ทำให้ทิศทางวันนี้(6มิ.ย.) ดัชนียังมีโอกาสแกว่งตัวผันผวนเพื่อรอความชัดเจนจากฝั่งสหรัฐฯต่อไป โดยให้กรอบแนวรับ 1,530 จุด แนวต้าน 1,555-1,560 จุด
** 'โกลเบล็ก'มองตลาดหุ้นยังขาลงไร้ปัจจัยหนุน
นายธวัชชัย อัศวพรชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าเป็นการทำกำไรในระยะสั้น สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนมิถุนายนมองว่า ดัชนีตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คือ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่จะประกาศออกมาในช่วงก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(FED) ขณะที่ แนวโน้มการลงทุนของนักลงทุนในประเทศส่วนใหญ่ ยังคงชะลอการลงทุน เพื่อรอดูการประกาศผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ในไตรมาส2/2556 ว่าจะออกมาในเชิงบวกตามที่เคยมีการคาดการณ์ของกลุ่มนักวิคราะห์ประมาณการณ์ไว้หรือไม่
ส่วน FED หากมีชะลอการใช้มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกต่างชะลอตัวและปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามหากมีความชัดเจนจาก FED แล้วอาจทำให้นักลงทุนกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยในอีกครั้ง หรือมีการรีบาวด์ในช่วงปลายเดือนกลับขึ้นไป ทำให้ยังคงแนะนำให้นักลงทุนหาโอกาสในการทยอยขายทำกำไร พร้อมติดตามสถานการณ์ในประเทศ ซึ่งมองว่าขณะนี้ไม่มีปจจัยบวกมาสนับสนุน โดยให้กรอบสัญญาณทางเทคนิคแนวต้าน 1,650 จุด ส่วนรับให้ได้ที่ระดับ 1,540 ,1,515,1,500 จุดตามลำดับ
**บล.ทิสโก้คาดหุ้นร่วงยาวถึงก.ค.
นายวิวัฒน์ เตชะพูลผล หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุนและผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดลูกค้าส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวลดลงในช่วง มิ.ย.นี้ และจะเริ่มแกว่งตัวในช่วงเดือน ก.ค. เพราะตามสัญญาณทางเทคนิคมองว่ายังติดแนวรับบริเวณ 1,500 จุด ซึ่งการปรับลดลงในรอบนี้จะสิ้นสุดในช่วงปลายเดือน ก.ค. ก่อนจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยเป้าหมายทั้งปีนี้ยังมีโอกาสเห็นแนวต้านที่ 1,750 จุด ดังนั้นในช่วงที่ดัชนีปรับตัวลดลงถึงแนวรับดังกล่าวแนะนำสามารถเข้าซื้อ
ขณะเดียวกัน ในช่วงเดือน ส.ค.นักลงทุนต้องจับตาประเด็นการเมืองภายในประเทศประกอบการลงทุนอีกครั้ง โดยเฉพาะช่วงเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ และต้องติดตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อาจมีโทษสูงสุดนำไปสู่การยุบพรรค และการไต่สวนกรณีโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ของศาลปกครอง หากถูกล้มเชื่อว่าจะกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการบริหารประเทศของรัฐบาล
ความเคลื่อนไหว ดัชนีตลาดหุ้นไทย วานนี้(05 มิ.ย.) ตั้แต่เปิดตลาด ดัชนีปรับตัวลดลงแรงอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน โดยมีแรงขายในกลุ่มสื่อสารและธนาคารเข้ามาจำนวนมาก ทั้งนี้ดัชนีปิดที่ระดับ 1,522.66 จุด ลดลง32.95 จุด หรือ 2% มูลค่าการซื้อขาย 50,717.88 ล้านบาท โดยปรับตัวสูงสุดระหว่างวันอยู่ที่ 1,549.38 จุด ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบหลักยังมาจากความกังวลของนักลงทุนต่อมาตการQE3ของสหรัฐฯและการอ่อนค่าของเงินบาท
ขณะที่ ความเคลื่อนของตลาดหุ้นอื่นๆ ในเอเชีย ดัชนี Nikkei ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดลบที่ 518.89 จุด หรือ 3.99% และดัชนีHang Seng ของฮ่องกงนั้น ปิดลบที่ 216.28 หรือ 0.98%
สำหรับการซื้อขายแยกตามกลุ่มนักลงทุนพบว่า บัญชีบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ขายสุทธิ 2,545.29 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิ 2,114.27 ล้านบาท
โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ซื้อสุทธิ 3,158.26 ล้านบาท และสถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 1,501.30 ล้านบาท แต่เพียง 3 วันทำการของเดือนมิถุนายน นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิออกไปแล้ว 12,620.34 ล้านบาท
นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัยหลักทรัพย์ บล. เมย์แบงก์ กิมเอ็ง หรือ MBKET กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในระยะนี้ยังอยู่ในช่วงขาลงจากแรงเทขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าน่าจะมีแรงเทขายยาวไปจนถึงวันจันทร์หน้า ซึ่งต้องดูยอดสรุปตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯอีกครั้งในวันศุกร์นี้ ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่ามาตรการ QE และตัวเลขการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ ตลอดถึงการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะลดวงเงินการซื้อพันธบัตรลง จะมีผลกระทบกับตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงภูมิภาคเอเซียด้วย
อย่างไรก็ดีบรรยากาศโดยรวมของการลงทุนตลาดหุ้นไทยในระยะนี้ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลงมากเท่าใด โดยหุ้นกลุ่มที่ยังน่าจับตาและยังน่าลงทุนระยะยาว ได้แก่หุ้นกลุ่มธนาคาร เพราะราคาถือลดลงมาในระดับที่ถือว่าถูก ในแง่ของมูลค่าหุ้น โดยให้แนวรับสำคัญอยู่ 1,520 จุด แนวต้านจะอยู่ที่ 1,550 จุด และแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,500 จุด
นักวิเคราะห์อีกรายให้ความเห็นว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรง ตามตลาดหุ้นในต่างประเทศ ปัจจัยหลักที่กดดันคือความกังวลมาตรการ QE ที่ทางเฟดอาจจะลดระดับเม็ดเงินลง หรืออาจจะยุติเร็วกว่ากำหนด ทำให้ทิศทางวันนี้(6มิ.ย.) ดัชนียังมีโอกาสแกว่งตัวผันผวนเพื่อรอความชัดเจนจากฝั่งสหรัฐฯต่อไป โดยให้กรอบแนวรับ 1,530 จุด แนวต้าน 1,555-1,560 จุด
** 'โกลเบล็ก'มองตลาดหุ้นยังขาลงไร้ปัจจัยหนุน
นายธวัชชัย อัศวพรชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าเป็นการทำกำไรในระยะสั้น สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนมิถุนายนมองว่า ดัชนีตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คือ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่จะประกาศออกมาในช่วงก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(FED) ขณะที่ แนวโน้มการลงทุนของนักลงทุนในประเทศส่วนใหญ่ ยังคงชะลอการลงทุน เพื่อรอดูการประกาศผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ในไตรมาส2/2556 ว่าจะออกมาในเชิงบวกตามที่เคยมีการคาดการณ์ของกลุ่มนักวิคราะห์ประมาณการณ์ไว้หรือไม่
ส่วน FED หากมีชะลอการใช้มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกต่างชะลอตัวและปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามหากมีความชัดเจนจาก FED แล้วอาจทำให้นักลงทุนกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยในอีกครั้ง หรือมีการรีบาวด์ในช่วงปลายเดือนกลับขึ้นไป ทำให้ยังคงแนะนำให้นักลงทุนหาโอกาสในการทยอยขายทำกำไร พร้อมติดตามสถานการณ์ในประเทศ ซึ่งมองว่าขณะนี้ไม่มีปจจัยบวกมาสนับสนุน โดยให้กรอบสัญญาณทางเทคนิคแนวต้าน 1,650 จุด ส่วนรับให้ได้ที่ระดับ 1,540 ,1,515,1,500 จุดตามลำดับ
**บล.ทิสโก้คาดหุ้นร่วงยาวถึงก.ค.
นายวิวัฒน์ เตชะพูลผล หัวหน้ากลยุทธ์การลงทุนและผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดลูกค้าส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวลดลงในช่วง มิ.ย.นี้ และจะเริ่มแกว่งตัวในช่วงเดือน ก.ค. เพราะตามสัญญาณทางเทคนิคมองว่ายังติดแนวรับบริเวณ 1,500 จุด ซึ่งการปรับลดลงในรอบนี้จะสิ้นสุดในช่วงปลายเดือน ก.ค. ก่อนจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยเป้าหมายทั้งปีนี้ยังมีโอกาสเห็นแนวต้านที่ 1,750 จุด ดังนั้นในช่วงที่ดัชนีปรับตัวลดลงถึงแนวรับดังกล่าวแนะนำสามารถเข้าซื้อ
ขณะเดียวกัน ในช่วงเดือน ส.ค.นักลงทุนต้องจับตาประเด็นการเมืองภายในประเทศประกอบการลงทุนอีกครั้ง โดยเฉพาะช่วงเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ และต้องติดตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อาจมีโทษสูงสุดนำไปสู่การยุบพรรค และการไต่สวนกรณีโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ของศาลปกครอง หากถูกล้มเชื่อว่าจะกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการบริหารประเทศของรัฐบาล