นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดประชุมผู้นำด้านน้ำเอเชีย – แปซิฟิก ที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เราควรจะฉกฉวยผลประโยชน์มากกว่านี้ ซึ่งก็รู้สึกผิดหวังกับงานประชาสัมพันธ์ที่ยังขาดข้อมูล ส่วนการให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนก็ทำไม่เต็มที่ เพราะการประชุมครั้งนี้เป็นเรื่องของเทคนิค และผู้จัดไม่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ จึงไม่รู้ว่าจะดึงอะไรออกมา
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าการจัดประชุมครั้งนี้ยังมีข้อบกพร่องนั้น ก็ยอมรับ แต่ที่ระบุว่าไปจ้างบริษัทออร์แกไนซ์จัดด้านวิชาการนั้น ไม่ใช่ เพราะมีการแบ่งเป็น 43 หัวข้อ แต่ละหัวข้อจะมีเจ้าภาพ ซึ่งไม่มีเอกชนเลย เป็นเรื่ององค์กรระหว่างประเทศทั้งหมด เช่น FAO และ UNESCO เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเทคนิคทั้งหมด ฉะนั้นคนที่มารับผิดชอบแต่ละหัวข้อ จะเป็นนักวิชาการระดับโลกทั้งสิ้น
“ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการเชื่อมต่อด้านข้อมูลข่าวสาร เพราะคนที่มาประชุมเป็นระดับสูง และไม่มีคนประสานงาน ปกติการประชุมระดับโลกที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นฝ่ายประสานและประชาสัมพันธ์ แต่ครั้งนี้เป็นเรื่องทางด้านเทคนิค จึงอาจจะทำไม่ได้เพราะเข้าไม่ถึงข้อมูล”นายปลอดประสพ ให้เหตุผล
อีกส่วนหนึ่งคือ เรื่องที่นักวิชาการของเราที่เข้าไปแต่ละหัวข้อ ยังสู้เขาไม่ได้ และนักวิชาการไทยที่เป็นข้าราชการที่จะมาจากกรมน้ำ ความเชี่ยวชาญยังไม่ถึง ซึ่งก็คงต้องปรับปรุงกัน เพราะความรอบรู้เรื่องน้ำของเรา ยังด้อยกว่าต่างประเทศ
“ชี้ให้เห็นว่า เราต้องปรับปรุงตัวเอง ความรู้ทางวิชาการของเรายังห่างไกลกับเขาเหลือเกิน เวลาเข้าที่ประชุม อย่างเรื่องภาษาของเราก็มีปัญหา ไม่สามารถไปถกแถลงในที่ประชุมได้ ไม่สามารถที่จะหยิบยกประเด็นในประเทศไปถกเถียงได้ ประเด็นของเราก็เลยไม่ออกมา” นายปลอดประสพ กล่าว
ประธาน กบอ. ยังได้กล่าวถึงการประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลว่า ยืนยันว่า จะไม่มีการวิ่งเต้นเพื่อให้ชนะการประมูล และการประมูลตนไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงได้
ส่วนการดำเนินการขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการดูรายละเอียดเนื้อหาของแต่ละบริษัทที่เสนอมา โดยมีเจ้าหน้าที่กว่า 40 คน อ่านรายละเอียด 16 ชั่วโมงต่อวัน และเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว จะส่งรายละเอียดไปยัง นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย เพื่อพิจารณาและให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้ หากบริษัทไหนได้คะแนนเกิน 80 จะผ่านการประมูลด้านเทคนิค ถ้าไม่เกิน 80 คะแนนจะตก
“ถ้าใครได้เกิน 80 คะแนนและได้ที่หนึ่งก็มาเจรจา เพื่อเปิดซองราคา ว่าอันนี้แพงไป เทคนิคอย่างนี้ไม่ได้ ต้องว่าไป ถ้าเจรจากันได้ก็ได้ไป แต่หากไม่ได้ก็เอาบริษัทที่อยู่ในลิสต์ขึ้นมา” นายปลอดประสพ อธิบาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากบริษัทที่จะดึงขึ้นมาในลำดับถัดไปในโมดูลเดียวกันได้ไม่ถึง 80 คะแนน จะทำอย่างไร ประธาน กบอ. กล่าวว่า ก็จะตกไปเลย ต้องเริ่มใหม่ ส่วนที่ในโมดูลมีเพียง 2 บริษัท แล้วบริษัทแรกได้เกิน 80 แต่เจรจาเรื่องราคาไม่ได้ และบริษัทรองลงมาได้ไม่เกิน 80 คะแนนอีก ก็จะไม่ดึงใครขึ้นมา จะเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ การจะเริ่มต้นใหม่จะใช้แบบไหนนั้นมีหลายอย่าง อาทิ ให้กรมชลประทานไปออกแบบ หรืออาจจะจ้างบริษัทที่ปรึกษาไปออกแบบให้เสร็จ แต่ยืนยันว่าจะไม่ทำด้วยวิธีพิเศษแน่นอน เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งอนุกรรมการรอไว้แล้ว พวกตนจะไม่ทำแบบนั้นเด็ดขาด
สำหรับความคืบหน้าการใช้งบประมาณตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5แสนล้านบาท ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ต้องกู้เงินให้ทันกำหนดก่อน 30 มิ.ย. นั้น นายปลอดประสพ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้มีอายุอีก 5 ปี ยังไม่หมดอายุตามที่เข้าใจ โดยขณะนี้ได้ใช้ไปแล้ว 5 หมื่นกว่าล้านบาท ในส่วนของกระทรวงคมนาคมใช้เป็นหลัก และในการประชุม กบอ.วันนี้ จะมีการอนุมัติให้กับกรมป่าไม้ในการดำเนินโครงการปลูกป่า ดังนั้นเงินส่วนนี้ไม่มีปัญหา เพราะได้ใช้ไปแล้วและมีเวลาใช้อีก 5 ปีนับจากนี้ และไม่มีการกู้ยืมเงินมากองไว้ให้เสียดอกเบี้ย จะอนุมัติเท่าที่ต้องใช้ โดยยืนยันว่าไม่มีการเอาเงินไปกองไว้ที่ไหน
ส่วนการเข้าพบเพื่อหารือกับนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ระหว่างเดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำทางด้านน้ำที่ จ.เชียงใหม่นั้น ประธาน กบอ.กล่าวว่า ไม่ได้มีการหารือในเรื่องการประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำ แต่เป็นการหารือการบริหารจัดการน้ำในภาคตะวันออก ตนขอให้เกาหลีใต้ส่งทีมมาศึกษา โดยที่ประเทศไทยไม่มีค่าใช้จ่ายให้ ทั้งค่าจ้างและค่าพัฒนา ว่าจะทำอย่างไรให้เขื่อนฝั่ง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ที่สร้างมากว่า 3,000 ล้านบาทใช้ได้ เป็นการขอให้เขามาศึกษาวิชาการภาคตะวันออกไม่เกี่ยวกับงบ 3.5 แสนล้านบาทอย่างที่เข้าใจกัน
** หวั่นรัฐบาลละเลงเงินกู้3.5แสนล้าน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการบริหารจัดการโครงการภายใต้เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าว ทำท่าว่าจะเป็นอนุสรณ์แห่งการทุจริต และความล้มเหลวในการใช้เงินกู้ครั้งใหญ่ของประเทศ เพราะการบริหารจัดการแบบจับต้นชนปลายไม่ถูก บริหารแบบไม่มีทิศทาง ไม่มีหลักการที่ชัดเจน กำลังจะทำให้ประเทศเสียเงิน 3.5 แสนล้านบาทไปโดยที่ไม่ได้อะไรเลย
ทั้งนี้ ขอตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้เงิน 3.5 แสนล้านบาท 5 ประการคือ
1. ผู้ที่อยู่ในบริษัทที่เกี่ยวกับการประมูล ก็ออกมาเปิดเผยว่าการกำหนดงบในแต่ละแผนงานไม่สอดคล้องกับเนื้องาน เพราะบางโครงการจำนวนงบประมาณไม่สอดคล้องกับการทำโครงการจริง จึงอาจทำให้โครงการเดินหน้าต่อไม่ได้
2.โครงการดังกล่าวขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข้อเท็จจริงได้ว่าการทำโครงการในแต่ละพื้นที่จะมีการสร้างผลกระทบแต่ละชุมชนอย่างไร จึงมีข่าวว่าประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับบริษัทที่เข้าไปสำรวจพื้นที่ ซึ่งตนเชื่อว่าจะเป็นปัญหาในภายหลัง
3. มีหลายบริษัทระบุว่าปัญหาโครงการคือการเวนคืนที่ดิน ซึ่งรัฐบาลมอบภาระให้บริษัทที่ชนะการประมูล แต่ก็ไม่มีข้อมูลทีแน่ชัดว่าพื้นที่บริเวณใดจะดำเนินการจริง จึงทำให้บริษัทเหล่านั้นไม่สามารถประเมินราคาเวนคืนให้สอดคล้องกับงบประมาณได้
4. มีปัญหาการซื้อที่ และสร้างสิ่งปลูกสร้าง เพื่อรอเก็งกำไรจากการเวนคืน
5.ขอตั้งข้อสังเกตว่าขณะนี้ดูเหมือนบางบริษัทจะรู้ตัวล่วงหน้าว่าจะชนะการประมูล จึงมีการลงสำรวจพื้นที่เสมือนรู้ว่าตัวเองได้งานในพื้นที่ใด จึงตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างบริษัทที่เข้าประมูล และผู้มีอำนาจรัฐในการกำหนดตัวผู้ที่จะได้รับการประมูลแล้ว ใช่หรือไม่
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าการจัดประชุมครั้งนี้ยังมีข้อบกพร่องนั้น ก็ยอมรับ แต่ที่ระบุว่าไปจ้างบริษัทออร์แกไนซ์จัดด้านวิชาการนั้น ไม่ใช่ เพราะมีการแบ่งเป็น 43 หัวข้อ แต่ละหัวข้อจะมีเจ้าภาพ ซึ่งไม่มีเอกชนเลย เป็นเรื่ององค์กรระหว่างประเทศทั้งหมด เช่น FAO และ UNESCO เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเทคนิคทั้งหมด ฉะนั้นคนที่มารับผิดชอบแต่ละหัวข้อ จะเป็นนักวิชาการระดับโลกทั้งสิ้น
“ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการเชื่อมต่อด้านข้อมูลข่าวสาร เพราะคนที่มาประชุมเป็นระดับสูง และไม่มีคนประสานงาน ปกติการประชุมระดับโลกที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นฝ่ายประสานและประชาสัมพันธ์ แต่ครั้งนี้เป็นเรื่องทางด้านเทคนิค จึงอาจจะทำไม่ได้เพราะเข้าไม่ถึงข้อมูล”นายปลอดประสพ ให้เหตุผล
อีกส่วนหนึ่งคือ เรื่องที่นักวิชาการของเราที่เข้าไปแต่ละหัวข้อ ยังสู้เขาไม่ได้ และนักวิชาการไทยที่เป็นข้าราชการที่จะมาจากกรมน้ำ ความเชี่ยวชาญยังไม่ถึง ซึ่งก็คงต้องปรับปรุงกัน เพราะความรอบรู้เรื่องน้ำของเรา ยังด้อยกว่าต่างประเทศ
“ชี้ให้เห็นว่า เราต้องปรับปรุงตัวเอง ความรู้ทางวิชาการของเรายังห่างไกลกับเขาเหลือเกิน เวลาเข้าที่ประชุม อย่างเรื่องภาษาของเราก็มีปัญหา ไม่สามารถไปถกแถลงในที่ประชุมได้ ไม่สามารถที่จะหยิบยกประเด็นในประเทศไปถกเถียงได้ ประเด็นของเราก็เลยไม่ออกมา” นายปลอดประสพ กล่าว
ประธาน กบอ. ยังได้กล่าวถึงการประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลว่า ยืนยันว่า จะไม่มีการวิ่งเต้นเพื่อให้ชนะการประมูล และการประมูลตนไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงได้
ส่วนการดำเนินการขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการดูรายละเอียดเนื้อหาของแต่ละบริษัทที่เสนอมา โดยมีเจ้าหน้าที่กว่า 40 คน อ่านรายละเอียด 16 ชั่วโมงต่อวัน และเมื่อได้ข้อสรุปแล้ว จะส่งรายละเอียดไปยัง นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย เพื่อพิจารณาและให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้ หากบริษัทไหนได้คะแนนเกิน 80 จะผ่านการประมูลด้านเทคนิค ถ้าไม่เกิน 80 คะแนนจะตก
“ถ้าใครได้เกิน 80 คะแนนและได้ที่หนึ่งก็มาเจรจา เพื่อเปิดซองราคา ว่าอันนี้แพงไป เทคนิคอย่างนี้ไม่ได้ ต้องว่าไป ถ้าเจรจากันได้ก็ได้ไป แต่หากไม่ได้ก็เอาบริษัทที่อยู่ในลิสต์ขึ้นมา” นายปลอดประสพ อธิบาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากบริษัทที่จะดึงขึ้นมาในลำดับถัดไปในโมดูลเดียวกันได้ไม่ถึง 80 คะแนน จะทำอย่างไร ประธาน กบอ. กล่าวว่า ก็จะตกไปเลย ต้องเริ่มใหม่ ส่วนที่ในโมดูลมีเพียง 2 บริษัท แล้วบริษัทแรกได้เกิน 80 แต่เจรจาเรื่องราคาไม่ได้ และบริษัทรองลงมาได้ไม่เกิน 80 คะแนนอีก ก็จะไม่ดึงใครขึ้นมา จะเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ การจะเริ่มต้นใหม่จะใช้แบบไหนนั้นมีหลายอย่าง อาทิ ให้กรมชลประทานไปออกแบบ หรืออาจจะจ้างบริษัทที่ปรึกษาไปออกแบบให้เสร็จ แต่ยืนยันว่าจะไม่ทำด้วยวิธีพิเศษแน่นอน เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งอนุกรรมการรอไว้แล้ว พวกตนจะไม่ทำแบบนั้นเด็ดขาด
สำหรับความคืบหน้าการใช้งบประมาณตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5แสนล้านบาท ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ต้องกู้เงินให้ทันกำหนดก่อน 30 มิ.ย. นั้น นายปลอดประสพ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้มีอายุอีก 5 ปี ยังไม่หมดอายุตามที่เข้าใจ โดยขณะนี้ได้ใช้ไปแล้ว 5 หมื่นกว่าล้านบาท ในส่วนของกระทรวงคมนาคมใช้เป็นหลัก และในการประชุม กบอ.วันนี้ จะมีการอนุมัติให้กับกรมป่าไม้ในการดำเนินโครงการปลูกป่า ดังนั้นเงินส่วนนี้ไม่มีปัญหา เพราะได้ใช้ไปแล้วและมีเวลาใช้อีก 5 ปีนับจากนี้ และไม่มีการกู้ยืมเงินมากองไว้ให้เสียดอกเบี้ย จะอนุมัติเท่าที่ต้องใช้ โดยยืนยันว่าไม่มีการเอาเงินไปกองไว้ที่ไหน
ส่วนการเข้าพบเพื่อหารือกับนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ระหว่างเดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำทางด้านน้ำที่ จ.เชียงใหม่นั้น ประธาน กบอ.กล่าวว่า ไม่ได้มีการหารือในเรื่องการประมูลโครงการบริหารจัดการน้ำ แต่เป็นการหารือการบริหารจัดการน้ำในภาคตะวันออก ตนขอให้เกาหลีใต้ส่งทีมมาศึกษา โดยที่ประเทศไทยไม่มีค่าใช้จ่ายให้ ทั้งค่าจ้างและค่าพัฒนา ว่าจะทำอย่างไรให้เขื่อนฝั่ง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ที่สร้างมากว่า 3,000 ล้านบาทใช้ได้ เป็นการขอให้เขามาศึกษาวิชาการภาคตะวันออกไม่เกี่ยวกับงบ 3.5 แสนล้านบาทอย่างที่เข้าใจกัน
** หวั่นรัฐบาลละเลงเงินกู้3.5แสนล้าน
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการบริหารจัดการโครงการภายใต้เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าว ทำท่าว่าจะเป็นอนุสรณ์แห่งการทุจริต และความล้มเหลวในการใช้เงินกู้ครั้งใหญ่ของประเทศ เพราะการบริหารจัดการแบบจับต้นชนปลายไม่ถูก บริหารแบบไม่มีทิศทาง ไม่มีหลักการที่ชัดเจน กำลังจะทำให้ประเทศเสียเงิน 3.5 แสนล้านบาทไปโดยที่ไม่ได้อะไรเลย
ทั้งนี้ ขอตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้เงิน 3.5 แสนล้านบาท 5 ประการคือ
1. ผู้ที่อยู่ในบริษัทที่เกี่ยวกับการประมูล ก็ออกมาเปิดเผยว่าการกำหนดงบในแต่ละแผนงานไม่สอดคล้องกับเนื้องาน เพราะบางโครงการจำนวนงบประมาณไม่สอดคล้องกับการทำโครงการจริง จึงอาจทำให้โครงการเดินหน้าต่อไม่ได้
2.โครงการดังกล่าวขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข้อเท็จจริงได้ว่าการทำโครงการในแต่ละพื้นที่จะมีการสร้างผลกระทบแต่ละชุมชนอย่างไร จึงมีข่าวว่าประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับบริษัทที่เข้าไปสำรวจพื้นที่ ซึ่งตนเชื่อว่าจะเป็นปัญหาในภายหลัง
3. มีหลายบริษัทระบุว่าปัญหาโครงการคือการเวนคืนที่ดิน ซึ่งรัฐบาลมอบภาระให้บริษัทที่ชนะการประมูล แต่ก็ไม่มีข้อมูลทีแน่ชัดว่าพื้นที่บริเวณใดจะดำเนินการจริง จึงทำให้บริษัทเหล่านั้นไม่สามารถประเมินราคาเวนคืนให้สอดคล้องกับงบประมาณได้
4. มีปัญหาการซื้อที่ และสร้างสิ่งปลูกสร้าง เพื่อรอเก็งกำไรจากการเวนคืน
5.ขอตั้งข้อสังเกตว่าขณะนี้ดูเหมือนบางบริษัทจะรู้ตัวล่วงหน้าว่าจะชนะการประมูล จึงมีการลงสำรวจพื้นที่เสมือนรู้ว่าตัวเองได้งานในพื้นที่ใด จึงตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างบริษัทที่เข้าประมูล และผู้มีอำนาจรัฐในการกำหนดตัวผู้ที่จะได้รับการประมูลแล้ว ใช่หรือไม่