เมื่อเวลา 15.00 น. วานนี้ (22พ.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมงาน "Tokyo Roadshow 2013" ในหัวข้อ"Building a Strong Foundation for Thailand and ASEAN" ซึ่งกระทรวงการคลัง จัดขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนญี่ปุ่น ถึงศักยภาพการบริหารประเทศ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และแผนการลงทุนพัฒนาประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงของอาเซียน รวมทั้งการสนับสนุนโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ความตั้งใจของรัฐบาลไทยในการจัดงานในครั้งนี้ ก็เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการลงทุนขนาดใหญ่ของไทยหลายโครงการ ที่ต้องการเห็นความร่วมมือในการลงทุนของประเทศญี่ปุ่น และมั่นใจว่าโครงการเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของทั้งสองประเทศ รวมถึงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาค ปกป้องการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทย และทำให้การลงทุนที่มีอยู่แล้ว มีศักยภาพสูงขึ้น มีผลตอบแทนที่ชัดเจน เพิ่มพูน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการเข้าร่วมการประชุมนานาชาติ "The Future of Asia"ของบริษัท Nikkeiเพื่ออธิบายถึงภาพรวมของการเจริญเติบโตของเอเชียในอนาคตในมุมมองของนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องและสอดคล้องกับแผนการลงทุนของประเทศไทย
สำหรับการหารือกับ นายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ซึ่งต่อเนื่องจากการเยือนประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา นับเป็นโอกาสอันดี ที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และการกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันทั้งในภาครัฐและเอกชน ความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่นนั้นมีมายาวนาน ปีนี้นับเป็นปีที่ครบรอบ 126 ปี คนญี่ปุ่นและคนไทย มีความสนิทสนมเป็นเพื่อนกันต่อเนื่องมาหลายรุ่น ทุกวันนี้มีคนญี่ปุ่นอาศัยอยู่หรือทำงานในประเทศไทยกว่า 50,000 คน โดยมีคนไทยในจำนวนที่เท่าๆ กันอาศัยและทำงานในญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง มีมูลค่าถึง 1.3 ล้านล้านเยน และการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่น มีมูลค่าสูงถึง 7.5 ล้านล้านเยนในปีที่แล้ว โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปมาระหว่างสองประเทศกว่า 1.6 ล้านคน เมื่อปีที่แล้วเช่นกัน และการที่ประเทศทั้งสองมีประวัติศาสตร์ของการอยู่ร่วมกันยาวนาน มีความเจริญเติบโตในด้านการค้าการลงทุนในระดับสูง จึงทำให้ความไว้วางใจกันของรัฐต่อรัฐ ระหว่างบริษัทห้างร้านธุรกิจภาคเอกชน และระหว่างประชาชนต่อประชาชน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังกล่าวถึงการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปลายปี 2011 ว่า ท่ามกลางวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ส่งผลกระทบกับภาคการผลิตอย่างรุนแรง ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2011 โตเพียง ร้อยละ 0.1 แต่รัฐบาลร่วมกับประชาชนคนไทยก็ได้ฟันฝ่าภัยพิบัตินั้นมาได้ จนเศรษฐกิจกลับมาเติบโตถึงร้อยละ 6.4 ในปี 2012 ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ต้องการย้ำถึงความประทับใจที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่น นอกจากจะให้การช่วยเหลือผู้ที่ต้องประสบภัยแล้ว ก็ยังไม่เคยสูญเสียความมั่นใจในการลงทุน และมีหลายโรงงานที่กลับขยายการลงทุนในประเทศไทยด้วยซ้ำ
นักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนในประเทศไทยมานาน โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1980 ที่ประเทศไทยริเริ่มโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นได้ร่วมลงทุนร่วมสร้างกับประเทศไทย ตั้งแต่ยังเป็นที่ว่างเปล่า จนบัดนี้ 30 ปีต่อมา พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทยได้พัฒนาเป็นชุมชนที่มีนิคมอุตสาหกรรม โรงงาน ท่าเรือน้ำลึก และโครงข่ายพื้นฐานที่พรั่งพร้อม เป็นแหล่งอุตสาหกรรม และประตูสู่การส่งออกของไทยไปทั่วโลก สร้างรายได้ให้กับประเทศและนักลงทุนจำนวนมาก ญี่ปุ่นได้ร่วมมือกับไทย ในการสร้างอนาคตที่สดใสสำเร็จมาแล้วสาหรับคนรุ่นปัจจุบัน และการที่ตนเดินทางครั้งนี้ เพื่อเชิญชวนให้ทุกท่านช่วยกันสานฝันเพื่อสร้างอนาคตให้กับลูกหลานของสองประเทศอีกครั้ง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลอยู่ระหว่างการวางรากฐานการพัฒนาประเทศ โดยมีแผนพัฒนาขับเคลื่อนประเทศในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า และเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2015 ซึ่งการดำเนินการตามแผนจะทำให้ประเทศไทยเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ปกป้องการลงทุนของผู้ที่ลงทุนในประเทศไทย ทั้งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางความเชื่อมต่อของภูมิภาค ทั้งในอาเซียนและสู่ตลาดโลก
โดยโครงการแรก คือ โครงการลงทุนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในวงเงิน 350,000 ล้านบาท โดยโครงการนี้ เป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างครบวงจร ที่จะช่วยปกป้องเขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแล้ว ยังจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสาหรับภาคการเกษตร ซึ่งเป็นสาขาการผลิตที่มีความสำคัญที่เป็นจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย โครงการนี้จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านน้ำ สำหรับการเกษตร อุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค และเป็นการป้องกันอุทกภัยขนาดใหญ่ ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
โครงการที่สอง คือแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่ายพื้นฐานด้านการขนส่งของไทยเข้ากับฐานการผลิตไม่ว่าจะเป็นเกษตรหรืออุตสาหกรรมภายในประเทศ และเชื่อมโยงสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้ จะเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค โดยมีโครงการลงทุนที่สำคัญ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟรางคู่ และรถไฟใต้ดิน การปรับปรุงถนนสายหลัก ด่านศุลกากร และเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน สนามบิน ตลอดจนโครงข่ายพื้นฐานอื่นๆ
โครงการที่สาม คือ โครงการนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวาย ในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือของสองประเทศ ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และนายกรัฐมนตรี ได้ตกลงที่จะพัฒนาโดยเชื่อว่าจะเป็นโครงการที่สำคัญ ก่อให้เกิดการค้า การลงทุน และการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค เนื่องจากทวายเป็นหนึ่งในสามเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สำคัญที่สุดของเมียนมาร์ในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่สามารถรองรับอุตสาหกรรมได้หลายรูปแบบแล้ว ท่าเรือน้ำลึกทวาย จะเป็นประตูการค้าขนาดใหญ่ออกสู่มหาสมุทรอินเดีย เชื่อมต่อไปยังตลาดฝั่งตะวันตกของโลก ได้แก่ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป
อย่างไรก็ตามทั้ง 3 โครงการเป็นโครงการที่ต้องการการลงทุนขนาดใหญ่ ทั้งมีโครงการที่ต้องรองรับในหลายมิติ ตนละรัฐบาลไทย จึงต้องการที่จะเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วม อีกทั้งความสำคัญของการร่วมมือระหว่างเพื่อนที่มีความเชื่อมั่น จริงใจ และไว้วางใจกัน ว่า ประเทศไทยและญี่ปุ่นใช่ใครอื่นไกล ด้วยความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศของเราทั้งสองประเทศ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ความตั้งใจของรัฐบาลไทยในการจัดงานในครั้งนี้ ก็เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการลงทุนขนาดใหญ่ของไทยหลายโครงการ ที่ต้องการเห็นความร่วมมือในการลงทุนของประเทศญี่ปุ่น และมั่นใจว่าโครงการเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของทั้งสองประเทศ รวมถึงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาค ปกป้องการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทย และทำให้การลงทุนที่มีอยู่แล้ว มีศักยภาพสูงขึ้น มีผลตอบแทนที่ชัดเจน เพิ่มพูน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการเข้าร่วมการประชุมนานาชาติ "The Future of Asia"ของบริษัท Nikkeiเพื่ออธิบายถึงภาพรวมของการเจริญเติบโตของเอเชียในอนาคตในมุมมองของนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องและสอดคล้องกับแผนการลงทุนของประเทศไทย
สำหรับการหารือกับ นายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ซึ่งต่อเนื่องจากการเยือนประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา นับเป็นโอกาสอันดี ที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และการกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันทั้งในภาครัฐและเอกชน ความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่นนั้นมีมายาวนาน ปีนี้นับเป็นปีที่ครบรอบ 126 ปี คนญี่ปุ่นและคนไทย มีความสนิทสนมเป็นเพื่อนกันต่อเนื่องมาหลายรุ่น ทุกวันนี้มีคนญี่ปุ่นอาศัยอยู่หรือทำงานในประเทศไทยกว่า 50,000 คน โดยมีคนไทยในจำนวนที่เท่าๆ กันอาศัยและทำงานในญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง มีมูลค่าถึง 1.3 ล้านล้านเยน และการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่น มีมูลค่าสูงถึง 7.5 ล้านล้านเยนในปีที่แล้ว โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปมาระหว่างสองประเทศกว่า 1.6 ล้านคน เมื่อปีที่แล้วเช่นกัน และการที่ประเทศทั้งสองมีประวัติศาสตร์ของการอยู่ร่วมกันยาวนาน มีความเจริญเติบโตในด้านการค้าการลงทุนในระดับสูง จึงทำให้ความไว้วางใจกันของรัฐต่อรัฐ ระหว่างบริษัทห้างร้านธุรกิจภาคเอกชน และระหว่างประชาชนต่อประชาชน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังกล่าวถึงการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปลายปี 2011 ว่า ท่ามกลางวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ส่งผลกระทบกับภาคการผลิตอย่างรุนแรง ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2011 โตเพียง ร้อยละ 0.1 แต่รัฐบาลร่วมกับประชาชนคนไทยก็ได้ฟันฝ่าภัยพิบัตินั้นมาได้ จนเศรษฐกิจกลับมาเติบโตถึงร้อยละ 6.4 ในปี 2012 ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ต้องการย้ำถึงความประทับใจที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่น นอกจากจะให้การช่วยเหลือผู้ที่ต้องประสบภัยแล้ว ก็ยังไม่เคยสูญเสียความมั่นใจในการลงทุน และมีหลายโรงงานที่กลับขยายการลงทุนในประเทศไทยด้วยซ้ำ
นักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนในประเทศไทยมานาน โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1980 ที่ประเทศไทยริเริ่มโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นได้ร่วมลงทุนร่วมสร้างกับประเทศไทย ตั้งแต่ยังเป็นที่ว่างเปล่า จนบัดนี้ 30 ปีต่อมา พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทยได้พัฒนาเป็นชุมชนที่มีนิคมอุตสาหกรรม โรงงาน ท่าเรือน้ำลึก และโครงข่ายพื้นฐานที่พรั่งพร้อม เป็นแหล่งอุตสาหกรรม และประตูสู่การส่งออกของไทยไปทั่วโลก สร้างรายได้ให้กับประเทศและนักลงทุนจำนวนมาก ญี่ปุ่นได้ร่วมมือกับไทย ในการสร้างอนาคตที่สดใสสำเร็จมาแล้วสาหรับคนรุ่นปัจจุบัน และการที่ตนเดินทางครั้งนี้ เพื่อเชิญชวนให้ทุกท่านช่วยกันสานฝันเพื่อสร้างอนาคตให้กับลูกหลานของสองประเทศอีกครั้ง
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลอยู่ระหว่างการวางรากฐานการพัฒนาประเทศ โดยมีแผนพัฒนาขับเคลื่อนประเทศในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า และเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2015 ซึ่งการดำเนินการตามแผนจะทำให้ประเทศไทยเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ปกป้องการลงทุนของผู้ที่ลงทุนในประเทศไทย ทั้งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางความเชื่อมต่อของภูมิภาค ทั้งในอาเซียนและสู่ตลาดโลก
โดยโครงการแรก คือ โครงการลงทุนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในวงเงิน 350,000 ล้านบาท โดยโครงการนี้ เป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างครบวงจร ที่จะช่วยปกป้องเขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแล้ว ยังจะมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสาหรับภาคการเกษตร ซึ่งเป็นสาขาการผลิตที่มีความสำคัญที่เป็นจุดแข็งของเศรษฐกิจไทย โครงการนี้จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านน้ำ สำหรับการเกษตร อุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภค และเป็นการป้องกันอุทกภัยขนาดใหญ่ ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
โครงการที่สอง คือแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและเชื่อมโยงโครงข่ายพื้นฐานด้านการขนส่งของไทยเข้ากับฐานการผลิตไม่ว่าจะเป็นเกษตรหรืออุตสาหกรรมภายในประเทศ และเชื่อมโยงสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้ จะเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค โดยมีโครงการลงทุนที่สำคัญ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟรางคู่ และรถไฟใต้ดิน การปรับปรุงถนนสายหลัก ด่านศุลกากร และเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน สนามบิน ตลอดจนโครงข่ายพื้นฐานอื่นๆ
โครงการที่สาม คือ โครงการนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวาย ในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือของสองประเทศ ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และนายกรัฐมนตรี ได้ตกลงที่จะพัฒนาโดยเชื่อว่าจะเป็นโครงการที่สำคัญ ก่อให้เกิดการค้า การลงทุน และการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค เนื่องจากทวายเป็นหนึ่งในสามเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สำคัญที่สุดของเมียนมาร์ในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่สามารถรองรับอุตสาหกรรมได้หลายรูปแบบแล้ว ท่าเรือน้ำลึกทวาย จะเป็นประตูการค้าขนาดใหญ่ออกสู่มหาสมุทรอินเดีย เชื่อมต่อไปยังตลาดฝั่งตะวันตกของโลก ได้แก่ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป
อย่างไรก็ตามทั้ง 3 โครงการเป็นโครงการที่ต้องการการลงทุนขนาดใหญ่ ทั้งมีโครงการที่ต้องรองรับในหลายมิติ ตนละรัฐบาลไทย จึงต้องการที่จะเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วม อีกทั้งความสำคัญของการร่วมมือระหว่างเพื่อนที่มีความเชื่อมั่น จริงใจ และไว้วางใจกัน ว่า ประเทศไทยและญี่ปุ่นใช่ใครอื่นไกล ด้วยความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศของเราทั้งสองประเทศ