*ว่าด้วยการปลุกจักระในกุณฑาลินีโยคะ (ต่อ)*
การเตรียมตัวฝึกฝน เพื่อไปกระตุ้นจักระที่ 4 หรือจักระอนาหตะนี้คือ การฝึกสมาธิแบบ “อจาปา-จาปา” หรือ สมาธิแบบบริกรรมมนตราตามธรรมชาติ โดยมนตราที่ใช้คือคำว่า โซ-ฮัม (So-Ham) ซึ่งแปลว่า “ฉันคือสิ่งนั้น” (I am That) ซึ่งหมายถึง “ฉันคือพรหมัน” นั่นเอง หากเป็นชาวพุทธ จะบริกรรมคำว่า “พุท-โธ” โดยหายใจเข้าให้นึกถึงคำว่า “พุท” หายใจออกให้นึกถึงคำว่า “โธ” ซึ่งมีความหมายว่า “ฉันคือพุทธะ” ก็ได้เช่นกัน
คัมภีร์โยคะโบราณกล่าวไว้ว่า ณ ที่จักระอนาหตะ เมื่อหายใจเข้าจงนึกถึงคำว่า “โซ” หายใจออกจงนึกถึงคำว่า “ฮัม” จงบริกรรม โซ-ฮัม โซ-ฮัม โซ-ฮัม ในใจตามการหายใจเข้าออกซ้ำๆ กันเช่นนี้ ครั้งแล้วครั้งเล่า เสียงที่นึกในใจควรเรียบคล่องและเป็นไปโดยธรรมชาติ ผู้ฝึกต้องฝึกบริกรรมเช่นนี้จนกระทั่งราวกับเกิดเสียงขึ้นภายในหัวใจ และเกิดแสงหรือความรู้สึกอุ่นซ่าขึ้นในบริเวณกระดูกสันหลังคล้ายแสงจันทร์หรือแสงอาทิตย์ที่เพิ่งฉายแสงขึ้นมาจากขอบฟ้า
มนตร์ที่บริกรรมด้วย “โซ-ฮัม” (หรือ “พุท-โธ”) นี้จะเกิดเป็นคลื่นสั่นสะเทือนไปปลุกทุกส่วน ทุกองคาพยพของร่างกายให้ตื่นตัว วิธีฝึกสมาธิแบบอจาปา-จาปานี้ เป็นวิธีฝึกที่ง่ายมาก เพราะผู้ฝึกเพียงเอาใจจดจ่ออยู่กับการหายใจให้สม่ำเสมอเป็นธรรมชาติ และให้รู้ตัวหรือรู้สึกตัวอยู่เสมอว่ากำลังหายใจอยู่ โดยหายใจเข้า “โซ” ท้องกับปอดขยาย พอหายใจออก “ฮัม” ท้องหด อกแฟบลง เป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ อนึ่งบางครั้งคำบริกรรมโซ-ฮัมอาจกลับกลายเป็นฮัม-โซโดยอัตโนมัติก็ไม่เป็นไร จงปล่อยให้เป็นไปโดยไม่ต้องไปทำอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่ให้เฝ้า “ตามรู้” เฉยๆ ว่า อะไรกำลังเกิดขึ้นอยู่เท่านั้น เพราะนี่คือมนตราโดยธรรมชาติ ถ้าหากฝึกไปนานๆ การหายใจโซ-ฮัม หรืออจาปา-ปาจาของเขาจะเป็นไปเองอย่างเป็นธรรมชาติ
เคล็ดในการปลุกจักระที่ 4 หรือจักระอนาหตะมีดังนี้...
จงนั่งขัดสมาธิแล้วหลับตาเพียงแผ่วเบา จะนั่งอาสนะท่าไหนก็ได้ ขอให้นั่งให้สบายก็แล้วกัน และตลอดเวลาที่นั่ง ถ้ารู้สึกเมื่อยก็เปลี่ยนท่านั่งได้ไม่ต้องเกร็ง เพียงแต่ในระหว่างที่ฝึกให้ส่งสมาธิจิตไปที่ทรวงอกให้จิตใจของตนจดจ่ออยู่ตรงบริเวณกระดูกสันหลังตรงตำแหน่งที่ตรงกับหัวใจเท่านั้น
จุดสำคัญคือขอให้จิตใจจดจ่ออยู่กับหายใจในทรวงอก จากนั้นหายใจเข้าให้รู้สึกตัวว่า อากาศเข้าไปในทรวงอก รู้สึกตั้งแต่ลำคอลงไป จงสนใจเฉพาะลมหายใจเข้าที่เข้ามาตั้งแต่ลำคอลงไปผ่านทรวงอกจนถึงกะบังลม ส่วนลมหายใจออกแค่ตามรู้ก็พอ ช่วงหายใจเข้าให้ทรวงอกขยาย และหายใจให้ลึกๆ จนถึงกะบังลม
ต่อไปให้รู้สึกว่าลมอากาศเข้าไปเติมเต็มที่ว่างในทรวงอก การรู้สึกว่า อากาศได้เข้าไปเติมเต็มที่ว่างในทรวงอกเป็นพื้นฐานสำหรับการรู้สึกถึงที่ว่างที่อยู่ในหัวใจ พอทราบถึงที่ว่างที่อยู่ในหัวใจแล้ว ให้รู้สึกทราบถึงการบีบรัดและคลายตัวของที่ว่างนี้ตามจังหวะการหายใจเข้า-ออก พอทราบถึงความรู้สึกบีบรัดขยายตัวของที่ว่างในหัวใจนี้ได้แล้ว จงประคองความรู้สึกนี้ต่อไปเรื่อยๆ ให้ฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีมโนภาพผุดขึ้นในทรวงอก ผู้ฝึกไม่จำเป็นต้องสร้างภาพหรือนึกถึงภาพใดๆ ทั้งนั้น แต่จงปล่อยให้ภาพเข้ามาเอง หรือให้ปรากฏขึ้นเองในที่ว่างในหัวใจนี้เท่านั้น
ขั้นที่หนึ่ง เป็นการฝึกให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลาว่า มีที่ว่างอยู่ในทรวงอก ในหัวใจที่เต็มไปด้วยอากาศ และรู้สึกว่าที่ว่างนั้นกำลังเติมเต็มไปด้วยลมหายใจ
ขั้นที่สอง เป็นการฝึกให้รู้สึกถึงที่ว่างในหัวใจนี้โดยตรง เมื่อหายใจเข้า ทรวงอกขยายเต็มไปด้วยอากาศ เมื่อหายใจออก ทรวงอกบีบตัวเป็นไปตามจังหวะลมหายใจเข้า-ออก
ขั้นที่สาม คือการรับทราบและรับรู้ถึงมโนภาพที่ผุดขึ้นมาเอง จากที่ว่างในหัวใจนั้น
จากนั้นให้ฝึกสมาธิโดยใช้มนตราธรรมชาติคือ โซ-ฮัม หายใจเข้านึกคำว่า “โซ” หายใจออกนึกคำว่า “ฮัม” ขอให้ตั้งใจฝึกหายใจและบริกรรมแบบนี้อยู่ในจิต จนกระทั่งสามารถรู้สึกได้ว่าการหายใจของตัวเอง มีคำว่า โซ-ฮัม สถิตอยู่ในที่ว่างในหัวใจ การฝึกแบบนี้ให้ฝึกแต่ละครั้งราวๆ 30 นาที ก็ออกจากสมาธิได้
อนึ่ง ผู้ใดก็ตามที่ปลุกจักระที่ 1 ถึงจักระที่ 3 จนพลังศักติหรือกุณฑาลินีเริ่มตื่นขึ้นแล้ว แต่ถ้าหากผู้นั้นยังคงเป็นคนมองโลกแง่ร้ายหรือมีความคิดในเชิงลบครอบงำอยู่ พอพลังศักติหรือกุณฑาลินีขึ้นมาจนถึงจักระที่ 4 หรือจักระอนาหตะ พลังศักตินั้นจะหวนกลับไปยังจักระที่ 1 หรือจักระมูลธารอีก คราวนี้การจะปลุกให้ตื่นขึ้นอีกจะยากมากกว่าแต่ก่อนอีก
จึงเห็นได้ว่า นอกจากการฝึกหายใจแบบอจาปา-ปาจา พร้อมกับบริกรรมมนตราธรรมชาติ “โซ-ฮัม” ดังที่กล่าวมาแล้ว การพัฒนาบุคลิกภาพและความคิดในเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์ มีเมตตากรุณากับทุกคนอยู่เป็นนิจ มองโลก มองผู้คนในแง่ดี ไม่มีอคติคิดร้ายกับผู้ใดทั้งสิ้น ก็เป็นเงื่อนไขที่สำคัญและจำเป็นมากต่อการปลุกจักระที่ 4 หรือจักระอนาหตะนี้ เมื่อจักระที่ 4 นี้ตื่นขึ้นมาทำงานอย่างเต็มที่แล้ว เขาผู้นั้นจะเป็นผู้รอบรู้ เชี่ยวชาญในการพูด คิด อ่าน เขียน และการเรียนรู้ นึกปรารถนาสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น
* * *
ขออธิบายเรื่อง “วิถีของตันตระ” ต่อ...คัมภีร์ตันตระทุกเล่ม จะเขียนออกมาในบทสนทนาระหว่างพระอุมากับพระศิวะเสมอ โดยพระอุมาเป็นผู้ถาม และพระศิวะเป็นผู้ตอบ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า คัมภีร์ตันตระ มิใช่บทสนทนาระหว่างครูกับศิษย์อย่างคัมภีร์ทั่วไป แต่เป็นบทสนทนาระหว่างหญิงชายที่เป็นคู่รักกัน มิหนำซ้ำ คู่รักคู่นี้ยังมีความสัมพันธ์ในเชิงศิษย์กับครูซ้อนกันอยู่ด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ พระศิวะนอกจากจะเป็นคนรักของพระอุมาแล้ว ท่านยังเป็นครูทางจิตวิญญาณของพระอุมาอีกด้วย
ตรงนี้แหละที่ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของคัมภีร์ตันตระที่บ่งชี้ว่า คำสอนอันล้ำลึกของตันตระนั้น จะสามารถถ่ายทอดจากครูไปสู่ศิษย์ได้ จักต้องมี “ความรักทางจิตวิญญาณ” ดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์คนนั้นก่อนเสมอ เนื่องจาก ตันตระเป็นภาษาของความรัก มิใช่ภาษาแห่งตรรกะเหตุผลเหมือนอย่างปรัชญาตะวันตก ศิษย์ผู้จะเรียนตันตระ จึงต้องมีท่าทีที่เปิดรับ เปิดกว้างแบบสตรีเพศในการเรียนรู้ตันตระจากครู โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสตรีเพศจริงๆ แต่อย่างใด แต่เขาผู้นั้น จะต้องมีท่าทีแบบสตรีเพศในการเรียนรู้ตันตระ เพราะฉะนั้น ความหมายของ “พระอุมา” ในคัมภีร์ตันตระเล่มนี้ จึงอาจตีความได้ว่า หมายถึงท่าทีแบบสตรีเพศที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ก็ย่อมได้ คือไม่จำเป็นต้องเป็นผู้หญิงจริงๆ เสมอไป
เราพึงตระหนักเอาไว้ว่า ภาษาของตรรกะเหตุผล เป็นภาษาแบบบุรุษเพศที่มีลักษณะก้าวร้าว ต่อสู้ ท้าทายและชอบความรุนแรง การใช้ภาษาของตรรกะเหตุผลนั้น มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การโจมตีจิตใจของฝ่ายตรงข้ามให้ยอมรับ หรือเห็นพ้องกับตรรกะความคิดเห็นของตน ภาษาของตรรกะเหตุผล จึงเป็นภาษาที่มีตัวเองเป็นศูนย์กลาง เพื่อยืนยันว่า ตัวเองเป็นฝ่ายถูกและฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายผิด ดังนั้น จึงต้องใช้ตรรกะพิสูจน์ให้เห็นถึงความผิดของฝ่ายตรงข้าม และความถูกต้องของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ความสนใจของผู้ใช้ภาษาของตรรกะเหตุผล จึงอยู่ที่ตัวเองอยู่ที่อัตตาของตัวเอง หาใช่คู่สนทนาไม่ (ยังมีต่อ)
www.dragon-press.com
การเตรียมตัวฝึกฝน เพื่อไปกระตุ้นจักระที่ 4 หรือจักระอนาหตะนี้คือ การฝึกสมาธิแบบ “อจาปา-จาปา” หรือ สมาธิแบบบริกรรมมนตราตามธรรมชาติ โดยมนตราที่ใช้คือคำว่า โซ-ฮัม (So-Ham) ซึ่งแปลว่า “ฉันคือสิ่งนั้น” (I am That) ซึ่งหมายถึง “ฉันคือพรหมัน” นั่นเอง หากเป็นชาวพุทธ จะบริกรรมคำว่า “พุท-โธ” โดยหายใจเข้าให้นึกถึงคำว่า “พุท” หายใจออกให้นึกถึงคำว่า “โธ” ซึ่งมีความหมายว่า “ฉันคือพุทธะ” ก็ได้เช่นกัน
คัมภีร์โยคะโบราณกล่าวไว้ว่า ณ ที่จักระอนาหตะ เมื่อหายใจเข้าจงนึกถึงคำว่า “โซ” หายใจออกจงนึกถึงคำว่า “ฮัม” จงบริกรรม โซ-ฮัม โซ-ฮัม โซ-ฮัม ในใจตามการหายใจเข้าออกซ้ำๆ กันเช่นนี้ ครั้งแล้วครั้งเล่า เสียงที่นึกในใจควรเรียบคล่องและเป็นไปโดยธรรมชาติ ผู้ฝึกต้องฝึกบริกรรมเช่นนี้จนกระทั่งราวกับเกิดเสียงขึ้นภายในหัวใจ และเกิดแสงหรือความรู้สึกอุ่นซ่าขึ้นในบริเวณกระดูกสันหลังคล้ายแสงจันทร์หรือแสงอาทิตย์ที่เพิ่งฉายแสงขึ้นมาจากขอบฟ้า
มนตร์ที่บริกรรมด้วย “โซ-ฮัม” (หรือ “พุท-โธ”) นี้จะเกิดเป็นคลื่นสั่นสะเทือนไปปลุกทุกส่วน ทุกองคาพยพของร่างกายให้ตื่นตัว วิธีฝึกสมาธิแบบอจาปา-จาปานี้ เป็นวิธีฝึกที่ง่ายมาก เพราะผู้ฝึกเพียงเอาใจจดจ่ออยู่กับการหายใจให้สม่ำเสมอเป็นธรรมชาติ และให้รู้ตัวหรือรู้สึกตัวอยู่เสมอว่ากำลังหายใจอยู่ โดยหายใจเข้า “โซ” ท้องกับปอดขยาย พอหายใจออก “ฮัม” ท้องหด อกแฟบลง เป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ อนึ่งบางครั้งคำบริกรรมโซ-ฮัมอาจกลับกลายเป็นฮัม-โซโดยอัตโนมัติก็ไม่เป็นไร จงปล่อยให้เป็นไปโดยไม่ต้องไปทำอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่ให้เฝ้า “ตามรู้” เฉยๆ ว่า อะไรกำลังเกิดขึ้นอยู่เท่านั้น เพราะนี่คือมนตราโดยธรรมชาติ ถ้าหากฝึกไปนานๆ การหายใจโซ-ฮัม หรืออจาปา-ปาจาของเขาจะเป็นไปเองอย่างเป็นธรรมชาติ
เคล็ดในการปลุกจักระที่ 4 หรือจักระอนาหตะมีดังนี้...
จงนั่งขัดสมาธิแล้วหลับตาเพียงแผ่วเบา จะนั่งอาสนะท่าไหนก็ได้ ขอให้นั่งให้สบายก็แล้วกัน และตลอดเวลาที่นั่ง ถ้ารู้สึกเมื่อยก็เปลี่ยนท่านั่งได้ไม่ต้องเกร็ง เพียงแต่ในระหว่างที่ฝึกให้ส่งสมาธิจิตไปที่ทรวงอกให้จิตใจของตนจดจ่ออยู่ตรงบริเวณกระดูกสันหลังตรงตำแหน่งที่ตรงกับหัวใจเท่านั้น
จุดสำคัญคือขอให้จิตใจจดจ่ออยู่กับหายใจในทรวงอก จากนั้นหายใจเข้าให้รู้สึกตัวว่า อากาศเข้าไปในทรวงอก รู้สึกตั้งแต่ลำคอลงไป จงสนใจเฉพาะลมหายใจเข้าที่เข้ามาตั้งแต่ลำคอลงไปผ่านทรวงอกจนถึงกะบังลม ส่วนลมหายใจออกแค่ตามรู้ก็พอ ช่วงหายใจเข้าให้ทรวงอกขยาย และหายใจให้ลึกๆ จนถึงกะบังลม
ต่อไปให้รู้สึกว่าลมอากาศเข้าไปเติมเต็มที่ว่างในทรวงอก การรู้สึกว่า อากาศได้เข้าไปเติมเต็มที่ว่างในทรวงอกเป็นพื้นฐานสำหรับการรู้สึกถึงที่ว่างที่อยู่ในหัวใจ พอทราบถึงที่ว่างที่อยู่ในหัวใจแล้ว ให้รู้สึกทราบถึงการบีบรัดและคลายตัวของที่ว่างนี้ตามจังหวะการหายใจเข้า-ออก พอทราบถึงความรู้สึกบีบรัดขยายตัวของที่ว่างในหัวใจนี้ได้แล้ว จงประคองความรู้สึกนี้ต่อไปเรื่อยๆ ให้ฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีมโนภาพผุดขึ้นในทรวงอก ผู้ฝึกไม่จำเป็นต้องสร้างภาพหรือนึกถึงภาพใดๆ ทั้งนั้น แต่จงปล่อยให้ภาพเข้ามาเอง หรือให้ปรากฏขึ้นเองในที่ว่างในหัวใจนี้เท่านั้น
ขั้นที่หนึ่ง เป็นการฝึกให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลาว่า มีที่ว่างอยู่ในทรวงอก ในหัวใจที่เต็มไปด้วยอากาศ และรู้สึกว่าที่ว่างนั้นกำลังเติมเต็มไปด้วยลมหายใจ
ขั้นที่สอง เป็นการฝึกให้รู้สึกถึงที่ว่างในหัวใจนี้โดยตรง เมื่อหายใจเข้า ทรวงอกขยายเต็มไปด้วยอากาศ เมื่อหายใจออก ทรวงอกบีบตัวเป็นไปตามจังหวะลมหายใจเข้า-ออก
ขั้นที่สาม คือการรับทราบและรับรู้ถึงมโนภาพที่ผุดขึ้นมาเอง จากที่ว่างในหัวใจนั้น
จากนั้นให้ฝึกสมาธิโดยใช้มนตราธรรมชาติคือ โซ-ฮัม หายใจเข้านึกคำว่า “โซ” หายใจออกนึกคำว่า “ฮัม” ขอให้ตั้งใจฝึกหายใจและบริกรรมแบบนี้อยู่ในจิต จนกระทั่งสามารถรู้สึกได้ว่าการหายใจของตัวเอง มีคำว่า โซ-ฮัม สถิตอยู่ในที่ว่างในหัวใจ การฝึกแบบนี้ให้ฝึกแต่ละครั้งราวๆ 30 นาที ก็ออกจากสมาธิได้
อนึ่ง ผู้ใดก็ตามที่ปลุกจักระที่ 1 ถึงจักระที่ 3 จนพลังศักติหรือกุณฑาลินีเริ่มตื่นขึ้นแล้ว แต่ถ้าหากผู้นั้นยังคงเป็นคนมองโลกแง่ร้ายหรือมีความคิดในเชิงลบครอบงำอยู่ พอพลังศักติหรือกุณฑาลินีขึ้นมาจนถึงจักระที่ 4 หรือจักระอนาหตะ พลังศักตินั้นจะหวนกลับไปยังจักระที่ 1 หรือจักระมูลธารอีก คราวนี้การจะปลุกให้ตื่นขึ้นอีกจะยากมากกว่าแต่ก่อนอีก
จึงเห็นได้ว่า นอกจากการฝึกหายใจแบบอจาปา-ปาจา พร้อมกับบริกรรมมนตราธรรมชาติ “โซ-ฮัม” ดังที่กล่าวมาแล้ว การพัฒนาบุคลิกภาพและความคิดในเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์ มีเมตตากรุณากับทุกคนอยู่เป็นนิจ มองโลก มองผู้คนในแง่ดี ไม่มีอคติคิดร้ายกับผู้ใดทั้งสิ้น ก็เป็นเงื่อนไขที่สำคัญและจำเป็นมากต่อการปลุกจักระที่ 4 หรือจักระอนาหตะนี้ เมื่อจักระที่ 4 นี้ตื่นขึ้นมาทำงานอย่างเต็มที่แล้ว เขาผู้นั้นจะเป็นผู้รอบรู้ เชี่ยวชาญในการพูด คิด อ่าน เขียน และการเรียนรู้ นึกปรารถนาสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น
* * *
ขออธิบายเรื่อง “วิถีของตันตระ” ต่อ...คัมภีร์ตันตระทุกเล่ม จะเขียนออกมาในบทสนทนาระหว่างพระอุมากับพระศิวะเสมอ โดยพระอุมาเป็นผู้ถาม และพระศิวะเป็นผู้ตอบ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า คัมภีร์ตันตระ มิใช่บทสนทนาระหว่างครูกับศิษย์อย่างคัมภีร์ทั่วไป แต่เป็นบทสนทนาระหว่างหญิงชายที่เป็นคู่รักกัน มิหนำซ้ำ คู่รักคู่นี้ยังมีความสัมพันธ์ในเชิงศิษย์กับครูซ้อนกันอยู่ด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ พระศิวะนอกจากจะเป็นคนรักของพระอุมาแล้ว ท่านยังเป็นครูทางจิตวิญญาณของพระอุมาอีกด้วย
ตรงนี้แหละที่ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของคัมภีร์ตันตระที่บ่งชี้ว่า คำสอนอันล้ำลึกของตันตระนั้น จะสามารถถ่ายทอดจากครูไปสู่ศิษย์ได้ จักต้องมี “ความรักทางจิตวิญญาณ” ดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์คนนั้นก่อนเสมอ เนื่องจาก ตันตระเป็นภาษาของความรัก มิใช่ภาษาแห่งตรรกะเหตุผลเหมือนอย่างปรัชญาตะวันตก ศิษย์ผู้จะเรียนตันตระ จึงต้องมีท่าทีที่เปิดรับ เปิดกว้างแบบสตรีเพศในการเรียนรู้ตันตระจากครู โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสตรีเพศจริงๆ แต่อย่างใด แต่เขาผู้นั้น จะต้องมีท่าทีแบบสตรีเพศในการเรียนรู้ตันตระ เพราะฉะนั้น ความหมายของ “พระอุมา” ในคัมภีร์ตันตระเล่มนี้ จึงอาจตีความได้ว่า หมายถึงท่าทีแบบสตรีเพศที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ก็ย่อมได้ คือไม่จำเป็นต้องเป็นผู้หญิงจริงๆ เสมอไป
เราพึงตระหนักเอาไว้ว่า ภาษาของตรรกะเหตุผล เป็นภาษาแบบบุรุษเพศที่มีลักษณะก้าวร้าว ต่อสู้ ท้าทายและชอบความรุนแรง การใช้ภาษาของตรรกะเหตุผลนั้น มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การโจมตีจิตใจของฝ่ายตรงข้ามให้ยอมรับ หรือเห็นพ้องกับตรรกะความคิดเห็นของตน ภาษาของตรรกะเหตุผล จึงเป็นภาษาที่มีตัวเองเป็นศูนย์กลาง เพื่อยืนยันว่า ตัวเองเป็นฝ่ายถูกและฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายผิด ดังนั้น จึงต้องใช้ตรรกะพิสูจน์ให้เห็นถึงความผิดของฝ่ายตรงข้าม และความถูกต้องของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ความสนใจของผู้ใช้ภาษาของตรรกะเหตุผล จึงอยู่ที่ตัวเองอยู่ที่อัตตาของตัวเอง หาใช่คู่สนทนาไม่ (ยังมีต่อ)
www.dragon-press.com