*ว่าด้วยการปลุกจักระในกุณฑาลินีโยคะ*
ใน วิถีแห่งโยคะ ซึ่งเป็นดุจบันไดที่มีอยู่ 8 ขั้น ซึ่งได้แก่
(1) ยมะ (ศีล) (2) นิยมะ (จริยะ)
(3) อาสนะ (ท่าดัดตน) (4) ปราณายามะ (วิธีควบคุมการหายใจ)
(5) ปรัตยาหาระ (การควบคุมอินทรีย์และทำให้ความรู้สึกของอินทรีย์สิ้นไป
(6) ธารณะ (การเพ่งจดจ่อของจิต)
(7) ธยานะ (การบรรลุฌาน)
(8) สมาธิ (การบรรลุสมาบัติ)
การปลุกจักระในกุณฑาลินีโยคะนั้น ถือว่าเป็นการฝึกในขั้นตอนของพันธะและมุทรา ซึ่งเป็นการฝึกในช่วงปลายๆ ของปราณายามะนั่นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ที่สมควรจะฝึกการปลุกจักระต่างๆ ในกุณฑาลินีโยคะได้ ควรเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอาสนะและปราณายามะมาได้สักระยะหนึ่งแล้วเท่านั้น เพราะการฝึกปลุกจักระต่างๆ นั้นจะว่าไปแล้ว ก็เป็นการฝึกในระหว่างที่ผู้ฝึกกุณฑาลินีโยคะกำลังฝึกฝนพันธะและมุทราต่างๆ ให้ช่ำชองเชี่ยวชาญ ก่อนที่จะก้าวไปสู่การฝึกทางจิต และการชำระกายทิพย์ชั้นต่างๆ อย่างเต็มตัว ตั้งแต่ขั้นปรัตยาหาระขึ้นไป (ซึ่งในวิชากุณฑาลินีโยคะเรียกว่า “กิริยา” หรือการบำเพ็ญ) นั่นเอง
เคล็ดการฝึกปลุกจักระในกุณฑาลินีโยคะอย่างเป็นระบบมีดังต่อไปนี้
ก่อนอื่น ผู้ฝึกควรจะเริ่มต้นจากการฝึกปลุกจักระที่ 6 (อาชณะ) ที่กลางหว่างคิ้วก่อนเป็นอันดับแรก คำว่า อาชณะแปลว่า รากฐานแห่งความรู้ทั้งปวง ตำแหน่งอาชณะที่กลางหว่างคิ้วนี้ เป็นฐานของการสั่งงานหรือเป็นศูนย์บัญชาการของจิต และยังเป็นที่ติดต่อกับจิตเดิมแท้ที่สถิตอยู่ภายในด้วย จักระที่ 6 จึงมีความสำคัญในการฝึกจิตมาก เพราะมันเป็นที่บรรจบของช่องทางเดินพลังปราณทั้ง 3 คือ อิทะ ปิงคละ และสุษุมนะ ซึ่งหมายความว่า ผู้ฝึกจะสามารถสัมผัสและเข้าถึงศูนย์รวมแห่งภูมิธรรม และภูมิปัญญาที่แท้จริงของตนได้ โดยผ่านการฝึกโยคะ
การฝึกปลุกจักระที่ 6 จะช่วยทำให้จิตใจของผู้ฝึกบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น เมื่อจิตบริสุทธิ์ขึ้นแล้วจึงจะสามารถปลุกจักระอื่นๆ ที่เหลือได้ หากผู้ฝึกไม่ฝึกจิตตนให้บริสุทธิ์เสียก่อน โดยผ่านการฝึกจักระที่ 6 แต่กลับไปฝึกกระตุ้นจักระอื่นๆ ก่อน โดยที่จักระอื่นๆ โดยเฉพาะจักระบริเวณส่วนล่างของร่างกายนั้น เป็นที่บรรจุความทรงจำที่ผ่านมา ทั้งแบบดีและแบบไม่ดี ทั้งที่รื่นรมย์และที่เจ็บปวด ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เมื่อจักระเหล่านี้ถูกปลุกกระตุ้น ความทรงจำหรือความคิดต่างๆ ที่เคยกักเก็บเอาไว้ทั้งส่วนดี และส่วนไม่ดีมันจะถูกปล่อยออกมาหมด
หากผู้ฝึกไม่สามารถเผชิญกับแรงกดดันของความคิดในเชิงลบต่างๆ เหล่านี้ได้ มันจะส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจของตัวผู้ฝึกเอง เพราะฉะนั้น กุณฑาลินีโยคะจึงแนะนำว่าก่อนที่จะเริ่มปลุกจักระอื่นๆ ทางที่ดีที่สุดผู้ฝึกควรจะเริ่มต้นจากการปลุกจักระที่ 6 เสียก่อน เพราะตำแหน่งนี้เป็นจุดบรรจบของช่องทางเดินพลังปราณทั้ง 3 ช่อง
วิธีการฝึกปลุกจักระที่ 6 ทำได้หลากหลายซึ่งผู้ฝึกควรเลือกช่วงเวลาหนึ่ง ทำการฝึกปลุกจักระที่ 6 นี้ด้วย วิธีต่างๆ ควบคู่กันไปอย่างบูรณาการ ดังต่อไปนี้
(ก) ใช้เสียงมนตร์ “โอม” ในการทำสมาธิปลุกจักระที่ 6 โดยที่ในขณะที่ผู้ฝึกหลับตาทำสมาธิ พร้อมกับเปล่งเสียง “โอม” ออกมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ นั้น ให้ผู้ฝึกทำการส่งจิตใจมาจดจ่ออยู่ที่จักระที่ 6 ในขณะที่กำลังเปล่งเสียง “โอม” อยู่ โดยที่ผู้ฝึกไม่ควรตั้งใจมากเกินไปจนเครียด ขอให้ผู้ฝึกทำการส่งจิตจดจ่ออยู่ที่จักระที่ 6 อย่างเป็นธรรมชาติ จนกระทั่งตัวผู้ฝึกสามารถตระหนักถึงฐานที่ตั้งของจักระแห่งนี้ได้เอง โดยใช้ความรู้สึกที่สัมผัสได้บริเวณนั้น เป็นตัวจับ อนึ่ง ความรู้สึกบริเวณนั้นมันจะชัดเจนยิ่งขึ้น หากผู้ฝึกบริกรรมคำว่า “โอม” เพียงแผ่วเบาให้เกิดขึ้นเอง
ผู้ฝึกอย่าไปพยายามท่องคำว่า โอม แต่ควรปล่อยให้คำว่า โอมนี้มันผุดขึ้นมาในจิตสำนึกของผู้ฝึกเอง เนื่องจากจักระที่ 6 มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ดวงตาที่สาม” ก็เพราะกุณฑาลินีโยคะ เชื่อว่า การฝึกสมาธิส่งจิตใจมาจดจ่อที่บริเวณนี้ มันจะไปช่วยพัฒนาต่อไพนีลในสมอง ทำให้สามารถเปล่งศักยภาพหรือความสามารถที่ซ่อนเร้นออกมาได้ อีกทั้งยังจะไปช่วยปลดปล่อยความเครียดที่ฝังแน่นอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายออกมาได้ด้วย
(ข) เนื่องจากจักระที่ 1 (มูลธาร) ติดต่อกันถึงจักระที่ 6 ได้ กุณฑาลินีโยคะจึงใช้ท่า “อัศวิณีมุทรา” (Ashwini Mudra) ไปกระตุ้นจักระที่ 1 ให้ตื่นตัว เพื่อส่งผลทางอ้อมไปปลุกจักระที่ 6 ด้วยได้ วิธีการฝึก อัศวิณีมุทราเป็นดังนี้ ก่อนอื่นนั่งขัดสมาธิในท่าที่ตัวเองถนัดและสบาย แต่การนั่งในท่าสิทธะอาสนะน่าจะเหมาะสมที่สุด จากนั้นผู้ฝึกต้องผ่อนคลายร่างกายทั่วร่าง หลับตา แล้วหายใจอย่างธรรมดาตามปกติ แต่ควรจะหายใจช้าๆ จากนั้นทำการขมิบกล้ามเนื้อบริเวณรอบรูทวารหนัก เป็นเวลาครึ่งวินาที แล้วค่อยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้น เป็นเวลาครึ่งวินาทีเช่นกัน ทำการขมิบแล้วค่อยสลับไปสลับมา เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ เป็นเวลา 3-5 นาที ในระหว่างนั้น ผู้ฝึกจะต้องจดจ่อจิตใจทั้งหมดไปที่บริเวณปลายกระดูกสันหลังบริเวณก้นกบ แล้วตระหนักถึงจังหวะคลื่นของการขมิบแล้วคลาย ขมิบแล้วคลาย ที่กระทำอย่างต่อเนื่อง บริเวณรอบรูทวารหนักนั้น
(ค) เคล็ดในการฝึกปลุกจักระที่ 6 มีดังนี้ ควรนั่งขัดสมาธิในห้องที่ดับไฟจนมืดสนิท ใช้เท้าขวาอยู่บนหน้าขาซ้าย ฝ่าเท้าซ้ายกดไปที่บริเวณกล้ามเนื้อแถวรอยฝีเย็บ มือทั้งสองข้างวางบนเข่า นิ้วชี้งอมาเกือบจะแตะนิ้วหัวแม่มือ ขณะที่อีกสามนิ้วที่เหลือชิดกันและเหยียดตรง มือทั้งสองหงายบนเข่า นั่งตัวตรง หลังตรง เก็บคาง ไม่สวมแว่นตา หลับตาเพียงแผ่วเบา ไม่เกร็ง ผ่อนคลายทั่วร่าง ในขณะที่ผู้ฝึกหลับตาอยู่นั้น จงส่งสมาธิจิตไปที่จุดกึ่งกลางระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง หายใจเข้า โดยที่ในตอนหายใจเข้า ผู้ฝึกจะต้องทำการบีบรัดหรือขมิบกล้ามเนื้อบริเวณรอยฝีเย็บไปด้วย จากนั้นให้ทำการกักลมหายใจไว้ชั่วขณะ โดยที่ในตอนนั้นก็ยังขมิบอยู่ พอหายใจออก ก็ค่อยๆ คลายกล้ามเนื้อบริเวณรอยฝีเย็บออก ทำการขมิบและคลายกล้ามเนื้อบริเวณรอยฝีเย็บเช่นนี้สลับกันไป จงทำด้วยความตั้งใจ แต่อย่าไปฝืนเกร็ง ให้ฝึกไปตามจังหวะขมิบแล้วคลาย ขมิบแล้วคลายอยู่อย่างนี้ โดยไม่เคลื่อนไหวร่างกายส่วนอื่นใดเลย ให้ฝึกเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ประมาณ 10 นาที
อนึ่ง ขอให้สังเกตว่า ถ้าขมิบกล้ามเนื้อบริเวณรอบรูทวารหนักจะเรียกว่า อัศวิณีมุทรา แต่ถ้าขมิบกล้ามเนื้อบริเวณรอยฝีเย็บจะเรียกว่า มูลพันธะ และถ้าจดจ่อจิตไปที่โคนอวัยวะเพศชายหรือต่อมคลิตอรีสของเพศหญิง จะเรียกว่า วัชโรลิมุทรา ผู้ฝึกจะต้องไม่สับสนและฝึกปนเปกัน แต่จะต้องตระหนักรู้ให้ชัดแจ้งเสมอว่า ขณะนี้ตนเองกำลังฝึกอะไรอยู่ระหว่างอัศวิณีมุทรา หรือมูลพันธะหรือวัชโรลิมุทรา โดยที่ ถ้าฝึกวัชโรลิมุทรา จะเป็นการฝึกกระตุ้นจักระที่ 2 แต่การฝึกมูลพันธะ เป็นการฝึกกระตุ้นจักระที่ 6 ส่วนอัศวิณีมุทราเป็นการกระตุ้นจักระที่ 1 ให้ตื่นตัว เพื่อส่งผลทางอ้อมไปปลุกจักระที่ 6 (ยังมีต่อ)
www.dragon-press.com
ใน วิถีแห่งโยคะ ซึ่งเป็นดุจบันไดที่มีอยู่ 8 ขั้น ซึ่งได้แก่
(1) ยมะ (ศีล) (2) นิยมะ (จริยะ)
(3) อาสนะ (ท่าดัดตน) (4) ปราณายามะ (วิธีควบคุมการหายใจ)
(5) ปรัตยาหาระ (การควบคุมอินทรีย์และทำให้ความรู้สึกของอินทรีย์สิ้นไป
(6) ธารณะ (การเพ่งจดจ่อของจิต)
(7) ธยานะ (การบรรลุฌาน)
(8) สมาธิ (การบรรลุสมาบัติ)
การปลุกจักระในกุณฑาลินีโยคะนั้น ถือว่าเป็นการฝึกในขั้นตอนของพันธะและมุทรา ซึ่งเป็นการฝึกในช่วงปลายๆ ของปราณายามะนั่นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ที่สมควรจะฝึกการปลุกจักระต่างๆ ในกุณฑาลินีโยคะได้ ควรเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอาสนะและปราณายามะมาได้สักระยะหนึ่งแล้วเท่านั้น เพราะการฝึกปลุกจักระต่างๆ นั้นจะว่าไปแล้ว ก็เป็นการฝึกในระหว่างที่ผู้ฝึกกุณฑาลินีโยคะกำลังฝึกฝนพันธะและมุทราต่างๆ ให้ช่ำชองเชี่ยวชาญ ก่อนที่จะก้าวไปสู่การฝึกทางจิต และการชำระกายทิพย์ชั้นต่างๆ อย่างเต็มตัว ตั้งแต่ขั้นปรัตยาหาระขึ้นไป (ซึ่งในวิชากุณฑาลินีโยคะเรียกว่า “กิริยา” หรือการบำเพ็ญ) นั่นเอง
เคล็ดการฝึกปลุกจักระในกุณฑาลินีโยคะอย่างเป็นระบบมีดังต่อไปนี้
ก่อนอื่น ผู้ฝึกควรจะเริ่มต้นจากการฝึกปลุกจักระที่ 6 (อาชณะ) ที่กลางหว่างคิ้วก่อนเป็นอันดับแรก คำว่า อาชณะแปลว่า รากฐานแห่งความรู้ทั้งปวง ตำแหน่งอาชณะที่กลางหว่างคิ้วนี้ เป็นฐานของการสั่งงานหรือเป็นศูนย์บัญชาการของจิต และยังเป็นที่ติดต่อกับจิตเดิมแท้ที่สถิตอยู่ภายในด้วย จักระที่ 6 จึงมีความสำคัญในการฝึกจิตมาก เพราะมันเป็นที่บรรจบของช่องทางเดินพลังปราณทั้ง 3 คือ อิทะ ปิงคละ และสุษุมนะ ซึ่งหมายความว่า ผู้ฝึกจะสามารถสัมผัสและเข้าถึงศูนย์รวมแห่งภูมิธรรม และภูมิปัญญาที่แท้จริงของตนได้ โดยผ่านการฝึกโยคะ
การฝึกปลุกจักระที่ 6 จะช่วยทำให้จิตใจของผู้ฝึกบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น เมื่อจิตบริสุทธิ์ขึ้นแล้วจึงจะสามารถปลุกจักระอื่นๆ ที่เหลือได้ หากผู้ฝึกไม่ฝึกจิตตนให้บริสุทธิ์เสียก่อน โดยผ่านการฝึกจักระที่ 6 แต่กลับไปฝึกกระตุ้นจักระอื่นๆ ก่อน โดยที่จักระอื่นๆ โดยเฉพาะจักระบริเวณส่วนล่างของร่างกายนั้น เป็นที่บรรจุความทรงจำที่ผ่านมา ทั้งแบบดีและแบบไม่ดี ทั้งที่รื่นรมย์และที่เจ็บปวด ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เมื่อจักระเหล่านี้ถูกปลุกกระตุ้น ความทรงจำหรือความคิดต่างๆ ที่เคยกักเก็บเอาไว้ทั้งส่วนดี และส่วนไม่ดีมันจะถูกปล่อยออกมาหมด
หากผู้ฝึกไม่สามารถเผชิญกับแรงกดดันของความคิดในเชิงลบต่างๆ เหล่านี้ได้ มันจะส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจของตัวผู้ฝึกเอง เพราะฉะนั้น กุณฑาลินีโยคะจึงแนะนำว่าก่อนที่จะเริ่มปลุกจักระอื่นๆ ทางที่ดีที่สุดผู้ฝึกควรจะเริ่มต้นจากการปลุกจักระที่ 6 เสียก่อน เพราะตำแหน่งนี้เป็นจุดบรรจบของช่องทางเดินพลังปราณทั้ง 3 ช่อง
วิธีการฝึกปลุกจักระที่ 6 ทำได้หลากหลายซึ่งผู้ฝึกควรเลือกช่วงเวลาหนึ่ง ทำการฝึกปลุกจักระที่ 6 นี้ด้วย วิธีต่างๆ ควบคู่กันไปอย่างบูรณาการ ดังต่อไปนี้
(ก) ใช้เสียงมนตร์ “โอม” ในการทำสมาธิปลุกจักระที่ 6 โดยที่ในขณะที่ผู้ฝึกหลับตาทำสมาธิ พร้อมกับเปล่งเสียง “โอม” ออกมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ นั้น ให้ผู้ฝึกทำการส่งจิตใจมาจดจ่ออยู่ที่จักระที่ 6 ในขณะที่กำลังเปล่งเสียง “โอม” อยู่ โดยที่ผู้ฝึกไม่ควรตั้งใจมากเกินไปจนเครียด ขอให้ผู้ฝึกทำการส่งจิตจดจ่ออยู่ที่จักระที่ 6 อย่างเป็นธรรมชาติ จนกระทั่งตัวผู้ฝึกสามารถตระหนักถึงฐานที่ตั้งของจักระแห่งนี้ได้เอง โดยใช้ความรู้สึกที่สัมผัสได้บริเวณนั้น เป็นตัวจับ อนึ่ง ความรู้สึกบริเวณนั้นมันจะชัดเจนยิ่งขึ้น หากผู้ฝึกบริกรรมคำว่า “โอม” เพียงแผ่วเบาให้เกิดขึ้นเอง
ผู้ฝึกอย่าไปพยายามท่องคำว่า โอม แต่ควรปล่อยให้คำว่า โอมนี้มันผุดขึ้นมาในจิตสำนึกของผู้ฝึกเอง เนื่องจากจักระที่ 6 มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ดวงตาที่สาม” ก็เพราะกุณฑาลินีโยคะ เชื่อว่า การฝึกสมาธิส่งจิตใจมาจดจ่อที่บริเวณนี้ มันจะไปช่วยพัฒนาต่อไพนีลในสมอง ทำให้สามารถเปล่งศักยภาพหรือความสามารถที่ซ่อนเร้นออกมาได้ อีกทั้งยังจะไปช่วยปลดปล่อยความเครียดที่ฝังแน่นอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายออกมาได้ด้วย
(ข) เนื่องจากจักระที่ 1 (มูลธาร) ติดต่อกันถึงจักระที่ 6 ได้ กุณฑาลินีโยคะจึงใช้ท่า “อัศวิณีมุทรา” (Ashwini Mudra) ไปกระตุ้นจักระที่ 1 ให้ตื่นตัว เพื่อส่งผลทางอ้อมไปปลุกจักระที่ 6 ด้วยได้ วิธีการฝึก อัศวิณีมุทราเป็นดังนี้ ก่อนอื่นนั่งขัดสมาธิในท่าที่ตัวเองถนัดและสบาย แต่การนั่งในท่าสิทธะอาสนะน่าจะเหมาะสมที่สุด จากนั้นผู้ฝึกต้องผ่อนคลายร่างกายทั่วร่าง หลับตา แล้วหายใจอย่างธรรมดาตามปกติ แต่ควรจะหายใจช้าๆ จากนั้นทำการขมิบกล้ามเนื้อบริเวณรอบรูทวารหนัก เป็นเวลาครึ่งวินาที แล้วค่อยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณนั้น เป็นเวลาครึ่งวินาทีเช่นกัน ทำการขมิบแล้วค่อยสลับไปสลับมา เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ เป็นเวลา 3-5 นาที ในระหว่างนั้น ผู้ฝึกจะต้องจดจ่อจิตใจทั้งหมดไปที่บริเวณปลายกระดูกสันหลังบริเวณก้นกบ แล้วตระหนักถึงจังหวะคลื่นของการขมิบแล้วคลาย ขมิบแล้วคลาย ที่กระทำอย่างต่อเนื่อง บริเวณรอบรูทวารหนักนั้น
(ค) เคล็ดในการฝึกปลุกจักระที่ 6 มีดังนี้ ควรนั่งขัดสมาธิในห้องที่ดับไฟจนมืดสนิท ใช้เท้าขวาอยู่บนหน้าขาซ้าย ฝ่าเท้าซ้ายกดไปที่บริเวณกล้ามเนื้อแถวรอยฝีเย็บ มือทั้งสองข้างวางบนเข่า นิ้วชี้งอมาเกือบจะแตะนิ้วหัวแม่มือ ขณะที่อีกสามนิ้วที่เหลือชิดกันและเหยียดตรง มือทั้งสองหงายบนเข่า นั่งตัวตรง หลังตรง เก็บคาง ไม่สวมแว่นตา หลับตาเพียงแผ่วเบา ไม่เกร็ง ผ่อนคลายทั่วร่าง ในขณะที่ผู้ฝึกหลับตาอยู่นั้น จงส่งสมาธิจิตไปที่จุดกึ่งกลางระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง หายใจเข้า โดยที่ในตอนหายใจเข้า ผู้ฝึกจะต้องทำการบีบรัดหรือขมิบกล้ามเนื้อบริเวณรอยฝีเย็บไปด้วย จากนั้นให้ทำการกักลมหายใจไว้ชั่วขณะ โดยที่ในตอนนั้นก็ยังขมิบอยู่ พอหายใจออก ก็ค่อยๆ คลายกล้ามเนื้อบริเวณรอยฝีเย็บออก ทำการขมิบและคลายกล้ามเนื้อบริเวณรอยฝีเย็บเช่นนี้สลับกันไป จงทำด้วยความตั้งใจ แต่อย่าไปฝืนเกร็ง ให้ฝึกไปตามจังหวะขมิบแล้วคลาย ขมิบแล้วคลายอยู่อย่างนี้ โดยไม่เคลื่อนไหวร่างกายส่วนอื่นใดเลย ให้ฝึกเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ประมาณ 10 นาที
อนึ่ง ขอให้สังเกตว่า ถ้าขมิบกล้ามเนื้อบริเวณรอบรูทวารหนักจะเรียกว่า อัศวิณีมุทรา แต่ถ้าขมิบกล้ามเนื้อบริเวณรอยฝีเย็บจะเรียกว่า มูลพันธะ และถ้าจดจ่อจิตไปที่โคนอวัยวะเพศชายหรือต่อมคลิตอรีสของเพศหญิง จะเรียกว่า วัชโรลิมุทรา ผู้ฝึกจะต้องไม่สับสนและฝึกปนเปกัน แต่จะต้องตระหนักรู้ให้ชัดแจ้งเสมอว่า ขณะนี้ตนเองกำลังฝึกอะไรอยู่ระหว่างอัศวิณีมุทรา หรือมูลพันธะหรือวัชโรลิมุทรา โดยที่ ถ้าฝึกวัชโรลิมุทรา จะเป็นการฝึกกระตุ้นจักระที่ 2 แต่การฝึกมูลพันธะ เป็นการฝึกกระตุ้นจักระที่ 6 ส่วนอัศวิณีมุทราเป็นการกระตุ้นจักระที่ 1 ให้ตื่นตัว เพื่อส่งผลทางอ้อมไปปลุกจักระที่ 6 (ยังมีต่อ)
www.dragon-press.com