ASTVผู้จัดการรายวัน-นักเรียนได้เฮ! กระทรวงศึกษาธิการคลอดกฎใหม่ ตัดผมรองทรง ซอย ไว้ยาวได้ หรือหากต้องไว้ผมตามหลักศาสนา ประเพณี ให้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป พร้อมปิดทางห้ามโรงเรียนออกเกณฑ์ใหม่มาบังคับอีก คาดบังคับใช้ปีการศึกษานี้ เตรียมเสนอ ครม. พิจารณา 26 พ.ค.
นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน วานนี้ (15 พ.ค.) ว่า ขณะนี้ นายพงศ์เทพ ได้ลงนามในร่างกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติ การแต่งกาย และแบบทรงผมของนักเรียนนักศึกษา พ.ศ. ... ตามที่ตนได้เสนอให้พิจารณาเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมาแล้ว โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ เปิดช่องให้นักเรียนชายไว้ทรงผมรองทรงได้ โดยระบุว่า “นักเรียนชายให้ไว้ผมด้านข้างและด้านหลังยาวไม่เลยตีนผมหรือผมรองทรงก็ได้“ และให้นักเรียนหญิงสามารถเลือกไว้ทรงผมสั้นหรือยาวได้ โดยระบุว่า “นักเรียนหญิงให้ไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ยาวก็ให้รวบให้เรียบร้อย”
อย่างไรก็ตาม ในร่างเดียวกันนี้ ก่อนหน้าที่เสนอ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณามีข้อความว่า “ห้ามนักเรียนซอยผม“ อยู่ด้วย แต่ รมว.ศึกษาธิการ ให้ปรับแก้ถ้อยคำโดยตัดคำว่า “ห้ามนักเรียนซอยผม” ออก โดยให้เหตุผลว่า การที่นักเรียนตัดรองทรงสั้นได้ไม่เลยตีนผมด้านหลัง ก็ถือว่าเป็นการซอยผมเช่นกัน ดังนั้น เมื่อตัดคำว่า ห้ามซอยผมออก ก็เท่ากับว่า นักเรียนหญิงสามารถซอยผมได้ด้วย
นอกจากนี้ รมว.ศึกษาธิการ ยังให้เพิ่มข้อความว่า “หากนักเรียนมีความจำเป็นต้องไว้ทรงผมแตกต่างจากที่กำหนด เนื่องจากความจำเป็นทางศาสนา ประเพณีหรือความจำเป็นอื่นใด ก็ให้อยู่ในอำนาจของสถานศึกษานั้นเป็นผู้พิจารณา” และให้ตัดคำว่า “โรงเรียนอาจกำหนดแบบทรงผมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ โดยให้รับฟังความคิดเห็นและทำประชาพิจารณ์ร่วมกับนักเรียนให้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการสถานศึกษาก่อน” ออกไป ซึ่งหมายความว่า กฎกระทรวงฉบับนี้ จะเปิดกว้างให้อิสระกับนักเรียน ขณะที่โรงเรียนไม่มีสิทธิไปกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม เช่น เดิมกฎกระทรวงกำหนดว่า เด็กผู้หญิงไว้ผมยาวได้ แต่ต้องรวบให้เรียบร้อย แต่บางโรงเรียนกำหนดเพิ่มเติมว่าการรวบให้เรียบร้อย อาจจะหมายถึงการถักผมเปียอย่างเดียว หรือบางโรงเรียนอาจจะกำหนดว่า ไม่ให้ผมยาวเลยตีนผมไปเกินกว่า 8นิ้ว เป็นต้น
“หากตัดถ้อยคำนี้ออก เท่ากับว่าโรงเรียนจะไม่สามารถกำหนดอะไรเพิ่มเติมได้อีกเลย เพราะในร่างกฎกระทรวงไม่ได้ให้อำนาจไว้ ซึ่งการแก้ร่างกฎกระทรวงฯ ครั้งนี้ นายพงศ์เทพ เป็นคนขีดฆ่าถ้อยคำ และพิจารณาข้อกฎหมายด้วยตนเอง จึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ขณะเดียวกันตอนนี้ เปิดเทอมไปแล้ว ได้รับแจ้งว่ามีบางโรงเรียนในต่างจังหวัดไล่ให้นักเรียนไปตัดผมใหม่เกือบ 300 คน ดังนั้น นายพงศ์เทพ จึงมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปทำความเข้าใจกับผู้บริหารโรงเรียน ว่าเวลานี้ขอให้ยึดถือกฎกระทรวง พ.ศ.2518 เป็นหลัก เพราะกฎกระทรวงดังกล่าวให้เด็กไว้ผมรองทรงได้ ไว้ผมยาวได้ ซึ่งประเด็นส่วนใหญ่ไม่ต่างกับร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่ เพียงแต่มีรายละเอียดเพิ่มเติมนิดหน่อย”นางพนิตากล่าว
ทั้งนี้ คาดว่าร่างกฎกระทรวงฯ ฉบับใหม่นี้ จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 21 พ.ค. จากนั้นเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงจะถือว่ามีผลบังคับใช้ ซึ่งจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2556 นี้
นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน วานนี้ (15 พ.ค.) ว่า ขณะนี้ นายพงศ์เทพ ได้ลงนามในร่างกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติ การแต่งกาย และแบบทรงผมของนักเรียนนักศึกษา พ.ศ. ... ตามที่ตนได้เสนอให้พิจารณาเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมาแล้ว โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้ เปิดช่องให้นักเรียนชายไว้ทรงผมรองทรงได้ โดยระบุว่า “นักเรียนชายให้ไว้ผมด้านข้างและด้านหลังยาวไม่เลยตีนผมหรือผมรองทรงก็ได้“ และให้นักเรียนหญิงสามารถเลือกไว้ทรงผมสั้นหรือยาวได้ โดยระบุว่า “นักเรียนหญิงให้ไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ยาวก็ให้รวบให้เรียบร้อย”
อย่างไรก็ตาม ในร่างเดียวกันนี้ ก่อนหน้าที่เสนอ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณามีข้อความว่า “ห้ามนักเรียนซอยผม“ อยู่ด้วย แต่ รมว.ศึกษาธิการ ให้ปรับแก้ถ้อยคำโดยตัดคำว่า “ห้ามนักเรียนซอยผม” ออก โดยให้เหตุผลว่า การที่นักเรียนตัดรองทรงสั้นได้ไม่เลยตีนผมด้านหลัง ก็ถือว่าเป็นการซอยผมเช่นกัน ดังนั้น เมื่อตัดคำว่า ห้ามซอยผมออก ก็เท่ากับว่า นักเรียนหญิงสามารถซอยผมได้ด้วย
นอกจากนี้ รมว.ศึกษาธิการ ยังให้เพิ่มข้อความว่า “หากนักเรียนมีความจำเป็นต้องไว้ทรงผมแตกต่างจากที่กำหนด เนื่องจากความจำเป็นทางศาสนา ประเพณีหรือความจำเป็นอื่นใด ก็ให้อยู่ในอำนาจของสถานศึกษานั้นเป็นผู้พิจารณา” และให้ตัดคำว่า “โรงเรียนอาจกำหนดแบบทรงผมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ โดยให้รับฟังความคิดเห็นและทำประชาพิจารณ์ร่วมกับนักเรียนให้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการสถานศึกษาก่อน” ออกไป ซึ่งหมายความว่า กฎกระทรวงฉบับนี้ จะเปิดกว้างให้อิสระกับนักเรียน ขณะที่โรงเรียนไม่มีสิทธิไปกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม เช่น เดิมกฎกระทรวงกำหนดว่า เด็กผู้หญิงไว้ผมยาวได้ แต่ต้องรวบให้เรียบร้อย แต่บางโรงเรียนกำหนดเพิ่มเติมว่าการรวบให้เรียบร้อย อาจจะหมายถึงการถักผมเปียอย่างเดียว หรือบางโรงเรียนอาจจะกำหนดว่า ไม่ให้ผมยาวเลยตีนผมไปเกินกว่า 8นิ้ว เป็นต้น
“หากตัดถ้อยคำนี้ออก เท่ากับว่าโรงเรียนจะไม่สามารถกำหนดอะไรเพิ่มเติมได้อีกเลย เพราะในร่างกฎกระทรวงไม่ได้ให้อำนาจไว้ ซึ่งการแก้ร่างกฎกระทรวงฯ ครั้งนี้ นายพงศ์เทพ เป็นคนขีดฆ่าถ้อยคำ และพิจารณาข้อกฎหมายด้วยตนเอง จึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ขณะเดียวกันตอนนี้ เปิดเทอมไปแล้ว ได้รับแจ้งว่ามีบางโรงเรียนในต่างจังหวัดไล่ให้นักเรียนไปตัดผมใหม่เกือบ 300 คน ดังนั้น นายพงศ์เทพ จึงมอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปทำความเข้าใจกับผู้บริหารโรงเรียน ว่าเวลานี้ขอให้ยึดถือกฎกระทรวง พ.ศ.2518 เป็นหลัก เพราะกฎกระทรวงดังกล่าวให้เด็กไว้ผมรองทรงได้ ไว้ผมยาวได้ ซึ่งประเด็นส่วนใหญ่ไม่ต่างกับร่างกฎกระทรวงฉบับใหม่ เพียงแต่มีรายละเอียดเพิ่มเติมนิดหน่อย”นางพนิตากล่าว
ทั้งนี้ คาดว่าร่างกฎกระทรวงฯ ฉบับใหม่นี้ จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 21 พ.ค. จากนั้นเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงจะถือว่ามีผลบังคับใช้ ซึ่งจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2556 นี้