ผู้ปกครอง-นร.โวย ร.ร.ยังบังคับเด็กไถเกรียน ไม่ยอมทำตามนโยบาย ศธ.
นายประแสง มงคลศิริ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ได้มีหนังสื่อสั่งการถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานศึกษาในสังกัด เพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียน โดยให้นักเรียนชายเลิกไถเกรียน และไว้ผมรองทรงได้ แต่ความยาวด้านหลังต้องไม่เกินตีนผม ส่วนนักเรียนหญิงให้ไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวต้องรวบให้เรียบร้อย โดยให้สถานศึกษาปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนเป็นแนวทางทางเดียวกัน และหากสถานศึกษาใดไม่ปฏิบัติตามให้ร้องเรียนมาที่กระทรวงศึกษาธิการนั้น
ล่าสุดตนได้รับการร้องเรียนจากนักเรียนว่ามีสถานศึกษาหลายแห่งไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติดังกล่าว ตนจึงได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวพบว่ามีการร้องเรียนจากผู้ปกครองและนักเรียนผ่านสายด่วนการศึกษา 1579 กรณีดังกล่าวจำนวน 38 เรื่อง ทั้งนี้เรื่องที่ร้องเรียนส่วนใหญ่จะระบุว่าโรงเรียนได้รับหนังสือเวียนจาก ศธ.และได้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาแล้ว แต่ยังปฏิบัติโดยยึดตามระเบียบเดิมโดยบังคับนักเรียนไถเกรียน ในขณะที่สถานศึกษาบางแห่งปกติจะอนุญาตให้นักเรียนหญิงไว้ผมยาวแล้วรวบผมเรียบร้อย แต่หลังกระทรวงศึกษาธิการออกประกาศกลับให้นักเรียนตัดผมสั้น รมว.ศึกษาธิการ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมทั้งให้ สพฐ.ดำเนินการแจ้งสถานศึกษา เพื่อย้ำให้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันอีกครั้ง
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ได้เคยทำหนังสือแจ้งไปผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึษามัธยมศึกษาทุกเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อแจ้งไปยังสถานศึกษาในสังกัด สพฐ.ทั่วประเทศ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนและขอให้สถานศึกษาปฎิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนเป็นแนวทางเดียวกัน โดยให้ยึดกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 พ.ศ.2518 ออกตามความในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน 2515 เป็นหลักก่อน ได้แก่ 1.นักเรียนชายให้ไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ หากไว้ผมยาวด้านข้างและด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม เช่น แบบทรงผมรองทรง และ 2.นักเรียนหญิง ให้ไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวต้องรวบให้เรียบร้อย ฉะนั้นตนขอย้ำให้โรงเรียนได้ยึดตามแนวปฏิบัตินี้แต่หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามก็ต้องรับผิดชอบ
“ทั้งนี้ในส่วนของโรงเรียนบางแห่งที่จะมีแนวปฏิบัติด้วยการเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนก็ทำได้และขึ้นอยู่กับการพิจารณาของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน ส่วนนักเรียนที่อาจไม่เห็นด้วยกับแนวปฏิบัติของโรงเรียนก็สามารถเสนอความเห็นผ่านคณะกรรมการภาคีเครือข่ายฝ่ายต่างๆ ได้ จะทำให้เรื่องจบได้ภายในโรงเรียน” เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม การที่โรงเรียนจะกำหนดเกี่ยวกับทรงผมนักเรียนควรให้ทุกฝ่าย อาทิ นักเรียน ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
นายประแสง มงคลศิริ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ได้มีหนังสื่อสั่งการถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานศึกษาในสังกัด เพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียน โดยให้นักเรียนชายเลิกไถเกรียน และไว้ผมรองทรงได้ แต่ความยาวด้านหลังต้องไม่เกินตีนผม ส่วนนักเรียนหญิงให้ไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวต้องรวบให้เรียบร้อย โดยให้สถานศึกษาปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนเป็นแนวทางทางเดียวกัน และหากสถานศึกษาใดไม่ปฏิบัติตามให้ร้องเรียนมาที่กระทรวงศึกษาธิการนั้น
ล่าสุดตนได้รับการร้องเรียนจากนักเรียนว่ามีสถานศึกษาหลายแห่งไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติดังกล่าว ตนจึงได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวพบว่ามีการร้องเรียนจากผู้ปกครองและนักเรียนผ่านสายด่วนการศึกษา 1579 กรณีดังกล่าวจำนวน 38 เรื่อง ทั้งนี้เรื่องที่ร้องเรียนส่วนใหญ่จะระบุว่าโรงเรียนได้รับหนังสือเวียนจาก ศธ.และได้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาแล้ว แต่ยังปฏิบัติโดยยึดตามระเบียบเดิมโดยบังคับนักเรียนไถเกรียน ในขณะที่สถานศึกษาบางแห่งปกติจะอนุญาตให้นักเรียนหญิงไว้ผมยาวแล้วรวบผมเรียบร้อย แต่หลังกระทรวงศึกษาธิการออกประกาศกลับให้นักเรียนตัดผมสั้น รมว.ศึกษาธิการ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมทั้งให้ สพฐ.ดำเนินการแจ้งสถานศึกษา เพื่อย้ำให้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันอีกครั้ง
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ได้เคยทำหนังสือแจ้งไปผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึษามัธยมศึกษาทุกเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อแจ้งไปยังสถานศึกษาในสังกัด สพฐ.ทั่วประเทศ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนและขอให้สถานศึกษาปฎิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนเป็นแนวทางเดียวกัน โดยให้ยึดกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 พ.ศ.2518 ออกตามความในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน 2515 เป็นหลักก่อน ได้แก่ 1.นักเรียนชายให้ไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ หากไว้ผมยาวด้านข้างและด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม เช่น แบบทรงผมรองทรง และ 2.นักเรียนหญิง ให้ไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวต้องรวบให้เรียบร้อย ฉะนั้นตนขอย้ำให้โรงเรียนได้ยึดตามแนวปฏิบัตินี้แต่หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามก็ต้องรับผิดชอบ
“ทั้งนี้ในส่วนของโรงเรียนบางแห่งที่จะมีแนวปฏิบัติด้วยการเน้นความเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนก็ทำได้และขึ้นอยู่กับการพิจารณาของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน ส่วนนักเรียนที่อาจไม่เห็นด้วยกับแนวปฏิบัติของโรงเรียนก็สามารถเสนอความเห็นผ่านคณะกรรมการภาคีเครือข่ายฝ่ายต่างๆ ได้ จะทำให้เรื่องจบได้ภายในโรงเรียน” เลขาธิการ กพฐ.กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม การที่โรงเรียนจะกำหนดเกี่ยวกับทรงผมนักเรียนควรให้ทุกฝ่าย อาทิ นักเรียน ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมด้วย