ศธ.เตรียมยกร่าง กฎกระทรวงกำหนดทรงผม นร.ใหม่ให้ทันสมัยขึ้น “พงศ์เทพ” ชี้แจงส่งหนังสือเวียน ย้ำ ร.ร.ยึดตามกฎกระทรวง ปี 2518 เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าเลิกบังคับเด็กชายเกรียนผม เด็กหญิงผมยาวให้รวบ ระบุ เหตุจากคณะกรรมการสิทธิฯ ได้รับการร้องเรียน ว่า การปฏิบัติที่แตกต่างของ ร.ร.ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ขณะที่ ผบ.หน่วยรักษาดินแดน ยันไม่ปรับกฎตาม ชี้ คนมาเรียนต้องปฏิบัติตามกฎของทหาร และไม่มองว่าเป็นการละเมิดสิทธิ ด้าน ครูฝ่ายปกครอง ร.ร.มัธยมวัดมกุฎฯ มองต่างไม่เห็นด้วย ชี้ ระเบียบที่มีอยู่ดีแล้ว ทั้งช่วยแยกแยะเด็ก นร.และ ปชช.ทั่วไปได้
วันนี้ (10 ม.ค.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชี้แจงถึงสาเหตุที่ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องออกมากำชับให้สถานศึกษาในสังกัดยึดเรื่องการไว้ทรงผมของนักเรียนตามกฎ กระทรวง พ.ศ.2518 ว่า เนื่องจากก่อนหน้านั้นมีการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องทรงผมไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ ได้มีหนังสือแจ้งมายัง ศธ.ว่า มีการปฏิบัติที่แตกต่างกันก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม ดังนั้น ตนจึงได้มอบให้สำนักงานปลัด ศธ.ไปนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาดูเพื่อเตรียมที่จะแก้ไข พบว่า มีกฎกระทรวงอยู่ 2 ฉบับ กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 พ.ศ.2515 บังคับให้นักเรียนชายต้องไถผมข้างเกรียน และนักเรียนหญิงตัดผมสั้นหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย
ทั้งนี้ ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมและออกเป็นกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 พ.ศ.2518 ที่ระบุว่า ให้นักเรียนชายตัดผมหรือไว้ผมด้านข้างและด้านหลังยาวเลยตีนผม และนักเรียนหญิงให้ตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ ซึ่งหากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย เพราะฉะนั้น เมื่อได้พิจารณาดูแล้วเห็นว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 18 ไม่ได้บังคับให้นักเรียนชายต้องไถข้างเกรียน แต่โรงเรียนส่วนใหญ่นำกฎกระทรวงปี 2515 มาใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ในส่วนของนักเรียนหญิงที่เคยให้โรงเรียนใช้ดุลพินิจ ซึ่งก่อให้เกิดการใช้ดุลพินิจที่แตกต่างกัน ตนเห็นว่าไม่มีเหตุผลอะไร หากนักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือยาวควรเป็นเรื่องของนักเรียนที่จะตัดสินใจ แต่หากจะไว้ยาวก็ต้องผูกให้เรียบร้อยจะได้เกิดความเท่าเทียม และทุกโรงเรียนจะได้ปฏิบัติเหมือนกัน ไม่ต้องมีปัญหาว่าบางโรงเรียนบังคับตัดแค่ติ่งหู มุมปาก หรือบางโรงเรียนปล่อยให้ยาวได้
“ ขณะนี้อยู่ระหว่างยกร่างแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องทรงผมนักเรียน ขณะเดียวกัน ก็ต้องทำความเข้าใจกับบรรดาผู้อำนวยการโรงเรียนทั่วประเทศด้วยว่าให้นักเรียนชายไว้ผมได้ยาวไม่เกินตีนผมไม่ใช่บังคับให้ไถข้างเกรียน ส่วนนักเรียนหญิงจะกำหนดให้เป็นทางเลือกเหมือนกันว่าให้นักเรียนหญิงไว้ผมสั้น หรือยาวก็ได้ แต่ถ้าไว้ผมยาวก็ต้องรวบให้เรียบร้อยตามกฎกระทรวง โดยได้ให้ ศธ.ทำหนังสือเวียนแจ้งโรงเรียนว่าให้ถือตามแนวทางนี้ อย่างไรก็ตาม ร่างกฎกระทรวงเกี่ยวกับทรงผมนักเรียนฉบับใหม่นี้ จะปรับปรุงให้ทันสมัยด้วย เช่น เรื่องการทำสีผมที่ในสมัยนั้นไม่มีแต่สมัยนี้มี ดังนั้น ในกฎกระทรวงใหม่ที่ออกมาคงต้องมีการพูดเรื่องนี้ด้วย ส่วนจะเป็นอย่างไรคงต้องมีการรับฟังความคิดเห็นก่อน” นายพงศ์เทพ กล่าว
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวต่อว่า ในส่วนวิทยาลัยในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) นั้นมีการผ่อนปรนเรื่องการไว้ทรงผมของนักเรียน นักศึกษาอยู่แล้ว โดยนักเรียนชายก็อนุญาตให้ตัดผมทรงรองทรงได้ และนักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ อย่างไรก็ตาม การไว้ทรงผมของนักเรียน นักศึกษา ก็จะเป็นไปตามธรรมชาติของสาขาวิชาที่เรียนด้วย เช่น นักเรียนที่เรียนสาขาช่าง ก็มักจะตัดผมสั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายระหว่างปฏิบัติกับเรื่องจักร ส่วนสาขาศิลปะ ก็ผ่อนปรนให้นักเรียนชายไว้ผมยาวหน่อยได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละวิทยาลัย แต่ที่ผ่านมา นักเรียน นักศึกษาอาชีวะ ไม่เคยมีปัญหาเรื่องทรงผม และหากจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎกระทรวงเกี่ยวกันการไว้ทรงผม วิทยาลัยของ สอศ.ก็พร้อมปฏิบัติตามและเชื่อว่า ไม่น่ามีปัญหาเพราะทุกวันนี้ก็ผ่อนปรนอยู่แล้ว
ขณะที่ พลโท วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) กล่าวว่า ทางหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนยืนยันจะไม่มีการปรับกฏระเบียบตาม ศธ.แต่อย่างใด เนื่องจากกฎระเบียบดังกล่าว เป็นการฝึกระเบียบวินัย ให้กับนักศึกษาวิชาทหาร ซึ่งทุกคนที่สมัครเข้ามาเรียนต้องอยู่ในกฏระเบียบของทหาร และทหารในทุกๆ ประเทศ ก็ไม่มีการอนุญาตให้ไว้ผมยาวอยู่แล้ว โดยส่วนตัวคิดว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นการละเมิดสิทธิ และเสรีภาพส่วนบุคคล หรือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด
นายอลงกรณ์ นิยะกิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายปกครองโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริยาราม (มก) และในฐานะหนึ่งในคณะทำงานพิจารณาข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับแบบทรงผมของนักเรียน นักศึกษา กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว เพราะระเบียบการไว้ผมที่ยึดใช้อยู่ถือเป็นระเบียบที่ดีอยู่แล้วในการปฏิบัติ เพราะจะสามารถแยกแยะระหว่างนักเรียนกับประชาชนทั่วไป และคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กได้
“ยกตัวอย่าง ถ้าเด็กหญิงกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมต่อการถูกประทุษร้าย โจรผู้ร้ายที่เตรียมกระทำการใดๆ ต้องชะงักเกรงกลัวโทษที่จะได้รับเพราะการกระทำละเมิดทางเพศต่อเด็กเยาวชนจะหนักกว่าประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าทรวงผมจะป้องกันนักเรียนได้หมด แต่ถึงจะน้อยนิดหากแต่สามารถปกป้องนักเรียนหญิงได้ก็จำเป็นต้องตระหนัก ผมเป็นครูฝ่ายปกครองมา 30 ปี พบว่าระยะหลังๆ ตั้งแต่มีการห้ามลงโทษนักเรียนด้วยการตี พบว่า นักเรียนปัจจุบันดื้อ และควบคุมได้ยากขึ้น แต่จริงๆแล้วในมุมมองครูการลงโทษเป็นการสั่งสอนที่ดีเพื่อให้นักเรียนหลาบจำ ซึ่งเกิดจากความหวังดี ไม่ใช่อคติ อย่างไรก็ตาม หลังจากมีข่าวดังกล่าวออกไปแล้ว ขณะนี้ทำให้เกิดปัญหาระหว่างนักเรียนบางกลุ่ม และฝ่ายปกครอง ในการต่อรองไว้ผมยาว” นายอลงกรณ์ กล่าว
ด้าน น.ส.ชลดา สุขจิตต์มาลี นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนสตรีวิทยา กล่าวว่า เห็นด้วยและดีใจที่จะได้ไว้ผมยาว เพราะทุกวันนี้ถึงแม้ว่าจะอยู่ชั้นม.ปลาย แต่โรงเรียนก็บังคับให้ไว้ผมสั้น ซึ่งการปลดล็อกทรงผมทำให้ตนเองรู้สึกอิสระ และดูแลตัวเองได้ โดยหลังจากนี้ตนก็จะไว้ผมยาว แต่ตนก็จะรวบผมให้เรียบร้อยตามระเบียบใหม่อย่างแน่นอน
วันนี้ (10 ม.ค.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชี้แจงถึงสาเหตุที่ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องออกมากำชับให้สถานศึกษาในสังกัดยึดเรื่องการไว้ทรงผมของนักเรียนตามกฎ กระทรวง พ.ศ.2518 ว่า เนื่องจากก่อนหน้านั้นมีการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องทรงผมไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ ได้มีหนังสือแจ้งมายัง ศธ.ว่า มีการปฏิบัติที่แตกต่างกันก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม ดังนั้น ตนจึงได้มอบให้สำนักงานปลัด ศธ.ไปนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาดูเพื่อเตรียมที่จะแก้ไข พบว่า มีกฎกระทรวงอยู่ 2 ฉบับ กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 พ.ศ.2515 บังคับให้นักเรียนชายต้องไถผมข้างเกรียน และนักเรียนหญิงตัดผมสั้นหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย
ทั้งนี้ ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมและออกเป็นกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 พ.ศ.2518 ที่ระบุว่า ให้นักเรียนชายตัดผมหรือไว้ผมด้านข้างและด้านหลังยาวเลยตีนผม และนักเรียนหญิงให้ตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ ซึ่งหากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย เพราะฉะนั้น เมื่อได้พิจารณาดูแล้วเห็นว่ากฎกระทรวง ฉบับที่ 18 ไม่ได้บังคับให้นักเรียนชายต้องไถข้างเกรียน แต่โรงเรียนส่วนใหญ่นำกฎกระทรวงปี 2515 มาใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ในส่วนของนักเรียนหญิงที่เคยให้โรงเรียนใช้ดุลพินิจ ซึ่งก่อให้เกิดการใช้ดุลพินิจที่แตกต่างกัน ตนเห็นว่าไม่มีเหตุผลอะไร หากนักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือยาวควรเป็นเรื่องของนักเรียนที่จะตัดสินใจ แต่หากจะไว้ยาวก็ต้องผูกให้เรียบร้อยจะได้เกิดความเท่าเทียม และทุกโรงเรียนจะได้ปฏิบัติเหมือนกัน ไม่ต้องมีปัญหาว่าบางโรงเรียนบังคับตัดแค่ติ่งหู มุมปาก หรือบางโรงเรียนปล่อยให้ยาวได้
“ ขณะนี้อยู่ระหว่างยกร่างแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องทรงผมนักเรียน ขณะเดียวกัน ก็ต้องทำความเข้าใจกับบรรดาผู้อำนวยการโรงเรียนทั่วประเทศด้วยว่าให้นักเรียนชายไว้ผมได้ยาวไม่เกินตีนผมไม่ใช่บังคับให้ไถข้างเกรียน ส่วนนักเรียนหญิงจะกำหนดให้เป็นทางเลือกเหมือนกันว่าให้นักเรียนหญิงไว้ผมสั้น หรือยาวก็ได้ แต่ถ้าไว้ผมยาวก็ต้องรวบให้เรียบร้อยตามกฎกระทรวง โดยได้ให้ ศธ.ทำหนังสือเวียนแจ้งโรงเรียนว่าให้ถือตามแนวทางนี้ อย่างไรก็ตาม ร่างกฎกระทรวงเกี่ยวกับทรงผมนักเรียนฉบับใหม่นี้ จะปรับปรุงให้ทันสมัยด้วย เช่น เรื่องการทำสีผมที่ในสมัยนั้นไม่มีแต่สมัยนี้มี ดังนั้น ในกฎกระทรวงใหม่ที่ออกมาคงต้องมีการพูดเรื่องนี้ด้วย ส่วนจะเป็นอย่างไรคงต้องมีการรับฟังความคิดเห็นก่อน” นายพงศ์เทพ กล่าว
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวต่อว่า ในส่วนวิทยาลัยในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) นั้นมีการผ่อนปรนเรื่องการไว้ทรงผมของนักเรียน นักศึกษาอยู่แล้ว โดยนักเรียนชายก็อนุญาตให้ตัดผมทรงรองทรงได้ และนักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ อย่างไรก็ตาม การไว้ทรงผมของนักเรียน นักศึกษา ก็จะเป็นไปตามธรรมชาติของสาขาวิชาที่เรียนด้วย เช่น นักเรียนที่เรียนสาขาช่าง ก็มักจะตัดผมสั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายระหว่างปฏิบัติกับเรื่องจักร ส่วนสาขาศิลปะ ก็ผ่อนปรนให้นักเรียนชายไว้ผมยาวหน่อยได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละวิทยาลัย แต่ที่ผ่านมา นักเรียน นักศึกษาอาชีวะ ไม่เคยมีปัญหาเรื่องทรงผม และหากจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎกระทรวงเกี่ยวกันการไว้ทรงผม วิทยาลัยของ สอศ.ก็พร้อมปฏิบัติตามและเชื่อว่า ไม่น่ามีปัญหาเพราะทุกวันนี้ก็ผ่อนปรนอยู่แล้ว
ขณะที่ พลโท วิชิต ศรีประเสริฐ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ผบ.นรด.) กล่าวว่า ทางหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนยืนยันจะไม่มีการปรับกฏระเบียบตาม ศธ.แต่อย่างใด เนื่องจากกฎระเบียบดังกล่าว เป็นการฝึกระเบียบวินัย ให้กับนักศึกษาวิชาทหาร ซึ่งทุกคนที่สมัครเข้ามาเรียนต้องอยู่ในกฏระเบียบของทหาร และทหารในทุกๆ ประเทศ ก็ไม่มีการอนุญาตให้ไว้ผมยาวอยู่แล้ว โดยส่วนตัวคิดว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นการละเมิดสิทธิ และเสรีภาพส่วนบุคคล หรือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด
นายอลงกรณ์ นิยะกิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายปกครองโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริยาราม (มก) และในฐานะหนึ่งในคณะทำงานพิจารณาข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับแบบทรงผมของนักเรียน นักศึกษา กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว เพราะระเบียบการไว้ผมที่ยึดใช้อยู่ถือเป็นระเบียบที่ดีอยู่แล้วในการปฏิบัติ เพราะจะสามารถแยกแยะระหว่างนักเรียนกับประชาชนทั่วไป และคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กได้
“ยกตัวอย่าง ถ้าเด็กหญิงกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมต่อการถูกประทุษร้าย โจรผู้ร้ายที่เตรียมกระทำการใดๆ ต้องชะงักเกรงกลัวโทษที่จะได้รับเพราะการกระทำละเมิดทางเพศต่อเด็กเยาวชนจะหนักกว่าประชาชนทั่วไป อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าทรวงผมจะป้องกันนักเรียนได้หมด แต่ถึงจะน้อยนิดหากแต่สามารถปกป้องนักเรียนหญิงได้ก็จำเป็นต้องตระหนัก ผมเป็นครูฝ่ายปกครองมา 30 ปี พบว่าระยะหลังๆ ตั้งแต่มีการห้ามลงโทษนักเรียนด้วยการตี พบว่า นักเรียนปัจจุบันดื้อ และควบคุมได้ยากขึ้น แต่จริงๆแล้วในมุมมองครูการลงโทษเป็นการสั่งสอนที่ดีเพื่อให้นักเรียนหลาบจำ ซึ่งเกิดจากความหวังดี ไม่ใช่อคติ อย่างไรก็ตาม หลังจากมีข่าวดังกล่าวออกไปแล้ว ขณะนี้ทำให้เกิดปัญหาระหว่างนักเรียนบางกลุ่ม และฝ่ายปกครอง ในการต่อรองไว้ผมยาว” นายอลงกรณ์ กล่าว
ด้าน น.ส.ชลดา สุขจิตต์มาลี นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนสตรีวิทยา กล่าวว่า เห็นด้วยและดีใจที่จะได้ไว้ผมยาว เพราะทุกวันนี้ถึงแม้ว่าจะอยู่ชั้นม.ปลาย แต่โรงเรียนก็บังคับให้ไว้ผมสั้น ซึ่งการปลดล็อกทรงผมทำให้ตนเองรู้สึกอิสระ และดูแลตัวเองได้ โดยหลังจากนี้ตนก็จะไว้ผมยาว แต่ตนก็จะรวบผมให้เรียบร้อยตามระเบียบใหม่อย่างแน่นอน