เมื่อวานนี้ (9 พ.ค.) มีการประชุมกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท โดยมีนายวราเทพ รัตนากร รองประธานกรรมาธิการ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ซึ่งได้เชิญผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าชี้แจง
โดยนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เสนอว่า การกู้เงินในลักษณะทยอยกู้ และกระจายการกู้ ประมาณปีละ 3 แสนล้านบาท จะส่งผลทำให้ไม่เกิดการทับซ้อน และจะช่วยลดความเสี่ยงของผลกระทบต่อสภาพคล่องได้ในระดับหนึ่ง ส่วนประมาณการเงินเฟ้อใน 1-2 ปีข้างหน้า มั่นใจว่า ยังอยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ยังระบุด้วยว่าการจัดการสภาพคล่องจะทำในลักษณะการตั้งรับ เมื่อสถาบันการเงินทั้งในภาคเอกชน และรัฐบาลเกิดสภาพคล่องส่วนเกิน ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะเข้าไปช่วยบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความสมดุล แต่หากการดำเนินการแบบขาดวินัยทางการเงินการคลัง อาจส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยการกู้ยืม ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5 ในระยะเวลา 7 ปี
นายประสาร กล่าวต่อว่า การกู้เงินจะกู้จากในประเทศ หรือต่างประเทศให้เกิดความคุ้มค่านั้น ขึ้นอยู่กับการบริหารโครงการ ว่ามีความเสี่ยงมากหรือน้อย รวมไปถึงการประเมินว่า ผลตอบแทน หรือการจัดเก็บรายได้ มีความคุ้มค่าสอดคล้องกับการลงทุนหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ย และระบบเศรษฐกิจ ในอนาคตว่า จะออกมาเป็นบวกหรือลบ
นอกจากนี้ ความสอดคล้องกับผู้แทนจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน.ระบุ ประมาณการกู้เงินในช่วงระยะแรกเฉลี่ยไม่ถึง 3 แสนล้านบาท ระยะกลางประมาณการอยู่ที่ปีละ 3 แสนล้านบาท และระยะท้ายของโครงการเฉลี่ยการใช้จ่ายงบประมาณจะอยู่ที่ปีละเกือบ 3 แสนล้านบาท ดังนั้นการดำเนินการของโครงการในลักษณะดังกล่าว จะไม่กระทบต่ออัตราดอกเบี้ย และสภาพคล่องของประเทศ
ขณะที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ กมธ.เสียงข้างน้อย นำโดย นายกรณ์ จาติกวณิช นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และนายเจือ ราชสีห์ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายโดย นายกรณ์ กล่าวว่า จากการที่ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้ามาชี้แจงต่อกมธ. ถึงประเด็นการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น เป็นที่น่าเสียดาย ที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.คลัง ซึ่งเป็นประธาน กมธ.ชุดนี้ ไม่ได้เข้ามาร่วมรับฟังด้วย เพราะที่ผ่านมาดูเหมือนว่า ทางธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐบาลจะเดินไปคนละทาง
ทั้งนี้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มีความกังวลเรื่องความโปร่งใสการใช้งบประมาณในโครงการต่างๆ และความคุ้มค่าการลงทุน อย่างไรก็ตามผู้ว่าฯธปท.ได้ยืนยันว่า สภาพคล่องในระบบเพียงพอ และสามารถรองรับการกู้เงินของรัฐบาลได้ แต่หากอัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ 5 เปอร์เซ็นต์ของรัฐบาลคลาดเคลื่อนแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะส่งผลให้เม็ดเงินที่ต้องใช้คืนเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาลได้เช่นกัน
ด้านนายสามารถ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีค่าจ้างที่ปรึกษาสูงถึง 43,000 ล้านบาท อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง มูลค่า 14,300 ล้านบาท คิดเป็น 2.47 เปอร์เซ็นต์ ของค่าก่อสร้างโครงการ นอกจากนี้ ในโครงการรถไฟทางคู่ ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนจากทางเดี่ยว โดยการสร้างเพิ่มอีกหนึ่งทาง โดยใช้ที่ปรึกษา วิศวกร ที่เป็นคนไทย อีกทั้งโครงการก็ไม่ได้ซับซ้อน กลับต้องใช้ค่าที่ปรึกษาสูงถึง 3.91 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ค่าที่ปรึกษาในรถไฟความเร็ว สูงคิดเป็น 1.44 เปอร์เซ็นต์ โดยค่าปรึกษานั้น เป็นตัวเลขที่บริษัทที่ปรึกษาคำนวณมาให้ทั้งหมด ซึ่งการที่ให้บริษัทที่ปรึกษาเป็นผู้คิดราคานั้น ย่อมต้องเป็นราคาที่สูงมากอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ทางกมธ.เสียงข้างน้อย จะขอต่อรองราคาให้ลดลงอีก 1.2 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้มีราคาเทียบเท่ากับค่าที่ปรึกษาของโครงการรถไฟความเร็วสูง
ส่วนนายเจือ กล่าวว่า การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการฯ ของรัฐบาลนั้น ยังไม่รวมค่าบำรุงรักษา ซึ่งในส่วนค่าบำรุงรักษานั้น จะต้องใช้งบประมาณอีกจำนวนมาก หากไม่มีการเตรียมการในส่วนนี้ จะต้องประสบปัญหาเช่นเดียวกับที่โครงการแอร์พอตลิงก์ กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
นอกจากนี้ กมธ.เสียงข้างน้อย ยังได้เสนอให้ตั้งที่ปรึกษากมธ. เพื่อตรวจการทุจริต จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ดร.สุเมธ องค์กิตติกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ รอง ศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม และนายบรรยง พงษ์พานิช ผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน และเครือข่ายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชันภาคเอกชน แต่ได้รับการปฏิเสธจาก นายวรวัจน์ เอื้อภิญญากุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เป็นกรรมาธิการเสียงข้างมาก ในฐานะตัวแทนรัฐบาล
ด้านนายต่อตระกูล ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม กล่าวว่า ตนได้รับการทาบทามจากกรรมาธิการฯ ให้ไปเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้ข้อมูลทางด้านวิศวกรรม แต่เมื่อกรรมาธิการฯ เสียงข้างมากไม่อนุญาต ก็ไม่ติดใจอะไร เพียงแต่แปลกใจว่า นายชัชชาติ สุทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เคยระบุว่า พร้อมให้มีการตรวจสอบอย่างโปร่งใส เกี่ยวกับการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่ทำไมรัฐบาลซึ่งมีเสียงข้างมากในกรรมาธิการฯ จึงปิดกั้นโอกาสของตัวเองตั้งแต่ขั้นตอนแรกในการรับข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้การออกกฎหมายเงินกู้ 2 ล้านล้าน เป็นไปด้วยความรอบคอบ มีการใช้จ่ายเงินในโครงการที่เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับประเทศ และประชาชน จึงรู้สึกเสียดายว่ากรรมาธิการฯ ตามระบบรัฐสภาที่น่าจะมีความเป็นประชาธิปไตย กลับมีความเป็นประชาธิปไตยที่ล้าหลังกว่าองค์กรธุรกิจ ที่ยังมีการรับฟังความเห็นหลากหลาย จากฝ่ายต่าง ๆ ทั้งที่คนในรัฐบาล มักอ้างถึงความเป็นประชาธิปไตย อยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ตัวแทนองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น นำโดย นายประมนต์ สุธีวงศ์ ได้หารือเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการดำเนินโครงการของกระทรวงคมนาคม ในโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท กับ นายชัชชาติ และมีข้อตกลงร่วมกันในการลงนามข้อตกลงคุณธรรม เพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปด้วยความโปร่งใส และเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเขียนทีโออาร์ กระบวนการ และเอกสารในการจัดซื้อจัดจ้าง ไปจนสิ้นสุดโครงการ และอนุญาตให้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะได้ จนทำให้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน แสดงความชื่นชมว่า นายชัชชาติ เป็นผู้บริหารที่มีความกล้าหาญ ยอมรับและสนับสนุนให้นำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นคนแรก แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นไปอย่างที่คิด
โดยนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เสนอว่า การกู้เงินในลักษณะทยอยกู้ และกระจายการกู้ ประมาณปีละ 3 แสนล้านบาท จะส่งผลทำให้ไม่เกิดการทับซ้อน และจะช่วยลดความเสี่ยงของผลกระทบต่อสภาพคล่องได้ในระดับหนึ่ง ส่วนประมาณการเงินเฟ้อใน 1-2 ปีข้างหน้า มั่นใจว่า ยังอยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ยังระบุด้วยว่าการจัดการสภาพคล่องจะทำในลักษณะการตั้งรับ เมื่อสถาบันการเงินทั้งในภาคเอกชน และรัฐบาลเกิดสภาพคล่องส่วนเกิน ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงจะเข้าไปช่วยบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความสมดุล แต่หากการดำเนินการแบบขาดวินัยทางการเงินการคลัง อาจส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยการกู้ยืม ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5 ในระยะเวลา 7 ปี
นายประสาร กล่าวต่อว่า การกู้เงินจะกู้จากในประเทศ หรือต่างประเทศให้เกิดความคุ้มค่านั้น ขึ้นอยู่กับการบริหารโครงการ ว่ามีความเสี่ยงมากหรือน้อย รวมไปถึงการประเมินว่า ผลตอบแทน หรือการจัดเก็บรายได้ มีความคุ้มค่าสอดคล้องกับการลงทุนหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ย และระบบเศรษฐกิจ ในอนาคตว่า จะออกมาเป็นบวกหรือลบ
นอกจากนี้ ความสอดคล้องกับผู้แทนจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน.ระบุ ประมาณการกู้เงินในช่วงระยะแรกเฉลี่ยไม่ถึง 3 แสนล้านบาท ระยะกลางประมาณการอยู่ที่ปีละ 3 แสนล้านบาท และระยะท้ายของโครงการเฉลี่ยการใช้จ่ายงบประมาณจะอยู่ที่ปีละเกือบ 3 แสนล้านบาท ดังนั้นการดำเนินการของโครงการในลักษณะดังกล่าว จะไม่กระทบต่ออัตราดอกเบี้ย และสภาพคล่องของประเทศ
ขณะที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ กมธ.เสียงข้างน้อย นำโดย นายกรณ์ จาติกวณิช นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และนายเจือ ราชสีห์ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายโดย นายกรณ์ กล่าวว่า จากการที่ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้ามาชี้แจงต่อกมธ. ถึงประเด็นการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น เป็นที่น่าเสียดาย ที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.คลัง ซึ่งเป็นประธาน กมธ.ชุดนี้ ไม่ได้เข้ามาร่วมรับฟังด้วย เพราะที่ผ่านมาดูเหมือนว่า ทางธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐบาลจะเดินไปคนละทาง
ทั้งนี้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มีความกังวลเรื่องความโปร่งใสการใช้งบประมาณในโครงการต่างๆ และความคุ้มค่าการลงทุน อย่างไรก็ตามผู้ว่าฯธปท.ได้ยืนยันว่า สภาพคล่องในระบบเพียงพอ และสามารถรองรับการกู้เงินของรัฐบาลได้ แต่หากอัตราดอกเบี้ยคาดการณ์ 5 เปอร์เซ็นต์ของรัฐบาลคลาดเคลื่อนแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะส่งผลให้เม็ดเงินที่ต้องใช้คืนเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาลได้เช่นกัน
ด้านนายสามารถ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีค่าจ้างที่ปรึกษาสูงถึง 43,000 ล้านบาท อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง มูลค่า 14,300 ล้านบาท คิดเป็น 2.47 เปอร์เซ็นต์ ของค่าก่อสร้างโครงการ นอกจากนี้ ในโครงการรถไฟทางคู่ ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนจากทางเดี่ยว โดยการสร้างเพิ่มอีกหนึ่งทาง โดยใช้ที่ปรึกษา วิศวกร ที่เป็นคนไทย อีกทั้งโครงการก็ไม่ได้ซับซ้อน กลับต้องใช้ค่าที่ปรึกษาสูงถึง 3.91 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ค่าที่ปรึกษาในรถไฟความเร็ว สูงคิดเป็น 1.44 เปอร์เซ็นต์ โดยค่าปรึกษานั้น เป็นตัวเลขที่บริษัทที่ปรึกษาคำนวณมาให้ทั้งหมด ซึ่งการที่ให้บริษัทที่ปรึกษาเป็นผู้คิดราคานั้น ย่อมต้องเป็นราคาที่สูงมากอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ทางกมธ.เสียงข้างน้อย จะขอต่อรองราคาให้ลดลงอีก 1.2 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้มีราคาเทียบเท่ากับค่าที่ปรึกษาของโครงการรถไฟความเร็วสูง
ส่วนนายเจือ กล่าวว่า การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการฯ ของรัฐบาลนั้น ยังไม่รวมค่าบำรุงรักษา ซึ่งในส่วนค่าบำรุงรักษานั้น จะต้องใช้งบประมาณอีกจำนวนมาก หากไม่มีการเตรียมการในส่วนนี้ จะต้องประสบปัญหาเช่นเดียวกับที่โครงการแอร์พอตลิงก์ กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
นอกจากนี้ กมธ.เสียงข้างน้อย ยังได้เสนอให้ตั้งที่ปรึกษากมธ. เพื่อตรวจการทุจริต จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ดร.สุเมธ องค์กิตติกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ รอง ศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม และนายบรรยง พงษ์พานิช ผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน และเครือข่ายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชันภาคเอกชน แต่ได้รับการปฏิเสธจาก นายวรวัจน์ เอื้อภิญญากุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เป็นกรรมาธิการเสียงข้างมาก ในฐานะตัวแทนรัฐบาล
ด้านนายต่อตระกูล ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม กล่าวว่า ตนได้รับการทาบทามจากกรรมาธิการฯ ให้ไปเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้ข้อมูลทางด้านวิศวกรรม แต่เมื่อกรรมาธิการฯ เสียงข้างมากไม่อนุญาต ก็ไม่ติดใจอะไร เพียงแต่แปลกใจว่า นายชัชชาติ สุทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เคยระบุว่า พร้อมให้มีการตรวจสอบอย่างโปร่งใส เกี่ยวกับการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่ทำไมรัฐบาลซึ่งมีเสียงข้างมากในกรรมาธิการฯ จึงปิดกั้นโอกาสของตัวเองตั้งแต่ขั้นตอนแรกในการรับข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้การออกกฎหมายเงินกู้ 2 ล้านล้าน เป็นไปด้วยความรอบคอบ มีการใช้จ่ายเงินในโครงการที่เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับประเทศ และประชาชน จึงรู้สึกเสียดายว่ากรรมาธิการฯ ตามระบบรัฐสภาที่น่าจะมีความเป็นประชาธิปไตย กลับมีความเป็นประชาธิปไตยที่ล้าหลังกว่าองค์กรธุรกิจ ที่ยังมีการรับฟังความเห็นหลากหลาย จากฝ่ายต่าง ๆ ทั้งที่คนในรัฐบาล มักอ้างถึงความเป็นประชาธิปไตย อยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ตัวแทนองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น นำโดย นายประมนต์ สุธีวงศ์ ได้หารือเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการดำเนินโครงการของกระทรวงคมนาคม ในโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท กับ นายชัชชาติ และมีข้อตกลงร่วมกันในการลงนามข้อตกลงคุณธรรม เพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปด้วยความโปร่งใส และเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเขียนทีโออาร์ กระบวนการ และเอกสารในการจัดซื้อจัดจ้าง ไปจนสิ้นสุดโครงการ และอนุญาตให้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะได้ จนทำให้องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน แสดงความชื่นชมว่า นายชัชชาติ เป็นผู้บริหารที่มีความกล้าหาญ ยอมรับและสนับสนุนให้นำข้อตกลงคุณธรรมมาใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นคนแรก แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นไปอย่างที่คิด