**“ของฟรีไม่มีในโลก” อาจจะเป็นคำที่คนกทม.ต้องนำมาเตือนสติตัวเองให้หนักหน่วงเป็นพิเศษในขณะนี้
เพราะ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สม้ครผู้ว่าฯกทม.พรรคเพื่อไทย กำลังรณรงค์อัดประชานิยม มอมเมาคนกทม.ให้เสพติดจนเกิดอาการเบลอ เลือกคนที่เคยให้การเท็จในชั้นศาลเพื่อนาย จากคดี “บิ๊กขี้หลี” มาเป็นพ่อเมืองกทม.
ดังนั้นสิ่งที่สื่อมวลชนควรจะต้องทำหน้าที่ของตนอย่างจริงจังคือ การตีแผ่ให้เห็นด้วยการคลี่นโยบายขายฝันของพวกสติเฟื่อง ว่าทำได้จริงหรือเป็นเพียงแค่ลมปากที่พ่นออกมาอย่างไร้ความรับผิดชอบ
เพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงและชัยชนะเท่านั้น
“นโยบายในการหาเสียงนั้น ทำได้จริง และอยู่ในกรอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ส่วนการจัดการบริหารใดที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตอำนาจ จะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ”
คำกล่าวข้างต้นของ พล.ต.อ.พงศพัศ ยิ่งทำให้เกิดคำถามมากขึ้นว่า ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทยรายนี้ กำลังโกหกประชาชนรายวัน ไม่ต่างจากที่รัฐบาลชุดนี้กำลัง “ไวท์ไล” ประชาชนทุกวินาทีหรือเปล่า
เพราะหลายประเด็นที่นำมาหาเสียงกับคนกรุงนั้น มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคนเป็นผู้ว่าฯกทม. ซึ่งตัวพล.ต.อ.พงศพัศ ก็เคยยอมรับในเรื่องนี้ แต่การพูดแต่ละครั้งก็กลับไปกลับมา จนหาความน่าเชื่อถือไม่ได้ โดยจะยกตัวอย่างให้เห็นพร้อมชำแหละในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
นโยบายการดูแลผู้สูงอายุ จะประสานกับรัฐบาล เพื่อเพิ่มเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯให้มากขึ้น จากเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลที่จ่ายให้ 600 – 1,000 บาทตามลำดับอายุนั้น ในส่วนของกรุงเทพฯมีค่าครองชีพสูงกว่าในจังหวัดอื่น จึงจะประสานให้เพิ่มเป็น 1,000 – 1,200 บาท
คำถามคือ งบประมาณในการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นเงินของกทม. หรือจัดสรรให้โดยรัฐบาลเพื่อให้ท้องถิ่นไปบริหารจัดการให้ คำตอบคือ งบประมาณในส่วนนี้เป็นของรัฐบาลที่จัดสรรให้ท้องถิ่นไปดำเนินการแทน หากจะมีการปรับเบี้ยยังชีพคนชราเฉพาะในส่วน กทม.จริง จะทำได้หรือไม่
และเรื่องนี้ย่อมชัดเจนว่า มิใช่อำนาจหน้าที่ของกทม. ที่จะตัดสินใจได้ แต่เป็นเรื่องของรัฐบาลซึ่งถือเป็นการตบหน้าตัวเองของพล.ต.อ.พงศพัศ ที่พยายามบอกว่า การหาเสียงของตัวเองนั้นอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯกทม.
**ที่ถูกตีแสกหน้าไปจนเลือดอาบอีกนโยบายหนึ่งคือ เรื่องรถเมล์ฟรี ซึ่ง ชัชชาติ สุทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ออกมาสวน จูดี้อีเวนท์ ว่า
“นโยบายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯกทม.นั้นไม่เกี่ยวกับกระทรวงคมนาคม หากต้องการให้มีการให้บริการรถเมล์ฟรี นอกเหนือจากรัฐบาลจะกำหนดว่า กทม. ต้องนำเงินมาจ่ายชดเชยให้ขสมก.เอง ไม่ใช่ให้รัฐนำภาษีประชาชนทั้งหมดมาจ่าย”
คำถามต่อไปที่ จูดี้ ต้องตอบ และคนกรุงต้องร่วมกันตรวจสอบคือ เมื่อรัฐไม่อุดหนุนจะเรียกว่า “ไร้รอยต่อ” ตามที่โฆษณาชวนเชื่อได้อย่างไร และกทม.จะมีงบประมาณเพียงพอที่จะไปทำโครงการตามการขายฝันของ จูดี้ หรือไม่
**โดยต้องพิจารณาบนพื้นฐานความจริง เพื่อที่จะได้ไม่ถูกหลอกจนถูกชักจูงง่าย ๆ เหมือนกับในพื้นที่อื่นๆ ที่พรรคเพื่อไทยทำการตลาดสำเร็จมาแล้ว
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ของ กทม. มีวงเงินประมาณ 60,000 ล้านบาท แยกเป็นงบประจำ 47,225 ล้านบาท งบลงทุน 9,520 ล้านบาท และงบกลาง 3,254 ล้านบาท ในงบกลาง แยกเป็น งบดำเนินการ 1,720 ล้านบาท งบลงทุน 1,534 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า ค่าใช้จ่ายหลักของกทม. ก็รัดตัวอยู่แล้ว จะนำเงินจากไหนมาอุดหนุนรถเมล์ฟรี
ตามคำหาเสียงของ จูดี้ ที่จะเพิ่มรถเมล์ฟรีจาก 800 คันเป็น 1,600 คัน จะต้องใช้เงินหลายพันล้านบาท ที่น่าสนใจคือ กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ออกมาเปิดตัวเลขการใช้ภาษีของรัฐบาลที่ผ่านมาในส่วนของรถเมล์ฟรี 800 คัน 3 ปี นับตั้งแต่ 54-56 ใช้ภาษีประชาชนไปแล้ว 8,590 ล้านบาท
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า รถเมล์ฟรี 800 คันต้องใช้งบประมาณปีละประมาณ 2,863 ล้านบาท หากจะกำหนดให้ฟรี 1,600 คัน กทม.จะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับ ขสมก. ปีละประมาณ 5,726 ล้านบาท ยังไม่รวมกับที่คุยโวว่าจะให้ขึ้นรถร่วม ขสมก.ฟรีด้วย ก็บวกไปอีกเกือบ 1,400 คัน ตามตัวเลขที่จูดี้ระบุไว้ ว่ารวมหมดทั้ง ขสมก. และรถร่วมจะมีประมาณ 3,000 คัน
เท่ากับว่าต้องใช้งบกทม. มาสนับสนุนในส่วนนี้อีกประมาณ 5,010 ล้นบาทต่อปี รวมใช้งบประมาณเฉพาะโครงการรถเมล์ฟรีกว่า 1 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ กทม. มีงบลงทุนเพื่อใช้ในการพัฒนารวมทั้งหมดประมาณ 11,054 ล้านบาทเท่านั้น
เพียงแค่โครงการรถเมล์ฟรีแค่อย่างเดียว ก็ล่องบประมาณของ กทม.ทั้งหมดไปทั้งปีแล้วโดยไม่เหลือให้นำมาลงทุนโครงการอื่นเลย !
นี่ยังไม่รวมเรื่องเบี้ยยังชีพคนชรา ที่ยังไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะออกให้ตามที่หาเสียงหรือไม่ แค่นี้ก็น่าจะทำให้เห็นภาพชัดเจนแล้วว่า สิ่งที่ พล.ต.อ.พงศพัศหาเสียงนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีทางเกิดขึ้นจริง
เว้นแต่ว่า ชัชชาติ จะพลิกลิ้น ยอมกลืนน้ำลายตัวเองให้รัฐบาลสนับสนุนเงินให้กับกทม. แต่ภาระก็จะตกอยู่กับรัฐบาลที่กำลังถังแตกอยู่ในขณะนี้ จนต้องเตรียมที่จะกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท มาลงทุน เพื่อเอางบประมาณประจำปีไปผลาญในโครงการประชานิยม
**คำถามคือว่า คนกรุงเทพฯ อยากเห็นเมืองหลวงของเราต้องเป็นหนี้เลียนแบบรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือไม่
ศึกเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นดัชนีชี้วัดครั้งสำคัญถึงวุฒิภาวะของคนกรุงเทพฯ จากผลลัพธ์ในการเลือกพ่อเมือง เพื่อแสดงให้เห็นว่า คนกทม. คือปัญญาชนที่มีวุฒิภาวะในการเลือกคนดีเข้ามาบริหารประเทศ จริงหรือไม่ หรือสุดท้ายแล้วคน กทม.ก็ไม่ต่างอะไรจากคนอีสานที่ถูกมอมเมาได้ด้วยนโยบายขายฝัน และคำโกหกจนทำให้ประเทศชาติตกหล่มอยู่ในขณะนี้
**ที่สำคัญคือ หากกทม.ถูกยึดได้ตามความมุ่งหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดี ก็เท่ากับว่า เราปล่อยให้นักโทษควบคุมประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แล้วคนกทม.จะยอมให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นหรือไม่ ?
เพราะ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สม้ครผู้ว่าฯกทม.พรรคเพื่อไทย กำลังรณรงค์อัดประชานิยม มอมเมาคนกทม.ให้เสพติดจนเกิดอาการเบลอ เลือกคนที่เคยให้การเท็จในชั้นศาลเพื่อนาย จากคดี “บิ๊กขี้หลี” มาเป็นพ่อเมืองกทม.
ดังนั้นสิ่งที่สื่อมวลชนควรจะต้องทำหน้าที่ของตนอย่างจริงจังคือ การตีแผ่ให้เห็นด้วยการคลี่นโยบายขายฝันของพวกสติเฟื่อง ว่าทำได้จริงหรือเป็นเพียงแค่ลมปากที่พ่นออกมาอย่างไร้ความรับผิดชอบ
เพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงและชัยชนะเท่านั้น
“นโยบายในการหาเสียงนั้น ทำได้จริง และอยู่ในกรอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ส่วนการจัดการบริหารใดที่ไม่ได้อยู่ในขอบเขตอำนาจ จะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ”
คำกล่าวข้างต้นของ พล.ต.อ.พงศพัศ ยิ่งทำให้เกิดคำถามมากขึ้นว่า ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทยรายนี้ กำลังโกหกประชาชนรายวัน ไม่ต่างจากที่รัฐบาลชุดนี้กำลัง “ไวท์ไล” ประชาชนทุกวินาทีหรือเปล่า
เพราะหลายประเด็นที่นำมาหาเสียงกับคนกรุงนั้น มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคนเป็นผู้ว่าฯกทม. ซึ่งตัวพล.ต.อ.พงศพัศ ก็เคยยอมรับในเรื่องนี้ แต่การพูดแต่ละครั้งก็กลับไปกลับมา จนหาความน่าเชื่อถือไม่ได้ โดยจะยกตัวอย่างให้เห็นพร้อมชำแหละในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
นโยบายการดูแลผู้สูงอายุ จะประสานกับรัฐบาล เพื่อเพิ่มเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุในกรุงเทพฯให้มากขึ้น จากเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลที่จ่ายให้ 600 – 1,000 บาทตามลำดับอายุนั้น ในส่วนของกรุงเทพฯมีค่าครองชีพสูงกว่าในจังหวัดอื่น จึงจะประสานให้เพิ่มเป็น 1,000 – 1,200 บาท
คำถามคือ งบประมาณในการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นเงินของกทม. หรือจัดสรรให้โดยรัฐบาลเพื่อให้ท้องถิ่นไปบริหารจัดการให้ คำตอบคือ งบประมาณในส่วนนี้เป็นของรัฐบาลที่จัดสรรให้ท้องถิ่นไปดำเนินการแทน หากจะมีการปรับเบี้ยยังชีพคนชราเฉพาะในส่วน กทม.จริง จะทำได้หรือไม่
และเรื่องนี้ย่อมชัดเจนว่า มิใช่อำนาจหน้าที่ของกทม. ที่จะตัดสินใจได้ แต่เป็นเรื่องของรัฐบาลซึ่งถือเป็นการตบหน้าตัวเองของพล.ต.อ.พงศพัศ ที่พยายามบอกว่า การหาเสียงของตัวเองนั้นอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯกทม.
**ที่ถูกตีแสกหน้าไปจนเลือดอาบอีกนโยบายหนึ่งคือ เรื่องรถเมล์ฟรี ซึ่ง ชัชชาติ สุทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ออกมาสวน จูดี้อีเวนท์ ว่า
“นโยบายหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯกทม.นั้นไม่เกี่ยวกับกระทรวงคมนาคม หากต้องการให้มีการให้บริการรถเมล์ฟรี นอกเหนือจากรัฐบาลจะกำหนดว่า กทม. ต้องนำเงินมาจ่ายชดเชยให้ขสมก.เอง ไม่ใช่ให้รัฐนำภาษีประชาชนทั้งหมดมาจ่าย”
คำถามต่อไปที่ จูดี้ ต้องตอบ และคนกรุงต้องร่วมกันตรวจสอบคือ เมื่อรัฐไม่อุดหนุนจะเรียกว่า “ไร้รอยต่อ” ตามที่โฆษณาชวนเชื่อได้อย่างไร และกทม.จะมีงบประมาณเพียงพอที่จะไปทำโครงการตามการขายฝันของ จูดี้ หรือไม่
**โดยต้องพิจารณาบนพื้นฐานความจริง เพื่อที่จะได้ไม่ถูกหลอกจนถูกชักจูงง่าย ๆ เหมือนกับในพื้นที่อื่นๆ ที่พรรคเพื่อไทยทำการตลาดสำเร็จมาแล้ว
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ของ กทม. มีวงเงินประมาณ 60,000 ล้านบาท แยกเป็นงบประจำ 47,225 ล้านบาท งบลงทุน 9,520 ล้านบาท และงบกลาง 3,254 ล้านบาท ในงบกลาง แยกเป็น งบดำเนินการ 1,720 ล้านบาท งบลงทุน 1,534 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า ค่าใช้จ่ายหลักของกทม. ก็รัดตัวอยู่แล้ว จะนำเงินจากไหนมาอุดหนุนรถเมล์ฟรี
ตามคำหาเสียงของ จูดี้ ที่จะเพิ่มรถเมล์ฟรีจาก 800 คันเป็น 1,600 คัน จะต้องใช้เงินหลายพันล้านบาท ที่น่าสนใจคือ กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ออกมาเปิดตัวเลขการใช้ภาษีของรัฐบาลที่ผ่านมาในส่วนของรถเมล์ฟรี 800 คัน 3 ปี นับตั้งแต่ 54-56 ใช้ภาษีประชาชนไปแล้ว 8,590 ล้านบาท
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า รถเมล์ฟรี 800 คันต้องใช้งบประมาณปีละประมาณ 2,863 ล้านบาท หากจะกำหนดให้ฟรี 1,600 คัน กทม.จะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับ ขสมก. ปีละประมาณ 5,726 ล้านบาท ยังไม่รวมกับที่คุยโวว่าจะให้ขึ้นรถร่วม ขสมก.ฟรีด้วย ก็บวกไปอีกเกือบ 1,400 คัน ตามตัวเลขที่จูดี้ระบุไว้ ว่ารวมหมดทั้ง ขสมก. และรถร่วมจะมีประมาณ 3,000 คัน
เท่ากับว่าต้องใช้งบกทม. มาสนับสนุนในส่วนนี้อีกประมาณ 5,010 ล้นบาทต่อปี รวมใช้งบประมาณเฉพาะโครงการรถเมล์ฟรีกว่า 1 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ กทม. มีงบลงทุนเพื่อใช้ในการพัฒนารวมทั้งหมดประมาณ 11,054 ล้านบาทเท่านั้น
เพียงแค่โครงการรถเมล์ฟรีแค่อย่างเดียว ก็ล่องบประมาณของ กทม.ทั้งหมดไปทั้งปีแล้วโดยไม่เหลือให้นำมาลงทุนโครงการอื่นเลย !
นี่ยังไม่รวมเรื่องเบี้ยยังชีพคนชรา ที่ยังไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะออกให้ตามที่หาเสียงหรือไม่ แค่นี้ก็น่าจะทำให้เห็นภาพชัดเจนแล้วว่า สิ่งที่ พล.ต.อ.พงศพัศหาเสียงนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีทางเกิดขึ้นจริง
เว้นแต่ว่า ชัชชาติ จะพลิกลิ้น ยอมกลืนน้ำลายตัวเองให้รัฐบาลสนับสนุนเงินให้กับกทม. แต่ภาระก็จะตกอยู่กับรัฐบาลที่กำลังถังแตกอยู่ในขณะนี้ จนต้องเตรียมที่จะกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท มาลงทุน เพื่อเอางบประมาณประจำปีไปผลาญในโครงการประชานิยม
**คำถามคือว่า คนกรุงเทพฯ อยากเห็นเมืองหลวงของเราต้องเป็นหนี้เลียนแบบรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือไม่
ศึกเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นดัชนีชี้วัดครั้งสำคัญถึงวุฒิภาวะของคนกรุงเทพฯ จากผลลัพธ์ในการเลือกพ่อเมือง เพื่อแสดงให้เห็นว่า คนกทม. คือปัญญาชนที่มีวุฒิภาวะในการเลือกคนดีเข้ามาบริหารประเทศ จริงหรือไม่ หรือสุดท้ายแล้วคน กทม.ก็ไม่ต่างอะไรจากคนอีสานที่ถูกมอมเมาได้ด้วยนโยบายขายฝัน และคำโกหกจนทำให้ประเทศชาติตกหล่มอยู่ในขณะนี้
**ที่สำคัญคือ หากกทม.ถูกยึดได้ตามความมุ่งหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดี ก็เท่ากับว่า เราปล่อยให้นักโทษควบคุมประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แล้วคนกทม.จะยอมให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นหรือไม่ ?