ASTVผู้จัดการรายวัน - ซีพีเอฟชี้บาทแข็งกระทบการส่งออกสินค้าภายใต้แบรนด์ CP ไม่มาก ตั้งเป้าปีนี้มีรายได้จากการส่งออกผลิตภัณฑ์แบรนด์CPไป 20ปท.ทั่วโลกโต 50%จากปีก่อนที่มีรายได้ส่งออก 1หมื่นล้านบาท พร้อมวางแผนรับมืออียูตัดจีเอสพีกุ้งไทย โดยจะอาศัยฐานการผลิตที่เวียดนามและมาเลย์ส่งออกแทน
นายโฆษิต โลหะวัฒนะกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดต่างประเทศ สายธุรกิจการค้าต่างประเทศบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)(CPF) เปิดเผยว่า จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาแตะระดับ 28 บาทดอลลาร์สหรัฐก่อนที่จะอ่อนค่ามาระดับ 29 บาท/ดอลลาร์ ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกสินค้าอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ถูกชดเชยจากต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างกากถั่วเหลือง ข้าวโพด ที่ได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ขณะที่มาร์จินจากสินค้าภายใต้แบรนด์ CPมีอัตราที่สูง ทำให้ธุรกิจยังไปได้ดี โดยปีนี้บริษัทฯตั้งเป้าหมายรายได้จากการส่งออกสินค้าภายใต้แบรนด์ CPขยายตัว 50%จากปีก่อนที่มีรายได้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตที่ลดลงจาก 5 ปีก่อนที่มีอัตราการโตเฉลี่ยปีละ 53%
" ที่ผ่านมา ลูกค้ามั่นใจในผลิตภัณฑ์แบรนด์CP ที่ทำตลาดอยู่ 20 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่มียอดขายดีสุด คือ สิงคโปร์ ฮ่องกงและกลุ่มประเทศแสกนดิเนเวีย ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาท บริษัทไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้เพราะทำสัญญาระยะยาว และเลือกทำตลาดที่แข่งขันได้ โดยตลาดแคนาดาก็เป็นตลาดที่น่าสนใจเพราะส่งออกได้ทั้งไก่และกุ้ง ทำให้ยอดส่งออกไปแคนาดาเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจ "
นายโฆษิต กล่าวถึงกรณีที่อียูจะระงับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป( จีเอสพี)กับสินค้าไทยในปีหน้าว่า บริษัทฯจะได้รับผลกระทบการส่งออกกุ้งไปอียู ส่วนการส่งออกไก่ไม่มีปัญหาเพราะเป็นระบบโควต้า ซึ่งซีพีเอฟก็มองแนวทางออกในเรื่องนี้ไว้แล้ว โดยจะอาศัยฐานการผลิตกุ้งของบริษัทฯที่เวียดนามและมาเลเซียส่งออกแทน เนื่องจากประเทศเหล่านี้ยังได้สิทธิจีเอสพีอยู่
ขณะเดียวกันภาครัฐก็มีการเจรจาเอฟทีเอกับอียู คาดว่าจะใช้เวลา 1ปีนับจากนี้จึงจะบรรลุข้อตกลง
ส่วนกรณีที่กุ้งเกิดโรคระบาดตายด่วน(EMS) ทำให้ปริมาณการผลิตกุ้งลดลง คาดว่าปีนี้ไทยจะส่งออกกุ้งได้ประมาณ 4 แสนตัน โดยเป็นการส่งออกของซีพีเอฟ10% โดยบริษัทฯไม่ได้รับผลกระทบมากนักเมื่อเทียบกับยอดขายรวมของบริษัทฯ
สำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 2558 และการขยายธุรกิจในตลาดประเทศนั้น บริษัทได้มีการเตรียมความพร้อม รวมทั้งหาฐานการผลิตในต่างประเทศ
โดยปัจจุบันบริษัทฯได้มีการว่าจ้างผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์CPในบางประเทศ เพราะคนไม่เพียงพอ เช่น เกาหลี และออสเตรเลีย เป็นต้น โดยลูกค้าในประเทศเหล่านี้ยอมรับสินค้าภายใต้แบรนด์ CP
ด้านผลการดำเนินงานงวดปี 2555 ซีพีเอฟมีรายได้จากการขาย 3.57 แสนล้านบาท ขยายตัวขึ้น15% โดยตั้งเป้าหมายใน 5ปีข้างหน้า รายได้จากการขายจะโตขึ้นเฉลี่ย 10-15%ต่อปี ทำให้มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 7 แสนล้านบาท ซึ่งมาจากการส่งออกผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์CP จะเพิ่มขึ้นเป็น 70-80%ของรายได้จากการส่งออกรวม เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่รายได้จากการส่งออกมาจากธุรกิจCP Brand เพียง 25%ของรายได้จากการส่งออกที่ 4-5 หมื่นล้านบาท
นายโฆษิต โลหะวัฒนะกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดต่างประเทศ สายธุรกิจการค้าต่างประเทศบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)(CPF) เปิดเผยว่า จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาแตะระดับ 28 บาทดอลลาร์สหรัฐก่อนที่จะอ่อนค่ามาระดับ 29 บาท/ดอลลาร์ ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกสินค้าอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ถูกชดเชยจากต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างกากถั่วเหลือง ข้าวโพด ที่ได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ขณะที่มาร์จินจากสินค้าภายใต้แบรนด์ CPมีอัตราที่สูง ทำให้ธุรกิจยังไปได้ดี โดยปีนี้บริษัทฯตั้งเป้าหมายรายได้จากการส่งออกสินค้าภายใต้แบรนด์ CPขยายตัว 50%จากปีก่อนที่มีรายได้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตที่ลดลงจาก 5 ปีก่อนที่มีอัตราการโตเฉลี่ยปีละ 53%
" ที่ผ่านมา ลูกค้ามั่นใจในผลิตภัณฑ์แบรนด์CP ที่ทำตลาดอยู่ 20 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่มียอดขายดีสุด คือ สิงคโปร์ ฮ่องกงและกลุ่มประเทศแสกนดิเนเวีย ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาท บริษัทไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้เพราะทำสัญญาระยะยาว และเลือกทำตลาดที่แข่งขันได้ โดยตลาดแคนาดาก็เป็นตลาดที่น่าสนใจเพราะส่งออกได้ทั้งไก่และกุ้ง ทำให้ยอดส่งออกไปแคนาดาเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจ "
นายโฆษิต กล่าวถึงกรณีที่อียูจะระงับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป( จีเอสพี)กับสินค้าไทยในปีหน้าว่า บริษัทฯจะได้รับผลกระทบการส่งออกกุ้งไปอียู ส่วนการส่งออกไก่ไม่มีปัญหาเพราะเป็นระบบโควต้า ซึ่งซีพีเอฟก็มองแนวทางออกในเรื่องนี้ไว้แล้ว โดยจะอาศัยฐานการผลิตกุ้งของบริษัทฯที่เวียดนามและมาเลเซียส่งออกแทน เนื่องจากประเทศเหล่านี้ยังได้สิทธิจีเอสพีอยู่
ขณะเดียวกันภาครัฐก็มีการเจรจาเอฟทีเอกับอียู คาดว่าจะใช้เวลา 1ปีนับจากนี้จึงจะบรรลุข้อตกลง
ส่วนกรณีที่กุ้งเกิดโรคระบาดตายด่วน(EMS) ทำให้ปริมาณการผลิตกุ้งลดลง คาดว่าปีนี้ไทยจะส่งออกกุ้งได้ประมาณ 4 แสนตัน โดยเป็นการส่งออกของซีพีเอฟ10% โดยบริษัทฯไม่ได้รับผลกระทบมากนักเมื่อเทียบกับยอดขายรวมของบริษัทฯ
สำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 2558 และการขยายธุรกิจในตลาดประเทศนั้น บริษัทได้มีการเตรียมความพร้อม รวมทั้งหาฐานการผลิตในต่างประเทศ
โดยปัจจุบันบริษัทฯได้มีการว่าจ้างผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์CPในบางประเทศ เพราะคนไม่เพียงพอ เช่น เกาหลี และออสเตรเลีย เป็นต้น โดยลูกค้าในประเทศเหล่านี้ยอมรับสินค้าภายใต้แบรนด์ CP
ด้านผลการดำเนินงานงวดปี 2555 ซีพีเอฟมีรายได้จากการขาย 3.57 แสนล้านบาท ขยายตัวขึ้น15% โดยตั้งเป้าหมายใน 5ปีข้างหน้า รายได้จากการขายจะโตขึ้นเฉลี่ย 10-15%ต่อปี ทำให้มีรายได้จากการขายอยู่ที่ 7 แสนล้านบาท ซึ่งมาจากการส่งออกผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์CP จะเพิ่มขึ้นเป็น 70-80%ของรายได้จากการส่งออกรวม เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่รายได้จากการส่งออกมาจากธุรกิจCP Brand เพียง 25%ของรายได้จากการส่งออกที่ 4-5 หมื่นล้านบาท