วานนี้(7 พ.ค.56) นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ให้สัมภาษณ์ก่อนขึ้นประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ตนเองไม่ทราบกรณีที่มีการเปิดเผยว่า มีบริษัทร้างแห่งหนึ่ง ที่นายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนไปแล้ว เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 แต่กลับได้รับงานขุดลอกคลอง ในวงเงิน 32 ล้านบาท ที่ จ.นนทบุรี ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2555 ที่ผ่านมา
มีรายงานว่านายปลอดประสพ แจ้งให้ที่ประชุม ครม.ถึงงบประมาณบริหารจัดการน้ำ 3.5แสนล้านบาท ว่า ผ่านไปด้วยดี ที่ศาลปกครองไม่รับคุ้มครองชั่วคราว ส่วนภาคเอกชนที่ถอนตัวออกจากการประมูลก็ได้มีการเขียนจดหมายมาแจ้งว่ายังไม่มีความพร้อม และยังคงเหลือผู้ประมูล4 ราย ที่มีเอกสาร20ตัน ที่ต้องใช้ห้องเก็บถึงสองห้อง โดยรับแนวทางของนายกฯที่จะนำข้อมูลข้อเท็จจริงไปชี้แจงต่อสาธารณะเนื่องจากมีหลายฝ่ายโจมตีไปในทางบิดเบือน
ขณะที่นายกฯชี้แจงว่า การประมูลโครงการ 3.5 แสนล้านบาท ทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ที่แต่ละขั้นตอนมีการขอความเห็นต่อภาคเอกชนมาตลอด
นายเมธี ครองแก้ว อนุกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า วันที่ 8 พ.ค.นี้ คณะอนุกรรมการฯ จะประชุมสรุปแนวทางและมาตรการป้องกันการทุจริตโครงการลงทุนระบบบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย 3.5 แสนล้านบาท ที่อยู่ในขั้นตอนเปิดประมูลของ กบอ. ก่อนเสนอให้ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ และคณะรัฐมนตรีพิจารณา
ทั้งนี้ เบื้องต้นคณะอนุกรรม การฯ พบว่าการประมูลโครงการนี้มีช่องโหว่ที่ทำให้การใช้เงินกู้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะทุกแผนงานไม่ได้ทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และผลกระทบทางสุขภาพ (เอชไอเอ) รวมทั้งไม่รู้ว่าสถานที่ตั้งโครงการอยู่ที่ไหน และมีรูปแบบเป็นอย่างไรบ้าง
“ป.ป.ช.มีหน้าที่ต้องติติงในสิ่งที่เห็นว่าจะเกิดความเสียหายกับประเทศ โดยจะทำข้อเสนอว่ามีช่องโหว่ที่จะนำไปสู่การสูญเสียเงินของรัฐตรงไหนบ้าง มีช่องเอื้อให้เกิดการทุจริตจุดไหนบ้าง เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ได้เสนอรัฐบาลเกี่ยวกับการป้องกันทุจริตโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 6,000 คัน” นายเมธี กล่าวและว่านอกจาก ป.ป.ช.มีอำนาจตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบแล้ว ยังมีหน้าที่ป้องปรามไม่ให้เกิดการทุจริตล่วงหน้า เช่น กรณีการลงทุนโครงการน้ำ หาก ป.ป.ช.ได้เตือนรัฐบาลแล้วว่าจะเกิดการทุจริตและสูญเสียเงินภาษีอย่างไม่คุ้มค่า แต่รัฐบาลยังเพิกเฉยและมีความเสียหายเกิดขึ้น รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
“หากมีผู้ร้อง ป.ป.ช.ว่ามีพฤติกรรม ฮั้วประมูลหรือกีดกันผู้เข้าร่วมประมูลรายอื่น ป.ป.ช.มีอำนาจตรวจสอบและเอาผิดตาม พ.ร.บ.ด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542”
สำหรับขั้นตอนการเปิดซองประมูลทั้ง 4 บริษัท ทาง กบอ.ระบุว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 4 มิ.ย.
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า การจัดซื้อจัดจ้างโครงการลงทุนบริหารจัดการน้ำตาม พ.ร.บ.เงินกู้บริหารจัดการน้ำ จำนวน 3.5 แสนล้านบาทนั้น อาจขัดต่อกฎหมายสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ในมาตรา 103/7 ที่ระบุว่า หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ ซึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามข้อกฎหมาย ป.ป.ช.
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐบางแห่งจะไม่ใช้ระเบียบพัสดุของกรมบัญชีกลาง ยกตัวอย่าง โครงการที่ไม่สามารถออกแบบล่วงหน้า หรือจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษเฉพาะ หรือโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน แต่ทุกโครงการก็จะต้องมีการประกาศราคากลาง หรือหากไม่ทราบราคากลางจะต้องว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อกำหนดราคากลาง เพื่อใช้อ้างอิงในการประมูลงาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ นั่นหมายความว่า การจัดซื้อจัดจ้างใดๆ ของหน่วยงานรัฐจะต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายของ ป.ป.ช.ด้วย
“ที่ผ่านมา เราต้องตั้งตัวโครงการลงทุนไว้ก่อนที่จะกำหนดวงเงิน แต่การลงทุนระบบน้ำนี้ เป็นการกำหนดวงเงินไว้ก่อนที่จะทราบตัวโครงการ คำถามคือ รัฐบาลทราบได้อย่างไรว่า จะใช้เงินในแต่ละโครงการลงทุนจำนวนเท่าใด และเมื่อรัฐบาลกำหนดวงเงินกู้ไว้จำนวน 3.5 แสนล้านบาท ก็เท่ากับว่า รัฐบาลต้องประมาณการรู้ว่า แต่ละโครงการจะใช้เงินเท่าใด เมื่อทราบแล้วเหตุใดจึงไม่ประกาศราคากลาง”
ทั้งนี้ หากหน่วยงานรัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 103/7 ในมาตรา 103/8 ของกฎหมาย ป.ป.ช. ระบุว่า ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีหน้าที่รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับจัดซื้อจัดจ้าง โดยหน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีหน้าที่ติดตามผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี หากหน่วยงานของรัฐใดฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการให้ถือว่ามีความผิดทางวินัยเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนจากตำแหน่ง
รายงานข่าวจากคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย เปิดเผยว่า จากนี้ไปคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการฯทั้ง 50 คน เริ่มทยอยอ่านเอกสารด้านเทคนิคทั้งหมดอย่างละเอียดและรอบคอบก่อนที่จะมีการลงคะแนนว่ากลุ่มบริษัทใดที่มีความเหมาะในแต่ละแผนงาน(โมดูล) 9 แผนงาน 10 โครงการ คาดว่าใช้เวลาอ่านและพิจารณาเอกสารด้านเทคนิคประมาณ 3 สัปดาห์ ระหว่างนี้จะมีการพิจารณากลุ่มบริษัทที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกว่า 80 คะแนนขึ้นไป เน้นความสำคัญด้านเทคนิคที่ดีที่สุด ซึ่งจะเรียกมาเปิดซองราคาที่ยื่นพร้อมเจรจาต่อรองราคา โดยไม่มีการประกาศราคากลาง แต่ใช้วิธีอ้างอิงราคาหลักเกณฑ์การประมูลแบบเดียวกับหน่วยงานราชการ หากตกลงกันได้ถือว่าเป็นผู้ชนะการคัดเลือกทันที จากนั้นจะเริ่มพูดคุยการลงนามสัญญาว่าจ้างต่อไป แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้จะเรียกกลุ่มบริษัทที่ได้คะแนนรองลงมามาเปิดซองราคาและเจรจาต่อรองราคาตามขั้นตอน โดยจะตัดสินกลุ่มบริษัทที่ชนะการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง(ทีโออาร์)โครงการในวันที่ 2 มิ.ย.นี้ จากนั้นจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาในวันที่ 4 มิ.ย.2556 ตามแผนงานที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.)กำหนดไว้ จึงจะสามารถประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างเป็นทางการได้
แผนแม่บทโครงการบริหารจัดการน้ำประเทศที่รัฐบาลดำเนินการอยู่นี้มีคณะกรรมการฯพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในทุกขั้นตอน มี กบอ.เป็นคณะกรรมการชุดใหญ่ดูภาพรวมโครงการทั้งหมด โดยเฉพาะคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการฯ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญมากในการคัดเลือกบริษัทที่ดีที่สุดมาดำเนินโครงการ จึงมีการคัดเลือกบุคลากรจากหน่วยงานสำคัญต่างๆเข้ามาเป็นคณะทำงานครั้งนี้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจว่ามีความโปร่งใสในการดำเนินงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กรมชลประทาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคนิคและระเบียบแบบแผนการจัดซื้อจัดจ้าง(ทีโออาร์).
มีรายงานว่านายปลอดประสพ แจ้งให้ที่ประชุม ครม.ถึงงบประมาณบริหารจัดการน้ำ 3.5แสนล้านบาท ว่า ผ่านไปด้วยดี ที่ศาลปกครองไม่รับคุ้มครองชั่วคราว ส่วนภาคเอกชนที่ถอนตัวออกจากการประมูลก็ได้มีการเขียนจดหมายมาแจ้งว่ายังไม่มีความพร้อม และยังคงเหลือผู้ประมูล4 ราย ที่มีเอกสาร20ตัน ที่ต้องใช้ห้องเก็บถึงสองห้อง โดยรับแนวทางของนายกฯที่จะนำข้อมูลข้อเท็จจริงไปชี้แจงต่อสาธารณะเนื่องจากมีหลายฝ่ายโจมตีไปในทางบิดเบือน
ขณะที่นายกฯชี้แจงว่า การประมูลโครงการ 3.5 แสนล้านบาท ทำตามขั้นตอนทุกอย่าง ที่แต่ละขั้นตอนมีการขอความเห็นต่อภาคเอกชนมาตลอด
นายเมธี ครองแก้ว อนุกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า วันที่ 8 พ.ค.นี้ คณะอนุกรรมการฯ จะประชุมสรุปแนวทางและมาตรการป้องกันการทุจริตโครงการลงทุนระบบบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย 3.5 แสนล้านบาท ที่อยู่ในขั้นตอนเปิดประมูลของ กบอ. ก่อนเสนอให้ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ และคณะรัฐมนตรีพิจารณา
ทั้งนี้ เบื้องต้นคณะอนุกรรม การฯ พบว่าการประมูลโครงการนี้มีช่องโหว่ที่ทำให้การใช้เงินกู้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะทุกแผนงานไม่ได้ทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และผลกระทบทางสุขภาพ (เอชไอเอ) รวมทั้งไม่รู้ว่าสถานที่ตั้งโครงการอยู่ที่ไหน และมีรูปแบบเป็นอย่างไรบ้าง
“ป.ป.ช.มีหน้าที่ต้องติติงในสิ่งที่เห็นว่าจะเกิดความเสียหายกับประเทศ โดยจะทำข้อเสนอว่ามีช่องโหว่ที่จะนำไปสู่การสูญเสียเงินของรัฐตรงไหนบ้าง มีช่องเอื้อให้เกิดการทุจริตจุดไหนบ้าง เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ได้เสนอรัฐบาลเกี่ยวกับการป้องกันทุจริตโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 6,000 คัน” นายเมธี กล่าวและว่านอกจาก ป.ป.ช.มีอำนาจตรวจสอบการทุจริตและประพฤติมิชอบแล้ว ยังมีหน้าที่ป้องปรามไม่ให้เกิดการทุจริตล่วงหน้า เช่น กรณีการลงทุนโครงการน้ำ หาก ป.ป.ช.ได้เตือนรัฐบาลแล้วว่าจะเกิดการทุจริตและสูญเสียเงินภาษีอย่างไม่คุ้มค่า แต่รัฐบาลยังเพิกเฉยและมีความเสียหายเกิดขึ้น รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
“หากมีผู้ร้อง ป.ป.ช.ว่ามีพฤติกรรม ฮั้วประมูลหรือกีดกันผู้เข้าร่วมประมูลรายอื่น ป.ป.ช.มีอำนาจตรวจสอบและเอาผิดตาม พ.ร.บ.ด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542”
สำหรับขั้นตอนการเปิดซองประมูลทั้ง 4 บริษัท ทาง กบอ.ระบุว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 4 มิ.ย.
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า การจัดซื้อจัดจ้างโครงการลงทุนบริหารจัดการน้ำตาม พ.ร.บ.เงินกู้บริหารจัดการน้ำ จำนวน 3.5 แสนล้านบาทนั้น อาจขัดต่อกฎหมายสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ในมาตรา 103/7 ที่ระบุว่า หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ ซึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามข้อกฎหมาย ป.ป.ช.
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐบางแห่งจะไม่ใช้ระเบียบพัสดุของกรมบัญชีกลาง ยกตัวอย่าง โครงการที่ไม่สามารถออกแบบล่วงหน้า หรือจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษเฉพาะ หรือโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน แต่ทุกโครงการก็จะต้องมีการประกาศราคากลาง หรือหากไม่ทราบราคากลางจะต้องว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อกำหนดราคากลาง เพื่อใช้อ้างอิงในการประมูลงาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ นั่นหมายความว่า การจัดซื้อจัดจ้างใดๆ ของหน่วยงานรัฐจะต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายของ ป.ป.ช.ด้วย
“ที่ผ่านมา เราต้องตั้งตัวโครงการลงทุนไว้ก่อนที่จะกำหนดวงเงิน แต่การลงทุนระบบน้ำนี้ เป็นการกำหนดวงเงินไว้ก่อนที่จะทราบตัวโครงการ คำถามคือ รัฐบาลทราบได้อย่างไรว่า จะใช้เงินในแต่ละโครงการลงทุนจำนวนเท่าใด และเมื่อรัฐบาลกำหนดวงเงินกู้ไว้จำนวน 3.5 แสนล้านบาท ก็เท่ากับว่า รัฐบาลต้องประมาณการรู้ว่า แต่ละโครงการจะใช้เงินเท่าใด เมื่อทราบแล้วเหตุใดจึงไม่ประกาศราคากลาง”
ทั้งนี้ หากหน่วยงานรัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 103/7 ในมาตรา 103/8 ของกฎหมาย ป.ป.ช. ระบุว่า ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีหน้าที่รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับจัดซื้อจัดจ้าง โดยหน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีหน้าที่ติดตามผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี หากหน่วยงานของรัฐใดฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการให้ถือว่ามีความผิดทางวินัยเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนจากตำแหน่ง
รายงานข่าวจากคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย เปิดเผยว่า จากนี้ไปคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการฯทั้ง 50 คน เริ่มทยอยอ่านเอกสารด้านเทคนิคทั้งหมดอย่างละเอียดและรอบคอบก่อนที่จะมีการลงคะแนนว่ากลุ่มบริษัทใดที่มีความเหมาะในแต่ละแผนงาน(โมดูล) 9 แผนงาน 10 โครงการ คาดว่าใช้เวลาอ่านและพิจารณาเอกสารด้านเทคนิคประมาณ 3 สัปดาห์ ระหว่างนี้จะมีการพิจารณากลุ่มบริษัทที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกว่า 80 คะแนนขึ้นไป เน้นความสำคัญด้านเทคนิคที่ดีที่สุด ซึ่งจะเรียกมาเปิดซองราคาที่ยื่นพร้อมเจรจาต่อรองราคา โดยไม่มีการประกาศราคากลาง แต่ใช้วิธีอ้างอิงราคาหลักเกณฑ์การประมูลแบบเดียวกับหน่วยงานราชการ หากตกลงกันได้ถือว่าเป็นผู้ชนะการคัดเลือกทันที จากนั้นจะเริ่มพูดคุยการลงนามสัญญาว่าจ้างต่อไป แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้จะเรียกกลุ่มบริษัทที่ได้คะแนนรองลงมามาเปิดซองราคาและเจรจาต่อรองราคาตามขั้นตอน โดยจะตัดสินกลุ่มบริษัทที่ชนะการประมูลจัดซื้อจัดจ้าง(ทีโออาร์)โครงการในวันที่ 2 มิ.ย.นี้ จากนั้นจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาในวันที่ 4 มิ.ย.2556 ตามแผนงานที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.)กำหนดไว้ จึงจะสามารถประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างเป็นทางการได้
แผนแม่บทโครงการบริหารจัดการน้ำประเทศที่รัฐบาลดำเนินการอยู่นี้มีคณะกรรมการฯพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในทุกขั้นตอน มี กบอ.เป็นคณะกรรมการชุดใหญ่ดูภาพรวมโครงการทั้งหมด โดยเฉพาะคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการฯ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญมากในการคัดเลือกบริษัทที่ดีที่สุดมาดำเนินโครงการ จึงมีการคัดเลือกบุคลากรจากหน่วยงานสำคัญต่างๆเข้ามาเป็นคณะทำงานครั้งนี้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจว่ามีความโปร่งใสในการดำเนินงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กรมชลประทาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคนิคและระเบียบแบบแผนการจัดซื้อจัดจ้าง(ทีโออาร์).