วานนี้(7 พ.ค.56) นายทศพร เสรีรักษ์โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ปรารภและแสดงความห่วงใยต่อปัญหาภัยแล้ง โดยได้กำชับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องลงตรวจพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อติดตามสถานการณ์ประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะการดำเนินการตามยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง การเตรียมความพร้อมในการรับสถานการณ์ฝนในช่วงปลายปี ความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ การจัดการพื้นที่ทางการเกษตร (Zoning) การปลูกป่า
ทั้งนี้ มอบหมายให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดแนวทางติดตาม และมอบให้กระทรวงที่เป็นเจ้าภาพดูแลยุทธศาสตร์แต่ละเรื่องในภาพรวม (เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลเรื่อง Zoning) ส่งข้อมูลให้กระทรวงมหาดไทย เพื่อมหาดไทยจะได้จัดทำเป็นข้อมูลให้รัฐมนตรีประกอบการลงพื้นที่ต่อไป ซึ่งถ้าหากมีประมาณฝนมากให้ครม.ลงไปตรวจสอบว่ามีการขุดลอกคูคลองเพื่อระบายน้ำ หรือไม่
มีรายงานว่า เประเด็นนี้ เกิดขึ้นภายหลังนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานเรื่องโครงการประชาอาสาปลูกป่า 800 ล้านกล้า 80 พรรษา มหาราชินี ให้ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุม ครม.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้กำชับให้รัฐมนตรีหลายคนลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบปัญหาภัยแล้งบ้าง และขอให้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.)สรุปปัญหาภัยแล้วและอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆและแจ้งข้อมูลมาเป็นรายจังหวัด เพื่อให้รัฐมนตรีที่ดูแลในรายจังหวัดนั้นทราบปัญหา
ขณะที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯในฐานะประธานกบอ.แจ้งว่า ขณะนี้ปัญหาภัยแล้งจบลงแล้ว ซึ่งกรมชลประทานได้แจ้งปฎิทินฤดูฝนแล้วว่าฝนจะมาเมื่อไร จึงได้มีการขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงเรื่องน้ำในแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆที่มีเพิ่มต่อเนื่อง แต่อยู่ที่เพิ่มช้าหรือเร็ว แต่ตั้งข้อสังเกตว่ามีการถือโอกาสเบิกงบประมาณไปใช้หนี้เก่าของส่วนราชการ
ทั้งนี้ นายกฯได้กำชับให้สำนักเลขาธิการนายกฯและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์)ไปกำหนดกรอบ เพื่อให้ครม.ลงพื้นที่ได้ตรงเป้าทั้งโครงการการปลูกป่า เกษตรโซนนิ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายงานเรื่องโครงการประชาอาสาปลูกป่า 800 ล้านกล้า 80 พรรษา มหาราชินี ที่นายนิวัฒน์ธำรง รายงานต่อครม.รับทราบ เป็นโครงการของรัฐบาลที่นายปลอดประสพ ในฐานะประธานกบอ. ได้มอบนโยบายเรื่องแนวทางการดำเนินโครงการปลูกป่าและฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และโครงการประชาอาสาปลูกป่า 800 ล้านกล้าฯ งบประมาณ กว่า 1 หมื่นล้านบาท ตามแผนระยะยาว 5 ปี ให้แก่กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกันนายปลอดประสพได้สั่งให้กรมป่าไม้ยุติการก่อสร้างฝายถาวรและฝายกึ่งถาวรใน พื้นที่ป่าตามแผนการฟื้นฟู การอนุรักษ์ป่าและดิน การทำฝายของกรมป่าไม้ เนื่องจากการก่อสร้างฝายถาวรและฝายกึ่งถาวรจำนวน 2,810 แห่งในปี 2555 ที่ผ่านมา ประสบความล้มเหลว เพราะฝายที่ก่อสร้างชำรุดเสียหายจำนวนมาก
รายงานข่าวจากกระทรวงทรัพยากรฯ ระบุว่า ที่ผ่านมาทางกระทรวงทรัพยากรฯ และ กบอ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบการก่อสร้างฝายถาวรและกึ่งถาวรในพื้นที่จ.น่านและภาคอีสานบางส่วน ประมาณ 10 เปอร์เซ็นของทั้งหมด โดยเป็นการเข้าไปตรวจสอบในช่วงต้นปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นฤดูแล้ง พบว่าฝายในจุดที่ไปสุ่มตรวจพังกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
โดยพื้นที่ที่ก่อสร้างมีความลาดชันสูง เป็นการก่อสร้างในพื้นที่ต้นน้ำโดยการเทคอนกรีตเหนือพื้นดิน ไม่มีการขุดหรือวางฐานคอนกรีตลึกลงไปในชั้นดิน ซึ่งทำ ให้มีปัญหาน้ำลอดใต้ฝาย และเซาะด้านข้าง หากฝนตก หนักโอกาสที่ฝายจะพังลงจึงมีสูงมาก และคาดว่าพื้นที่ที่เหลือที่ยังไม่เข้าไปตรวจสอบน่าจะมีปัญหาไม่ต่างกัน จึง เป็นที่มาที่นายปลอดประสพมีความเป็นห่วงจนสั่งให้กรมป่าไม้ระงับการก่อสร้าง ฝายถาวรและกึ่งถาวรดังกล่าว และหารูปแบบที่เหมาะสมที่กรมป่าไม้มีอยู่แล้ว 7-8 รูปแบบมาดำเนินการแทน
ผู้สื่อข่าวรายงงานว่า สำหรับในปีงบประมาณ 2556 กรมป่าไม้เตรียมจะก่อสร้างฝายเพิ่ม เป็นฝายถาวร 800 แห่ง ฝายกึ่งถาวร 1,500 แห่ง รวม 2,300 แห่ง ใช้งบประมาณดำเนินการกว่า 110 ล้านบาท ซึ่งถูกนายปลอดประสพสั่งระงับและให้ไปหารูปแบบที่เหมาะสมมานำเสนอก่อนดำเนินการ
ทั้งนี้ มอบหมายให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดแนวทางติดตาม และมอบให้กระทรวงที่เป็นเจ้าภาพดูแลยุทธศาสตร์แต่ละเรื่องในภาพรวม (เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลเรื่อง Zoning) ส่งข้อมูลให้กระทรวงมหาดไทย เพื่อมหาดไทยจะได้จัดทำเป็นข้อมูลให้รัฐมนตรีประกอบการลงพื้นที่ต่อไป ซึ่งถ้าหากมีประมาณฝนมากให้ครม.ลงไปตรวจสอบว่ามีการขุดลอกคูคลองเพื่อระบายน้ำ หรือไม่
มีรายงานว่า เประเด็นนี้ เกิดขึ้นภายหลังนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานเรื่องโครงการประชาอาสาปลูกป่า 800 ล้านกล้า 80 พรรษา มหาราชินี ให้ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุม ครม.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้กำชับให้รัฐมนตรีหลายคนลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบปัญหาภัยแล้งบ้าง และขอให้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.)สรุปปัญหาภัยแล้วและอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆและแจ้งข้อมูลมาเป็นรายจังหวัด เพื่อให้รัฐมนตรีที่ดูแลในรายจังหวัดนั้นทราบปัญหา
ขณะที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯในฐานะประธานกบอ.แจ้งว่า ขณะนี้ปัญหาภัยแล้งจบลงแล้ว ซึ่งกรมชลประทานได้แจ้งปฎิทินฤดูฝนแล้วว่าฝนจะมาเมื่อไร จึงได้มีการขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆที่เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงเรื่องน้ำในแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆที่มีเพิ่มต่อเนื่อง แต่อยู่ที่เพิ่มช้าหรือเร็ว แต่ตั้งข้อสังเกตว่ามีการถือโอกาสเบิกงบประมาณไปใช้หนี้เก่าของส่วนราชการ
ทั้งนี้ นายกฯได้กำชับให้สำนักเลขาธิการนายกฯและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์)ไปกำหนดกรอบ เพื่อให้ครม.ลงพื้นที่ได้ตรงเป้าทั้งโครงการการปลูกป่า เกษตรโซนนิ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายงานเรื่องโครงการประชาอาสาปลูกป่า 800 ล้านกล้า 80 พรรษา มหาราชินี ที่นายนิวัฒน์ธำรง รายงานต่อครม.รับทราบ เป็นโครงการของรัฐบาลที่นายปลอดประสพ ในฐานะประธานกบอ. ได้มอบนโยบายเรื่องแนวทางการดำเนินโครงการปลูกป่าและฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และโครงการประชาอาสาปลูกป่า 800 ล้านกล้าฯ งบประมาณ กว่า 1 หมื่นล้านบาท ตามแผนระยะยาว 5 ปี ให้แก่กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกันนายปลอดประสพได้สั่งให้กรมป่าไม้ยุติการก่อสร้างฝายถาวรและฝายกึ่งถาวรใน พื้นที่ป่าตามแผนการฟื้นฟู การอนุรักษ์ป่าและดิน การทำฝายของกรมป่าไม้ เนื่องจากการก่อสร้างฝายถาวรและฝายกึ่งถาวรจำนวน 2,810 แห่งในปี 2555 ที่ผ่านมา ประสบความล้มเหลว เพราะฝายที่ก่อสร้างชำรุดเสียหายจำนวนมาก
รายงานข่าวจากกระทรวงทรัพยากรฯ ระบุว่า ที่ผ่านมาทางกระทรวงทรัพยากรฯ และ กบอ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบการก่อสร้างฝายถาวรและกึ่งถาวรในพื้นที่จ.น่านและภาคอีสานบางส่วน ประมาณ 10 เปอร์เซ็นของทั้งหมด โดยเป็นการเข้าไปตรวจสอบในช่วงต้นปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นฤดูแล้ง พบว่าฝายในจุดที่ไปสุ่มตรวจพังกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
โดยพื้นที่ที่ก่อสร้างมีความลาดชันสูง เป็นการก่อสร้างในพื้นที่ต้นน้ำโดยการเทคอนกรีตเหนือพื้นดิน ไม่มีการขุดหรือวางฐานคอนกรีตลึกลงไปในชั้นดิน ซึ่งทำ ให้มีปัญหาน้ำลอดใต้ฝาย และเซาะด้านข้าง หากฝนตก หนักโอกาสที่ฝายจะพังลงจึงมีสูงมาก และคาดว่าพื้นที่ที่เหลือที่ยังไม่เข้าไปตรวจสอบน่าจะมีปัญหาไม่ต่างกัน จึง เป็นที่มาที่นายปลอดประสพมีความเป็นห่วงจนสั่งให้กรมป่าไม้ระงับการก่อสร้าง ฝายถาวรและกึ่งถาวรดังกล่าว และหารูปแบบที่เหมาะสมที่กรมป่าไม้มีอยู่แล้ว 7-8 รูปแบบมาดำเนินการแทน
ผู้สื่อข่าวรายงงานว่า สำหรับในปีงบประมาณ 2556 กรมป่าไม้เตรียมจะก่อสร้างฝายเพิ่ม เป็นฝายถาวร 800 แห่ง ฝายกึ่งถาวร 1,500 แห่ง รวม 2,300 แห่ง ใช้งบประมาณดำเนินการกว่า 110 ล้านบาท ซึ่งถูกนายปลอดประสพสั่งระงับและให้ไปหารูปแบบที่เหมาะสมมานำเสนอก่อนดำเนินการ