ASTVผู้จัดการรายวัน- หม่อมอุ๋ย-ดร.กอบศักดิ์ ร่วมวงหารือ”กกร.” ส่งสัญญาณเอกชนรับมือบาทจะยังแข็งค่าได้อีกตามทิศทางเศรษฐกิจเอเชีย หนุนคลัง-ธปท.ดูแลไม่ให้แข็งนำภูมิภาค จี้เอกชนปรับตัวลดต้นทุนรับมือ โอกาสกลับไปเห็น 31 บาทต่อเหรียญฯอย่าหวัง ! สภาหอฯ-ส.ธนาคารไทยเล็งตบเท้าพบผู้ว่าฯธปท. 16 พ.ค.ขอคำแนะนำปรับตัวรับบาทแข็ง
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยเมื่อ 7 พ.ค.ว่า กกร.ได้เชิญม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มาร่วมให้ข้อมูลและเสนอแนะการปรับตัวของเอกชนต่อภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าโดยได้ยืนยันตรงกันว่าแนวโน้มค่าเงินบาทไทยจะแข็งค่าขึ้นอีกในอนาคตตามทิศทางเศรษฐกิจเอเชียดังนั้นสิ่งสำคัญคือคลังและธปท.จะต้องดูแลไม่ให้แข็งค่านำภูมิภาค ส่วนเอกชนจะต้องเตรียมปรับตัวในการลดต้นทุนไว้รองรับด้วย
“ หม่อมอุ๋ยชี้ให้เห็นว่าค่าเงินบาทของไทยปี 2540 ตั้งแต่ 45 บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกา ปี 2544 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 45.4 บาทต่อเหรียญฯ ปี 2546 บาทอยู่ที่ 37.56 บาทต่อเหรียญฯ ขณะนี้ 29 บาทต่อเหรียญฯก็เห็นว่าบาทไทยมีแต่จะแข็งขึ้นเรื่อยๆตามภาวะเศรษฐกิจโดยเฉพาะเอเชียที่เงินจะไหลมาอีกมาก โอกาสจะเห็น 31 บาทต่อเหรียญฯจะไม่มีแล้ว แต่สิ่งที่เห็นตรงกันคือช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาบาทของไทยแข็งค่ามากเกินพื้นฐานเศรษฐกิจ”นายพยุงศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ที่ประชุมไม่ได้หารือประเด็นการปลดผู้ว่าธปท.แต่อย่างใดและไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องใช้มาตรการใดมาแก้ไขปัญหาเพราะคาดว่าธปท.และคลังเริ่มทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น โดยค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงมาสู่ระดับ 29-5-29.6 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีเสถียรภาพระดับดังกล่าวไปนานเพียงใด จึงต้องการให้ธปท.และคลังดูแลวันต่อวัน
ส่วนมาตรการกระทบน้อยสุด คือการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และแรงสุดคือการควบคุมเงินทุนไหลเข้าออก หรือ Capital Control ซึ่งขณะนี้มาตรการใดๆออกมาขอเพียงค่าบาทสะท้อนภูมิภาคและไม่แข็งค่านำเท่านั้น คือสิ่งที่เอกชนต้องการโดยขณะนี้ค่าเงินบาทควรอยู่ระดับ 30 บาทบวกลบ
นอกจากนี้ กกร.ยังได้สรุปที่จะทำหนังสือถึงภาครัฐในการเจรจากับสหภาพยุโรปหรืออียูเพื่อขอขยายระยะเวลาการใช้สิทธิประโยชน์พิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือ GSP ออกไปจนกว่าไทยจะสามารถบรรลุข้อตกลงการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีไทย-อียู ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าบางประเภทจะเริ่มหมดสิทธิ์ลงอย่างต่อเนื่องทำให้ไทยเสียโอกาส
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า วันที่ 16 พ.ค. สภาหอฯและสมาคมธนาคารไทยจะเข้าพบกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าธปท. เพื่อที่จะขอคำแนะนำถึงแนวโน้มค่าเงินบาทในระยะสั้น กลางและยาวว่ามีทิศทางอย่างไรเพื่อที่จะนำข้อมูลมาบอกกล่าวกับสมาชิกสภาหอฯเพื่อให้มีการเตรียมพร้อมในการปรับตัวรองรับ
รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) โดยสภาหอการค้าไม่มีแนวคิดที่จะนำเสนอเกี่ยวกับการลดหรือขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากเห็นว่าธปท.เป็นหน่วยงานที่มีความรู้ และเครื่องมือด้านดังกล่าวดีอยู่แล้วและไม่ใช่หน้าที่ของภาคเอกชนหรือหอการค้าฯ
" ไม่คิดว่าจะนำเสนอความเห็นในการลดหรือขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพียงแต่การพบธปท.ครั้งนี้เพื่ขอคำแนะนำว่าผู้ประกอบการควบปรับตัวอย่างไรในภาวะค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเช่นนี้ "
นอกจากนี้ ภาคเอกชนอยากเห็นอัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ และไม่แข็งค่าเกินกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการตัดสินใจยากในการนำรับออร์เดอร์ล่วงหน้าเพื่อส่งออก เพราะไม่สามารถกำหนดราคาได้
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยเมื่อ 7 พ.ค.ว่า กกร.ได้เชิญม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มาร่วมให้ข้อมูลและเสนอแนะการปรับตัวของเอกชนต่อภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าโดยได้ยืนยันตรงกันว่าแนวโน้มค่าเงินบาทไทยจะแข็งค่าขึ้นอีกในอนาคตตามทิศทางเศรษฐกิจเอเชียดังนั้นสิ่งสำคัญคือคลังและธปท.จะต้องดูแลไม่ให้แข็งค่านำภูมิภาค ส่วนเอกชนจะต้องเตรียมปรับตัวในการลดต้นทุนไว้รองรับด้วย
“ หม่อมอุ๋ยชี้ให้เห็นว่าค่าเงินบาทของไทยปี 2540 ตั้งแต่ 45 บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกา ปี 2544 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 45.4 บาทต่อเหรียญฯ ปี 2546 บาทอยู่ที่ 37.56 บาทต่อเหรียญฯ ขณะนี้ 29 บาทต่อเหรียญฯก็เห็นว่าบาทไทยมีแต่จะแข็งขึ้นเรื่อยๆตามภาวะเศรษฐกิจโดยเฉพาะเอเชียที่เงินจะไหลมาอีกมาก โอกาสจะเห็น 31 บาทต่อเหรียญฯจะไม่มีแล้ว แต่สิ่งที่เห็นตรงกันคือช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาบาทของไทยแข็งค่ามากเกินพื้นฐานเศรษฐกิจ”นายพยุงศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ที่ประชุมไม่ได้หารือประเด็นการปลดผู้ว่าธปท.แต่อย่างใดและไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องใช้มาตรการใดมาแก้ไขปัญหาเพราะคาดว่าธปท.และคลังเริ่มทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น โดยค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงมาสู่ระดับ 29-5-29.6 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีเสถียรภาพระดับดังกล่าวไปนานเพียงใด จึงต้องการให้ธปท.และคลังดูแลวันต่อวัน
ส่วนมาตรการกระทบน้อยสุด คือการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และแรงสุดคือการควบคุมเงินทุนไหลเข้าออก หรือ Capital Control ซึ่งขณะนี้มาตรการใดๆออกมาขอเพียงค่าบาทสะท้อนภูมิภาคและไม่แข็งค่านำเท่านั้น คือสิ่งที่เอกชนต้องการโดยขณะนี้ค่าเงินบาทควรอยู่ระดับ 30 บาทบวกลบ
นอกจากนี้ กกร.ยังได้สรุปที่จะทำหนังสือถึงภาครัฐในการเจรจากับสหภาพยุโรปหรืออียูเพื่อขอขยายระยะเวลาการใช้สิทธิประโยชน์พิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือ GSP ออกไปจนกว่าไทยจะสามารถบรรลุข้อตกลงการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีไทย-อียู ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าบางประเภทจะเริ่มหมดสิทธิ์ลงอย่างต่อเนื่องทำให้ไทยเสียโอกาส
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า วันที่ 16 พ.ค. สภาหอฯและสมาคมธนาคารไทยจะเข้าพบกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าธปท. เพื่อที่จะขอคำแนะนำถึงแนวโน้มค่าเงินบาทในระยะสั้น กลางและยาวว่ามีทิศทางอย่างไรเพื่อที่จะนำข้อมูลมาบอกกล่าวกับสมาชิกสภาหอฯเพื่อให้มีการเตรียมพร้อมในการปรับตัวรองรับ
รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SMEs) โดยสภาหอการค้าไม่มีแนวคิดที่จะนำเสนอเกี่ยวกับการลดหรือขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากเห็นว่าธปท.เป็นหน่วยงานที่มีความรู้ และเครื่องมือด้านดังกล่าวดีอยู่แล้วและไม่ใช่หน้าที่ของภาคเอกชนหรือหอการค้าฯ
" ไม่คิดว่าจะนำเสนอความเห็นในการลดหรือขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพียงแต่การพบธปท.ครั้งนี้เพื่ขอคำแนะนำว่าผู้ประกอบการควบปรับตัวอย่างไรในภาวะค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเช่นนี้ "
นอกจากนี้ ภาคเอกชนอยากเห็นอัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ และไม่แข็งค่าเกินกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการตัดสินใจยากในการนำรับออร์เดอร์ล่วงหน้าเพื่อส่งออก เพราะไม่สามารถกำหนดราคาได้