เปิดเกมกดดันผู้ว่าการฯ ธปท. “โต้ง-โกร่ง” รุมยำ ระบุยังไม่ได้รับหนังสือจากแบงก์ชาติแต่อย่างใด หวั่นหากเล่นเกมต่อไปเศรษฐกิจอาจเสียหายนับล้านล้านบาท ระบุปลดผู้ว่า ต้องให้นายก-ครม.จัดการ
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท. เปิดเผยว่า ธปท.อาจเกิดความเสียหายนับล้านล้านบาทก่อนสิ้นปีนี้ หากยังไม่มีมาตรการใด ๆ ออกมาแก้ไขปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าผิดปกติ รวมทั้งเศรษฐกิจไทยอาจเกิดภาวะวิกฤติเหมือนในอดีต ขณะที่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่มีความแตกต่างจากนอกประเทศเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า
นอกจากนี้ยังเป็นห่วงความเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างรมว.คลัง และผู้ว่าการ ธปท. แต่ก็ยอมรับว่าแม้จะเป็นประธานคณะกรรมการ ธปท.ก็ไม่สามารถบังคับหรือปลดผู้ว่าการ ธปท.ได้ แต่เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่สามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ตาม นายวีรพงษ์ ระบุว่า ไม่อยากเห็นเรื่องราวลุกลามไปถึงขั้นปลดผู้ว่าการ ธปท.
"ดูเหมือนผู้ว่าแบงก์ชาติไม่เดือดร้อนกับสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ว่าเรื่องนี้เคยเตือนแบงก์ชาติมาตลอด 4 ปี ตั้งแต่เงินบาทอ่อนค่ากว่า 33 บาท/ดอลลาร์ จึงกังวลว่าหากไม่ดำเนินการแก้ไข บ้านเมืองอาจจะเดินลงเหว หรือนำไปสู่เศรษฐกิจล้มละลายได้" นายวีรพงษ์ กล่าว
ส่วนอำนาจในการปลดผู้ว่าการ ธปท.นั้น นายวีรพงษ์ กล่าวว่า เมื่อตรวจสอบข้อกฎหมายทั้งหมดแล้ว คณะกรรมการ ธปท.ไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะสามารถปลดผู้ว่าการได้ ซึ่งแนวทางขณะนี้ต้องฝากให้นายกรัฐมนตรีลงมาดูแลปัญหานี้ เพราะอำนาจของครม.สามารถปลดผู้ว่าการ ธปท.ทำได้ แต่ก็ไม่อยากให้ถึงขั้นนั้น ส่วนการออกมาพูดจะเป็นการกดดันให้ผู้ว่าการ ลาออกหรือไม่นั้น นายวีรพงษ์ กล่าวว่า คงไม่สามารถทำได้
ด้าน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ได้ส่งแนวทางและมาตรการดูแลค่าเงินบาท ซึ่งธปท.ได้เตรียมการไว้ให้กับกระทรวงการคลังเพื่อรับทราบ และพิจารณาแล้ว แต่ไม่ขอตอบเรื่องอื่นๆ ในขณะนี้ โดยการให้สัมภาษณ์ของผู้ว่าการ ธปท.ในช่วงนี้ทำในเวลาที่เหมาะสม
ทั้งนี้แนวทางการดำเนินนโยบายของธปท.เพื่อดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทในระยะต่อไปนั้น ธปท.ได้รายงานว่า จะคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับภาคการส่งออก และภาพรวมของเศรษฐกิจมากขึ้น และจะติดตามสถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาทอย่างใกล้ชิด ได้เตรียมมาตรการเข้าไปดูแลตลาดในช่วงที่ค่าเงินบาทไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่มาตรการในการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศนั้น จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ
***“โต้ง”ยัน”ธปท.”ไม่เคยให้ข้อมูลค่าบาท
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า ยังไม่ได้แนวทางการแก้ปัญหาค่าเงินบาทที่ชัดเจน แม้จะมีความเห็นตรงกันว่า ควรลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือหากไม่ลดดอกเบี้ย ควรหามาตรการอื่นๆ เข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออก ในส่วนของผู้ว่าการธปท.ได้รับข้อเสนอเหล่านั้นไปแล้ว แต่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)นัดพิเศษ เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ผลสรุปที่ได้ก็ยังไม่เป็นไปตามทิศทางที่ได้หารือร่วมกันก่อนหน้านี้ และในการประชุม นายประสารก็ไม่ได้หยิบยกเรื่องที่เคยพูดไปก่อนหน้านี้มาชี้แจงต่อกนง.
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นห่วงว่า หากตอนนี้ยังมีมาตรการใดออกมาเกรงว่าในอนาคตจะเกิดเหตุการณ์แบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะไม่เกิดขึ้นในครั้งเดียวและอาจจะกระทบกลไกทางเศรษฐกิจในวันข้างหน้า และที่ผ่านมาได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการดูแลเสถียรภาพทางการเงินในฐานะรมว.คลัง ตั้งแต่การสอบถามและหามาตรการดูแลค่าเงินบาทพร้อมสอบถามตั้งแต่ระดับผู้บริหารของธปท. จนกระทั่งส่งหนังสือถึงนายวีรพงษ์ รางมางกูร ประธานคณะกรรมการธปท. เพื่อสอบถาม ซึ่งได้คำตอบว่าไม่มีอำนาจในการตัดสินใจและให้สอบถามกับผู้ว่าการธปท. จากนั้นจึงส่งหนังสือไปสอบถามผู้ว่า ธปท. อีกครั้ง ซึ่งมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการโยนกันไปมายิ่งทำให้เป็นห่วงว่าในอนาคตเมื่อเกิดปัญหาที่รุนแรงขึ้นจะไม่เกิดความเสียหายต่อประเทศมากกว่านี้หรือ และมองว่ากลไกการลดอัตราดอกเบี้ย จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยได้ ในทางตรงกันข้ามธปท. กลับมองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยจะไม่ช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลงและจะเป็นผลเสียต่อระบบการเงิน
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) และครม.เศรษฐกิจ ธปท. ได้รายนงานสถานการณ์ค่าเงินบาท และมาตรการดูแลให้ที่ประชุมทราบนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ธปท. ไม่เคยรายงานให้ทราบเลย ตนในฐานะรมว.คลังจึงต้องทำหนังสือเป็นวาระลับกลับไปถามนายประสาร ในฐานะผู้ว่าการธปท. ว่ามีมาตรการดูแลค่าเงินบาทอย่างไรบ้าง ซึ่งผู้ว่าธปท.ได้ตอบกลับหนังสือกลับมาพร้อมมีการประทับตรา ธปท. โดยระบุว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่ายังไม่กระทบผู้ประกอบการและระบบเศรษฐกิจมากนัก แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าแต่การลดอัตราดอกเบี้ยไม่ช่วยให้การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศในตลาดพันธบัตรลดลง ในฐานะรมว.คลังจึงต้องรายงานนายกรัฐมนตรีและครม.เป็นวาระลับเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา
ส่วนกรณีมีกระแสข่าวมีการกดดันและต้องการปลดนายประสารรมว.คลังไม่มีอำนาจในการสั่งปลดผู้ว่าธปท. แต่อำนาจอยู่ที่มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการ ธปท.
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท. เปิดเผยว่า ธปท.อาจเกิดความเสียหายนับล้านล้านบาทก่อนสิ้นปีนี้ หากยังไม่มีมาตรการใด ๆ ออกมาแก้ไขปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าผิดปกติ รวมทั้งเศรษฐกิจไทยอาจเกิดภาวะวิกฤติเหมือนในอดีต ขณะที่เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่มีความแตกต่างจากนอกประเทศเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า
นอกจากนี้ยังเป็นห่วงความเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างรมว.คลัง และผู้ว่าการ ธปท. แต่ก็ยอมรับว่าแม้จะเป็นประธานคณะกรรมการ ธปท.ก็ไม่สามารถบังคับหรือปลดผู้ว่าการ ธปท.ได้ แต่เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่สามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ตาม นายวีรพงษ์ ระบุว่า ไม่อยากเห็นเรื่องราวลุกลามไปถึงขั้นปลดผู้ว่าการ ธปท.
"ดูเหมือนผู้ว่าแบงก์ชาติไม่เดือดร้อนกับสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ว่าเรื่องนี้เคยเตือนแบงก์ชาติมาตลอด 4 ปี ตั้งแต่เงินบาทอ่อนค่ากว่า 33 บาท/ดอลลาร์ จึงกังวลว่าหากไม่ดำเนินการแก้ไข บ้านเมืองอาจจะเดินลงเหว หรือนำไปสู่เศรษฐกิจล้มละลายได้" นายวีรพงษ์ กล่าว
ส่วนอำนาจในการปลดผู้ว่าการ ธปท.นั้น นายวีรพงษ์ กล่าวว่า เมื่อตรวจสอบข้อกฎหมายทั้งหมดแล้ว คณะกรรมการ ธปท.ไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะสามารถปลดผู้ว่าการได้ ซึ่งแนวทางขณะนี้ต้องฝากให้นายกรัฐมนตรีลงมาดูแลปัญหานี้ เพราะอำนาจของครม.สามารถปลดผู้ว่าการ ธปท.ทำได้ แต่ก็ไม่อยากให้ถึงขั้นนั้น ส่วนการออกมาพูดจะเป็นการกดดันให้ผู้ว่าการ ลาออกหรือไม่นั้น นายวีรพงษ์ กล่าวว่า คงไม่สามารถทำได้
ด้าน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ได้ส่งแนวทางและมาตรการดูแลค่าเงินบาท ซึ่งธปท.ได้เตรียมการไว้ให้กับกระทรวงการคลังเพื่อรับทราบ และพิจารณาแล้ว แต่ไม่ขอตอบเรื่องอื่นๆ ในขณะนี้ โดยการให้สัมภาษณ์ของผู้ว่าการ ธปท.ในช่วงนี้ทำในเวลาที่เหมาะสม
ทั้งนี้แนวทางการดำเนินนโยบายของธปท.เพื่อดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทในระยะต่อไปนั้น ธปท.ได้รายงานว่า จะคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับภาคการส่งออก และภาพรวมของเศรษฐกิจมากขึ้น และจะติดตามสถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาทอย่างใกล้ชิด ได้เตรียมมาตรการเข้าไปดูแลตลาดในช่วงที่ค่าเงินบาทไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่มาตรการในการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศนั้น จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ
***“โต้ง”ยัน”ธปท.”ไม่เคยให้ข้อมูลค่าบาท
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า ยังไม่ได้แนวทางการแก้ปัญหาค่าเงินบาทที่ชัดเจน แม้จะมีความเห็นตรงกันว่า ควรลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือหากไม่ลดดอกเบี้ย ควรหามาตรการอื่นๆ เข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออก ในส่วนของผู้ว่าการธปท.ได้รับข้อเสนอเหล่านั้นไปแล้ว แต่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)นัดพิเศษ เมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา ผลสรุปที่ได้ก็ยังไม่เป็นไปตามทิศทางที่ได้หารือร่วมกันก่อนหน้านี้ และในการประชุม นายประสารก็ไม่ได้หยิบยกเรื่องที่เคยพูดไปก่อนหน้านี้มาชี้แจงต่อกนง.
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นห่วงว่า หากตอนนี้ยังมีมาตรการใดออกมาเกรงว่าในอนาคตจะเกิดเหตุการณ์แบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะไม่เกิดขึ้นในครั้งเดียวและอาจจะกระทบกลไกทางเศรษฐกิจในวันข้างหน้า และที่ผ่านมาได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการดูแลเสถียรภาพทางการเงินในฐานะรมว.คลัง ตั้งแต่การสอบถามและหามาตรการดูแลค่าเงินบาทพร้อมสอบถามตั้งแต่ระดับผู้บริหารของธปท. จนกระทั่งส่งหนังสือถึงนายวีรพงษ์ รางมางกูร ประธานคณะกรรมการธปท. เพื่อสอบถาม ซึ่งได้คำตอบว่าไม่มีอำนาจในการตัดสินใจและให้สอบถามกับผู้ว่าการธปท. จากนั้นจึงส่งหนังสือไปสอบถามผู้ว่า ธปท. อีกครั้ง ซึ่งมองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการโยนกันไปมายิ่งทำให้เป็นห่วงว่าในอนาคตเมื่อเกิดปัญหาที่รุนแรงขึ้นจะไม่เกิดความเสียหายต่อประเทศมากกว่านี้หรือ และมองว่ากลไกการลดอัตราดอกเบี้ย จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยได้ ในทางตรงกันข้ามธปท. กลับมองว่าการลดอัตราดอกเบี้ยจะไม่ช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลงและจะเป็นผลเสียต่อระบบการเงิน
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) และครม.เศรษฐกิจ ธปท. ได้รายนงานสถานการณ์ค่าเงินบาท และมาตรการดูแลให้ที่ประชุมทราบนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ธปท. ไม่เคยรายงานให้ทราบเลย ตนในฐานะรมว.คลังจึงต้องทำหนังสือเป็นวาระลับกลับไปถามนายประสาร ในฐานะผู้ว่าการธปท. ว่ามีมาตรการดูแลค่าเงินบาทอย่างไรบ้าง ซึ่งผู้ว่าธปท.ได้ตอบกลับหนังสือกลับมาพร้อมมีการประทับตรา ธปท. โดยระบุว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่ายังไม่กระทบผู้ประกอบการและระบบเศรษฐกิจมากนัก แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าแต่การลดอัตราดอกเบี้ยไม่ช่วยให้การไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศในตลาดพันธบัตรลดลง ในฐานะรมว.คลังจึงต้องรายงานนายกรัฐมนตรีและครม.เป็นวาระลับเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา
ส่วนกรณีมีกระแสข่าวมีการกดดันและต้องการปลดนายประสารรมว.คลังไม่มีอำนาจในการสั่งปลดผู้ว่าธปท. แต่อำนาจอยู่ที่มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการ ธปท.