ASTVผู้จัดการรายวัน-ส.อ.ท.ชง 5 มาตรการเข้มข้นแก้วิกฤตบาทแข็ง ก่อนนำถกแบงก์ชาติสัปดาห์หน้า จี้ลดดอกเบี้ยลงทันที 1% ห้ามนำเงินลงทุนที่เข้ามาเก็งกำไรออกนอกประเทศอย่างต่ำ 3 เดือน ปรับปรุงการออกพันธบัตรโดยเร่งด่วน พร้อมถก "พาณิชย์" 26 เม.ย. เร่งเพิ่มค้าชายแดนรับมือส่งออกวูบ ด้านธปท. ยันจับตาค่าเงินใกล้ชิด จะออกมาตรการต้องดูผลกระทบทั้งระบบ
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้สรุป มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แข็งค่าในภาวะวิกฤต 5 มาตรการ เพื่อที่จะนำไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายในสัปดาห์หน้า รวมถึงแนวทางการผลักดันการส่งออกที่จะนำไปหารือกับกระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 26 เม.ย.นี้
โดยทั้ง 5 มาตรการในการดูแลค่าเงินบาท ได้แก่
1.ให้รัฐบาลบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนแบบภาวะวิกฤต เพราะขณะนี้มีสัญญาณการเก็งกำไรค่าเงินบาทภายในประเทศ เนื่องจากค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าระดับ 6% ซึ่งถือว่าแข็งมากกว่าในภูมิภาค
2.เปลี่ยนนโยบายดูแลค่าบาทที่อิงอัตราเงินเฟ้อ (Inflating Targeting) เป็นนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน (Exchang Rate Targeting)
3.ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 1% ทันทีจากปัจจุบันอยู่ที่ 2.75%
4.ใช้นโยบายควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย (Capital Control) ที่จะต้องห้ามนำเงินลงทุนออกไปจากประเทศไทยที่มีลักษณะของการเก็งกำไรเป็นระยะเวลาอย่างต่ำ 3 เดือน และหากไม่สามารถบรรเทาความผันผวนได้ก็ค่อยๆ ปรับเพิ่มระยะเวลาให้มากขึ้นเป็น 6 เดือน
5.ปรับปรุงนโยบายการออกพันธบัตรของธปท. ซึ่งเห็นว่าขณะนี้มีการออกมามากเกินจนทำให้เงินไหลเข้ามามากทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
“เราได้หารือกับผู้ส่งออก 2 เรื่อง คือ ค่าเงินบาทกับกรณีการค้าและการส่งออก ที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในเวลานี้ ซึ่งเราดูแล้วค่าเงินบาทเราแข็งค่าเร็วเกินไป คงจะต้องใช้มาตรการที่เข้มข้นทันทีได้แล้ว เนื่องจากผู้ส่งออกมีปัญหากับการรับคำสั่งซื้อในไตรมาส 2 และ 3 หากไม่มีมาตรการใดมาดูแลค่าเงินบาท เราเกรงว่าบาทจะแข็งค่าจนไม่มีที่สิ้นสุด และจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกปีนี้อย่างมาก”นายพยุงศักดิ์กล่าว
***บาทหลุด27ตัวใครตัวมัน
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งส.อ.ท.ร่วมอยู่ จะหารือกับกระทรวงพาณิชย์ถึงแนวทางการผลักดันการส่งออก 26 เม.ย.นี้ ซึ่งยอมรับว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากทำให้ขีดความสามารถการแข่งขันของไทยลดต่ำลง การไปแสวงหาตลาดใหม่ จึงไม่ง่ายนัก แต่ก็ต้องพยายาม นอกจากนี้ รัฐจะต้องผลักดันให้เกิดการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น รวมไปถึงแก้ไขอุปสรรคการค้าต่างๆ เพื่อเอื้อต่อการส่งออก
“ค่าเงินบาททำให้ส่งออกไตรมาสแรกโตเพียง 4.3% ซึ่งเป้าทั้งปีพาณิชย์ตั้งโต 8-9% ผมคิดว่าถ้าบาทยังแข็งนำภูมิภาคในระดับ 6-7% เช่นนี้ การส่งออกไตรมาส 2 ติดลบแน่ และทั้งปีอย่างเก่งจะโตแค่ 5.5% แต่ถ้าบาทหลุดไปอยู่ระดับ 27 บาทต่อเหรียญสหรัฐคงตัวใครตัวมันละกัน”นายวัลลภกล่าว
นายสมชาย พรจินดารักษ์ นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า ไตรมาสแรกปีนี้การส่งออกอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับติดลบ 41.8% เป็นผลมาจากเงินบาทที่แข็งค่าเป็นหลัก ประกอบกับทองคำปรับตัวลงแรงทำให้ผู้ซื้อชะลอคำสั่งซื้อ โดยผลจากค่าแรงที่ปรับเพิ่ม ประกอบค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้เอกชนต้องปรับขึ้นราคา ส่งผลกระทบให้บางรายหลีกเลี่ยงสั่งออร์เดอร์จากไทย หากปล่อยไว้เกรงว่าธุรกิจขนาดกลางและเล็กจะล้มหายตายจากเพิ่มอีก
***ธปท.ยันเฝ้าระวังผลกระทบค่าบาท
นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า ในระยะหลัง เงินบาทแข็งค่าเร็ว ธปท.ก็มีความกังวล และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทยังไปในทิศทางเดียวกับประเทศภูมิภาค อาจจะแตกต่างกันบ้าง ก็จะมีเหตุผลเฉพาะของประเทศนั้นๆ ซึ่งไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี ประกอบกับมีมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องของประเทศ และการออกพ.ร.บ.เงินกู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ต่างชาติเชื่อมั่นนำเงินทุนไหลเข้าไทยมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเงินบาทแข็งค่า 6.18%
“เศรษฐกิจไทยมีส่วนประกอบหลายส่วน ค่าเงินเป็นราคาของของที่กระทบทุกคน จึงควรดูแลภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งตัวภาคส่งออกไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ แต่ยังมีวิธีหรือเครื่องมือในการดูแลเฉพาะเจาะจงในจุดที่ได้รับผลกระทบมากกว่า ฉะนั้น การใช้เครื่องมือมหภาคอย่างการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็จะกระทบทุกคน”
ทั้งนี้ เห็นว่า ในช่วงเงินบาทแข็งค่า ก็ยังมีส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจไทยที่มีการเข้าสู่การปรับโครงสร้าง ทั้งการนำเข้าเครื่องจักรทดแทนแรงงาน การย้ายฐานการผลิต การซื้อกิจการในต่างประเทศ เป็นต้น
นางจันทวรรณกล่าวว่า ธปท.ไม่ขอตอบว่าได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทหรือไม่ และไม่ตอบเรื่องแนวโน้มเงินบาท แต่มีการดูแลและติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด ซึ่งธปท.ไม่อยากเห็นในบางช่วงที่เงินบาทเคลื่อนไหวเร็วและมาก ส่วนประเด็นที่เห็นว่าต่างชาติเข้ามาลงทุนในพันธบัตรไทยค่อนข้างมากจนมีคนเรียกร้องให้ออกมาตรการมาดูแลเฉพาะส่วน เห็นว่าเป็นเรื่องของจังหวะเวลา
ถ้าวันนั้นมาถึงจริงๆ ก็จะประกาศอย่างเป็นทางการ แต่ขอย้ำว่าการทำมาตรการทุกอย่างมีผลข้างเคียง จึงพูดง่ายเรียกร้องด้านหนึ่ง ทำให้ต้องไตร่ตรองให้รอบคอบในเชิงนโยบาย ในแง่ของคนทำ ก็ต้องเตรียมไว้ให้พร้อม และหากจะมีมาตรการจริงก็ต้องหารือร่วมกับกระทรวงการคลังด้วย
***เงินทุนไหลเข้าส่วนใหญ่ระยะยาว
นางอลิศรา มหาสันทนะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า เงินทุนไหลเข้าส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในพันธบัตรอายุยาว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนอายุยาวเฉลี่ย 4.7 ปี แต่จะลงทุนระยะสั้นเฉพาะช่วงเดือนม.ค. ถือเป็นเรื่องปกติของทุกปี ทำให้การถือครองพันธบัตรภาครัฐของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น 1.4 แสนล้านบาท หรือ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสแรก ทำให้มียอดคงค้างทั้งสิ้น 8.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 12.6% ของพันธบัตรทั้งหมด
นอกจากนี้ ผลของการศึกษา พบว่า การลงทุนระยะสั้นจะมีต้นทุนสูงกว่าจากการที่วิ่งเข้าออกไปมาจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนพันธบัตร ซึ่งตอนนี้ แม้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรลดลงค่อนข้างเยอะ แต่ต่างชาติยังมีการลงทุนพันธบัตรต่อเนื่อง แสดงว่าเงินทุนไหลเข้าไม่ใช่ปัจจัยอัตราดอกเบี้ย ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายของไทยไม่แตกต่างกับประเทศในภูมิภาคในขณะนี้
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้สรุป มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แข็งค่าในภาวะวิกฤต 5 มาตรการ เพื่อที่จะนำไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายในสัปดาห์หน้า รวมถึงแนวทางการผลักดันการส่งออกที่จะนำไปหารือกับกระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 26 เม.ย.นี้
โดยทั้ง 5 มาตรการในการดูแลค่าเงินบาท ได้แก่
1.ให้รัฐบาลบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนแบบภาวะวิกฤต เพราะขณะนี้มีสัญญาณการเก็งกำไรค่าเงินบาทภายในประเทศ เนื่องจากค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าระดับ 6% ซึ่งถือว่าแข็งมากกว่าในภูมิภาค
2.เปลี่ยนนโยบายดูแลค่าบาทที่อิงอัตราเงินเฟ้อ (Inflating Targeting) เป็นนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน (Exchang Rate Targeting)
3.ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 1% ทันทีจากปัจจุบันอยู่ที่ 2.75%
4.ใช้นโยบายควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย (Capital Control) ที่จะต้องห้ามนำเงินลงทุนออกไปจากประเทศไทยที่มีลักษณะของการเก็งกำไรเป็นระยะเวลาอย่างต่ำ 3 เดือน และหากไม่สามารถบรรเทาความผันผวนได้ก็ค่อยๆ ปรับเพิ่มระยะเวลาให้มากขึ้นเป็น 6 เดือน
5.ปรับปรุงนโยบายการออกพันธบัตรของธปท. ซึ่งเห็นว่าขณะนี้มีการออกมามากเกินจนทำให้เงินไหลเข้ามามากทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
“เราได้หารือกับผู้ส่งออก 2 เรื่อง คือ ค่าเงินบาทกับกรณีการค้าและการส่งออก ที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในเวลานี้ ซึ่งเราดูแล้วค่าเงินบาทเราแข็งค่าเร็วเกินไป คงจะต้องใช้มาตรการที่เข้มข้นทันทีได้แล้ว เนื่องจากผู้ส่งออกมีปัญหากับการรับคำสั่งซื้อในไตรมาส 2 และ 3 หากไม่มีมาตรการใดมาดูแลค่าเงินบาท เราเกรงว่าบาทจะแข็งค่าจนไม่มีที่สิ้นสุด และจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกปีนี้อย่างมาก”นายพยุงศักดิ์กล่าว
***บาทหลุด27ตัวใครตัวมัน
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งส.อ.ท.ร่วมอยู่ จะหารือกับกระทรวงพาณิชย์ถึงแนวทางการผลักดันการส่งออก 26 เม.ย.นี้ ซึ่งยอมรับว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากทำให้ขีดความสามารถการแข่งขันของไทยลดต่ำลง การไปแสวงหาตลาดใหม่ จึงไม่ง่ายนัก แต่ก็ต้องพยายาม นอกจากนี้ รัฐจะต้องผลักดันให้เกิดการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น รวมไปถึงแก้ไขอุปสรรคการค้าต่างๆ เพื่อเอื้อต่อการส่งออก
“ค่าเงินบาททำให้ส่งออกไตรมาสแรกโตเพียง 4.3% ซึ่งเป้าทั้งปีพาณิชย์ตั้งโต 8-9% ผมคิดว่าถ้าบาทยังแข็งนำภูมิภาคในระดับ 6-7% เช่นนี้ การส่งออกไตรมาส 2 ติดลบแน่ และทั้งปีอย่างเก่งจะโตแค่ 5.5% แต่ถ้าบาทหลุดไปอยู่ระดับ 27 บาทต่อเหรียญสหรัฐคงตัวใครตัวมันละกัน”นายวัลลภกล่าว
นายสมชาย พรจินดารักษ์ นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า ไตรมาสแรกปีนี้การส่งออกอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับติดลบ 41.8% เป็นผลมาจากเงินบาทที่แข็งค่าเป็นหลัก ประกอบกับทองคำปรับตัวลงแรงทำให้ผู้ซื้อชะลอคำสั่งซื้อ โดยผลจากค่าแรงที่ปรับเพิ่ม ประกอบค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้เอกชนต้องปรับขึ้นราคา ส่งผลกระทบให้บางรายหลีกเลี่ยงสั่งออร์เดอร์จากไทย หากปล่อยไว้เกรงว่าธุรกิจขนาดกลางและเล็กจะล้มหายตายจากเพิ่มอีก
***ธปท.ยันเฝ้าระวังผลกระทบค่าบาท
นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า ในระยะหลัง เงินบาทแข็งค่าเร็ว ธปท.ก็มีความกังวล และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทยังไปในทิศทางเดียวกับประเทศภูมิภาค อาจจะแตกต่างกันบ้าง ก็จะมีเหตุผลเฉพาะของประเทศนั้นๆ ซึ่งไทยมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดี ประกอบกับมีมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องของประเทศ และการออกพ.ร.บ.เงินกู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ต่างชาติเชื่อมั่นนำเงินทุนไหลเข้าไทยมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเงินบาทแข็งค่า 6.18%
“เศรษฐกิจไทยมีส่วนประกอบหลายส่วน ค่าเงินเป็นราคาของของที่กระทบทุกคน จึงควรดูแลภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งตัวภาคส่งออกไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ แต่ยังมีวิธีหรือเครื่องมือในการดูแลเฉพาะเจาะจงในจุดที่ได้รับผลกระทบมากกว่า ฉะนั้น การใช้เครื่องมือมหภาคอย่างการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็จะกระทบทุกคน”
ทั้งนี้ เห็นว่า ในช่วงเงินบาทแข็งค่า ก็ยังมีส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจไทยที่มีการเข้าสู่การปรับโครงสร้าง ทั้งการนำเข้าเครื่องจักรทดแทนแรงงาน การย้ายฐานการผลิต การซื้อกิจการในต่างประเทศ เป็นต้น
นางจันทวรรณกล่าวว่า ธปท.ไม่ขอตอบว่าได้เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทหรือไม่ และไม่ตอบเรื่องแนวโน้มเงินบาท แต่มีการดูแลและติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด ซึ่งธปท.ไม่อยากเห็นในบางช่วงที่เงินบาทเคลื่อนไหวเร็วและมาก ส่วนประเด็นที่เห็นว่าต่างชาติเข้ามาลงทุนในพันธบัตรไทยค่อนข้างมากจนมีคนเรียกร้องให้ออกมาตรการมาดูแลเฉพาะส่วน เห็นว่าเป็นเรื่องของจังหวะเวลา
ถ้าวันนั้นมาถึงจริงๆ ก็จะประกาศอย่างเป็นทางการ แต่ขอย้ำว่าการทำมาตรการทุกอย่างมีผลข้างเคียง จึงพูดง่ายเรียกร้องด้านหนึ่ง ทำให้ต้องไตร่ตรองให้รอบคอบในเชิงนโยบาย ในแง่ของคนทำ ก็ต้องเตรียมไว้ให้พร้อม และหากจะมีมาตรการจริงก็ต้องหารือร่วมกับกระทรวงการคลังด้วย
***เงินทุนไหลเข้าส่วนใหญ่ระยะยาว
นางอลิศรา มหาสันทนะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงิน ธปท.กล่าวว่า เงินทุนไหลเข้าส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในพันธบัตรอายุยาว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนอายุยาวเฉลี่ย 4.7 ปี แต่จะลงทุนระยะสั้นเฉพาะช่วงเดือนม.ค. ถือเป็นเรื่องปกติของทุกปี ทำให้การถือครองพันธบัตรภาครัฐของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น 1.4 แสนล้านบาท หรือ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสแรก ทำให้มียอดคงค้างทั้งสิ้น 8.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 12.6% ของพันธบัตรทั้งหมด
นอกจากนี้ ผลของการศึกษา พบว่า การลงทุนระยะสั้นจะมีต้นทุนสูงกว่าจากการที่วิ่งเข้าออกไปมาจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนพันธบัตร ซึ่งตอนนี้ แม้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรลดลงค่อนข้างเยอะ แต่ต่างชาติยังมีการลงทุนพันธบัตรต่อเนื่อง แสดงว่าเงินทุนไหลเข้าไม่ใช่ปัจจัยอัตราดอกเบี้ย ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายของไทยไม่แตกต่างกับประเทศในภูมิภาคในขณะนี้