เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (26เม.ย.) ที่กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ. ) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมด้วย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และคณะนายทหารระดับสูง เดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อประชุมรับฟังการปฏิบัติของหน่วยงานในพื้นที่ และพบปะกับนายอำเภอ ผู้นำชุมชน อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในการประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา เพื่อหารือการบูรณาการ การปฏิบัติงานของ 2 ส่วน คือ งานด้านความมั่นคง และด้านการพัฒนา ให้มีความสอดคล้องกันมากกว่าเดิม สรุปคือ นายกรัฐมนตรีจะลงมากำกับดูแลในงานต่างๆเอง ทั้งในงานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) รวมถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
"นายกรัฐมนตรี จะลงมากำกับดูแลเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ปัญหา ใช้จ่ายงบประมาณด้วยตัวท่านเอง ทุกสัปดาห์ต้องมีการพูดคุยกันในเรื่องเหล่านี้ โดยนำกลุ่มปัญหาทั้ง 5 กลุ่ม มาดูความคืบหน้า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนได้ดีขึ้น ซึ่งการแก้ไขปัญหามีหลายมิติ หน่วยงานด้านความมั่นคงไม่สามารถทำให้พื้นที่มีความปลอดภัยได้เพียงหน่วยเดียว ต้องมีมาตรการเสริมให้คนในพื้นที่พึงพอใจ มีรายได้ มีอาชีพ การศึกษา มีความเข้าใจมากขึ้นเพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมืออีกฝ่าย และต้องการเพิ่มจำนวนแนวร่วมให้มากขึ้น และลดผู้กระทำผิดลง ขอให้เลิกถามถึงวันที่จะพูดคุยกับขบวนการบีอาร์เอ็น เพราะการพูดคุยเป็นกระบวนการในการแก้ไขปัญหา ขอให้เข้าใจวิธีการทำงาน และไปศึกษากระบวนการพูดคุยของต่างประเทศด้วย ถ้าคิดเองทั้งหมดก็แก้ไขปัญหาไม่ได้ อย่ามาถามเรื่องนี้อีก ให้ไปถามกับผู้ที่มีหน้าที่โดยตรง ผมพยายามพูดและอธิบายให้เข้าใจว่า อย่าไปให้ความสำคัญว่า จะไปพูดเมื่อไร แต่ที่สำคัญคือ เมื่อพูดแล้วเมื่อไรถึงจะทำ จะอีก 5 ปี หรือ 10 ปี ก็ได้ สื่ออย่าถามให้ฝ่ายตรงข้ามออกมาแสดงกำลัง อย่าไปสนใจ เราก็ทำหน้าที่ของเรา และป้องกันให้ได้ ถ้าถามเช่นนี้เกรงว่า จะเกิดความรุนแรงขึ้นทุกวัน ทั้งนี้ไม่ได้โทษสื่อ แต่วิธีการถามของสื่อ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกได้เปรียบ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีที่เครือข่ายตาดีกา ยื่นหนังสือถึง กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า เรียกร้องให้ปล่อยตัว นส.ฟาดีละห์ ที่ถูกเชิญตัวตามหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า หน่วยงานด้านความมั่นคง มีฐานข้อมูลว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุน ซึ่งมีการตรวจสอบพบว่า ได้โทรศัพท์ไปติดต่อกับผู้ที่มีรายชื่อเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ เจ้าหน้าที่จึงได้เชิญตัวไป ทุกอย่างมีหลักฐาน หากไม่ใช่ ก็ต้องมาพิสูจน์ทราบกัน ถ้าไม่อยากให้ถูกเชิญตัวต้องระมัดระวังไม่ให้ทำผิดกฎหมาย ไม่ใช่ทำอะไรที่ผิดกฎหมาย แล้วออกมาประท้วงกัน ตนได้เน้นย้ำไปแล้วว่า ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มอำนาจ และใช้ทุกกฎหมายที่มีอยู่อย่างถูกต้อง และชอบธรรม ไม่ใช่ปล่อยทุกเรื่อง แล้วประเทศชาติจะอยู่อย่างไร
ส่วนที่จะครบรอบ 9 ปี เหตุการณ์ที่มัสยิด กรือเซะ ในวันที่ 28 เม.ย.นั้น อย่าไปให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ฝ่ายความมั่นคง ต้องคิดอยู่แล้วว่า จะเกิดเหตุที่ไหน ถ้าเราไปให้ความสำคัญ จะเป็นการสะกิดเตือนว่า ถึงเวลาแล้ว เขาจะคิดว่าเราเตือน จึงต้องออกมาทำ ดังนั้นขอสื่ออย่าให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก
"ในพื้นที่ที่มีการต่อสู้ทางความคิดกันอยู่ ต้องเร่งรัดดำเนินการกับคนที่กระทำผิดกฎหมายมากขึ้น เช่นเรื่องยาเสพติด ที่ทำให้บุคคลต่างๆ มีโอกาสออกมาเคลื่อนไหว ซึ่งได้นำเสนอนายกรัฐมนตรีมาแล้ว โดยนายกรัฐมนตรี จะสั่งการให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ออกมาดำเนินการให้เร็ว ดังนั้น นายทุนต่างๆ ต้องออกมาดำเนินการโดยเร็ว ไม่ใช่ไปจับแต่พวกเบี้ยใบ้รายทาง ที่นำน้ำมันออกมาขาย เช่น ปั้มเล็กๆ ต่างๆ ที่แอบเอาน้ำมันมาขาย หากเราไปจับกุมคนพวกนี้ จะเป็นเงื่อนไขอีก ดังนั้นต้องดำเนินการต่อนายทุนทั้งหมด เพราะทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
** หวั่นป่วนหนักช่วงเจรจาบีอาร์เอ็น
นายนิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีเหตุการณ์รุนแรงอย่างต่อเนื่อง กอปรกับใกล้ถึงวันพูดคุยสันติภาพ ของเลขาฯสมช. กับแกนนำ ผู้อ้างตัวเป็นเป็นตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น ในวันที่ 29 เม.ย. นี้ มีปฏิกริยาเคลื่อนไหวจากกลุ่มแนวร่วมที่ส่งสัญญาณไม่เห็นด้วยกับการพูดคุยสันติภาพครั้งนี้ ด้วยป้ายข้อความที่ติดกระจายทั่วพื้นที่ชายแดนภาคใต้นับร้อยแผ่น ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ในเรื่องของสวัสดิภาพความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก
แม้จะไม่สามารถล่วงรู้ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ขณะนี้ว่าเป็นการก่อเหตุจากกลุ่มใด และมีเจตนาเชื่อมโยงกับการพูดคุยสันติภาพหรือไม่ แต่รัฐไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ความรุนแรงที่ปรากฎในพื้นที่ นับตั้งแต่มีการลงนามร่วมกันมาจนถึงเวลานี้ มีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นและมีอัตราถี่สูงกว่าช่วงปกติอย่างมาก ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่ ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเพิ่มมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยให้กับประชาชนเป็นการด่วน
"ส่วนตัวเชื่อว่า คู่สนทนาสันติภาพของ สมช. จะยังไม่สามารถยับยั้ง หรือส่งสัญญาณสั่งการให้ความรุนแรงเบาบางลงได้ หลังวันที่ 29 เม.ย.นี้ เพราะหากกลุ่มแนวร่วม หรือกองกำลังที่ปฏิบัติการในพื้นที่ ยังคงมุ่งก่อเหตุหนักข้อขึ้น "รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
** "วาดะห์"พร้อมร่วมคณะเจรจา
นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ แกนนำกลุ่มวาดะห์ ในฐานะที่ปรึกษา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการ ศปก.กปต. เปิดเผยว่า การพูดคุยสันติภาพในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ตามที่มีข่าวว่า เลขาธิการ สมช. มีความประสงค์ให้สมาชิกในกลุ่มวาดะห์ ร่วมเดินทางไปด้วย ในฐานะที่เป็นคณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ในการทำงานร่วมขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ยืนยันว่าสมาชิกในกลุ่มทุกคนมีความยินดี ที่จะให้การสนับสนุนกระบวนการสร้างสันติภาพให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม หากได้รับคำเชิญจากเลขาฯสมช.อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ร่วมเดินทางครั้งนี้ ทางกลุ่มวาดะห์ จะต้องมีการหารือเพื่อมอบหมายตัวแทน โดยจะมีกรอบในการร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ชัดเจนว่า ขอเป็นผู้สังเกตุการณ์ และขอทำหน้าที่เป็นคนกลาง ในการให้ความเห็นและทัศนะแก่คู่สนทนาทั้ง 2 ฝ่ายบนเวทีพูดคุยสันติภาพ
"เราพร้อมให้ความร่วมมือในฐานะคนกลางเพื่อสังเกตุการณ์ รวมทั้งให้ข้อคิดเห็น เสนอแนะและให้ทัศนะเพื่อหาจุดสมดุล ระหว่างทั้งสองฝ่ายเพื่อหาหนทางเดินไปสู่สันติภาพที่ชายแดนภาคใต้ให้ได้" นายอารีเพ็ญ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในการประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา เพื่อหารือการบูรณาการ การปฏิบัติงานของ 2 ส่วน คือ งานด้านความมั่นคง และด้านการพัฒนา ให้มีความสอดคล้องกันมากกว่าเดิม สรุปคือ นายกรัฐมนตรีจะลงมากำกับดูแลในงานต่างๆเอง ทั้งในงานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) รวมถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
"นายกรัฐมนตรี จะลงมากำกับดูแลเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ปัญหา ใช้จ่ายงบประมาณด้วยตัวท่านเอง ทุกสัปดาห์ต้องมีการพูดคุยกันในเรื่องเหล่านี้ โดยนำกลุ่มปัญหาทั้ง 5 กลุ่ม มาดูความคืบหน้า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนได้ดีขึ้น ซึ่งการแก้ไขปัญหามีหลายมิติ หน่วยงานด้านความมั่นคงไม่สามารถทำให้พื้นที่มีความปลอดภัยได้เพียงหน่วยเดียว ต้องมีมาตรการเสริมให้คนในพื้นที่พึงพอใจ มีรายได้ มีอาชีพ การศึกษา มีความเข้าใจมากขึ้นเพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมืออีกฝ่าย และต้องการเพิ่มจำนวนแนวร่วมให้มากขึ้น และลดผู้กระทำผิดลง ขอให้เลิกถามถึงวันที่จะพูดคุยกับขบวนการบีอาร์เอ็น เพราะการพูดคุยเป็นกระบวนการในการแก้ไขปัญหา ขอให้เข้าใจวิธีการทำงาน และไปศึกษากระบวนการพูดคุยของต่างประเทศด้วย ถ้าคิดเองทั้งหมดก็แก้ไขปัญหาไม่ได้ อย่ามาถามเรื่องนี้อีก ให้ไปถามกับผู้ที่มีหน้าที่โดยตรง ผมพยายามพูดและอธิบายให้เข้าใจว่า อย่าไปให้ความสำคัญว่า จะไปพูดเมื่อไร แต่ที่สำคัญคือ เมื่อพูดแล้วเมื่อไรถึงจะทำ จะอีก 5 ปี หรือ 10 ปี ก็ได้ สื่ออย่าถามให้ฝ่ายตรงข้ามออกมาแสดงกำลัง อย่าไปสนใจ เราก็ทำหน้าที่ของเรา และป้องกันให้ได้ ถ้าถามเช่นนี้เกรงว่า จะเกิดความรุนแรงขึ้นทุกวัน ทั้งนี้ไม่ได้โทษสื่อ แต่วิธีการถามของสื่อ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกได้เปรียบ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีที่เครือข่ายตาดีกา ยื่นหนังสือถึง กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า เรียกร้องให้ปล่อยตัว นส.ฟาดีละห์ ที่ถูกเชิญตัวตามหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า หน่วยงานด้านความมั่นคง มีฐานข้อมูลว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุน ซึ่งมีการตรวจสอบพบว่า ได้โทรศัพท์ไปติดต่อกับผู้ที่มีรายชื่อเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ เจ้าหน้าที่จึงได้เชิญตัวไป ทุกอย่างมีหลักฐาน หากไม่ใช่ ก็ต้องมาพิสูจน์ทราบกัน ถ้าไม่อยากให้ถูกเชิญตัวต้องระมัดระวังไม่ให้ทำผิดกฎหมาย ไม่ใช่ทำอะไรที่ผิดกฎหมาย แล้วออกมาประท้วงกัน ตนได้เน้นย้ำไปแล้วว่า ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มอำนาจ และใช้ทุกกฎหมายที่มีอยู่อย่างถูกต้อง และชอบธรรม ไม่ใช่ปล่อยทุกเรื่อง แล้วประเทศชาติจะอยู่อย่างไร
ส่วนที่จะครบรอบ 9 ปี เหตุการณ์ที่มัสยิด กรือเซะ ในวันที่ 28 เม.ย.นั้น อย่าไปให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ฝ่ายความมั่นคง ต้องคิดอยู่แล้วว่า จะเกิดเหตุที่ไหน ถ้าเราไปให้ความสำคัญ จะเป็นการสะกิดเตือนว่า ถึงเวลาแล้ว เขาจะคิดว่าเราเตือน จึงต้องออกมาทำ ดังนั้นขอสื่ออย่าให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก
"ในพื้นที่ที่มีการต่อสู้ทางความคิดกันอยู่ ต้องเร่งรัดดำเนินการกับคนที่กระทำผิดกฎหมายมากขึ้น เช่นเรื่องยาเสพติด ที่ทำให้บุคคลต่างๆ มีโอกาสออกมาเคลื่อนไหว ซึ่งได้นำเสนอนายกรัฐมนตรีมาแล้ว โดยนายกรัฐมนตรี จะสั่งการให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ออกมาดำเนินการให้เร็ว ดังนั้น นายทุนต่างๆ ต้องออกมาดำเนินการโดยเร็ว ไม่ใช่ไปจับแต่พวกเบี้ยใบ้รายทาง ที่นำน้ำมันออกมาขาย เช่น ปั้มเล็กๆ ต่างๆ ที่แอบเอาน้ำมันมาขาย หากเราไปจับกุมคนพวกนี้ จะเป็นเงื่อนไขอีก ดังนั้นต้องดำเนินการต่อนายทุนทั้งหมด เพราะทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
** หวั่นป่วนหนักช่วงเจรจาบีอาร์เอ็น
นายนิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีเหตุการณ์รุนแรงอย่างต่อเนื่อง กอปรกับใกล้ถึงวันพูดคุยสันติภาพ ของเลขาฯสมช. กับแกนนำ ผู้อ้างตัวเป็นเป็นตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น ในวันที่ 29 เม.ย. นี้ มีปฏิกริยาเคลื่อนไหวจากกลุ่มแนวร่วมที่ส่งสัญญาณไม่เห็นด้วยกับการพูดคุยสันติภาพครั้งนี้ ด้วยป้ายข้อความที่ติดกระจายทั่วพื้นที่ชายแดนภาคใต้นับร้อยแผ่น ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ในเรื่องของสวัสดิภาพความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก
แม้จะไม่สามารถล่วงรู้ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ขณะนี้ว่าเป็นการก่อเหตุจากกลุ่มใด และมีเจตนาเชื่อมโยงกับการพูดคุยสันติภาพหรือไม่ แต่รัฐไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ความรุนแรงที่ปรากฎในพื้นที่ นับตั้งแต่มีการลงนามร่วมกันมาจนถึงเวลานี้ มีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นและมีอัตราถี่สูงกว่าช่วงปกติอย่างมาก ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่ ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเพิ่มมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยให้กับประชาชนเป็นการด่วน
"ส่วนตัวเชื่อว่า คู่สนทนาสันติภาพของ สมช. จะยังไม่สามารถยับยั้ง หรือส่งสัญญาณสั่งการให้ความรุนแรงเบาบางลงได้ หลังวันที่ 29 เม.ย.นี้ เพราะหากกลุ่มแนวร่วม หรือกองกำลังที่ปฏิบัติการในพื้นที่ ยังคงมุ่งก่อเหตุหนักข้อขึ้น "รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
** "วาดะห์"พร้อมร่วมคณะเจรจา
นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ แกนนำกลุ่มวาดะห์ ในฐานะที่ปรึกษา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการ ศปก.กปต. เปิดเผยว่า การพูดคุยสันติภาพในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ตามที่มีข่าวว่า เลขาธิการ สมช. มีความประสงค์ให้สมาชิกในกลุ่มวาดะห์ ร่วมเดินทางไปด้วย ในฐานะที่เป็นคณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ในการทำงานร่วมขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ยืนยันว่าสมาชิกในกลุ่มทุกคนมีความยินดี ที่จะให้การสนับสนุนกระบวนการสร้างสันติภาพให้กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม หากได้รับคำเชิญจากเลขาฯสมช.อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ร่วมเดินทางครั้งนี้ ทางกลุ่มวาดะห์ จะต้องมีการหารือเพื่อมอบหมายตัวแทน โดยจะมีกรอบในการร่วมเดินทางไปในครั้งนี้ชัดเจนว่า ขอเป็นผู้สังเกตุการณ์ และขอทำหน้าที่เป็นคนกลาง ในการให้ความเห็นและทัศนะแก่คู่สนทนาทั้ง 2 ฝ่ายบนเวทีพูดคุยสันติภาพ
"เราพร้อมให้ความร่วมมือในฐานะคนกลางเพื่อสังเกตุการณ์ รวมทั้งให้ข้อคิดเห็น เสนอแนะและให้ทัศนะเพื่อหาจุดสมดุล ระหว่างทั้งสองฝ่ายเพื่อหาหนทางเดินไปสู่สันติภาพที่ชายแดนภาคใต้ให้ได้" นายอารีเพ็ญ กล่าว