"กิตติรัตน์" ปัดข่าวแบงก์ชาติเตรียมใช้มาตรการเก็บค่าธรรมเนียมถือตราสารหนี้ระยะสั้น ยันลดดอกเบี้ยแก้บาทแข็ง ปลัดคลังระบุไม่มีมาตรการภาษีสกัดบาทแข็ง ขณะที่ชายฉกรรจ์ 3 คน อ้างเป็นชาวนาสุพรรณโผล่แบงก์ชาติเรียกร้อง "ประสาร" ลดดอกเบี้ย
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ปฏิเสธกระแสข่าวที่ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะออกมาตรการในการดูแลเงินบาทที่แข็งค่าด้วยการเก็บค่าธรรมเนียมการถือครองตราสารหนี้ระยะสั้น โดยนายกิตติรัตน์กล่าวว่า เป็นเพียงข่าวลือ ทุกฝ่ายต่างเห็นตรงกันว่าเงินบาทในขณะนี้แข็งค่าเกินไป แต่ยังไม่มีการพิจารณาออกมาตรการใดๆ
"ตั้งแต่บาทหล่นมาต่ำกว่า 30 บาท ก็มองว่าบาทแข็งมากเกินไปแล้ว แม้สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ว่าแบงก์ชาติมองเหมือนกัน แต่ผมไม่สามาถรควบคุมการผันผวนของค่าเงินได้ " นายกิตติรัตน์กล่าวและยืนยันว่า แนวทางที่จะช่วยชะลอไม่ให้เงินบาทแข็งค่าได้นั้นคือการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเงินบาทที่แข็งค่าอยู่นี้ยังไม่สอดคล้องกับภาวะดุลการค้าและดลุบัญชีเดินสะพัดของประเทศ
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า ขณะนี้การดูแลค่าเงินบาทควรปล่อยให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงคือ ธปท. ส่วนการจะนำเครื่องมืออื่นที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังคือภาษี นั้นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะยังมีเรื่องความต้องการใช้เงินในอนาคตของรัฐบาลด้วย แต่ในที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจเองได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังดูแลในส่วนของรัฐวิสาหกิจ ทั้งที่จะเป็นส่วนของการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และการชำระหนี้ โดยเบื้องต้นมีการรวบรวมแล้วประมาณ 9 หมื่นล้านบาท เพื่อดูและให้มีเงินไหลออก เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาทได้
“คลังมีประเด็นเรื่องภาษีที่มีการนำเข้าเครื่องจักรหรือการไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะเราไม่สามารถปฏิเสธเงินทุนที่ไหลเข้ามาในไทยด้วย จากแรงจูงใจที่มีส่วนต่างดอกเบี้ยสูง ทำให้เงินส่วนใหญ่ไหลเข้าไปลงทุนในตลาดพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว เพราะปลอดภัยในระดับเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐหรือยุโรป ขณะเดียวกันปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวในระดับที่แข็งแกร่งและเพิ่งได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือขึ้นด้วย ยิ่งทำให้เป็นแรงจูงใจให้เงินไหลเข้ามาลงทุนมากขึ้น” นายอารีพงศ์กล่าว
***มือดีโผล่ดิสเครดิตผู้ว่าแบงก์ชาติ***
วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีชายวัยกลางจำนวน 3 คน ซึ่งเรียกตัวเองว่าภาคประชาชนและเป็นชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรี ได้มายื่นจดหมายถึงนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.ว่าอยากให้ลดอัตราดอกบี้ยนโยบาย เพื่อลดเงินทุนไหลเข้า ผู้สื่อข่าวประจำ ธปท.สอบถามประเด็นค่าเงินบาทแข็ง ทำให้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศถูกลงจะยิ่งส่งผลดี กลุ่มชาวนาน่าจะได้ประโยชน์จากการนำเข้าปุ๋ยเคมี ได้คำตอบว่าพวกตนก็เรียนรู้หลักเศรษฐศาสตร์มาบ้าง และตอนนี้ชาวนามีความเดือดร้อนต้นทุนการผลิตสูงมาก ขณะที่ราคายางพาราแพงขึ้นทุกที ทำให้ไม่สามารถผลิตข้าวได้ดีในประเทศเพราะการนำเข้าปุ๋ยเคมี ก่อนจะอ้างด้วยว่า "ผมก็เป็นทนายชาวนาด้วย ซึ่งจริงๆ ต้องไปเรียกร้องศาลรัฐธรรมนูญ แต่เห็นกลุ่มคนเสื้อแดงไปทำแทนแล้ว ผมจึงไม่ต้องไป"
**"อภิสิทธิ์" เตือนปลดผู้ว่าฯ ไม่ดีแน่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องการลดดอกเบี้ยถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้ง เพราะโดยลำพังดอกเบี้ยตัวเดียวไม่สามารถแก้ทุกปัญหาได้ จึงต้องคุยกันว่าจะใช้เครื่องมือหรือนโยบายใดทำอะไรซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ และหากมีการปลดผู้ว่าการ ธปท.ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ ฝ่ายบริหารแทรกแซงเพื่อลดความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง จะไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น.
โอดบาทแข็งฉุดส่งออก
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาทจะมีผลกระทบต่อการส่งออกในปี 2556 โดยอาจจะทำให้การเติบโตไม่ถึง 5% ต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ 8-9% มูลค่า 2.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ยังไม่มีการปรับลดเป้าหมายลง เพราะต้องรอการประเมินและรับฟังข้อมูลจากหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
(ทูตพาณิชย์) ที่จะประชุมร่วมกันในปลายเดือนพ.ค.นี้ รวมถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ก่อน
ทั้งนี้ ยังได้ประเมินผลกระทบค่าเงินบาทจากการส่งออก หากอยู่ที่ 30-31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การส่งออกขยายตัว 8-9% แต่หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทุก 1 บาท มูลค่าการส่งออกที่ทอนมาเป็นเงินบาทจะหายไป 2-2.5 แสนล้านบาท และขณะนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้ว 2 บาท มาอยู่ที่ 28 บาทกว่า หรือแข็งค่ากว่า 6% เท่ากับว่ามูลค่าการส่งออกจะหายไป 5 แสนล้านบาท
“หากค่าเงินยังแข็งค่าต่อเนื่อง จะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกลดลงอีก และมีผลต่อการเติบโตของจีดีพีในประเทศ ขณะเดียวกันยังทำให้ภาคการผลิตภายในประเทศเกิดปัญหา เพราะผู้ซื้อจะหันนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่นเพราะต้นทุนต่ำกว่า ทำให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ซึ่งเคยผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบ และยังจะทำให้การส่งออกในไตรมาสที่ 2 อาจติดลบได้”นายบุญทรงกล่าว
นายบุญทรงกล่าวว่า รู้สึกหนักใจกับค่าเงินบาท เพราะหากยังไม่มีการร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการหามาตรการลดผลกระทบให้แก่ผู้ส่งออก จะทำให้การส่งออกโดยรวมไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยกระทรวงพาณิชย์พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ ล่าสุดน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงและต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือเพื่อลดปัญหาผลกระทบจากค่าเงินที่แข็งค่า ซึ่งคงจะไม่เข้าไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะถือว่าเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงการคลังโดยตรง แต่จะส่งสัญญาณให้ทุกหน่วยงานได้รู้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่ากระทบต่อภาคการส่งออกมากเพียงใด
ส่วนการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับ กกร. วันนี้ (26 เม.ย.) จะรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลกระทบของค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นว่าภาคเอกชนต้องการให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างไร แต่เท่าที่ได้ติดตามข่าว ส่วนใหญ่เอกชนจะมีข้อเสนอแนะไปยัง ธปท. และกระทรวงการคลังมากกว่า
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ปฏิเสธกระแสข่าวที่ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะออกมาตรการในการดูแลเงินบาทที่แข็งค่าด้วยการเก็บค่าธรรมเนียมการถือครองตราสารหนี้ระยะสั้น โดยนายกิตติรัตน์กล่าวว่า เป็นเพียงข่าวลือ ทุกฝ่ายต่างเห็นตรงกันว่าเงินบาทในขณะนี้แข็งค่าเกินไป แต่ยังไม่มีการพิจารณาออกมาตรการใดๆ
"ตั้งแต่บาทหล่นมาต่ำกว่า 30 บาท ก็มองว่าบาทแข็งมากเกินไปแล้ว แม้สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ว่าแบงก์ชาติมองเหมือนกัน แต่ผมไม่สามาถรควบคุมการผันผวนของค่าเงินได้ " นายกิตติรัตน์กล่าวและยืนยันว่า แนวทางที่จะช่วยชะลอไม่ให้เงินบาทแข็งค่าได้นั้นคือการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเงินบาทที่แข็งค่าอยู่นี้ยังไม่สอดคล้องกับภาวะดุลการค้าและดลุบัญชีเดินสะพัดของประเทศ
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า ขณะนี้การดูแลค่าเงินบาทควรปล่อยให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงคือ ธปท. ส่วนการจะนำเครื่องมืออื่นที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังคือภาษี นั้นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะยังมีเรื่องความต้องการใช้เงินในอนาคตของรัฐบาลด้วย แต่ในที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจเองได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังดูแลในส่วนของรัฐวิสาหกิจ ทั้งที่จะเป็นส่วนของการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และการชำระหนี้ โดยเบื้องต้นมีการรวบรวมแล้วประมาณ 9 หมื่นล้านบาท เพื่อดูและให้มีเงินไหลออก เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาทได้
“คลังมีประเด็นเรื่องภาษีที่มีการนำเข้าเครื่องจักรหรือการไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะเราไม่สามารถปฏิเสธเงินทุนที่ไหลเข้ามาในไทยด้วย จากแรงจูงใจที่มีส่วนต่างดอกเบี้ยสูง ทำให้เงินส่วนใหญ่ไหลเข้าไปลงทุนในตลาดพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว เพราะปลอดภัยในระดับเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐหรือยุโรป ขณะเดียวกันปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวในระดับที่แข็งแกร่งและเพิ่งได้ปรับอันดับความน่าเชื่อถือขึ้นด้วย ยิ่งทำให้เป็นแรงจูงใจให้เงินไหลเข้ามาลงทุนมากขึ้น” นายอารีพงศ์กล่าว
***มือดีโผล่ดิสเครดิตผู้ว่าแบงก์ชาติ***
วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีชายวัยกลางจำนวน 3 คน ซึ่งเรียกตัวเองว่าภาคประชาชนและเป็นชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรี ได้มายื่นจดหมายถึงนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.ว่าอยากให้ลดอัตราดอกบี้ยนโยบาย เพื่อลดเงินทุนไหลเข้า ผู้สื่อข่าวประจำ ธปท.สอบถามประเด็นค่าเงินบาทแข็ง ทำให้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศถูกลงจะยิ่งส่งผลดี กลุ่มชาวนาน่าจะได้ประโยชน์จากการนำเข้าปุ๋ยเคมี ได้คำตอบว่าพวกตนก็เรียนรู้หลักเศรษฐศาสตร์มาบ้าง และตอนนี้ชาวนามีความเดือดร้อนต้นทุนการผลิตสูงมาก ขณะที่ราคายางพาราแพงขึ้นทุกที ทำให้ไม่สามารถผลิตข้าวได้ดีในประเทศเพราะการนำเข้าปุ๋ยเคมี ก่อนจะอ้างด้วยว่า "ผมก็เป็นทนายชาวนาด้วย ซึ่งจริงๆ ต้องไปเรียกร้องศาลรัฐธรรมนูญ แต่เห็นกลุ่มคนเสื้อแดงไปทำแทนแล้ว ผมจึงไม่ต้องไป"
**"อภิสิทธิ์" เตือนปลดผู้ว่าฯ ไม่ดีแน่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องการลดดอกเบี้ยถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้ง เพราะโดยลำพังดอกเบี้ยตัวเดียวไม่สามารถแก้ทุกปัญหาได้ จึงต้องคุยกันว่าจะใช้เครื่องมือหรือนโยบายใดทำอะไรซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ และหากมีการปลดผู้ว่าการ ธปท.ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ ฝ่ายบริหารแทรกแซงเพื่อลดความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง จะไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น.
โอดบาทแข็งฉุดส่งออก
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาทจะมีผลกระทบต่อการส่งออกในปี 2556 โดยอาจจะทำให้การเติบโตไม่ถึง 5% ต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ 8-9% มูลค่า 2.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ยังไม่มีการปรับลดเป้าหมายลง เพราะต้องรอการประเมินและรับฟังข้อมูลจากหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
(ทูตพาณิชย์) ที่จะประชุมร่วมกันในปลายเดือนพ.ค.นี้ รวมถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ก่อน
ทั้งนี้ ยังได้ประเมินผลกระทบค่าเงินบาทจากการส่งออก หากอยู่ที่ 30-31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การส่งออกขยายตัว 8-9% แต่หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทุก 1 บาท มูลค่าการส่งออกที่ทอนมาเป็นเงินบาทจะหายไป 2-2.5 แสนล้านบาท และขณะนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้ว 2 บาท มาอยู่ที่ 28 บาทกว่า หรือแข็งค่ากว่า 6% เท่ากับว่ามูลค่าการส่งออกจะหายไป 5 แสนล้านบาท
“หากค่าเงินยังแข็งค่าต่อเนื่อง จะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกลดลงอีก และมีผลต่อการเติบโตของจีดีพีในประเทศ ขณะเดียวกันยังทำให้ภาคการผลิตภายในประเทศเกิดปัญหา เพราะผู้ซื้อจะหันนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่นเพราะต้นทุนต่ำกว่า ทำให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ซึ่งเคยผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบ และยังจะทำให้การส่งออกในไตรมาสที่ 2 อาจติดลบได้”นายบุญทรงกล่าว
นายบุญทรงกล่าวว่า รู้สึกหนักใจกับค่าเงินบาท เพราะหากยังไม่มีการร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการหามาตรการลดผลกระทบให้แก่ผู้ส่งออก จะทำให้การส่งออกโดยรวมไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยกระทรวงพาณิชย์พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ ล่าสุดน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงและต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือเพื่อลดปัญหาผลกระทบจากค่าเงินที่แข็งค่า ซึ่งคงจะไม่เข้าไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะถือว่าเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงการคลังโดยตรง แต่จะส่งสัญญาณให้ทุกหน่วยงานได้รู้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่ากระทบต่อภาคการส่งออกมากเพียงใด
ส่วนการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับ กกร. วันนี้ (26 เม.ย.) จะรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลกระทบของค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นว่าภาคเอกชนต้องการให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างไร แต่เท่าที่ได้ติดตามข่าว ส่วนใหญ่เอกชนจะมีข้อเสนอแนะไปยัง ธปท. และกระทรวงการคลังมากกว่า