พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ร่วมกับวุฒิสภาส่วนหนึ่ง (ส่วนที่สนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร) ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไปแล้วในขั้นรับหลักการ มีความเห็นของประชาชนส่วนหนึ่ง และสมาชิกวุฒิสภาอีกส่วนหนึ่งเห็นว่าการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนญมาตรา 68 น่าจะขัดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงร้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณา
เสียงส่วนใหญ่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเอาไว้ และมีหนังสือถึงบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาที่ลงมติรับหลักการร่างแก้ไขมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ประธานสภาฯ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เรื่อยไปจนกระทั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาส่วนหนึ่ง มีความเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องจึงจะไม่ยอมรับอำนาจศาล และจะไม่ส่งคำชี้แจงไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงเรื่องที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภายืนยันว่า รัฐสภามีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมกับไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการรับพิจารณาคำร้องคัดค้านเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่า การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญยังคงดำเนินต่อไปตามขั้นตอนข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนญว่าด้วยการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาต่อไป
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ กล่าวต่อไปว่า หากผู้ถูกร้องไม่ชี้แจงข้อกล่าวหา ถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจในคำร้องดังกล่าว ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะเรียกผู้ถูกร้องมาชี้แจงด้วยวาจาในขั้นตอนการไต่สวนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ และบรรดาขี้ข้าม้าครอกของทักษิณ แสดงออกถึงการไม่ยอมรับอำนาจศาล พวกเขาเคยแสดงอาการเช่นนี้ตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทยยังไม่ถูกยุบมาแล้ว และก็เป็นเช่นนี้ทุกครั้งที่ถูกฟ้องถูกร้อง
นี่อาจจะเป็นเหตุหนึ่งของการพ่ายแพ้จนต้องถูกยุบพรรค แทนที่จะต่อสู้ในประเด็นที่ว่าพวกเขาไม่ได้ทำผิด พวกเขากลับเอะอะโวยวายไว้ก่อนว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดี ศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาคำร้อง ในคดียุบพรรคแทนที่จะต่อสู้ว่าไม่ได้ทำความผิดก็โวยวายไว้ก่อนว่า ศาลไม่มีอำนาจ ในคดีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ถูกร้องว่า มีการกระทำที่ขัดกันในผลประโยชน์ เป็นนายกรัฐมนตรีกลับไปจัดรายการ ชิมไปบ่นไป รับเงินค่าจัดทำรายการ บริษัทที่จ้างได้โฆษณาเพิ่มเพราะคนจัดรายการหรือพิธีกรเป็นนายกรัฐมนตรี บริษัทร้านค้าเกรงอกเกรงใจ และหนึ่งในสปอนเซอร์ใหญ่ได้เป็นกรรมการในบริษัทการบินไทย
แทนที่จะสู้คดีว่าไม่ได้ทำผิด กลับโวยวายว่าศาลไม่มีอำนาจ ศาลทำเกินเหตุ แสดงวิธีการทำอาหารกลับถูกให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม
พรรคเพื่อไทย และบรรดาขี้ข้าม้าใช้ของทักษิณ มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนักกฎหมาย เป็นอดีตอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นอดีตผู้พิพากษา แทนที่จะสนับสนุนให้ผู้คนที่สนับสนุนพรรค เป็นฐานเสียงของพรรคเคารพกฎกติกาของบ้านเมืองนั่นก็คือตัวบทกฎหมาย กลับยุยงส่งเสริมไม่ให้เคารพกฎหมาย ให้เชื่อว่า ศาลสิ้นสุดความยุติธรรม ศาลไม่มีความเป็นธรรม
เช่นนี้เราจะอยู่ในสังคมโลกเขาได้อย่างไร?
พรรคเพื่อไทยมักจะอ้างความเป็นประชาธิปไตย อ้างเสียงข้างมาก 15 ล้านเสียงที่เลือกเขามาเป็นรัฐบาล ถามว่า ตุลาการทั้ง 9 ท่านมาจากการสรรหาที่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ มาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือไม่ และในที่สุดวุฒิสภาก็รับรองใช่หรือไม่
การรับพิจารณาคำร้องที่เป็นปัญหาให้ถกเถีงกันอยู่ในขณะนี้ ก็โดยเสียงส่วนใหญ่ของตุลาการใช่หรือไม่ แล้วเรื่องอย่างนี้ทำไมพรรคเพื่อไทย และบรรดานักกฎหมายของพรรคเพื่อไทยจึงจะเลยความเป็นประชาธิปไตยไปเสียเล่า หรือศาลจะถูกต้องเป็นธรรม ก็แต่เฉพาะที่มีคำวินิจฉัยเป็นที่ถูกใจของบรรดาพรรคเพื่อไทย และบรรดาขี้ข้าม้าครอกของทักษิณเท่านั้นหรือ
ความเป็นนักกฎหมาย ความเป็นอดีตอาจารย์สอนวิชากฎหมายในมหาวิทยาลัย ความเป็นอดีตตุลาการหายไปไหนเสีย จะต้องเป็นขี้ข้าม้าใช้เขาไปจนกระดูกเข้าหม้อไปหรืออย่างไร?
ไม่รู้สึกละอายเคอะเขินบ้างหรือที่ออกมาบอกประชาชนให้เคารพศาลโลก แต่กลับไม่ยอมรับอำนาจศาลในประเทศของตัวเอง ทั้งๆ นี่เป็นเพียงการรับคำร้อง รับคำฟ้องที่ผู้คนมาร้องมาฟ้องเท่านั้นเอง
จำไม่ได้หรือเมื่อปีที่แล้วก็ทำท่าว่าจะเป็นจะตายให้ได้เมื่อศาลรับคำร้อง 5 รายที่เขาเห็นว่ามีการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วิตกวิจารณ์กันจะเป็นจะตายเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญอาจจะยุบพรรค แล้วศาลตัดสินว่าอย่างไร
ใจคอเป็นทาส เป็นขี้ข้าม้าใช้ทักษิณคนเดียวไม่พอ จะลากเอาศาลไปเป็นขี้ข้ามันด้วยหรืออย่างไรครับ พ่อน้อง?
เสียงส่วนใหญ่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเอาไว้ และมีหนังสือถึงบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาที่ลงมติรับหลักการร่างแก้ไขมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ประธานสภาฯ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เรื่อยไปจนกระทั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาส่วนหนึ่ง มีความเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องจึงจะไม่ยอมรับอำนาจศาล และจะไม่ส่งคำชี้แจงไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงเรื่องที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภายืนยันว่า รัฐสภามีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมกับไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการรับพิจารณาคำร้องคัดค้านเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่า การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญยังคงดำเนินต่อไปตามขั้นตอนข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนญว่าด้วยการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาต่อไป
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ กล่าวต่อไปว่า หากผู้ถูกร้องไม่ชี้แจงข้อกล่าวหา ถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจในคำร้องดังกล่าว ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะเรียกผู้ถูกร้องมาชี้แจงด้วยวาจาในขั้นตอนการไต่สวนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ และบรรดาขี้ข้าม้าครอกของทักษิณ แสดงออกถึงการไม่ยอมรับอำนาจศาล พวกเขาเคยแสดงอาการเช่นนี้ตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทยยังไม่ถูกยุบมาแล้ว และก็เป็นเช่นนี้ทุกครั้งที่ถูกฟ้องถูกร้อง
นี่อาจจะเป็นเหตุหนึ่งของการพ่ายแพ้จนต้องถูกยุบพรรค แทนที่จะต่อสู้ในประเด็นที่ว่าพวกเขาไม่ได้ทำผิด พวกเขากลับเอะอะโวยวายไว้ก่อนว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดี ศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาคำร้อง ในคดียุบพรรคแทนที่จะต่อสู้ว่าไม่ได้ทำความผิดก็โวยวายไว้ก่อนว่า ศาลไม่มีอำนาจ ในคดีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ถูกร้องว่า มีการกระทำที่ขัดกันในผลประโยชน์ เป็นนายกรัฐมนตรีกลับไปจัดรายการ ชิมไปบ่นไป รับเงินค่าจัดทำรายการ บริษัทที่จ้างได้โฆษณาเพิ่มเพราะคนจัดรายการหรือพิธีกรเป็นนายกรัฐมนตรี บริษัทร้านค้าเกรงอกเกรงใจ และหนึ่งในสปอนเซอร์ใหญ่ได้เป็นกรรมการในบริษัทการบินไทย
แทนที่จะสู้คดีว่าไม่ได้ทำผิด กลับโวยวายว่าศาลไม่มีอำนาจ ศาลทำเกินเหตุ แสดงวิธีการทำอาหารกลับถูกให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม
พรรคเพื่อไทย และบรรดาขี้ข้าม้าใช้ของทักษิณ มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นนักกฎหมาย เป็นอดีตอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นอดีตผู้พิพากษา แทนที่จะสนับสนุนให้ผู้คนที่สนับสนุนพรรค เป็นฐานเสียงของพรรคเคารพกฎกติกาของบ้านเมืองนั่นก็คือตัวบทกฎหมาย กลับยุยงส่งเสริมไม่ให้เคารพกฎหมาย ให้เชื่อว่า ศาลสิ้นสุดความยุติธรรม ศาลไม่มีความเป็นธรรม
เช่นนี้เราจะอยู่ในสังคมโลกเขาได้อย่างไร?
พรรคเพื่อไทยมักจะอ้างความเป็นประชาธิปไตย อ้างเสียงข้างมาก 15 ล้านเสียงที่เลือกเขามาเป็นรัฐบาล ถามว่า ตุลาการทั้ง 9 ท่านมาจากการสรรหาที่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ มาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือไม่ และในที่สุดวุฒิสภาก็รับรองใช่หรือไม่
การรับพิจารณาคำร้องที่เป็นปัญหาให้ถกเถีงกันอยู่ในขณะนี้ ก็โดยเสียงส่วนใหญ่ของตุลาการใช่หรือไม่ แล้วเรื่องอย่างนี้ทำไมพรรคเพื่อไทย และบรรดานักกฎหมายของพรรคเพื่อไทยจึงจะเลยความเป็นประชาธิปไตยไปเสียเล่า หรือศาลจะถูกต้องเป็นธรรม ก็แต่เฉพาะที่มีคำวินิจฉัยเป็นที่ถูกใจของบรรดาพรรคเพื่อไทย และบรรดาขี้ข้าม้าครอกของทักษิณเท่านั้นหรือ
ความเป็นนักกฎหมาย ความเป็นอดีตอาจารย์สอนวิชากฎหมายในมหาวิทยาลัย ความเป็นอดีตตุลาการหายไปไหนเสีย จะต้องเป็นขี้ข้าม้าใช้เขาไปจนกระดูกเข้าหม้อไปหรืออย่างไร?
ไม่รู้สึกละอายเคอะเขินบ้างหรือที่ออกมาบอกประชาชนให้เคารพศาลโลก แต่กลับไม่ยอมรับอำนาจศาลในประเทศของตัวเอง ทั้งๆ นี่เป็นเพียงการรับคำร้อง รับคำฟ้องที่ผู้คนมาร้องมาฟ้องเท่านั้นเอง
จำไม่ได้หรือเมื่อปีที่แล้วก็ทำท่าว่าจะเป็นจะตายให้ได้เมื่อศาลรับคำร้อง 5 รายที่เขาเห็นว่ามีการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วิตกวิจารณ์กันจะเป็นจะตายเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญอาจจะยุบพรรค แล้วศาลตัดสินว่าอย่างไร
ใจคอเป็นทาส เป็นขี้ข้าม้าใช้ทักษิณคนเดียวไม่พอ จะลากเอาศาลไปเป็นขี้ข้ามันด้วยหรืออย่างไรครับ พ่อน้อง?