แอร์พอร์ตลิ้งค์ยังอาการหนัก บริการแย่ เหตุขาดสภาพคล่อง เงินกู้ก้อนแรก 420 ล้านจากการเพิ่มทุนยังไม่ได้กู้ตั้งแต่ปี 53 ใช้รายได้ค่าโดยสารจ่ายเงินเดือนพนักงาน ส่อเลิกขบวน Express หมุนรถไปช่วย City line
นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิ้งค์) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 เมษายน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานประชุมแนวทางการขอกู้เงินเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จำนวน 420ล้านบาท โดยได้หารือกับผู้แทนกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเบื้องต้นยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้กู้ หรือ ให้บริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท. กู้เองโดยตรง ส่วนการจัดซื้อรถไฟฟ้าใหม่ 7ขบวน มูลค่า 5,200 ล้านบาทนั้น ไเ้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมปห่งชาติ (สศช.) แล้ว โดยขณะนี้ เรื่องอยู่ที่กระทรวงคมนาคม เพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.มีทุนจดทะเบียน 140 ล้านบาท ส่วน เงินกู้ 420 ล้านบาทนี้จะเป็นเงินกู้ก้อนแรก ใน 1,860 ล้านบาทที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มเป็นทุนจดทะเบียน ซึ่งควรจะกู้ตั้งแต่ปี 2553 แต่ปัจจุบัน ยังไม่ได้มีการกู้เข้ามาทำให้การบริหารงานของแอร์พอร์ตลิ้งค์ต้องอาศัยรายได้จากค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมจากการให้สัมปทานพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ และโฆษณามาเป็นค่าใช้จ่ายที่เพียงพอเฉพาะในส่วนของเงินเดือนพนักงานและค่าบริหารสำนักงานเล็กน้อย ทำให้พนักงานยังไม่ได้ผลตอบแทนและสวัสดิการตามมาตรฐานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงยังไม่ได้ปรับเงินเดือนประจำปีที่ผ่านมา โดยปี 2555 มีรายได้รวมประมาณ 570 ล้านบาท แต่ไม่เหลือเพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพเช่นการซ่อมบำรุง และจัดซื้ออะไหล่ จนส่งผลให้การให้บริการค่อนข้างมีปัญหา
"เงิน 420 ล้านบาท จะเป็นทุนที่จะเข้ามาเสริมสภาพคล่องในการบริหารงานและให้บริการของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ แต่ยังติดปัญหาว่าจะให้ ร.ฟ.ท.กู้ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการบริหารงานเพราะไม่คล่องตัวเหมือนที่เป็นอยู่หรือจะให้แอร์พอร์ตลิ้งค์กู้เอง ซึ่งคล่องตัวกว่่า แต่ยังติดประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนว่า สถานะของแอร์พอร์ตลิ้งค์ในอนาคตจะเป็นอย่างไรเพราะมีแนวคิดจะให้กลับไปเป็นหน่วยธุรกิจ ภายใต้ร.ฟ.ท. เป็นต้น ในส่วนของกระทรวงการคลังนั้นไม่มีปัญหาไม่ว่าใครจะกู้ เพราะถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนกันโดยให้กระทรวงคมนาคมและผู้เกี่ยวข้องหารือกันภายในเอง"แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตามปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของแอร์พอร์ตลิ้งค์ ที่ทำให้ไม่สามารถจัดซื้ออะไหล่ได้ตามกำหนด ประกอบกับปีนี้ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์จะวิ่งให้บนิการครบ 1 ล้านกิโลเมตร ซึ่งจะต้องเข้าสู่การซ่อมใหญ่ (over hall) จึงมีขบวนรถเสีย โดยปัจจุบัน ขบวน City Line มี 5 ขบวน วิ่งให้บริการทั้งหมด ในช่วงเช้า เย็น ทุกๆ 15 นาทีต่อขบวน ช่วงนอกเวลาเร่งด่วน ทุกๆ20นาทีต่อขบวนขบวน Express Line มี4 ขบวน ใช้วิ่งสายพญาไท 1 ขบวน สายมักกะสัน 1 ขบวน สำรอง 1 ขบวน เสีย 1 ขบวน ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ และในวันที่ 13 พฤษภาคมนี้ คาดว่าจะหยุดวิ่งเพื่อนำขบวนมาวิ่งบริการเป็น ขบวน City Line
นอกจากนี้ปัญหาการบริหารภายในแอร์พอร์ตลิ้งค์ยังไม่มีความคล่องตัวในฝ่ายบริหาร ส่งผลให้การแก้ปัญหาในฝ่ายต่าง ๆ ไม่คืบหน้าส่งผลให้การบริการย่้ำแย่ลง เพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ปล่อยให้เรื้อรังมานาน ขณะเดียวกันพนักงานในระดับต่าง ๆ ก็ทยอยราคาเพราะไม่สามารถทนต่อแรงบีบในการทำงาน เนื่องจากผลตอบแทนของพนักงานในระดับล่าง ๆ ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ทำให้จำนวนพนักงานในระดับต่าง ๆ ทยอยลาออกและต้องประกาศรับพนักงานใหม่เข้ามาทดแทน ทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าอบรมพนักงานและทำงานได้ไม่นานก็ลาออกไป ซึ่งเป็นปัญหามานานและไม่ได้รับการดูแลจากผู้บริหารของแอร์พอร์ตลิ้งค์
นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิ้งค์) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 เมษายน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานประชุมแนวทางการขอกู้เงินเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด จำนวน 420ล้านบาท โดยได้หารือกับผู้แทนกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเบื้องต้นยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นผู้กู้ หรือ ให้บริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท. กู้เองโดยตรง ส่วนการจัดซื้อรถไฟฟ้าใหม่ 7ขบวน มูลค่า 5,200 ล้านบาทนั้น ไเ้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมปห่งชาติ (สศช.) แล้ว โดยขณะนี้ เรื่องอยู่ที่กระทรวงคมนาคม เพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.มีทุนจดทะเบียน 140 ล้านบาท ส่วน เงินกู้ 420 ล้านบาทนี้จะเป็นเงินกู้ก้อนแรก ใน 1,860 ล้านบาทที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มเป็นทุนจดทะเบียน ซึ่งควรจะกู้ตั้งแต่ปี 2553 แต่ปัจจุบัน ยังไม่ได้มีการกู้เข้ามาทำให้การบริหารงานของแอร์พอร์ตลิ้งค์ต้องอาศัยรายได้จากค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมจากการให้สัมปทานพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ และโฆษณามาเป็นค่าใช้จ่ายที่เพียงพอเฉพาะในส่วนของเงินเดือนพนักงานและค่าบริหารสำนักงานเล็กน้อย ทำให้พนักงานยังไม่ได้ผลตอบแทนและสวัสดิการตามมาตรฐานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงยังไม่ได้ปรับเงินเดือนประจำปีที่ผ่านมา โดยปี 2555 มีรายได้รวมประมาณ 570 ล้านบาท แต่ไม่เหลือเพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพเช่นการซ่อมบำรุง และจัดซื้ออะไหล่ จนส่งผลให้การให้บริการค่อนข้างมีปัญหา
"เงิน 420 ล้านบาท จะเป็นทุนที่จะเข้ามาเสริมสภาพคล่องในการบริหารงานและให้บริการของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ แต่ยังติดปัญหาว่าจะให้ ร.ฟ.ท.กู้ ซึ่งอาจจะกระทบต่อการบริหารงานเพราะไม่คล่องตัวเหมือนที่เป็นอยู่หรือจะให้แอร์พอร์ตลิ้งค์กู้เอง ซึ่งคล่องตัวกว่่า แต่ยังติดประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนว่า สถานะของแอร์พอร์ตลิ้งค์ในอนาคตจะเป็นอย่างไรเพราะมีแนวคิดจะให้กลับไปเป็นหน่วยธุรกิจ ภายใต้ร.ฟ.ท. เป็นต้น ในส่วนของกระทรวงการคลังนั้นไม่มีปัญหาไม่ว่าใครจะกู้ เพราะถือว่าเป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนกันโดยให้กระทรวงคมนาคมและผู้เกี่ยวข้องหารือกันภายในเอง"แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตามปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของแอร์พอร์ตลิ้งค์ ที่ทำให้ไม่สามารถจัดซื้ออะไหล่ได้ตามกำหนด ประกอบกับปีนี้ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์จะวิ่งให้บนิการครบ 1 ล้านกิโลเมตร ซึ่งจะต้องเข้าสู่การซ่อมใหญ่ (over hall) จึงมีขบวนรถเสีย โดยปัจจุบัน ขบวน City Line มี 5 ขบวน วิ่งให้บริการทั้งหมด ในช่วงเช้า เย็น ทุกๆ 15 นาทีต่อขบวน ช่วงนอกเวลาเร่งด่วน ทุกๆ20นาทีต่อขบวนขบวน Express Line มี4 ขบวน ใช้วิ่งสายพญาไท 1 ขบวน สายมักกะสัน 1 ขบวน สำรอง 1 ขบวน เสีย 1 ขบวน ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ และในวันที่ 13 พฤษภาคมนี้ คาดว่าจะหยุดวิ่งเพื่อนำขบวนมาวิ่งบริการเป็น ขบวน City Line
นอกจากนี้ปัญหาการบริหารภายในแอร์พอร์ตลิ้งค์ยังไม่มีความคล่องตัวในฝ่ายบริหาร ส่งผลให้การแก้ปัญหาในฝ่ายต่าง ๆ ไม่คืบหน้าส่งผลให้การบริการย่้ำแย่ลง เพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ปล่อยให้เรื้อรังมานาน ขณะเดียวกันพนักงานในระดับต่าง ๆ ก็ทยอยราคาเพราะไม่สามารถทนต่อแรงบีบในการทำงาน เนื่องจากผลตอบแทนของพนักงานในระดับล่าง ๆ ไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ทำให้จำนวนพนักงานในระดับต่าง ๆ ทยอยลาออกและต้องประกาศรับพนักงานใหม่เข้ามาทดแทน ทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าอบรมพนักงานและทำงานได้ไม่นานก็ลาออกไป ซึ่งเป็นปัญหามานานและไม่ได้รับการดูแลจากผู้บริหารของแอร์พอร์ตลิ้งค์