สหภาพฯ การบินไทยเดินหน้าขับไล่ “อำพน” เตรียมยื่น “นายกฯ” แฉพฤติกรรมล้วงลูก นัดประชุมกรรมการสหภาพฯ วันนี้ (21 ม.ค.) ก่อนยื่นหนังสือถึง “รมต.คมนาคม” ด้าน “ชัชชาติ” ยันขึ้นเงินต้องรอบอร์ดประชุมอีกครั้งขึ้นทันทีไม่ได้ ส่วน “พฤณท์” สั่งการบินไทยรายงานข้อมูลและความเสียหายที่เกิดขึ้น “สรจักร” กลับลำเงินเดือน-โบนัส ต้องรอบอร์ด 8 ก.พ.นี้ คนการบินไทยตั้งคำถาม “อำพน” นั่งประธานไทยสมายล์เองเพื่อหวังผลประโยชน์หรือไม่ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น แฉเพราะมีคนเข้ามาหาประโยชน์ในการบินไทยจนต้องตัดผลประโยชน์ของพนักงานออก เผยปล่อยต่อไป “สรจักร” เองก็อยู่ไม่รอด “ยิ่งลักษณ์” สั่ง “ชัชชาติ” หาข้อยุติพนักงานการบินไทยร้องขึ้นเงินเดือน-โบนัส หวั่นกระทบผู้โดยสาร “ชัชชาติ” โยนบอร์ดบินไทยเคลียร์ปมปรับเงินเดือน พนง. สุดฉุนหยุดงานประท้วง ยันอ้างปรับ ปธ.ออกต้องบกพร่อง มีหลักฐานชัด อย่าใช้อารมณ์ตัดสิน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรณีที่พนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ชุมนุมเรียกร้องขอปรับเงินเดือนและได้ทำข้อตกลงร่วมกันกับนายสรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) การบินไทยแล้วนั้น เห็นว่าการปรับขึ้นเงินเดือนให้พนักงานเป็นเรื่องดี แต่มีการกระทำให้เป็นเรื่องเสีย ซึ่งการตกลงให้ขึ้นเลยคงไม่ได้ ต้องรอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด ) มีมติอย่างเป็นทางการก่อน ซึ่งคาดว่าจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อีก เพราะโบนัส 1 เดือนต้องใช้เงินประมาณ 1,000 ล้านบาท พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้นายสรจักรตรวจสอบพนักงานที่ร่วมชุมนุมเพื่อเรียกร้องขอขึ้นโบนัส และขึ้นเงินเดือนตลอด 2 วันที่ผ่านมาว่ามีการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จนส่งผลกระทบต่อการอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารการบินไทยหรือไม่
ด้าน พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการบินไทย กล่าวว่า ให้ฝ่ายบริหารรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของพนักงานมารายงานให้ทราบในสัปดาห์นี้
ขณะที่นายสรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) การบินไทย กล่าวว่า ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้จะมีการประชุมบอร์ดการบินไทย ส่วนจะพิจารณาวาระการขึ้นโบนัสจาก 1 เดือนเพิ่มเป็น 2 เดือน และปรับเงินเดือนเป็น 7.5% หรือไม่นั้นยังไม่สามารถตอบได้ แต่โดยหลักการการปรับขึ้นเงินเดือน 7.5% จะพิจารณาให้เฉพาะพนักงานที่มีเงินเดือนระหว่าง 7,000 บาท ถึงสูงสุด 30,000 บาท หรือคิดเป็น 30% ของจำนวนพนักงานที่จะได้ปรับขึ้น โดยไม่พิจารณาให้ระดับผู้บริหารเนื่องจากมีเงินเดือนสูงอยู่แล้ว
สำหรับภาพรวมการให้บริการของสายการบินไทย นายสรจักรระบุว่า ตลอดครึ่งเช้านี้ของวันที่ 20 ม.ค.ยังพบปัญหาเครื่องบินดีเลย์บ้าง เนื่องจากพนักงานยังปฏิบัติงานไม่ครบ และคาดว่าเมื่อเปลี่ยนผลัดในช่วงเที่ยงวันนี้การให้บริการจะกลับมาเป็นปกติ
ด้านนางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย กล่าวว่า พนักงานการบินไทยยืนยันว่าไม่ต้องการให้นายอำพน กิตติอำพน เป็นประธานบอร์ดต่อไป โดยในวันนี้ (21 ม.ค.) สหภาพฯ จะประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นที่ประชุม จากนั้นวันที่ 22 ม.ค.จะยื่นหนังสือถึง พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคมในฐานะกำกับดูแลการบินไทย และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ก่อนที่จะไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานถึงพฤติกรรมของประธานบอร์ดซึ่งก้าวก่ายแทรกแซงการบริหารงาน ซึ่งได้สร้างปัญหาให้การบินไทยอย่างมาก โดยก่อนหน้านี้ประธานบอร์ดนัดจะมาพูดคุยกับสหภาพฯ ในวันที่22 มกราคมแต่ขณะนี้อาจไม่จำเป็นแล้ว
“พนักงานเห็นว่าหากนายอำพนยังเป็นประธานบอร์ดการบินไทยต่อไปนานเท่าไร บริษัทก็จะยิ่งมีปัญหามากขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขผลประกอบการ ที่พนักงานยังสงสัยมากกว่าสิ้นไตรมาส 1/55 บริษัทมีกำไร 3,600 ล้านบาท และไตรมาส 4/55 มีกำไรค่อนข้างมาก เงินหายไปไหน ทั้งนี้ ยืนยันว่าการชุมนุมของพนักงานที่เกิดขึ้นไม่ใช่การทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท แต่เป็นการเรียกร้องผลประโยชน์ที่พนักงานควรได้รับ และบางแผนกยังทำงานตามปกติ” นางแจ่มศรีกล่าว
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทยกล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้พนักงานไม่ต้องการให้นายอำพน เป็นประธานบอร์ดการบินไทยต่อไป เนื่องจากการทำงานแบบล้วงลูกมากเกินไปของนายอำพน โดยทำตัวเสมือนเป็นดีดีการบินไทยเอง ในขณะที่การบินไทยเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ หากประธานบอร์ดลงไปสั่งการทุกเรื่องเอง ดีดีก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป โดยมีหลายเรื่องที่น่าสงสัยและตั้งคำถามในหมู่พนักงาน เช่น กรณีที่นายอำพนแต่งตั้งตัวเองไปเป็นประธานบอร์ดหน่วยธุรกิจการบินไทยสมายล์ ซึ่งควรแต่งตั้งผู้บริหารการบินไทยไปทำหน้าที่นี้ จึงน่าสงสัยว่าทำไมนายอำพนถึงต้องไปเป็นประธานบอร์ดไทยสมายล์เอง ทั้งๆ ที่มีภาระหน้าที่ค่อนข้างมากเนื่องจากเป็นเลขาฯ คณะรัฐมนตรี และประธานบอร์ดการบินไทยอยู่แล้ว โดยพนักงานมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีธรรมาภิบาลและส่อไปในทางมิชอบ และอาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์การจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่
นอกจากนี้ เงินที่แบ่งเป็นผลกำไรนั้น บอร์ดได้รับ 0.5% ของเงินปันผลทั้งหมด ได้รับเบี้้ยประชุมบอร์ดเดือนละ 50,000 บาทไม่ว่าจะมาประชุมหรือไม่ และหากเป็นคณะอนุกรรมการชุดอื่นจะได้เบี้ยประชุมครั้งละ 10,000 บาท รวมแล้วเฉลี่ยได้รับคนละประมาณ 100,000 บาทต่อเดือน, บอร์ดแย่งกันไปรับเครื่องบิน แอร์บัส เอ 300, 340 อยากถามว่า กินเบี้ยเลี้ยงกันเท่าไร กรณีบอร์ดมีมติเช่าเครื่องบิน 3 ลำแต่ไม่มีเส้นทางบินจริงหรือไม่ เป็นตัวอย่างข้อสงสัยของพนักงานที่เห็นว่าบอร์ดหาผลประโยชน์จากการบินไทย โดยตัดผลประโยชน์ที่พนักงานควรได้รับไป เช่น โบนัส และการขึ้นเงินเดือน
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวกล่าวว่า การล้วงลูกของประธานบอร์ดส่งผลให้นายสรจักรไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหากเป็นอย่างนี้ต่อไปอาจจะส่งผลกระทบต่อตำแหน่งดีดีของนายสรจักรได้ เพราะก่อนหน้านี้ สมัยนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นดีดีการบินไทย ต้องปะทะกับนายอำพนในหลายเรื่อง แต่สามารถทำงานมาได้เพราะนายปิยสวัสดิ์เป็นคนแข็งและไม่ยอมใคร ซึ่งไม่ใช่บุคลิกของนายสรจักร
“ยิ่งลักษณ์” สั่ง “ชัชชาติ” เร่งแก้ปัญหา
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยเรียกร้องบอร์ดการบินไทยให้ปรับเงินโบนัส และขอขึ้นเงินเดือนประจำปี 2555 ว่า ได้กำชับให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เข้าไปดูแลปัญหาดังกล่าวแล้ว เพราะถือว่าเป็นเรื่องภายในที่บอรด์การบินไทยจะต้องพิจาณาอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้โดยสาร รวมถึงทุกไฟลต์สามารถเดินทางได้ตามปกติ ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวต้องมีการหารือกันเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเต็มที่
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรณีที่พนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ชุมนุมเรียกร้องขอปรับเงินเดือนและได้ทำข้อตกลงร่วมกันกับนายสรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) การบินไทยแล้วนั้น เห็นว่าการปรับขึ้นเงินเดือนให้พนักงานเป็นเรื่องดี แต่มีการกระทำให้เป็นเรื่องเสีย ซึ่งการตกลงให้ขึ้นเลยคงไม่ได้ ต้องรอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด ) มีมติอย่างเป็นทางการก่อน ซึ่งคาดว่าจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อีก เพราะโบนัส 1 เดือนต้องใช้เงินประมาณ 1,000 ล้านบาท พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้นายสรจักรตรวจสอบพนักงานที่ร่วมชุมนุมเพื่อเรียกร้องขอขึ้นโบนัส และขึ้นเงินเดือนตลอด 2 วันที่ผ่านมาว่ามีการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จนส่งผลกระทบต่อการอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารการบินไทยหรือไม่
ด้าน พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการบินไทย กล่าวว่า ให้ฝ่ายบริหารรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของพนักงานมารายงานให้ทราบในสัปดาห์นี้
ขณะที่นายสรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) การบินไทย กล่าวว่า ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้จะมีการประชุมบอร์ดการบินไทย ส่วนจะพิจารณาวาระการขึ้นโบนัสจาก 1 เดือนเพิ่มเป็น 2 เดือน และปรับเงินเดือนเป็น 7.5% หรือไม่นั้นยังไม่สามารถตอบได้ แต่โดยหลักการการปรับขึ้นเงินเดือน 7.5% จะพิจารณาให้เฉพาะพนักงานที่มีเงินเดือนระหว่าง 7,000 บาท ถึงสูงสุด 30,000 บาท หรือคิดเป็น 30% ของจำนวนพนักงานที่จะได้ปรับขึ้น โดยไม่พิจารณาให้ระดับผู้บริหารเนื่องจากมีเงินเดือนสูงอยู่แล้ว
สำหรับภาพรวมการให้บริการของสายการบินไทย นายสรจักรระบุว่า ตลอดครึ่งเช้านี้ของวันที่ 20 ม.ค.ยังพบปัญหาเครื่องบินดีเลย์บ้าง เนื่องจากพนักงานยังปฏิบัติงานไม่ครบ และคาดว่าเมื่อเปลี่ยนผลัดในช่วงเที่ยงวันนี้การให้บริการจะกลับมาเป็นปกติ
ด้านนางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย กล่าวว่า พนักงานการบินไทยยืนยันว่าไม่ต้องการให้นายอำพน กิตติอำพน เป็นประธานบอร์ดต่อไป โดยในวันนี้ (21 ม.ค.) สหภาพฯ จะประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นที่ประชุม จากนั้นวันที่ 22 ม.ค.จะยื่นหนังสือถึง พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคมในฐานะกำกับดูแลการบินไทย และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ก่อนที่จะไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานถึงพฤติกรรมของประธานบอร์ดซึ่งก้าวก่ายแทรกแซงการบริหารงาน ซึ่งได้สร้างปัญหาให้การบินไทยอย่างมาก โดยก่อนหน้านี้ประธานบอร์ดนัดจะมาพูดคุยกับสหภาพฯ ในวันที่22 มกราคมแต่ขณะนี้อาจไม่จำเป็นแล้ว
“พนักงานเห็นว่าหากนายอำพนยังเป็นประธานบอร์ดการบินไทยต่อไปนานเท่าไร บริษัทก็จะยิ่งมีปัญหามากขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขผลประกอบการ ที่พนักงานยังสงสัยมากกว่าสิ้นไตรมาส 1/55 บริษัทมีกำไร 3,600 ล้านบาท และไตรมาส 4/55 มีกำไรค่อนข้างมาก เงินหายไปไหน ทั้งนี้ ยืนยันว่าการชุมนุมของพนักงานที่เกิดขึ้นไม่ใช่การทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัท แต่เป็นการเรียกร้องผลประโยชน์ที่พนักงานควรได้รับ และบางแผนกยังทำงานตามปกติ” นางแจ่มศรีกล่าว
แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทยกล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้พนักงานไม่ต้องการให้นายอำพน เป็นประธานบอร์ดการบินไทยต่อไป เนื่องจากการทำงานแบบล้วงลูกมากเกินไปของนายอำพน โดยทำตัวเสมือนเป็นดีดีการบินไทยเอง ในขณะที่การบินไทยเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ หากประธานบอร์ดลงไปสั่งการทุกเรื่องเอง ดีดีก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป โดยมีหลายเรื่องที่น่าสงสัยและตั้งคำถามในหมู่พนักงาน เช่น กรณีที่นายอำพนแต่งตั้งตัวเองไปเป็นประธานบอร์ดหน่วยธุรกิจการบินไทยสมายล์ ซึ่งควรแต่งตั้งผู้บริหารการบินไทยไปทำหน้าที่นี้ จึงน่าสงสัยว่าทำไมนายอำพนถึงต้องไปเป็นประธานบอร์ดไทยสมายล์เอง ทั้งๆ ที่มีภาระหน้าที่ค่อนข้างมากเนื่องจากเป็นเลขาฯ คณะรัฐมนตรี และประธานบอร์ดการบินไทยอยู่แล้ว โดยพนักงานมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีธรรมาภิบาลและส่อไปในทางมิชอบ และอาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์การจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่
นอกจากนี้ เงินที่แบ่งเป็นผลกำไรนั้น บอร์ดได้รับ 0.5% ของเงินปันผลทั้งหมด ได้รับเบี้้ยประชุมบอร์ดเดือนละ 50,000 บาทไม่ว่าจะมาประชุมหรือไม่ และหากเป็นคณะอนุกรรมการชุดอื่นจะได้เบี้ยประชุมครั้งละ 10,000 บาท รวมแล้วเฉลี่ยได้รับคนละประมาณ 100,000 บาทต่อเดือน, บอร์ดแย่งกันไปรับเครื่องบิน แอร์บัส เอ 300, 340 อยากถามว่า กินเบี้ยเลี้ยงกันเท่าไร กรณีบอร์ดมีมติเช่าเครื่องบิน 3 ลำแต่ไม่มีเส้นทางบินจริงหรือไม่ เป็นตัวอย่างข้อสงสัยของพนักงานที่เห็นว่าบอร์ดหาผลประโยชน์จากการบินไทย โดยตัดผลประโยชน์ที่พนักงานควรได้รับไป เช่น โบนัส และการขึ้นเงินเดือน
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวกล่าวว่า การล้วงลูกของประธานบอร์ดส่งผลให้นายสรจักรไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหากเป็นอย่างนี้ต่อไปอาจจะส่งผลกระทบต่อตำแหน่งดีดีของนายสรจักรได้ เพราะก่อนหน้านี้ สมัยนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นดีดีการบินไทย ต้องปะทะกับนายอำพนในหลายเรื่อง แต่สามารถทำงานมาได้เพราะนายปิยสวัสดิ์เป็นคนแข็งและไม่ยอมใคร ซึ่งไม่ใช่บุคลิกของนายสรจักร
“ยิ่งลักษณ์” สั่ง “ชัชชาติ” เร่งแก้ปัญหา
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยเรียกร้องบอร์ดการบินไทยให้ปรับเงินโบนัส และขอขึ้นเงินเดือนประจำปี 2555 ว่า ได้กำชับให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เข้าไปดูแลปัญหาดังกล่าวแล้ว เพราะถือว่าเป็นเรื่องภายในที่บอรด์การบินไทยจะต้องพิจาณาอย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้โดยสาร รวมถึงทุกไฟลต์สามารถเดินทางได้ตามปกติ ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวต้องมีการหารือกันเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเต็มที่