ASTVผู้จัดการรายวัน – เตือนประชาชนเฝ้าระวังไข้หวัดนก 2 สายพันธุ์หยุดยาวช่วงสงกรานต์หลังเดินทางจากท่องเที่ยวต่างประเทศ ขณะที่ยอดอุบัติเหตุวันที่ 4 ของ 7 วันอันตราย นครศรีธรรมราชยังครองแชมป์อุบัติเหตุรายวัน รวมถึงยอดรวมทั้งหมด เชียงใหม่ตามติด กาญฯ-ประจวบฯ ตายสูงสุด อธิบดีปภ. เตือนช่วงเดินทางกลับสงกรานต์คาด ฝนตกถนนลื่น ต้องไม่เหยียบคันเร่งเร็ว
นพ.อภิชาติ รอดสม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า จากกรณีมีรายงานพบประชาชนติดเชื้อ และเสียชีวิตจากไวรัสไข้หวัดนก 2 สายพันธุ์ ใน 3 ประเทศในเอเชีย คือ พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เอช7 เอ็น9 (H7N9) รายใหม่ที่ประเทศจีน เพิ่มขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาอีก 3 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 21 ราย เสียชีวิตแล้ว 6 ราย ใน 4 มณฑลคือ เซี่ยงไฮ้ อานฮุย เจ้อเจียง และเจียงจู
และพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช5 เอ็น1 (H5N1) ที่เวียดนาม 1 ราย เป็นเด็กอายุ 4 ขวบ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และที่กัมพูชา มีรายงานในปี 2556 นี้ มีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5 เอ็น1 จำนวน 8 ราย ในจำนวนนี้ เป็นเด็ก 6 ราย นั้น แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่เคยพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช7 เอ็น9 รวมทั้งไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5 เอ็น1 ในประเทศ ติดต่อกันมาเกือบ 7 ปี และไม่พบการติดเชื้อในสัตว์ปีกตั้งแต่ พ.ศ.2551 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขมีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และให้คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคไข้หวัดนกทั้ง 2 สายพันธุ์ รวมทั้งเน้นมาตรการเฝ้าระวังให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม เพื่อให้สามารถตรวจจับการระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ซึ่งมีวันหยุดยาวติดต่อกัน 5 วัน ประชาชนอาจจะมีการเดินทางไปเที่ยวที่ต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ
นพ.อภิชาติ กล่าวต่อไปว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ได้สั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่งให้เฝ้าระวังผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวมรุนแรงทุกรายเพื่อซักประวัติคัดแยกว่าติดเชื้อไข้หวัดนกหรือไม่ รวมทั้งขอความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเพื่อเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก
โดยหากพบสัตว์ปีกทั้งที่เลี้ยงตามบ้าน และสัตว์ปีกที่อยู่ในป่า และตามทุ่ง ป่วยหรือตายผิดปกติขอให้แจ้งปศุสัตว์ เพื่อเก็บซากสัตว์ปีกไปตรวจหาเชื้อ และหากพบผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ และมีอาการปอดบวม ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
นพ.อภิชาติ กล่าวถึงการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนก “กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกรวมทั้งนกตามธรรมชาติ” ขอให้รับประทานเนื้อสัตว์ปีก และไข่ที่สุกแล้ว หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีอาการป่วย หรือตายโดยเฉพาะเด็กๆ ห้ามนำซากสัตว์ปีกที่ป่วยตายไปรับประทาน หรือให้สัตว์อื่นกิน ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
หากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีกให้สวมหน้ากากอนามัย และสวมถุงมือทุกครั้ง ล้างมือบ่อยๆ และทุกครั้งหลังสัมผัสสัตว์ปีก และสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ปีกด้วยสบู่ และน้ำ หากมีอาการเป็นไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเคยสัมผัสสัตว์ปีก หรือสัมผัสผู้ป่วยปอดบวม ให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติการการสัมผัสสัตว์ปีกให้แพทย์ทราบด้วย ซึ่งจะเป็นผลดีในการดูแลรักษา
หากผู้เดินทางมีอาการป่วยคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่คือ มีไข้สูง ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเคยมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก ขอให้รีบไปพบแพทย์ แจ้งประวัติการเดินทางกลับจากต่างประเทศ และการสัมผัสสัตว์ปีกให้แพทย์ทราบ เพื่อให้การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง
***เมืองคอน ยังนำยอดอุบัติเหตุสงกรานต์
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมเป็นประธานแถลงข่าวผลการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556
โดยนายเสริมศักดิ์ กล่าวถึงสถิติอุบัติเหตุในรอบ 24 ชั่วโมง ของวันที่ 14 เมษายน 2556 (วันที่สี่ของการรณรงค์) พบว่าเกิดอุบัติเหตุจำนวน 451 ครั้ง สะสมรวม 4 วันจำนวน 1,897ครั้ง จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 71 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 68 ครั้ง และจังหวัดนครสวรรค์ 62 ครั้ง ผู้เสียชีวิตจำนวน 45 ราย สะสม รวม 4 วันจำนวน 218 ราย จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดละ 11 ราย รองลงมา ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 8 ราย
ผู้บาดเจ็บจำนวน 494 ราย สะสมรวม 4 วันจำนวน 2,020 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 73 ราย รองลงมา ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 67 ราย และจังหวัดนครสวรรค์ 63 ราย
***ปภ. เตือนฝนตกถนนลื่น ต้องไม่เหยียบคันเร่งเร็ว
ด้านนายฉัตรชัย กล่าวว่า ฝากเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนให้วางแผนการเดินทางกลับ โดยเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสอบรถให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ศึกษาและเลือกใช้เส้นทางที่ปลอดภัย ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ จากการติดตามสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า หลายพื้นที่ของประเทศมีฝนตกกระจาย โดยเฉพาะภาคใต้มีฝนตกหนาแน่น และฝนตกหนักถึงหนักมาก จึงขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดระวังในการขับรถเป็นพิเศษ ไม่ขับรถเร็ว เพราะสภาพถนนที่เปียกลื่น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งนี้ หากประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุทางถนน สามารถแจ้งเหตุและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
อธิบดีปภ.เตือนช่วงเดินทางกลับสงกรานต์คาด ฝนตกถนนลื่น ต้องไม่เหยียบคันเร่งเร็ว
***สธ.สั่ง ร.พ.ทุกแห่งรับมืออุบัติเหตุจราจรขากลับ
น.พ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข นำคณะตรวจเยี่ยมความพร้อมรับอุบัติเหตุจราจรช่วงขากลับเทศกาลสงกรานต์ ที่จุดตรวจจุดบริการร่วมที่สถานีตำรวจภูธรเสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรีและโรงพยาบาลบ้านบึง จ.ชลบุรี โดยกล่าวว่า วันที่15 -16 เมษายน ประชาชนเริ่มทยอยเดินทางกลับจากต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพมหานคร จึงได้กำชับให้โรงพยาบาลทุกแห่ง โดยเฉพาะที่อยู่ตามเส้นทางหลวงหลัก เตรียมพร้อมกำลังแพทย์ พยาบาล เครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ ทีมกู้ชีพฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น เพื่อป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด และขอความร่วมมือประชาชนโทรแจ้งสายด่วนกู้ชีพ 1669 หากพบผู้บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผลปฏิบัติการ 4 วัน ทีมแพทย์ฉุกเฉินที่มีทั่วประเทศประมาณ 15,000 ทีม สามารถไปถึงจุดเกิดเหตุได้ภายใน 10 นาที ตามมาตรฐานที่กำหนด
นพ.อภิชาติ รอดสม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า จากกรณีมีรายงานพบประชาชนติดเชื้อ และเสียชีวิตจากไวรัสไข้หวัดนก 2 สายพันธุ์ ใน 3 ประเทศในเอเชีย คือ พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เอช7 เอ็น9 (H7N9) รายใหม่ที่ประเทศจีน เพิ่มขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาอีก 3 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 21 ราย เสียชีวิตแล้ว 6 ราย ใน 4 มณฑลคือ เซี่ยงไฮ้ อานฮุย เจ้อเจียง และเจียงจู
และพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช5 เอ็น1 (H5N1) ที่เวียดนาม 1 ราย เป็นเด็กอายุ 4 ขวบ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และที่กัมพูชา มีรายงานในปี 2556 นี้ มีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5 เอ็น1 จำนวน 8 ราย ในจำนวนนี้ เป็นเด็ก 6 ราย นั้น แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่เคยพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช7 เอ็น9 รวมทั้งไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5 เอ็น1 ในประเทศ ติดต่อกันมาเกือบ 7 ปี และไม่พบการติดเชื้อในสัตว์ปีกตั้งแต่ พ.ศ.2551 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขมีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และให้คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคไข้หวัดนกทั้ง 2 สายพันธุ์ รวมทั้งเน้นมาตรการเฝ้าระวังให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม เพื่อให้สามารถตรวจจับการระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ซึ่งมีวันหยุดยาวติดต่อกัน 5 วัน ประชาชนอาจจะมีการเดินทางไปเที่ยวที่ต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ
นพ.อภิชาติ กล่าวต่อไปว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ได้สั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่งให้เฝ้าระวังผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวมรุนแรงทุกรายเพื่อซักประวัติคัดแยกว่าติดเชื้อไข้หวัดนกหรือไม่ รวมทั้งขอความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเพื่อเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก
โดยหากพบสัตว์ปีกทั้งที่เลี้ยงตามบ้าน และสัตว์ปีกที่อยู่ในป่า และตามทุ่ง ป่วยหรือตายผิดปกติขอให้แจ้งปศุสัตว์ เพื่อเก็บซากสัตว์ปีกไปตรวจหาเชื้อ และหากพบผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ และมีอาการปอดบวม ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
นพ.อภิชาติ กล่าวถึงการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนก “กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกรวมทั้งนกตามธรรมชาติ” ขอให้รับประทานเนื้อสัตว์ปีก และไข่ที่สุกแล้ว หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีอาการป่วย หรือตายโดยเฉพาะเด็กๆ ห้ามนำซากสัตว์ปีกที่ป่วยตายไปรับประทาน หรือให้สัตว์อื่นกิน ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
หากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีกให้สวมหน้ากากอนามัย และสวมถุงมือทุกครั้ง ล้างมือบ่อยๆ และทุกครั้งหลังสัมผัสสัตว์ปีก และสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ปีกด้วยสบู่ และน้ำ หากมีอาการเป็นไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเคยสัมผัสสัตว์ปีก หรือสัมผัสผู้ป่วยปอดบวม ให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติการการสัมผัสสัตว์ปีกให้แพทย์ทราบด้วย ซึ่งจะเป็นผลดีในการดูแลรักษา
หากผู้เดินทางมีอาการป่วยคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่คือ มีไข้สูง ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเคยมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก ขอให้รีบไปพบแพทย์ แจ้งประวัติการเดินทางกลับจากต่างประเทศ และการสัมผัสสัตว์ปีกให้แพทย์ทราบ เพื่อให้การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง
***เมืองคอน ยังนำยอดอุบัติเหตุสงกรานต์
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมเป็นประธานแถลงข่าวผลการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2556
โดยนายเสริมศักดิ์ กล่าวถึงสถิติอุบัติเหตุในรอบ 24 ชั่วโมง ของวันที่ 14 เมษายน 2556 (วันที่สี่ของการรณรงค์) พบว่าเกิดอุบัติเหตุจำนวน 451 ครั้ง สะสมรวม 4 วันจำนวน 1,897ครั้ง จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 71 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 68 ครั้ง และจังหวัดนครสวรรค์ 62 ครั้ง ผู้เสียชีวิตจำนวน 45 ราย สะสม รวม 4 วันจำนวน 218 ราย จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดละ 11 ราย รองลงมา ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 8 ราย
ผู้บาดเจ็บจำนวน 494 ราย สะสมรวม 4 วันจำนวน 2,020 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 73 ราย รองลงมา ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 67 ราย และจังหวัดนครสวรรค์ 63 ราย
***ปภ. เตือนฝนตกถนนลื่น ต้องไม่เหยียบคันเร่งเร็ว
ด้านนายฉัตรชัย กล่าวว่า ฝากเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนให้วางแผนการเดินทางกลับ โดยเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสอบรถให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ศึกษาและเลือกใช้เส้นทางที่ปลอดภัย ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ จากการติดตามสภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า หลายพื้นที่ของประเทศมีฝนตกกระจาย โดยเฉพาะภาคใต้มีฝนตกหนาแน่น และฝนตกหนักถึงหนักมาก จึงขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มความระมัดระวังในการขับรถเป็นพิเศษ ไม่ขับรถเร็ว เพราะสภาพถนนที่เปียกลื่น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งนี้ หากประสบหรือพบเห็นอุบัติเหตุทางถนน สามารถแจ้งเหตุและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
อธิบดีปภ.เตือนช่วงเดินทางกลับสงกรานต์คาด ฝนตกถนนลื่น ต้องไม่เหยียบคันเร่งเร็ว
***สธ.สั่ง ร.พ.ทุกแห่งรับมืออุบัติเหตุจราจรขากลับ
น.พ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข นำคณะตรวจเยี่ยมความพร้อมรับอุบัติเหตุจราจรช่วงขากลับเทศกาลสงกรานต์ ที่จุดตรวจจุดบริการร่วมที่สถานีตำรวจภูธรเสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรีและโรงพยาบาลบ้านบึง จ.ชลบุรี โดยกล่าวว่า วันที่15 -16 เมษายน ประชาชนเริ่มทยอยเดินทางกลับจากต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพมหานคร จึงได้กำชับให้โรงพยาบาลทุกแห่ง โดยเฉพาะที่อยู่ตามเส้นทางหลวงหลัก เตรียมพร้อมกำลังแพทย์ พยาบาล เครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ ทีมกู้ชีพฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น เพื่อป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด และขอความร่วมมือประชาชนโทรแจ้งสายด่วนกู้ชีพ 1669 หากพบผู้บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผลปฏิบัติการ 4 วัน ทีมแพทย์ฉุกเฉินที่มีทั่วประเทศประมาณ 15,000 ทีม สามารถไปถึงจุดเกิดเหตุได้ภายใน 10 นาที ตามมาตรฐานที่กำหนด