กาญจนบุรี - สสจ.กาญจน์ เตือนประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก 2 สายพันธุ์ ทั้ง เอช5 เอ็น1 และเอช7 เอ็น9 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์วันหยุดยาวอาจเพิ่มความเสี่ยง เน้นการเฝ้าระวังผู้ป่วยปอดบวมหลังจากกลับจากต่างประเทศ รวมทั้งสัตว์ปีกเลี้ยงตามบ้าน
เมื่อเวลา 14.00 น. วันนี้ (15 เม.ย.) นพ.อภิชาติ รอดสม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า จากกรณีมีรายงานพบประชาชนติดเชื้อ และเสียชีวิตจากไวรัสไข้หวัดนก 2 สายพันธุ์ ใน 3 ประเทศในเอเชีย คือ พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เอช7 เอ็น9 (H7N9) รายใหม่ที่ประเทศจีน เพิ่มขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาอีก 3 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 21 ราย เสียชีวิตแล้ว 6 ราย ใน 4 มณฑลคือ เซี่ยงไฮ้ อานฮุย เจ้อเจียง และเจียงจู
และพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช5 เอ็น1 (H5N1) ที่เวียดนาม 1 ราย เป็นเด็กอายุ 4 ขวบ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และที่กัมพูชา มีรายงานในปี 2556 นี้ มีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5 เอ็น1 จำนวน 8 ราย ในจำนวนนี้ เป็นเด็ก 6 ราย นั้น แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่เคยพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช7 เอ็น9 รวมทั้งไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5 เอ็น1 ในประเทศ ติดต่อกันมาเกือบ 7 ปี และไม่พบการติดเชื้อในสัตว์ปีกตั้งแต่ พ.ศ.2551 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุขมีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และให้คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคไข้หวัดนกทั้ง 2 สายพันธุ์ รวมทั้งเน้นมาตรการเฝ้าระวังให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม เพื่อให้สามารถตรวจจับการระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ซึ่งมีวันหยุดยาวติดต่อกัน 5 วัน ประชาชนอาจจะมีการเดินทางไปเที่ยวที่ต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ
นพ.อภิชาติ กล่าวต่อไปว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ได้สั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่งให้เฝ้าระวังผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวมรุนแรงทุกรายเพื่อซักประวัติคัดแยกว่าติดเชื้อไข้หวัดนกหรือไม่ รวมทั้งขอความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเพื่อเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก
โดยหากพบสัตว์ปีกทั้งที่เลี้ยงตามบ้าน และสัตว์ปีกที่อยู่ในป่า และตามทุ่ง ป่วยหรือตายผิดปกติขอให้แจ้งปศุสัตว์ เพื่อเก็บซากสัตว์ปีกไปตรวจหาเชื้อ และหากพบผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ และมีอาการปอดบวม ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
นพ.อภิชาติ กล่าวถึงการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนก “กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกรวมทั้งนกตามธรรมชาติ” ขอให้รับประทานเนื้อสัตว์ปีก และไข่ที่สุกแล้ว หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีอาการป่วย หรือตายโดยเฉพาะเด็กๆ ห้ามนำซากสัตว์ปีกที่ป่วยตายไปรับประทาน หรือให้สัตว์อื่นกิน ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
หากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีกให้สวมหน้ากากอนามัย และสวมถุงมือทุกครั้ง ล้างมือบ่อยๆ และทุกครั้งหลังสัมผัสสัตว์ปีก และสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ปีกด้วยสบู่ และน้ำ หากมีอาการเป็นไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเคยสัมผัสสัตว์ปีก หรือสัมผัสผู้ป่วยปอดบวม ให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติการการสัมผัสสัตว์ปีกให้แพทย์ทราบด้วย ซึ่งจะเป็นผลดีในการดูแลรักษา
หากผู้เดินทางมีอาการป่วยคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่คือ มีไข้สูง ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเคยมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก ขอให้รีบไปพบแพทย์ แจ้งประวัติการเดินทางกลับจากต่างประเทศ และการสัมผัสสัตว์ปีกให้แพทย์ทราบ เพื่อให้การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง
เมื่อเวลา 14.00 น. วันนี้ (15 เม.ย.) นพ.อภิชาติ รอดสม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า จากกรณีมีรายงานพบประชาชนติดเชื้อ และเสียชีวิตจากไวรัสไข้หวัดนก 2 สายพันธุ์ ใน 3 ประเทศในเอเชีย คือ พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เอช7 เอ็น9 (H7N9) รายใหม่ที่ประเทศจีน เพิ่มขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาอีก 3 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 21 ราย เสียชีวิตแล้ว 6 ราย ใน 4 มณฑลคือ เซี่ยงไฮ้ อานฮุย เจ้อเจียง และเจียงจู
และพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช5 เอ็น1 (H5N1) ที่เวียดนาม 1 ราย เป็นเด็กอายุ 4 ขวบ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และที่กัมพูชา มีรายงานในปี 2556 นี้ มีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5 เอ็น1 จำนวน 8 ราย ในจำนวนนี้ เป็นเด็ก 6 ราย นั้น แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่เคยพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช7 เอ็น9 รวมทั้งไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช5 เอ็น1 ในประเทศ ติดต่อกันมาเกือบ 7 ปี และไม่พบการติดเชื้อในสัตว์ปีกตั้งแต่ พ.ศ.2551 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุขมีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และให้คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคไข้หวัดนกทั้ง 2 สายพันธุ์ รวมทั้งเน้นมาตรการเฝ้าระวังให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุม เพื่อให้สามารถตรวจจับการระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ซึ่งมีวันหยุดยาวติดต่อกัน 5 วัน ประชาชนอาจจะมีการเดินทางไปเที่ยวที่ต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ
นพ.อภิชาติ กล่าวต่อไปว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ได้สั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่งให้เฝ้าระวังผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวมรุนแรงทุกรายเพื่อซักประวัติคัดแยกว่าติดเชื้อไข้หวัดนกหรือไม่ รวมทั้งขอความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนเพื่อเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก
โดยหากพบสัตว์ปีกทั้งที่เลี้ยงตามบ้าน และสัตว์ปีกที่อยู่ในป่า และตามทุ่ง ป่วยหรือตายผิดปกติขอให้แจ้งปศุสัตว์ เพื่อเก็บซากสัตว์ปีกไปตรวจหาเชื้อ และหากพบผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ และมีอาการปอดบวม ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
นพ.อภิชาติ กล่าวถึงการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนก “กินร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกรวมทั้งนกตามธรรมชาติ” ขอให้รับประทานเนื้อสัตว์ปีก และไข่ที่สุกแล้ว หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีอาการป่วย หรือตายโดยเฉพาะเด็กๆ ห้ามนำซากสัตว์ปีกที่ป่วยตายไปรับประทาน หรือให้สัตว์อื่นกิน ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
หากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีกให้สวมหน้ากากอนามัย และสวมถุงมือทุกครั้ง ล้างมือบ่อยๆ และทุกครั้งหลังสัมผัสสัตว์ปีก และสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ปีกด้วยสบู่ และน้ำ หากมีอาการเป็นไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเคยสัมผัสสัตว์ปีก หรือสัมผัสผู้ป่วยปอดบวม ให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติการการสัมผัสสัตว์ปีกให้แพทย์ทราบด้วย ซึ่งจะเป็นผลดีในการดูแลรักษา
หากผู้เดินทางมีอาการป่วยคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่คือ มีไข้สูง ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเคยมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก ขอให้รีบไปพบแพทย์ แจ้งประวัติการเดินทางกลับจากต่างประเทศ และการสัมผัสสัตว์ปีกให้แพทย์ทราบ เพื่อให้การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง