ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาของประเทศไทย ผู้แทนองค์การอนามัยโลก ผู้แทนจากกรมปศุสัตว์ ผู้แทนจากกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไข้หวัดนกสายพันธุ์เอช 7 เอ็น 9 (H7N9) ในประเทศไทย หลังพบรายงานการระบาดในประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา โดย ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญไวรัส ประธานการที่ประชุม เปิดเผยว่า ขณะนี้มีรายงานพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศจีน และประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ในส่วนของประเทศไทยแม้จะยังไม่พบว่ามีผู้ป่วยแต่ก็อาจมีโอกาสได้รับเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ได้
ล่าสุด องค์การอนามัยโลกได้ประเมินในภาพรวมว่า ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการติดต่อจากคนสู่คนได้อย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มมีกรณีสงสัยว่า อาจมีผู้ป่วยในครอบครัวเดียวกัน ทำให้สันนิษฐานว่า อาจมีการติดต่อจากคนสู่คนในวงจำกัด ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิด ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้างมีโอกาสเป็นไปได้น้อย จึงไม่แนะนำให้ดำเนินการตรวจคัดกรองพิเศษที่ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ รวมทั้งไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศแต่อย่างใด ซึ่งประเทศไทยยังคงยึดตามคำแนะนำดังกล่าวไปก่อน
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาภายในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้สั่งการให้เฝ้าระวังโรคในสัตว์ปีกและนกธรรมชาติ รวมทั้งดูแลการนำเข้าสัตว์ปีกในบริเวณชายแดน เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน และเพิ่มความไวในการตรวจจับการระบาด โดยเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ให้อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ดำเนินการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้หวัดนกให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง เผยแพร่ข้อมูลความรู้และแนวทางปฏิบัติในการคัดกรองและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก ให้แพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
พร้อมกันนี้ ยังได้เฝ้าระวังใน 4 กลุ่มเป้าหมายเดิม คือ ผู้ที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรง ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและมีอาการปอดบวม ผู้ป่วยปอดบวมที่พบเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในชุมชน และบุคลากรทางการแพทย์ที่ป่วยเป็นปอดบวม ขณะเดียวกัน ต้องฝึกอบรมแพทย์และสนับสนุนการฝึกอบรมแพทย์ในระดับจังหวัดให้ทราบแนวทางการเฝ้าระวัง ส่วนการรักษาได้สำรองยาต้านไวรัสเอาไว้เพียงพอแล้ว
ล่าสุด องค์การอนามัยโลกได้ประเมินในภาพรวมว่า ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการติดต่อจากคนสู่คนได้อย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มมีกรณีสงสัยว่า อาจมีผู้ป่วยในครอบครัวเดียวกัน ทำให้สันนิษฐานว่า อาจมีการติดต่อจากคนสู่คนในวงจำกัด ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิด ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้างมีโอกาสเป็นไปได้น้อย จึงไม่แนะนำให้ดำเนินการตรวจคัดกรองพิเศษที่ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ รวมทั้งไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศแต่อย่างใด ซึ่งประเทศไทยยังคงยึดตามคำแนะนำดังกล่าวไปก่อน
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาภายในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้สั่งการให้เฝ้าระวังโรคในสัตว์ปีกและนกธรรมชาติ รวมทั้งดูแลการนำเข้าสัตว์ปีกในบริเวณชายแดน เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน และเพิ่มความไวในการตรวจจับการระบาด โดยเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ให้อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ดำเนินการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้หวัดนกให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง เผยแพร่ข้อมูลความรู้และแนวทางปฏิบัติในการคัดกรองและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก ให้แพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
พร้อมกันนี้ ยังได้เฝ้าระวังใน 4 กลุ่มเป้าหมายเดิม คือ ผู้ที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรง ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและมีอาการปอดบวม ผู้ป่วยปอดบวมที่พบเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในชุมชน และบุคลากรทางการแพทย์ที่ป่วยเป็นปอดบวม ขณะเดียวกัน ต้องฝึกอบรมแพทย์และสนับสนุนการฝึกอบรมแพทย์ในระดับจังหวัดให้ทราบแนวทางการเฝ้าระวัง ส่วนการรักษาได้สำรองยาต้านไวรัสเอาไว้เพียงพอแล้ว