โล่ง! นกอพยพจากจีนบินกลับถิ่นช่วงนี้ โอกาสพาเชื้อไข้หวัดนกเข้าไทยจึงต่ำ “หมอประเสริฐ” ย้ำไม่ควรประมาท เตือน ปชช.ล้างมือฟอกสบู่และใช้เจลล้างมือ ห่วงสายพันธุ์ H7N9 มากกว่า เหตุสัตว์ติดเชื้อจะไม่ป่วย ข้อมูลที่มียังน้อย เชื่อโอเซลทามิเวียร์ช่วยสกัดได้ เร่งให้สำรอง
วันนี้ (18 เม.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือมาตรการเตรียมความพร้อมรองรับการระบาด กรณีพบการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 สำหรับประเทศไทย ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการทบทวนสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนก เพื่อหาแนวทางเตรียมความพร้อมในการรับมือ โดยล่าสุดพบว่าภายในครึ่งเดือนมีผู้ป่วยไข้หวัดนกจากสายพันธุ์ H7N9 แล้ว 84 ราย และยังมีการกระจายโรคจากเซี่ยงไฮ้ไปไกลถึงปักกิ่ง ซึ่งมีระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร จึงต้องมีการประเมินเพราะอาจมีความเสี่ยงที่โรคนี้จะแพร่เข้าสู่ไทยได้ แต่โชคดีที่ช่วงนี้เป็นช่วงที่นกอพยพบินกลับ ความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคลงมาจึงน้อย หากเป็นเดือน พ.ย.ซึ่งเป็นช่วงนกอพยพเข้ามาสู่ไทยจะมีความเสี่ยงมากกว่า อย่างไรก็ตามยังคงเป็นสถานการณ์ที่ไม่ควรประมาท
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มีการประสานความร่วมมือไปยังกรมปศุสัตว์และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตวืป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้ช่วยกันเตรียมความพร้อมรับมือในหลายด้านแล้ว อาทิ นักระบาดวิทยา ห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) อุปกรณ์ทางการแพทย์ การสื่อสารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ รวมถึงกำชับให้เจ้าหน้าที่ด่านบริเวณชายแดนมีความเข้มงวดเรื่องการนำเข้าสัตว์ปีกด้วย จึงขอให้ประชาชนอย่าวิตกกังวลจนเกินไป แต่ต้องมีความระมัดระวัง เช่น การล้างมือฟอกสบู่เป็นประจำ และมาตรการหนึ่งที่เริ่มละเลยคือการใช้เจลล้างมือ โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ต้องกลับมาให้ความสำคัญอีกครั้ง
“ขณะนี้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกทั้งสายพันธุ์ H7N9 และ H5N1 แต่ผมค่อนข้างเป็นห่วงสายพันธุ์ H7N9 มากกว่า เพราะสายพันธุ์นี้จะไม่ทำให้สัตว์เจ็บป่วย จึงทำให้สังเกตได้ยาก ไม่เหมือน H5N1 ที่เมื่อสัตว์เป็นโรคตาย 1 ตัว ก็มีโอกาสตายหมดทั้งเล้าได้ ที่สำคัญตอนนี้เรายังมีข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์นี้น้อยมาก เพราะเพิ่งเกิดการระบาด อย่างกรณีผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 แต่ประวัติไม่เคยสัมผัสสัตว์ปีกมาก่อนก็ยังหาคำตอบไม่ได้ แต่ไม่ใช่การติดจากคนสู่คนแน่นอน คงต้องรอให้มีข้อมูลมากกว่านี้ก่อน” ที่ปรึกษา คร.กล่าว
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวด้วยว่า อีกเรื่องที่น่าห่วงคือนกพิราบจากจีน เพราะเป็นนกที่สามารถบินได้ไกลมาก ซึ่งขณะนี้สมาคมนักแข่งขันนกพิราบปักกิ่งก็ประกาศห้ามแข่งขันแล้ว ตรงนี้เราก็ต้องช่วยกันระวัง สำหรับยาต้านไวรัสอย่างโอเซลทามิเวียร์น่าจะยังใช้รักษาโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ได้อยู่ เพราะเชื้อยังไม่ดื้อยา ก็คงต้องลองไปก่อนเพราะตอนนี้ข้อมูลที่มียังน้อยมาก ขณะที่การสำรองยาดังกล่าวต้องเร่งดำเนินการพอสมควร และปฏิบัติตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ
วันนี้ (18 เม.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือมาตรการเตรียมความพร้อมรองรับการระบาด กรณีพบการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 สำหรับประเทศไทย ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการทบทวนสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนก เพื่อหาแนวทางเตรียมความพร้อมในการรับมือ โดยล่าสุดพบว่าภายในครึ่งเดือนมีผู้ป่วยไข้หวัดนกจากสายพันธุ์ H7N9 แล้ว 84 ราย และยังมีการกระจายโรคจากเซี่ยงไฮ้ไปไกลถึงปักกิ่ง ซึ่งมีระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร จึงต้องมีการประเมินเพราะอาจมีความเสี่ยงที่โรคนี้จะแพร่เข้าสู่ไทยได้ แต่โชคดีที่ช่วงนี้เป็นช่วงที่นกอพยพบินกลับ ความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคลงมาจึงน้อย หากเป็นเดือน พ.ย.ซึ่งเป็นช่วงนกอพยพเข้ามาสู่ไทยจะมีความเสี่ยงมากกว่า อย่างไรก็ตามยังคงเป็นสถานการณ์ที่ไม่ควรประมาท
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มีการประสานความร่วมมือไปยังกรมปศุสัตว์และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตวืป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้ช่วยกันเตรียมความพร้อมรับมือในหลายด้านแล้ว อาทิ นักระบาดวิทยา ห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) อุปกรณ์ทางการแพทย์ การสื่อสารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ รวมถึงกำชับให้เจ้าหน้าที่ด่านบริเวณชายแดนมีความเข้มงวดเรื่องการนำเข้าสัตว์ปีกด้วย จึงขอให้ประชาชนอย่าวิตกกังวลจนเกินไป แต่ต้องมีความระมัดระวัง เช่น การล้างมือฟอกสบู่เป็นประจำ และมาตรการหนึ่งที่เริ่มละเลยคือการใช้เจลล้างมือ โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ต้องกลับมาให้ความสำคัญอีกครั้ง
“ขณะนี้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกทั้งสายพันธุ์ H7N9 และ H5N1 แต่ผมค่อนข้างเป็นห่วงสายพันธุ์ H7N9 มากกว่า เพราะสายพันธุ์นี้จะไม่ทำให้สัตว์เจ็บป่วย จึงทำให้สังเกตได้ยาก ไม่เหมือน H5N1 ที่เมื่อสัตว์เป็นโรคตาย 1 ตัว ก็มีโอกาสตายหมดทั้งเล้าได้ ที่สำคัญตอนนี้เรายังมีข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์นี้น้อยมาก เพราะเพิ่งเกิดการระบาด อย่างกรณีผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 แต่ประวัติไม่เคยสัมผัสสัตว์ปีกมาก่อนก็ยังหาคำตอบไม่ได้ แต่ไม่ใช่การติดจากคนสู่คนแน่นอน คงต้องรอให้มีข้อมูลมากกว่านี้ก่อน” ที่ปรึกษา คร.กล่าว
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวด้วยว่า อีกเรื่องที่น่าห่วงคือนกพิราบจากจีน เพราะเป็นนกที่สามารถบินได้ไกลมาก ซึ่งขณะนี้สมาคมนักแข่งขันนกพิราบปักกิ่งก็ประกาศห้ามแข่งขันแล้ว ตรงนี้เราก็ต้องช่วยกันระวัง สำหรับยาต้านไวรัสอย่างโอเซลทามิเวียร์น่าจะยังใช้รักษาโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ได้อยู่ เพราะเชื้อยังไม่ดื้อยา ก็คงต้องลองไปก่อนเพราะตอนนี้ข้อมูลที่มียังน้อยมาก ขณะที่การสำรองยาดังกล่าวต้องเร่งดำเนินการพอสมควร และปฏิบัติตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ