ในโอกาสวันปีใหม่ไทยผมขอคุยเรื่องเบาๆ บ้าง เป็นเรื่องตลกจากหนังตะลุงคณะหนึ่งในภาคใต้ ชื่อหนังสุทิพย์ ลูกทุ่งบันเทิง ผมเองไม่ได้มีโอกาสฟังโดยตรง แต่ได้ฟังเขาเล่าต่อๆ กันมาพร้อมกับได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจึงขอนำมาเล่าต่อ
แม้จะเป็นเรื่องตลก แต่สาระสำคัญได้ทิ่มแทงใจดำสังคมไทยได้ตรงเป๊ะเลยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ที่ผู้คนต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบแข่งกับเวลา แต่กลับใช้เวลาที่เหลือไปกับเรื่องไร้สาระในสังคมสื่อออนไลน์รวมทั้งสื่อกระแสหลักด้วย จนไม่ได้ครุ่นคิดอะไรทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตัวเองหรือเรื่องของสาธารณะ เรามาเริ่มที่เรื่องตลกกันเลยครับ
เรื่องมีอยู่ว่า เท่ง กับ หนูนุ้ย สองคนเป็นชาวบ้านที่ไม่เคยผ่านระบบโรงเรียน คิดเลขไม่ค่อยจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อตัวเลขมีขนาดใหญ่ๆ เกินสิบเกินร้อย แต่โดยนิสัยแล้ว เท่งเป็นคนช่างคิด ช่างสงสัย บางครั้งออกจะเป็นคนที่ “หัวหมอ” ในขณะที่หนูนุ้ยเป็นคนที่ชอบเชื่ออะไรง่ายๆ และรักสงบ
วันหนึ่งทั้งสองได้เดินไปพบเงินจำนวน 1,500 บาทโดยบังเอิญ เป็นแบงก์ 100 จำนวน 15 ใบ จึงตกลงกันว่าจะต้องแบ่งกันคนละครึ่ง (ไม่เหมือนกับแท็กซี่พลเมืองดีบางคน) แต่ด้วยความที่คิดเลขจำนวนมากๆ ไม่เป็น ทั้งสองจึงใช้วิธีแจงนับทีละใบ โดยนำแบงก์ใบแรกให้เท่งก่อน ใบที่สองให้หนูนุ้ย สลับกันต่อไปเรื่อยๆ แต่ในที่สุดเมื่อแต่ละคนได้รับเท่ากันแล้วก็มีแบงก์เหลืออยู่ในมือ 1 ใบ จึงไม่รู้จะทำอย่างไรเพื่อจะให้ทั้งสองได้เงินเท่ากัน
พวกเขาจึงเริ่มต้นใหม่โดยเอาใบแรกให้หนูนุ้ย ใบที่สองให้เท่ง แต่ในที่สุดก็คงเหลือเศษอีก 1 ใบเช่นเดิม พวกเขาคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรดี
โดยบังเอิญไปรษณีย์นายหนึ่งผ่านมาพอดี ทั้งสองจึงได้นำความไปปรึกษา ไปรษณีย์จึงใช้วิธีแจงนับทีละใบเช่นเดิมว่า “ใบนี้ของเท่ง ใบนี้ของหนูนุ้ย ใบนี้ของไปรษณีย์” วนอยู่เช่นนี้จนแบงก์หมดมืออย่างลงตัวไม่มีเศษเหลือ
ในที่สุดหนูนุ้ยจึงได้กล่าวขึ้นด้วยความภูมิใจว่า “คบกับคนมีความรู้ก็ดีอย่างนี้แหละเท่ง” แต่เมื่อไปรษณีย์จากไปแล้ว เท่งจึงได้เอ่ยขึ้นมาว่า “ไอ้นุ้ย กูคิดๆ ดูแล้ว กูรู้สึกว่ามันแปลกๆ อยู่นะ” หนูนุ้ยจึงรีบตัดบทขึ้นมาทันทีว่า
“เฮ้ย! มึงอย่าคิดมาก มันลงตัวแล้ว คิดมากแล้ว เดี๋ยวมันจะยุ่ง”
สังคมไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตสำคัญหลายเรื่อง ทั้งระดับประเทศ เช่น เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทที่ต้องใช้หนี้นานถึง 50 ปี การศึกษาที่สอนให้คนคิดไม่เป็น (แต่แอบลอกผลงานคนอื่น) ด้านคุณภาพชีวิตที่ความมีอายุยืนของคนไทยได้ถูกหลายประเทศแซงหน้าไปแล้ว วิกฤตพลังงาน และวิกฤต 3 จังหวัดภาคใต้ รวมทั้งวิกฤตระดับโลก เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน กระทั่งไวรัสที่มนุษย์ไม่มีปัญญาจะฆ่ามันได้
แต่คนไทยเรากลับถูกนักการเมืองและนายทุนระดับโลกมอมเมาให้คิดแต่เรื่อง งวดนี้หวยจะออกอะไร ละครโทรทัศน์จะจบอย่างไร และทีมใดจะได้เป็นแชมป์ฟุตบอลพรีเมียร์ เป็นต้น
น่าเสียดายที่ประเด็นเปิดการอภิปรายกรณีเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทของผู้นำฝ่ายค้าน (คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ที่ว่า “เรื่องนี้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งของไทยอยู่ที่อันดับ 40 กว่า แต่การศึกษา และสาธารณสุขอยู่ที่ 70 กว่า และ 90 กว่า” (ผมขออภัยที่จำอันดับไม่ได้แม่น) ซึ่งผมเข้าใจว่า คุณอภิสิทธิ์คงหมายถึงว่า ในเมื่ออันดับในการแข่งขันของไทยในด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุขยังต่ำกว่าด้านการขนส่ง แต่ทำไมรัฐบาลนี้จึงต้องไปเน้นหนักที่การขนส่งด้วยเล่า
คุณอภิสิทธิ์ ได้ตั้งคำถามเชิงยุทธศาสตร์ได้ดีมาก แต่คงเพราะเกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าคัดค้านโครงการรถไฟความเร็วสูง (ที่เข้าใจเอาเองว่าประชาชนอยากได้) การอภิปรายในเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศว่า เราควรจะนำพาคนไทยในปัจจุบันและอนาคตไปในทิศใดระหว่าง 2-3 ทิศทางดังกล่าว การให้เหตุผลในสภาต่อเรื่องนี้จึงได้หายไป แต่กลับไปเน้นกันที่เรื่องเทคนิคว่า สายใดควรมาก่อน มาหลัง งบประมาณทำไมจึงสูงกว่าที่หน่วยงานของรัฐเคยศึกษาไว้ เป็นต้น
ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ “ถ้าไม่คิดกันให้มากๆ และให้ประชาชนมีส่วนร่วม (ตามรัฐธรรมนูญ) แล้ว จะต้องยุ่งแน่นอน” เหมือนที่คุณเท่งในหนังตลุงได้เตือนไว้
กลับมาชวนคิดในอีก 2-3 เรื่องที่อยู่ในความสนใจของผมครับ
เรื่องแรก ในฐานะกรรมการองค์การอิสระด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (มาตรา 61) ภาคประชาชน ต้องขอทวงถามเรื่ององค์การอิสระฯ ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการร่วมของทั้งสองสภาแล้ว แต่รัฐบาลนี้ไม่ยอมนำเสนอต่อ สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนที่จะคุ้มครองผลประโยชน์ของตนเองจึงถูกดอง ถูกละเมิด ระบอบประชาธิปไตยที่ให้มีการเลือกตั้ง 4 ปีครั้งจะมีความหมายอะไร ในเมื่อสิทธิของผู้บริโภคต้องถูกละเมิดเกือบทุกครั้งที่ควักเงินซื้อสินค้า บัตรเติมเงิน และการบริการของโรงพยาบาล เป็นต้น
เรื่องที่สอง การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน หลังจากรัฐบาลได้สร้างละครเรื่องไฟฟ้าจะดับอย่างไม่เป็นจริงในช่วง 5-11 เมษายน เพราะไปใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติมากเกินไป เพื่อสร้างความกลัวให้กับประชาชน แล้วให้ประชาชนสนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเราไม่มีถ่านหินเป็นของตนเอง แต่มีพลังงานหมุนเวียนทั้งแสงแดดและชีวมวลจำนวนมหาศาล อดีตรัฐมนตรีพลังงานในรัฐบาลนี้ (นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ก็ยืนยัน แต่รัฐบาลนี้ก็ไม่สนใจ กลับสร้างละครฉากใหม่ โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่น เข้าชื่อกันให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช บ้านเกิดของผมเอง
คำถามที่ชวนคิดก็คือ ผู้นำเหล่านี้ได้เปิดเวทีประชาคมรับฟังความเห็นประชาชนตามรัฐธรรมนูญแล้วหรือ แม้แต่ตนเองได้รับข้อมูลครบถ้วนทุกมิติแล้วหรือ
ประเทศจีนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการใช้ถ่านหินและปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ สภาประชาชนได้ผ่านกฎหมายพลังงานหมุนเวียน โดยคำนึงถึงการพัฒนา ความมั่นคงด้านพลังงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม ผลปรากฏว่าประเทศจีนได้หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลกด้วย ทั้งผลิตแผงโซลาร์เซล และกังหันลม
นี่เป็นแนวโน้มในระดับโลก ที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นไปได้จริงๆ ว่าสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้มากมาย รวมทั้งการสร้างงานจำนวนมหาศาล ผมนำภาพมาให้ดูด้วยครับ
เรื่องสุดท้ายครับ เรื่องราคาน้ำมัน ทั้งๆ ที่รายได้ต่อหัวของคนไทยต่ำกว่าคนอเมริกันเยอะ แต่ทำไมราคาน้ำมันหน้าปั๊มของคนไทยจึงสูงกว่าในอเมริกา เรื่องนี้สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของคนไทยที่ต้องปากกัดตีนถีบ หาเช้ากินค่ำ ที่น่าแปลกคือ ในปี 2555 ประเทศไทยส่งออกน้ำมันดิบไปอเมริกาถึง 21,000 ล้านบาท คิดเป็น 43% ของน้ำมันดิบที่ส่งออก (ข้อมูลจาก http://www2.ops3.moc.go.th)
คนของบริษัทน้ำมันออกมาอธิบายว่า ราคาน้ำมันจะถูกหรือจะแพงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลที่ออกมาในรูปของภาษี การจัดการกองทุน เป็นต้น ซึ่งก็เป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ได้ตอบคำถามในรายละเอียด
เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ในปี 2555 ประเทศไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปคิดเป็นเงินถึง 3.98 แสนล้านบาท (อันดับ 4 รองจากรถยนต์ คอมพิวเตอร์และอัญมณี –ยางพาราอันดับ 5 ข้าวไม่อยู่ในตาราง แหล่งข้อมูลเดิม) คำถามก็คือว่า
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายให้คนไทยที่หน้าโรงกลั่น (ไม่รวมภาษี ไม่รวมค่าการตลาดและกองทุน) กับราคาส่งออกเป็นราคาเดียวกันไหม หรืออย่างไหนมากกว่ากัน
ผมใช้เวลาประมาณครึ่งวัน ทั้งค้นหาข้อมูลของทางราชการและนั่งคำนวณพบว่า ในเดือนมกราคม 2556 ประเทศไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ยลิตรละ 21.70 บาท แต่ราคาหน้าโรงกลั่นเฉลี่ยทุกชนิดอยู่ที่ลิตรละ 22.67 บาท
สรุปราคาที่ขายหน้าโรงกลั่นในประเทศแพงกว่าราคาส่งออกลิตรละ 0.97 บาท ยังไม่รวมค่าการตลาดซึ่งกระทรวงพลังงานสรุปว่าประมาณ 1.28 บาทต่อลิตร (แต่เจ้าของปั๊มบอกว่าประมาณ 0.75 บาท) ยังไม่รวมค่ากองทุนน้ำมันที่กลายเป็นเครื่องของนักการเมืองเรียบร้อยไปแล้ว
คำถามคือ เป็นเพราะอะไร
คำตอบเบื้องต้นก็คือ การค้าน้ำมันภายในประเทศเป็นระบบผูกขาด ใครจะตั้งราคาเท่าใดก็ได้ ไม่มีองค์การคุ้มครองผู้บริโภค ผู้บริโภคเหมือนหมูในอวย แต่เมื่อนำน้ำมันไปขายในต่างประเทศจำเป็นต้องมีการแข่งขัน ดังนั้นราคาจึงต้องลดลง ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ไทยส่งน้ำมันสำเร็จรูปไปสิงคโปร์ 32% มาเลเซีย 17% ลาว 9% กัมพูชา 7%
ถ้าใครคิดจะนำน้ำมันเข้ามาขายในประเทศก็อย่าได้คิด เพราะท่านจะถูกกีดกันด้วยคุณภาพน้ำมัน (ยูโร 4) ที่ประเทศเรามีมาตรฐานสูงเกินความจำเป็น ทุกเรื่องเขารวบหัวรวบหางไว้หมดแล้วครับ
หรือว่าจำต้องเชื่อหนูนุ้ยที่ว่า เฮ้ย! มึงอย่าคิดมาก มันลงตัวแล้ว คิดมากแล้ว เดี๋ยวมันจะยุ่ง
แม้จะเป็นเรื่องตลก แต่สาระสำคัญได้ทิ่มแทงใจดำสังคมไทยได้ตรงเป๊ะเลยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์ที่ผู้คนต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบแข่งกับเวลา แต่กลับใช้เวลาที่เหลือไปกับเรื่องไร้สาระในสังคมสื่อออนไลน์รวมทั้งสื่อกระแสหลักด้วย จนไม่ได้ครุ่นคิดอะไรทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตัวเองหรือเรื่องของสาธารณะ เรามาเริ่มที่เรื่องตลกกันเลยครับ
เรื่องมีอยู่ว่า เท่ง กับ หนูนุ้ย สองคนเป็นชาวบ้านที่ไม่เคยผ่านระบบโรงเรียน คิดเลขไม่ค่อยจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อตัวเลขมีขนาดใหญ่ๆ เกินสิบเกินร้อย แต่โดยนิสัยแล้ว เท่งเป็นคนช่างคิด ช่างสงสัย บางครั้งออกจะเป็นคนที่ “หัวหมอ” ในขณะที่หนูนุ้ยเป็นคนที่ชอบเชื่ออะไรง่ายๆ และรักสงบ
วันหนึ่งทั้งสองได้เดินไปพบเงินจำนวน 1,500 บาทโดยบังเอิญ เป็นแบงก์ 100 จำนวน 15 ใบ จึงตกลงกันว่าจะต้องแบ่งกันคนละครึ่ง (ไม่เหมือนกับแท็กซี่พลเมืองดีบางคน) แต่ด้วยความที่คิดเลขจำนวนมากๆ ไม่เป็น ทั้งสองจึงใช้วิธีแจงนับทีละใบ โดยนำแบงก์ใบแรกให้เท่งก่อน ใบที่สองให้หนูนุ้ย สลับกันต่อไปเรื่อยๆ แต่ในที่สุดเมื่อแต่ละคนได้รับเท่ากันแล้วก็มีแบงก์เหลืออยู่ในมือ 1 ใบ จึงไม่รู้จะทำอย่างไรเพื่อจะให้ทั้งสองได้เงินเท่ากัน
พวกเขาจึงเริ่มต้นใหม่โดยเอาใบแรกให้หนูนุ้ย ใบที่สองให้เท่ง แต่ในที่สุดก็คงเหลือเศษอีก 1 ใบเช่นเดิม พวกเขาคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรดี
โดยบังเอิญไปรษณีย์นายหนึ่งผ่านมาพอดี ทั้งสองจึงได้นำความไปปรึกษา ไปรษณีย์จึงใช้วิธีแจงนับทีละใบเช่นเดิมว่า “ใบนี้ของเท่ง ใบนี้ของหนูนุ้ย ใบนี้ของไปรษณีย์” วนอยู่เช่นนี้จนแบงก์หมดมืออย่างลงตัวไม่มีเศษเหลือ
ในที่สุดหนูนุ้ยจึงได้กล่าวขึ้นด้วยความภูมิใจว่า “คบกับคนมีความรู้ก็ดีอย่างนี้แหละเท่ง” แต่เมื่อไปรษณีย์จากไปแล้ว เท่งจึงได้เอ่ยขึ้นมาว่า “ไอ้นุ้ย กูคิดๆ ดูแล้ว กูรู้สึกว่ามันแปลกๆ อยู่นะ” หนูนุ้ยจึงรีบตัดบทขึ้นมาทันทีว่า
“เฮ้ย! มึงอย่าคิดมาก มันลงตัวแล้ว คิดมากแล้ว เดี๋ยวมันจะยุ่ง”
สังคมไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตสำคัญหลายเรื่อง ทั้งระดับประเทศ เช่น เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทที่ต้องใช้หนี้นานถึง 50 ปี การศึกษาที่สอนให้คนคิดไม่เป็น (แต่แอบลอกผลงานคนอื่น) ด้านคุณภาพชีวิตที่ความมีอายุยืนของคนไทยได้ถูกหลายประเทศแซงหน้าไปแล้ว วิกฤตพลังงาน และวิกฤต 3 จังหวัดภาคใต้ รวมทั้งวิกฤตระดับโลก เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน กระทั่งไวรัสที่มนุษย์ไม่มีปัญญาจะฆ่ามันได้
แต่คนไทยเรากลับถูกนักการเมืองและนายทุนระดับโลกมอมเมาให้คิดแต่เรื่อง งวดนี้หวยจะออกอะไร ละครโทรทัศน์จะจบอย่างไร และทีมใดจะได้เป็นแชมป์ฟุตบอลพรีเมียร์ เป็นต้น
น่าเสียดายที่ประเด็นเปิดการอภิปรายกรณีเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทของผู้นำฝ่ายค้าน (คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ที่ว่า “เรื่องนี้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งของไทยอยู่ที่อันดับ 40 กว่า แต่การศึกษา และสาธารณสุขอยู่ที่ 70 กว่า และ 90 กว่า” (ผมขออภัยที่จำอันดับไม่ได้แม่น) ซึ่งผมเข้าใจว่า คุณอภิสิทธิ์คงหมายถึงว่า ในเมื่ออันดับในการแข่งขันของไทยในด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุขยังต่ำกว่าด้านการขนส่ง แต่ทำไมรัฐบาลนี้จึงต้องไปเน้นหนักที่การขนส่งด้วยเล่า
คุณอภิสิทธิ์ ได้ตั้งคำถามเชิงยุทธศาสตร์ได้ดีมาก แต่คงเพราะเกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าคัดค้านโครงการรถไฟความเร็วสูง (ที่เข้าใจเอาเองว่าประชาชนอยากได้) การอภิปรายในเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศว่า เราควรจะนำพาคนไทยในปัจจุบันและอนาคตไปในทิศใดระหว่าง 2-3 ทิศทางดังกล่าว การให้เหตุผลในสภาต่อเรื่องนี้จึงได้หายไป แต่กลับไปเน้นกันที่เรื่องเทคนิคว่า สายใดควรมาก่อน มาหลัง งบประมาณทำไมจึงสูงกว่าที่หน่วยงานของรัฐเคยศึกษาไว้ เป็นต้น
ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ “ถ้าไม่คิดกันให้มากๆ และให้ประชาชนมีส่วนร่วม (ตามรัฐธรรมนูญ) แล้ว จะต้องยุ่งแน่นอน” เหมือนที่คุณเท่งในหนังตลุงได้เตือนไว้
กลับมาชวนคิดในอีก 2-3 เรื่องที่อยู่ในความสนใจของผมครับ
เรื่องแรก ในฐานะกรรมการองค์การอิสระด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (มาตรา 61) ภาคประชาชน ต้องขอทวงถามเรื่ององค์การอิสระฯ ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการร่วมของทั้งสองสภาแล้ว แต่รัฐบาลนี้ไม่ยอมนำเสนอต่อ สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนที่จะคุ้มครองผลประโยชน์ของตนเองจึงถูกดอง ถูกละเมิด ระบอบประชาธิปไตยที่ให้มีการเลือกตั้ง 4 ปีครั้งจะมีความหมายอะไร ในเมื่อสิทธิของผู้บริโภคต้องถูกละเมิดเกือบทุกครั้งที่ควักเงินซื้อสินค้า บัตรเติมเงิน และการบริการของโรงพยาบาล เป็นต้น
เรื่องที่สอง การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน หลังจากรัฐบาลได้สร้างละครเรื่องไฟฟ้าจะดับอย่างไม่เป็นจริงในช่วง 5-11 เมษายน เพราะไปใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติมากเกินไป เพื่อสร้างความกลัวให้กับประชาชน แล้วให้ประชาชนสนับสนุนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเราไม่มีถ่านหินเป็นของตนเอง แต่มีพลังงานหมุนเวียนทั้งแสงแดดและชีวมวลจำนวนมหาศาล อดีตรัฐมนตรีพลังงานในรัฐบาลนี้ (นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล) ก็ยืนยัน แต่รัฐบาลนี้ก็ไม่สนใจ กลับสร้างละครฉากใหม่ โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่น เข้าชื่อกันให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช บ้านเกิดของผมเอง
คำถามที่ชวนคิดก็คือ ผู้นำเหล่านี้ได้เปิดเวทีประชาคมรับฟังความเห็นประชาชนตามรัฐธรรมนูญแล้วหรือ แม้แต่ตนเองได้รับข้อมูลครบถ้วนทุกมิติแล้วหรือ
ประเทศจีนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการใช้ถ่านหินและปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ สภาประชาชนได้ผ่านกฎหมายพลังงานหมุนเวียน โดยคำนึงถึงการพัฒนา ความมั่นคงด้านพลังงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม ผลปรากฏว่าประเทศจีนได้หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลกด้วย ทั้งผลิตแผงโซลาร์เซล และกังหันลม
นี่เป็นแนวโน้มในระดับโลก ที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นไปได้จริงๆ ว่าสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้มากมาย รวมทั้งการสร้างงานจำนวนมหาศาล ผมนำภาพมาให้ดูด้วยครับ
เรื่องสุดท้ายครับ เรื่องราคาน้ำมัน ทั้งๆ ที่รายได้ต่อหัวของคนไทยต่ำกว่าคนอเมริกันเยอะ แต่ทำไมราคาน้ำมันหน้าปั๊มของคนไทยจึงสูงกว่าในอเมริกา เรื่องนี้สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของคนไทยที่ต้องปากกัดตีนถีบ หาเช้ากินค่ำ ที่น่าแปลกคือ ในปี 2555 ประเทศไทยส่งออกน้ำมันดิบไปอเมริกาถึง 21,000 ล้านบาท คิดเป็น 43% ของน้ำมันดิบที่ส่งออก (ข้อมูลจาก http://www2.ops3.moc.go.th)
คนของบริษัทน้ำมันออกมาอธิบายว่า ราคาน้ำมันจะถูกหรือจะแพงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลที่ออกมาในรูปของภาษี การจัดการกองทุน เป็นต้น ซึ่งก็เป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ได้ตอบคำถามในรายละเอียด
เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ในปี 2555 ประเทศไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปคิดเป็นเงินถึง 3.98 แสนล้านบาท (อันดับ 4 รองจากรถยนต์ คอมพิวเตอร์และอัญมณี –ยางพาราอันดับ 5 ข้าวไม่อยู่ในตาราง แหล่งข้อมูลเดิม) คำถามก็คือว่า
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายให้คนไทยที่หน้าโรงกลั่น (ไม่รวมภาษี ไม่รวมค่าการตลาดและกองทุน) กับราคาส่งออกเป็นราคาเดียวกันไหม หรืออย่างไหนมากกว่ากัน
ผมใช้เวลาประมาณครึ่งวัน ทั้งค้นหาข้อมูลของทางราชการและนั่งคำนวณพบว่า ในเดือนมกราคม 2556 ประเทศไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ยลิตรละ 21.70 บาท แต่ราคาหน้าโรงกลั่นเฉลี่ยทุกชนิดอยู่ที่ลิตรละ 22.67 บาท
สรุปราคาที่ขายหน้าโรงกลั่นในประเทศแพงกว่าราคาส่งออกลิตรละ 0.97 บาท ยังไม่รวมค่าการตลาดซึ่งกระทรวงพลังงานสรุปว่าประมาณ 1.28 บาทต่อลิตร (แต่เจ้าของปั๊มบอกว่าประมาณ 0.75 บาท) ยังไม่รวมค่ากองทุนน้ำมันที่กลายเป็นเครื่องของนักการเมืองเรียบร้อยไปแล้ว
คำถามคือ เป็นเพราะอะไร
คำตอบเบื้องต้นก็คือ การค้าน้ำมันภายในประเทศเป็นระบบผูกขาด ใครจะตั้งราคาเท่าใดก็ได้ ไม่มีองค์การคุ้มครองผู้บริโภค ผู้บริโภคเหมือนหมูในอวย แต่เมื่อนำน้ำมันไปขายในต่างประเทศจำเป็นต้องมีการแข่งขัน ดังนั้นราคาจึงต้องลดลง ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ไทยส่งน้ำมันสำเร็จรูปไปสิงคโปร์ 32% มาเลเซีย 17% ลาว 9% กัมพูชา 7%
ถ้าใครคิดจะนำน้ำมันเข้ามาขายในประเทศก็อย่าได้คิด เพราะท่านจะถูกกีดกันด้วยคุณภาพน้ำมัน (ยูโร 4) ที่ประเทศเรามีมาตรฐานสูงเกินความจำเป็น ทุกเรื่องเขารวบหัวรวบหางไว้หมดแล้วครับ
หรือว่าจำต้องเชื่อหนูนุ้ยที่ว่า เฮ้ย! มึงอย่าคิดมาก มันลงตัวแล้ว คิดมากแล้ว เดี๋ยวมันจะยุ่ง