ASTVผู้จัดการรายวัน – BTSC ตั้งเป้ายอดโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสงวดปีนี้โตขึ้น 8-10%จากปีก่อนที่มียอดโดยสาร 197 ล้านเที่ยวคน เหตุคนหันไปอยู่คอนโดฯตามเส้นทางรถไฟฟ้ามากขึ้นดันยอดโดยสารช่วงวันหยุดเพิ่มสูงขึ้นใกล้เคียงวันธรรมดา เล็งซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 7 ขบวน มูลค่า 2พันล้านบาทในปี 2560
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(BTSC) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส และเป็นบริษัทย่อยของบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) เปิดเผยว่า บริษัทฯตั้งเป้าหมายยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ในงวดปี 2556/57 (เม.ย.56-มี.ค.57) เติบโต 8-10% จากงวดเดียวกันปีก่อนที่มีจำนวน 197 ล้านเที่ยวคน โดยเมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้ทุบสถิติจำนวนผู้โดยสารสูงสุดอยู่ที่ 7.25 แสนเที่ยวคน/วัน จากเดิมที่เคยทำยอดสูงสุดอยู่ที่ 7.15 แสนเที่ยวคน/วันในวันที่ 14 ก.พ. 56
สาเหตุที่ยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจากปัญหาจราจรบนท้องถนนติดขัดมาก และประชาชนเข้าอยู่คอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้ามากขึ้น ทำให้ยอดผู้โดยสารในวันเสาร์และอาทิตย์ก็ปรับตัวสูงขึ้นมากอยู่ที่ระดับ 4-5 แสนเที่ยวคน/วัน จากเดิมอยู่ระดับ 3 แสนเที่ยวคน/วัน ทำให้ใกล้เคียงกับยอดผู้โดยสารในวันธรรมดา
นอกจากนี้ บริษัทได้ติดตั้งตู้รถไฟฟ้าเป็นแบบ 4 ตู้ต่อขบวนครบทั้ง 35 ขบวน ภายในสิ้นเม.ย.นี้ เพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารเส้นทางสุขุมวิทโดยเฉพาะช่วงเร่งด่วน ขณะที่เส้นทางสีลม จะมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 5 ขบวนๆละ 4ตู้จากเดิม 12 ขบวนภายในสิ้นปีนี้ เพื่อรองรับการเปิดสถานีวงเวียนใหญ่-บางหว้าในปลายปี 2556 ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯได้ทดลองเดินรถจากสถานีวงเวียนใหญ่-ตลาดพลู
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนจะซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 7 ขบวนๆละ 4ตู้ในปี 2562 คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2 พันล้านบาท เพื่อรองรับการเดินรถไฟฟ้าส่วนขยายช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะดำเนินการซื้อในปี 2560
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อไปว่า จากการโรดโชว์เสนอขายกองทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท ( BTSGIF) ให้แก่นักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศนั้น พบว่านักลงทุนสถาบันต่างประเทศให้ความสนใจจองซื้อเกิน 25 เท่า มากกว่าที่คาดไว้มาก เพราะสถาบันต่างชาติให้ความเชื่อมั่นนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ขณะที่นักลงทุนรายย่อยจองซื้อเกินเกือบ 2 เท่า มีผลทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นรวดเร็วเมื่อวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติได้ซื้อฟอร์เวิร์ดเงินบาทเพื่อนำไปซื้อกองทุน BTSGIF จำนวน 2.68 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณว่า 40% ของวงเงินกองทุน BTSGIF รวม 6.25 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม บริษัทจะได้รับเงินจากการขายกองทุน BTSGIF ในวันที่ 17 เม.ย.นี้ และคาดว่าจะเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ได้ในวันที่ 19 เม.ย. นี้
ทั้งนี้ บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการขายกองทุนดังกล่าว นำมาซื้อหน่วยลงทุน 1 ใน 3 ของ BTSGIF เป็นเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท และกันเงิน 1 หมื่นล้านบาทรองรับการไถ่ถอนหุ้นกู้BTSC ส่วนเงินที่เหลือกว่า 3 หมื่นล้านบาท จะนำไปใช้ในการลงทุนเดินรถเส้นทางใหม่ต่อไป ซึ่ง BTSC จะเข้าร่วมประมูล ที่คาดว่าจะมีการประมูลเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบ่งริ่ง-สมุทรปราการ ก่อนเส้นอื่น
และเส้นทางนี้จะมีการต่อขยายไปถึงบางปูในระยะต่อไป นอกจากนี้ปีนี้จะมีการประมูลสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย -มีนบุรี และสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งเป็นเส้นทางที่บริษัทเข้าร่วมประมูลเดินรถต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า BTSC จะขายรายได้ล่วงหน้าในการเดินรถให้กับกองทุน BTSGIF แต่บริษัทฯก็มีค่าจ้างเดินรถให้กับกทม. จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ สะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ , อ่อนนุช-แบริ่ง , วงเวียนใหญ่-บางหว้า โดยรวมแล้วบริษัทจะมีรายได้เข้ามาปีละ 1.8 พันล้านบาท โดยคาดว่าจะเข้ามาเป็นรายได้เต็มปีในงวดปี 2557/58
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(BTSC) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส และเป็นบริษัทย่อยของบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) เปิดเผยว่า บริษัทฯตั้งเป้าหมายยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ในงวดปี 2556/57 (เม.ย.56-มี.ค.57) เติบโต 8-10% จากงวดเดียวกันปีก่อนที่มีจำนวน 197 ล้านเที่ยวคน โดยเมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้ทุบสถิติจำนวนผู้โดยสารสูงสุดอยู่ที่ 7.25 แสนเที่ยวคน/วัน จากเดิมที่เคยทำยอดสูงสุดอยู่ที่ 7.15 แสนเที่ยวคน/วันในวันที่ 14 ก.พ. 56
สาเหตุที่ยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจากปัญหาจราจรบนท้องถนนติดขัดมาก และประชาชนเข้าอยู่คอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้ามากขึ้น ทำให้ยอดผู้โดยสารในวันเสาร์และอาทิตย์ก็ปรับตัวสูงขึ้นมากอยู่ที่ระดับ 4-5 แสนเที่ยวคน/วัน จากเดิมอยู่ระดับ 3 แสนเที่ยวคน/วัน ทำให้ใกล้เคียงกับยอดผู้โดยสารในวันธรรมดา
นอกจากนี้ บริษัทได้ติดตั้งตู้รถไฟฟ้าเป็นแบบ 4 ตู้ต่อขบวนครบทั้ง 35 ขบวน ภายในสิ้นเม.ย.นี้ เพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารเส้นทางสุขุมวิทโดยเฉพาะช่วงเร่งด่วน ขณะที่เส้นทางสีลม จะมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 5 ขบวนๆละ 4ตู้จากเดิม 12 ขบวนภายในสิ้นปีนี้ เพื่อรองรับการเปิดสถานีวงเวียนใหญ่-บางหว้าในปลายปี 2556 ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯได้ทดลองเดินรถจากสถานีวงเวียนใหญ่-ตลาดพลู
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนจะซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 7 ขบวนๆละ 4ตู้ในปี 2562 คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2 พันล้านบาท เพื่อรองรับการเดินรถไฟฟ้าส่วนขยายช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะดำเนินการซื้อในปี 2560
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อไปว่า จากการโรดโชว์เสนอขายกองทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท ( BTSGIF) ให้แก่นักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศนั้น พบว่านักลงทุนสถาบันต่างประเทศให้ความสนใจจองซื้อเกิน 25 เท่า มากกว่าที่คาดไว้มาก เพราะสถาบันต่างชาติให้ความเชื่อมั่นนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ขณะที่นักลงทุนรายย่อยจองซื้อเกินเกือบ 2 เท่า มีผลทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นรวดเร็วเมื่อวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติได้ซื้อฟอร์เวิร์ดเงินบาทเพื่อนำไปซื้อกองทุน BTSGIF จำนวน 2.68 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณว่า 40% ของวงเงินกองทุน BTSGIF รวม 6.25 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม บริษัทจะได้รับเงินจากการขายกองทุน BTSGIF ในวันที่ 17 เม.ย.นี้ และคาดว่าจะเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ได้ในวันที่ 19 เม.ย. นี้
ทั้งนี้ บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการขายกองทุนดังกล่าว นำมาซื้อหน่วยลงทุน 1 ใน 3 ของ BTSGIF เป็นเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท และกันเงิน 1 หมื่นล้านบาทรองรับการไถ่ถอนหุ้นกู้BTSC ส่วนเงินที่เหลือกว่า 3 หมื่นล้านบาท จะนำไปใช้ในการลงทุนเดินรถเส้นทางใหม่ต่อไป ซึ่ง BTSC จะเข้าร่วมประมูล ที่คาดว่าจะมีการประมูลเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบ่งริ่ง-สมุทรปราการ ก่อนเส้นอื่น
และเส้นทางนี้จะมีการต่อขยายไปถึงบางปูในระยะต่อไป นอกจากนี้ปีนี้จะมีการประมูลสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย -มีนบุรี และสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งเป็นเส้นทางที่บริษัทเข้าร่วมประมูลเดินรถต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า BTSC จะขายรายได้ล่วงหน้าในการเดินรถให้กับกองทุน BTSGIF แต่บริษัทฯก็มีค่าจ้างเดินรถให้กับกทม. จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ สะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ , อ่อนนุช-แบริ่ง , วงเวียนใหญ่-บางหว้า โดยรวมแล้วบริษัทจะมีรายได้เข้ามาปีละ 1.8 พันล้านบาท โดยคาดว่าจะเข้ามาเป็นรายได้เต็มปีในงวดปี 2557/58