วานนี้(9 เม.ย.56) มีรายงานว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ว่าจ้างให้ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเว๊อปเมนต์ หรืออิตัลไทย รื้อถอนตอม่อโฮปเวลล์ เพื่อก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายสีแดง มูลค่า 200 ล้านบาทนั้น ต่อมาอิตาเลียนไทย ได้ให้ข้อมูลผ่านสื่อหลายครั้งว่า การรื้อถอนมีปัญหาความยุ่งยาก อาจรื้อถอนไม่ทันตามเวลาที่กำหนด และค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มจะมากกว่า 200 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม โดยข้อข้อเท็จจริง คือ บริษัทอิตาเลียนไทยไม่ได้เป็นผู้รื้อถอนตอม่อโฮปเวลล์เอง แต่ได้นำตอม่อขายให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมวิหารแดง ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของอิตาเลียนไทย เพื่อนำเสาคอนกรีตทั้งหมดไปบดย่อยเพื่อขายเป็นเศษหินคลุกจำหน่ายต่อให้อุตสาหกรรมก่อสร้าง
ขณะเดียวกัน ยังมีเหล็กที่อยู่ภายในเสา ประเมินได้ประมาณ 11,000 ตัน ซึ่งจะถูกนำส่งต่อไปหลอมที่โรงงาน 3เอส หรือรู้จักกันในนามโรงงานท้ายบ้าน ซึ่งเป็นโรงหลอมขนาดใหญ่ในเครือของอิตาเลียนไทยเช่นกัน โดยมูลค่าซากตอม่อที่อิตาเลียนไทยนำไปขายต่อ มูลค่าประเมินได้ประมาณ 300 ล้านบาทการดำเนินการรื้อถอนอิตัลไทย ได้ประกาศให้บริษัทในวงการรื้อถอน ยื่นซองประมาณราคา ภายในวันที่ 11 มีนาคม 2556 โดยมีผู้รับเหมาเข้าร่วมยื่นซองประกวดราคาทั้งสิ้น 25 บริษัท ทั้งหมดเป็นบริษัทขนาดกลางถึงใหญ่ โดยกำหนด ประกาศผลในวันที่ 20 มีนาคม แต่จนถึงขณะนี้อิตัลไทย ยังไม่ได้ประกาศให้บริษัทใดได้รับการประมูลได้ขยายเวลาออกไปโดยไม่มีกำหนด
แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เปิดเผยว่า อิตาเลียนไทย ได้เรียกผู้เข้ายื่นซองร่วมประกวดราคาเป็นเพียงเพื่อต้องการสร้างภาพให้ปรากฎต่อสาธารณะว่ามีการดำเนินการอย่างถูกต้องขั้นตอนและมีมาตรฐาน แต่อีกด้านหนึ่งบริษัทได้ติดต่อผู้รับเหมารายเล็กประมาณ 5-6 ราย ซึ่งเป็นผู้รับเหมาที่ทำงานรื้อตึกแถวและไม่มีประสบการณ์ในการทำงานใหญ่มาดำเนินการ เนื่องจากมีต้นทุนในการจัดการถูกว่าบริษัทขนาดกลางและใหญ่ที่ได้ยื่นประมูลงาน โดยได้กดราคาการตัดคอนกรีตด้วยเครื่องจักรพิเศษให้เหลือเพียงไม่กี่ล้านบาท ซึ่งผู้รับเหมารายย่อยจะใช้เครื่องจักรไทยประดิษฐ์และเครื่องจักรราคาถูกจากประเทศจีน ซึ่งขัดแย้งกับเงื่อนไขการประมูลที่บริษัทได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ ทำให้บริษัทที่ปรึกษาด้านการรื้อถอน ที่อิตัลไทยว่าจ้างมาเขียนแบบร่างข้อกำหนดได้ถอนตัวจากการดำเนินโครงการ
ปัญหาและข้อเท็จจริงจึงสรุปได้ว่า การที่อิตาเลียนไทยไม่สามารถทำการรื้อถอนเสาตอม่อโฮปเวลล์ได้ตามกำหนด เนื่องมาจากอิตาเลียนไทยต้องการจ้างเหมาตัด โดยให้ผู้รับเหมารายย่อยที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานขนาดใหญ่และใช้เครื่องจักรที่ไม่มีคุณภาพมาทำงานแทน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการลดค่าตัดลงไปให้ได้กึ่งหนึ่ง และต่อมาก็เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ยินยอมให้ผู้รับเหมารายย่อยนำซากตอม่อไปใช้ประโยชน์ทางการค้า เพราะต้องการสร้างผลกำไรจากเสาตอม่อเอง โดยการนำขายให้บริษัทในเครือทั้งหมด ผู้รับเหมารายย่อยชุดดังกล่าวจึงค่อยๆ ถอนตัวออกไปจนหมด ทำให้อิตาเลียนไทยไม่มีผู้เข้ามาดำเนินการให้ จึงได้ขยายเวลาออกไปตลอดเวลา โดยไม่มีกำหนดเวลาที่ชัดเจน ทั้งๆ ที่เป็นงานรื้อถอนขนาดใหญ่ระดับประเทศ
และในข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งนั้น ปัจจุบันบริเวณพื้นที่ก่อสร้างที่มีเสาตอม่อตั้งอยู่ ระยะทางรวมกันทั้งสิ้น 26 กม. ก็ยังไม่ปรากฏสัญญาณบ่งชี้ของบริษัทอิตาเลียนไทยเข้าไปดำเนินการใดๆทั้งที่ได้ทำสัญญากับ รฟท ไว้ตั้งแต่วันที่ 31/1/56 แล้ว แต่ยังคงไม่มีป้ายแจ้ง ไม่มีการเตรียมสร้างไซต์งาน ไม่มีประกาศเตือน แม้กระทั่งขั้นตอนการขอใบอนุญาตรื้อถอนก็ยังไม่เข้าไปดำเนินการแต่ประการใด ทั้งที่การรื้อถอนดังกล่าว มีความเกี่ยวพันกับตารางการเดินรถของรถไฟและการใช้ถนนโลคอลโรด ที่มีรถวิ่งผ่านเส้นทางดังกล่าว นับแสนคันต่อวัน ซึ่งจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเมื่อเริ่มทำการรื้อถอน กลับไม่มีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนใดๆ ต่อสาธารณะ
นอกจากบริษัทอิตาเลียนไทยจะได้กำไรจากการขายซากตอม่อและเศษเหล็กให้บริษัทในเครือเป็นตัวเลขมากกว่า 300 ล้านบาทแล้ว อิตาเลียนไทยยังพยายามปกปิดข้อมูลการรื้อถอนที่บีบบังคับต่อผู้รับเหมารายย่อยที่ไม่มีประสบการณ์ โดยการให้ข่าวและตั้งงบประมาณลอยเรื่องการรื้อถอนเพื่อเรียกเก็บงินจาก รฟท มูลค่ามากกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งหากอิตาเลียนไทยทำการดังกล่าวสำเร็จ จะได้รับโชคสองชั้นจากการรถไฟมากกว่า 500 ล้านบาทในทันที ขณะนี้เรื่องดังกล่าวทาง รฟท ได้ข้อมูลทั้งหมดของข้อเท็จจริงเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการหารือเป็นการเร่งด่วนในเรื่องนี้ ซึ่งอาจจะมีผลทำให้ รฟท อาจระงับการจ่ายค่ารื้อถอนอันเป็นเท็จให้แก่บริษัทอิตาเลียนไทย
ขณะเดียวกัน ยังมีเหล็กที่อยู่ภายในเสา ประเมินได้ประมาณ 11,000 ตัน ซึ่งจะถูกนำส่งต่อไปหลอมที่โรงงาน 3เอส หรือรู้จักกันในนามโรงงานท้ายบ้าน ซึ่งเป็นโรงหลอมขนาดใหญ่ในเครือของอิตาเลียนไทยเช่นกัน โดยมูลค่าซากตอม่อที่อิตาเลียนไทยนำไปขายต่อ มูลค่าประเมินได้ประมาณ 300 ล้านบาทการดำเนินการรื้อถอนอิตัลไทย ได้ประกาศให้บริษัทในวงการรื้อถอน ยื่นซองประมาณราคา ภายในวันที่ 11 มีนาคม 2556 โดยมีผู้รับเหมาเข้าร่วมยื่นซองประกวดราคาทั้งสิ้น 25 บริษัท ทั้งหมดเป็นบริษัทขนาดกลางถึงใหญ่ โดยกำหนด ประกาศผลในวันที่ 20 มีนาคม แต่จนถึงขณะนี้อิตัลไทย ยังไม่ได้ประกาศให้บริษัทใดได้รับการประมูลได้ขยายเวลาออกไปโดยไม่มีกำหนด
แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เปิดเผยว่า อิตาเลียนไทย ได้เรียกผู้เข้ายื่นซองร่วมประกวดราคาเป็นเพียงเพื่อต้องการสร้างภาพให้ปรากฎต่อสาธารณะว่ามีการดำเนินการอย่างถูกต้องขั้นตอนและมีมาตรฐาน แต่อีกด้านหนึ่งบริษัทได้ติดต่อผู้รับเหมารายเล็กประมาณ 5-6 ราย ซึ่งเป็นผู้รับเหมาที่ทำงานรื้อตึกแถวและไม่มีประสบการณ์ในการทำงานใหญ่มาดำเนินการ เนื่องจากมีต้นทุนในการจัดการถูกว่าบริษัทขนาดกลางและใหญ่ที่ได้ยื่นประมูลงาน โดยได้กดราคาการตัดคอนกรีตด้วยเครื่องจักรพิเศษให้เหลือเพียงไม่กี่ล้านบาท ซึ่งผู้รับเหมารายย่อยจะใช้เครื่องจักรไทยประดิษฐ์และเครื่องจักรราคาถูกจากประเทศจีน ซึ่งขัดแย้งกับเงื่อนไขการประมูลที่บริษัทได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ ทำให้บริษัทที่ปรึกษาด้านการรื้อถอน ที่อิตัลไทยว่าจ้างมาเขียนแบบร่างข้อกำหนดได้ถอนตัวจากการดำเนินโครงการ
ปัญหาและข้อเท็จจริงจึงสรุปได้ว่า การที่อิตาเลียนไทยไม่สามารถทำการรื้อถอนเสาตอม่อโฮปเวลล์ได้ตามกำหนด เนื่องมาจากอิตาเลียนไทยต้องการจ้างเหมาตัด โดยให้ผู้รับเหมารายย่อยที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานขนาดใหญ่และใช้เครื่องจักรที่ไม่มีคุณภาพมาทำงานแทน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการลดค่าตัดลงไปให้ได้กึ่งหนึ่ง และต่อมาก็เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไม่ยินยอมให้ผู้รับเหมารายย่อยนำซากตอม่อไปใช้ประโยชน์ทางการค้า เพราะต้องการสร้างผลกำไรจากเสาตอม่อเอง โดยการนำขายให้บริษัทในเครือทั้งหมด ผู้รับเหมารายย่อยชุดดังกล่าวจึงค่อยๆ ถอนตัวออกไปจนหมด ทำให้อิตาเลียนไทยไม่มีผู้เข้ามาดำเนินการให้ จึงได้ขยายเวลาออกไปตลอดเวลา โดยไม่มีกำหนดเวลาที่ชัดเจน ทั้งๆ ที่เป็นงานรื้อถอนขนาดใหญ่ระดับประเทศ
และในข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งนั้น ปัจจุบันบริเวณพื้นที่ก่อสร้างที่มีเสาตอม่อตั้งอยู่ ระยะทางรวมกันทั้งสิ้น 26 กม. ก็ยังไม่ปรากฏสัญญาณบ่งชี้ของบริษัทอิตาเลียนไทยเข้าไปดำเนินการใดๆทั้งที่ได้ทำสัญญากับ รฟท ไว้ตั้งแต่วันที่ 31/1/56 แล้ว แต่ยังคงไม่มีป้ายแจ้ง ไม่มีการเตรียมสร้างไซต์งาน ไม่มีประกาศเตือน แม้กระทั่งขั้นตอนการขอใบอนุญาตรื้อถอนก็ยังไม่เข้าไปดำเนินการแต่ประการใด ทั้งที่การรื้อถอนดังกล่าว มีความเกี่ยวพันกับตารางการเดินรถของรถไฟและการใช้ถนนโลคอลโรด ที่มีรถวิ่งผ่านเส้นทางดังกล่าว นับแสนคันต่อวัน ซึ่งจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเมื่อเริ่มทำการรื้อถอน กลับไม่มีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนใดๆ ต่อสาธารณะ
นอกจากบริษัทอิตาเลียนไทยจะได้กำไรจากการขายซากตอม่อและเศษเหล็กให้บริษัทในเครือเป็นตัวเลขมากกว่า 300 ล้านบาทแล้ว อิตาเลียนไทยยังพยายามปกปิดข้อมูลการรื้อถอนที่บีบบังคับต่อผู้รับเหมารายย่อยที่ไม่มีประสบการณ์ โดยการให้ข่าวและตั้งงบประมาณลอยเรื่องการรื้อถอนเพื่อเรียกเก็บงินจาก รฟท มูลค่ามากกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งหากอิตาเลียนไทยทำการดังกล่าวสำเร็จ จะได้รับโชคสองชั้นจากการรถไฟมากกว่า 500 ล้านบาทในทันที ขณะนี้เรื่องดังกล่าวทาง รฟท ได้ข้อมูลทั้งหมดของข้อเท็จจริงเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการหารือเป็นการเร่งด่วนในเรื่องนี้ ซึ่งอาจจะมีผลทำให้ รฟท อาจระงับการจ่ายค่ารื้อถอนอันเป็นเท็จให้แก่บริษัทอิตาเลียนไทย