วานนี้(8 เม.ย.56) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หรือ คสรท. เปิดเผยว่า แม้รัฐบาลจะประกาศ ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน แต่ขณะนี้ก็ยังพบว่ามีเอกชนกว่า 200 แห่ง ยังไม่ดำเนินการปรับขึ้นค่าจ้างให้กับผู้ใช้แรงงาน โดยบางแห่งมีการใช้เทคนิคหลบเลี่ยงที่จะไม่จ่าย จึงอยากเรียกร้องให้เอกชนปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้ประกาศไว้
ทั้งนี้ มองว่าด้วยสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ค่าจ้าง 300 บาท ที่ผู้ใช้แรงงานได้รับนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพในปัจจุบัน โดยผลการศึกษาล่าสุด ชี้ชัดว่า ค่าจ้างที่เหมาะสมคือ 421 บาทต่อวัน ซึ่งจากเดิม 348 บาทต่อวัน
อีกด้านนางสุพัชรี มีครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กล่าวว่าสำนักงานประกันสังคมซึ่งรับผิดชอบผู้ประกันจำนวน 10 ล้านคน มีแนวทางและเห็นด้วยกับแนวทางบูรณาการมะเร็งมาตรฐานเดียว 3 กองทุน ตามนโยบายรัฐบาล เพราะค่าใช้จ่ายรักษามะเร็งของสปส.เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยแนะนำให้ใช้จ่ายชดเชยอัตราเดียวกัน และมีข้อกำหนดใช้ยานอกบัญชียาหลักให้เหมือนกันทั้ง 3 กองทุน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษามากขึ้น
ทางด้านนพ.สนธยา พรึงลำภู กรรมการแพทย์ประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่าเนื่องจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) พบว่าผู้ป่วยมะเร็งสิทธิประกันสังคมมีความชุกประมาณ 300 คนต่อประชากรแสนราย โดยพบว่าค่าใช้จ่ายการรักษาโรคมะเร็งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีราคาเรียกเก็บจากโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นจาก 1,200 ล้านบาท ในปี 2551 เป็น 1,700 ในปี 2554 เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 50,000 บาท ใกล้เคียงกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งอยู่ที่ 52,500 บาท ดังนั้นในเมื่อบูรณาการเรื่องมะเร็ง สปส.เห็นด้วยที่จะใช้แนวทางการการรักษาหรือโปรโตคอลเดียวกับสปสช. ซึ่งโปรโตคอลที่สปสช.เพิ่มเติม สปส.จะเสนอให้นำมาใช้กับผู้ประกันตนด้วย และต่อไปกรณีการจ่ายชดเชยอาจจะปรับเป็นแนวทางเดียวกัน สำหรับยานอกบัญชียาหลักนั้น สิทธิประกันสังคมอนุมัติให้ใช้ได้ตามข้อบ่งชี้ แต่ยังเป็นภาระหลักของโรงพยาบาล จึงเสนอว่าควรมีการกำหนดข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เรื่องยานอกบัญชียาหลักให้ชัดเจน และให้ใช้เหมือนกันทุกกองทุน รวมทั้งการวินิจฉัยยาราคาแพง ซึ่งต้องมีการกำหนดข้อบ่งชี้ให้ชัดเจน รวมถึงการต่อรองราคายา
ทางด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งปัจจุบันพบว่า จะมีผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-7 ต่อปี ผู้ป่วยมะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่ ในปี 55 ประมาณ 2.5 ล้านคน อัตราการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นทุกปี แสดงได้ว่าผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น หรือมีประชาชนป่วยเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น สำหรับมะเร็งที่พบมากที่สุดในทุกสิทธิได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่
แต่สิทธิการรักษาของแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกัน ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการไม่เหมือนกัน ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลจึงมีแนวทางบูรณาการมะเร็งให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกกองทุนสุขภาพ ซึ่งผลจากการประชุมนั้น ในส่วนของสปสช.และสปส. ได้เห็นชอบในหลักการที่จะบูรณาการระบบบริการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งใน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้ 2.การส่งเสริมป้องกัน 3.การคัดกรองโรคมะเร็ง 4.การจ่ายชดเชยค่าบริการ 5.การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 6.การทำฐานข้อมูลผู้ป่วยมะเร็ง อย่างไรก็ตามจะมีการจัดประชุมเพื่อทำข้อสรุปให้ชัดเจนและนำเสนอให้รัฐบาลรับทราบต่อไป.
ทั้งนี้ มองว่าด้วยสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ค่าจ้าง 300 บาท ที่ผู้ใช้แรงงานได้รับนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพในปัจจุบัน โดยผลการศึกษาล่าสุด ชี้ชัดว่า ค่าจ้างที่เหมาะสมคือ 421 บาทต่อวัน ซึ่งจากเดิม 348 บาทต่อวัน
อีกด้านนางสุพัชรี มีครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กล่าวว่าสำนักงานประกันสังคมซึ่งรับผิดชอบผู้ประกันจำนวน 10 ล้านคน มีแนวทางและเห็นด้วยกับแนวทางบูรณาการมะเร็งมาตรฐานเดียว 3 กองทุน ตามนโยบายรัฐบาล เพราะค่าใช้จ่ายรักษามะเร็งของสปส.เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยแนะนำให้ใช้จ่ายชดเชยอัตราเดียวกัน และมีข้อกำหนดใช้ยานอกบัญชียาหลักให้เหมือนกันทั้ง 3 กองทุน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการรักษามากขึ้น
ทางด้านนพ.สนธยา พรึงลำภู กรรมการแพทย์ประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่าเนื่องจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) พบว่าผู้ป่วยมะเร็งสิทธิประกันสังคมมีความชุกประมาณ 300 คนต่อประชากรแสนราย โดยพบว่าค่าใช้จ่ายการรักษาโรคมะเร็งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีราคาเรียกเก็บจากโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นจาก 1,200 ล้านบาท ในปี 2551 เป็น 1,700 ในปี 2554 เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 50,000 บาท ใกล้เคียงกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งอยู่ที่ 52,500 บาท ดังนั้นในเมื่อบูรณาการเรื่องมะเร็ง สปส.เห็นด้วยที่จะใช้แนวทางการการรักษาหรือโปรโตคอลเดียวกับสปสช. ซึ่งโปรโตคอลที่สปสช.เพิ่มเติม สปส.จะเสนอให้นำมาใช้กับผู้ประกันตนด้วย และต่อไปกรณีการจ่ายชดเชยอาจจะปรับเป็นแนวทางเดียวกัน สำหรับยานอกบัญชียาหลักนั้น สิทธิประกันสังคมอนุมัติให้ใช้ได้ตามข้อบ่งชี้ แต่ยังเป็นภาระหลักของโรงพยาบาล จึงเสนอว่าควรมีการกำหนดข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เรื่องยานอกบัญชียาหลักให้ชัดเจน และให้ใช้เหมือนกันทุกกองทุน รวมทั้งการวินิจฉัยยาราคาแพง ซึ่งต้องมีการกำหนดข้อบ่งชี้ให้ชัดเจน รวมถึงการต่อรองราคายา
ทางด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สถานการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งปัจจุบันพบว่า จะมีผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-7 ต่อปี ผู้ป่วยมะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่ ในปี 55 ประมาณ 2.5 ล้านคน อัตราการเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นทุกปี แสดงได้ว่าผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น หรือมีประชาชนป่วยเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น สำหรับมะเร็งที่พบมากที่สุดในทุกสิทธิได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่
แต่สิทธิการรักษาของแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกัน ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการไม่เหมือนกัน ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลจึงมีแนวทางบูรณาการมะเร็งให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกกองทุนสุขภาพ ซึ่งผลจากการประชุมนั้น ในส่วนของสปสช.และสปส. ได้เห็นชอบในหลักการที่จะบูรณาการระบบบริการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งใน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้ 2.การส่งเสริมป้องกัน 3.การคัดกรองโรคมะเร็ง 4.การจ่ายชดเชยค่าบริการ 5.การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง 6.การทำฐานข้อมูลผู้ป่วยมะเร็ง อย่างไรก็ตามจะมีการจัดประชุมเพื่อทำข้อสรุปให้ชัดเจนและนำเสนอให้รัฐบาลรับทราบต่อไป.