สปสช.เตรียมหารือ สปส.-กรมบัญชีกลาง ขยายสิทธิ 3 กองทุนสำหรับผู้ป่วยมะเร็งให้มีอัตราค่าเบิกจ่ายรักษาพยาบาลเท่ากัน ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เล็งเก็บเบี้ยประกันสุขภาพวัยชราจ้างคนดูแลผู้สุงอายุ
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ สปสช.จะเจรจากับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง กรณีขยายสิทธิบูรณาการ 3 กองทุนสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง หากให้ สปสช.เป็นเคลียริงเฮาส์ หรือหน่วยเบิกจ่ายกลาง ที่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาให้ผู้ป่วยก่อนและไปเรียกเก็บจากกองทุนเจ้าของสิทธิภายหลัง ตรงนี้ต้องหารือว่าจะทำอย่างไรให้ค่าเบิกจ่ายรักษาพยาบาลของทุกโรคมะเร็งเท่ากัน อย่างในเพศหญิงจะเน้นที่มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ส่วนในเพศชายจะเน้นไปที่มะเร็งปอด มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สปสช.ยังอยู่ระหว่างศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ รวมไปถึงการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงต้องเตรียมพร้อมในแง่การดูแลสุขภาพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาโมเดลจากประเทศพัฒนาต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจะเน้นการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ คือ ไม่เน้นสร้างบ้านพักผู้สูงอายุ เพื่อให้ไปอยู่ยามชราโดยปราศจากลูกหลานดูแล แต่จะเน้นพัฒนาชุมชน ให้คนในชุมชนช่วยดูแลกัน ซึ่งอาจเป็นอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ( อสม.) ร่วมกับท้องถิ่น หรืออาจเป็นเยาวชนลงพื้นที่ดูแล ซึ่งตรงนี้ต้องมีค่าใช้จ่ายให้คนดูแลในสัดส่วนที่เหมาะสม จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเรียกเก็บเบี้ยประกันสุขภาพวัยชรา โดยอาจเริ่มเก็บที่อายุ 40 ปี จนถึง 60 ปี และระบบจะดูแลคนกลุ่มนี้เอง ซึ่งรายละเอียดจะต้องหารือร่วมกับอีก 2 กองทุนเช่นกัน
“นโยบายบูรณาการนอกจากจะให้ประชาชนทั้ง 3 กองทุนเข้าถึงการบริการรักษาอย่างเท่าเทียมแล้ว ยังเป็นการสร้างระบบการเบิกจ่ายของ 3 กองทุนให้มาอยู่ในที่เดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มโรคราคาแพงและเข้าถึงยาก ทำให้ได้ฐานข้อมูลระดับประเทศ และรู้ว่าแต่ละกองทุนมีปัญหาอะไร เพื่อจะได้หาทางแก้ไข ที่สำคัญยังช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งการควบคุมทางการเงิน จะต้องไม่กระทบการเข้าถึงบริการ โดยหลักคือ การบูรณาการ 3 กองทุน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือมาตรฐานการรักษาโรคเอดส์และไต ที่ผ่านมา รวมทั้งการจะขยายไปยังกลุ่มโรคมะเร็งนั้น ทั้งหมดจะต้องคำนึงถึงประชาชนให้ได้รับการบริการอย่างเสมอภาคทุกคน” เลขาธิการ สปสช.กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ สปสช.จะเจรจากับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง กรณีขยายสิทธิบูรณาการ 3 กองทุนสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง หากให้ สปสช.เป็นเคลียริงเฮาส์ หรือหน่วยเบิกจ่ายกลาง ที่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาให้ผู้ป่วยก่อนและไปเรียกเก็บจากกองทุนเจ้าของสิทธิภายหลัง ตรงนี้ต้องหารือว่าจะทำอย่างไรให้ค่าเบิกจ่ายรักษาพยาบาลของทุกโรคมะเร็งเท่ากัน อย่างในเพศหญิงจะเน้นที่มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ส่วนในเพศชายจะเน้นไปที่มะเร็งปอด มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สปสช.ยังอยู่ระหว่างศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ รวมไปถึงการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงต้องเตรียมพร้อมในแง่การดูแลสุขภาพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาโมเดลจากประเทศพัฒนาต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจะเน้นการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ คือ ไม่เน้นสร้างบ้านพักผู้สูงอายุ เพื่อให้ไปอยู่ยามชราโดยปราศจากลูกหลานดูแล แต่จะเน้นพัฒนาชุมชน ให้คนในชุมชนช่วยดูแลกัน ซึ่งอาจเป็นอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ( อสม.) ร่วมกับท้องถิ่น หรืออาจเป็นเยาวชนลงพื้นที่ดูแล ซึ่งตรงนี้ต้องมีค่าใช้จ่ายให้คนดูแลในสัดส่วนที่เหมาะสม จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเรียกเก็บเบี้ยประกันสุขภาพวัยชรา โดยอาจเริ่มเก็บที่อายุ 40 ปี จนถึง 60 ปี และระบบจะดูแลคนกลุ่มนี้เอง ซึ่งรายละเอียดจะต้องหารือร่วมกับอีก 2 กองทุนเช่นกัน
“นโยบายบูรณาการนอกจากจะให้ประชาชนทั้ง 3 กองทุนเข้าถึงการบริการรักษาอย่างเท่าเทียมแล้ว ยังเป็นการสร้างระบบการเบิกจ่ายของ 3 กองทุนให้มาอยู่ในที่เดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มโรคราคาแพงและเข้าถึงยาก ทำให้ได้ฐานข้อมูลระดับประเทศ และรู้ว่าแต่ละกองทุนมีปัญหาอะไร เพื่อจะได้หาทางแก้ไข ที่สำคัญยังช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งการควบคุมทางการเงิน จะต้องไม่กระทบการเข้าถึงบริการ โดยหลักคือ การบูรณาการ 3 กองทุน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือมาตรฐานการรักษาโรคเอดส์และไต ที่ผ่านมา รวมทั้งการจะขยายไปยังกลุ่มโรคมะเร็งนั้น ทั้งหมดจะต้องคำนึงถึงประชาชนให้ได้รับการบริการอย่างเสมอภาคทุกคน” เลขาธิการ สปสช.กล่าว