สภาการพยาบาลเตรียมเพิ่มทักษะภาษา และผลิตบุคลากรเพิ่ม รองรับการเป็นเมดิคัล ฮับ หลังเปิดประชาคมอาเซียน ย้ำ คัดกรองความสามารถพยาบาลอาเซียนก่อนเข้าทำงานในไทย เผยกำลังพิจารณาในแง่กฎหมาย
ดร.กฤษฎา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเขตเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งในระบบของสาธารณสุขนั้น ได้มีการส่งเสริมในเรื่องของเมดิคัล ฮับ ที่จะใช้เป็นจุดขายในการเข้าสู่อาเซียน ซึ่งทางสภาการพยาบาลก็ได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะรองรับกับเมดิคัลฮับ โดยพยาบาลจะเน้นการเพิ่มทักษะในวิชาชีพ ซึ่งขณะนี้ในแต่ละโรงพยาบาลก็ได้มีการอบรมเฉพาะทางให้กับพยาบาล อาทิ เรื่องของหัวใจ และ ไอซียู เนื่องจากทั้ง 2 ด้านเป็นที่ต้องการของระบบสาธารณสุขทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ยังมีการสนับสนุนเรื่องของภาษาที่จะใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มประเทศอาเซียนด้วย โดยเฉพาะพยาบาลที่อยู่ในต่างจังหวัด และมีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ต้องมีการเรียนภาษาเฉพาะของแต่ละท้องถิ่นเพื่อรองรับผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้านที่จะเข้ามารับบริการในประเทศไทย
“นอกจากนี้ สภาการพยาบาลยังเตรียมส่งพยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมในด้านทักษะของวิชาชีพ และที่สำคัญ คือ การไปเรียนภาษาเพื่อที่จะได้นำทั้งภาษาและความรู้ที่ได้จากการไปศึกษาต่อต่างประเทศกลับมาสอนพยาบาลที่ไม่ได้ทุนไปศึกษาต่อ อย่างไรก็ตาม สภาการพยาบาลมีแนวคิดที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพยาบาลด้วย เนื่องจากความต้องการในวิชาชีพพยาบาลจะเพิ่มขึ้น เพราะประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุในอนาคต จึงต้องการพยาบาลในการดูแล แต่การเพิ่มพยาบาลจะต้องดูตามอัตราของอาจารย์แพทย์ด้วย เนื่องจากอาจารย์ 1 ท่านไม่สามารถสอนพยาบาลได้เกิน 8 คน เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพและได้พยาบาลที่มีคุณภาพ” อุปนายกสภาการพยาบาล กล่าว
ดร.กฤษฎา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สภาการพยาบาลจะดูเรื่องของกฎหมายด้วย เนื่องจากการเปิดเสรีเขตเศรษฐกิจอาเซียน พยาบาลเป็นวิชาชีพที่สามารถเข้าออกได้อย่างเสรี ดังนั้น หากพยาบาลจากกลุ่มอาเซียนจะเข้ามาทำงานในไทย จะต้องมีใบอนุญาตการทำงานและมีความเชี่ยวชาญในด้านที่จะเข้ามาทำงานอย่างแท้จริง โดยหากพยาบาลจากกลุ่มอาเซียนคนใดเข้ามาแล้วขาดคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่งก็จะไม่รับเข้ามาทำงานในไทย
“ขณะนี้ทางสภาการพยาบาล ถือว่าพยาบาลของไทยมีความพร้อมในการเป็นผู้นำในเรื่องของเมดิคัลฮับในการเข้าสู่ประชาคมเขตเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งไทยมีความพร้อมและถือว่าโดเด่นโดยเฉพาะเรื่องของการแพทย์ และในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนบางโรงพยาบาลเอง ก็มีการเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องของการให้ทุนพยาบาลไปศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมถึงการจ้างล่ามมาช่วยแปลด้วยซึ่งบางแห่งก็เริ่มใช้ล่ามแล้ว” ดร.กฤษฎา กล่าว
ดร.กฤษฎา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเขตเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ซึ่งในระบบของสาธารณสุขนั้น ได้มีการส่งเสริมในเรื่องของเมดิคัล ฮับ ที่จะใช้เป็นจุดขายในการเข้าสู่อาเซียน ซึ่งทางสภาการพยาบาลก็ได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะรองรับกับเมดิคัลฮับ โดยพยาบาลจะเน้นการเพิ่มทักษะในวิชาชีพ ซึ่งขณะนี้ในแต่ละโรงพยาบาลก็ได้มีการอบรมเฉพาะทางให้กับพยาบาล อาทิ เรื่องของหัวใจ และ ไอซียู เนื่องจากทั้ง 2 ด้านเป็นที่ต้องการของระบบสาธารณสุขทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ยังมีการสนับสนุนเรื่องของภาษาที่จะใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มประเทศอาเซียนด้วย โดยเฉพาะพยาบาลที่อยู่ในต่างจังหวัด และมีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่ต้องมีการเรียนภาษาเฉพาะของแต่ละท้องถิ่นเพื่อรองรับผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้านที่จะเข้ามารับบริการในประเทศไทย
“นอกจากนี้ สภาการพยาบาลยังเตรียมส่งพยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมในด้านทักษะของวิชาชีพ และที่สำคัญ คือ การไปเรียนภาษาเพื่อที่จะได้นำทั้งภาษาและความรู้ที่ได้จากการไปศึกษาต่อต่างประเทศกลับมาสอนพยาบาลที่ไม่ได้ทุนไปศึกษาต่อ อย่างไรก็ตาม สภาการพยาบาลมีแนวคิดที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพยาบาลด้วย เนื่องจากความต้องการในวิชาชีพพยาบาลจะเพิ่มขึ้น เพราะประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุในอนาคต จึงต้องการพยาบาลในการดูแล แต่การเพิ่มพยาบาลจะต้องดูตามอัตราของอาจารย์แพทย์ด้วย เนื่องจากอาจารย์ 1 ท่านไม่สามารถสอนพยาบาลได้เกิน 8 คน เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพและได้พยาบาลที่มีคุณภาพ” อุปนายกสภาการพยาบาล กล่าว
ดร.กฤษฎา กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ สภาการพยาบาลจะดูเรื่องของกฎหมายด้วย เนื่องจากการเปิดเสรีเขตเศรษฐกิจอาเซียน พยาบาลเป็นวิชาชีพที่สามารถเข้าออกได้อย่างเสรี ดังนั้น หากพยาบาลจากกลุ่มอาเซียนจะเข้ามาทำงานในไทย จะต้องมีใบอนุญาตการทำงานและมีความเชี่ยวชาญในด้านที่จะเข้ามาทำงานอย่างแท้จริง โดยหากพยาบาลจากกลุ่มอาเซียนคนใดเข้ามาแล้วขาดคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่งก็จะไม่รับเข้ามาทำงานในไทย
“ขณะนี้ทางสภาการพยาบาล ถือว่าพยาบาลของไทยมีความพร้อมในการเป็นผู้นำในเรื่องของเมดิคัลฮับในการเข้าสู่ประชาคมเขตเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งไทยมีความพร้อมและถือว่าโดเด่นโดยเฉพาะเรื่องของการแพทย์ และในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนบางโรงพยาบาลเอง ก็มีการเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องของการให้ทุนพยาบาลไปศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมถึงการจ้างล่ามมาช่วยแปลด้วยซึ่งบางแห่งก็เริ่มใช้ล่ามแล้ว” ดร.กฤษฎา กล่าว