“ประดิษฐ” เยี่ยมกรมแพทย์ วางแผนให้สร้างบทบาทบริหารแนวทางการใช้ยาการรักษา จัดการงบประเทศ เล็งยุบกองทุนย่อยใน สปสช. แก้ปัญหาการบริหารจัดการ
วันนี้ (16 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เดินทางตรวจเยี่ยมกรมการแพทย์ พร้อมมอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ว่า กรมการแพทย์ถือเป็นกรมที่มีศักยภาพสูง โดยในอนาคตกรมแพทย์จะเป็นองค์กรสำคัญสำหรับ สธ.เพราะจุดยืนของกรมแพทย์เป็นกรมวิชาการ สามารถมีบทบาทเป็นองค์กรที่ช่วยให้เกิดการบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ได้
เช่น เข้าไปร่วมทำงานกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อร่วมวางแนวทางต่างๆ เช่น แนวทางการใช้ยาที่เหมาะสม การรักษาพยาบาลที่เหมาะสม หากมีข้อแนะนำที่เป็นหลักวิชาการและมาจากหน่วยงานกลาง ก็จะทำให้สามารถลดการใช้ยาไม่เหมาะสม หรือ ควบคุมงบประมาณการรักษาที่ไม่จำเป็น หรือ เรื่องยาเสพติด ที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลกรมแพทย์ ก็ถือว่ามีบทบาทสำคัญ ที่จะหารูปแบบการรับบริการ การรักษาแบบใหม่ๆเพื่อช่วยบำบัดผู้เสพได้
“วันนี้ถือว่าผมได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยมบ้านอีกครั้ง เพราะเคยทำงานในสังกัดกรมการแพทย์มาก่อนที่จะออกไปหาประสบการณ์ทำงานด้านอื่นๆ ซึ่งกรมแพทย์ถือว่าเป็นกรมที่มีศักยภาพสูง มีบทบาทด้านวิชาการ เทคโนโลยีที่จะเป็นต้นแบบได้ ซึ่งในอนาคตการทำงานอาจต้องทำแบบบูรณการมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่ทำได้ผลเป็นที่น่าพอใจอยู่แล้ว ก็อาจต้องนำไปรวมกับการทำงานของกองทุนสตรี เพื่อให้งานชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ เรื่องการเปิดเมดิคอลฮับ ต้องทำให้ประเทศอื่นๆเห็นถึงความสามารถว่าไทยมีความเด่นในเรื่องไหน อย่างไรบ้าง เพราะที่ผ่านมาไทยถือว่ามีผลงานทางวิชาการที่ไม่เป็นรองประเทศไหน” นพ.ประดิษฐ กล่าว
สำหรับแนวคิดเรื่อง 30 บาทพลัส นั้น ยังเป็นแนวคิดที่ต้องขยายผลต่อไป เพื่อพยายามทำให้ทั้ง 3 กองทุนมีความกลมกลืนกัน เพราะปัจจุบันสิทธิประโยชน์และการบริหารจัดการของทั้ง 3 กองทุน ถือว่ายังมีความแตกต่างกันอยู่ เพราะที่มาของกองทุนนั้นมีความแตกต่างกัน โดยจะต้องมองเรื่องการบริหารจัดการในอนาคต เช่น กองทุนย่อยต่างๆ โดยเฉพาะโรคพิเศษ ที่เพิ่มเข้ามาในงบของสปสช.อนาคตอาจต้องมีการยุบรวมเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่เหมาะสม ให้เกิดเป็นกองทุนเดียวที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปลี่ยนเป็นกองทุนเฉพาะกลุ่ม คือ เพื่อผู้สูงวัย หรือ คนพิการแทน เพราะการมีกองทุนย่อยทำให้ความสนใจในการดูแลผู้ป่วยนั้นถูกเบี่ยงเบนไปเพื่อทำภารกิจที่จะได้รับงบประมาณเพิ่มแทน ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังเป็นเพียงแนวคิดที่ต้องหารือกันในคณะกรรมการบริหารบอร์ด สปสช.ต่อไป
วันนี้ (16 พ.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เดินทางตรวจเยี่ยมกรมการแพทย์ พร้อมมอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ว่า กรมการแพทย์ถือเป็นกรมที่มีศักยภาพสูง โดยในอนาคตกรมแพทย์จะเป็นองค์กรสำคัญสำหรับ สธ.เพราะจุดยืนของกรมแพทย์เป็นกรมวิชาการ สามารถมีบทบาทเป็นองค์กรที่ช่วยให้เกิดการบริหารจัดการเรื่องต่างๆ ได้
เช่น เข้าไปร่วมทำงานกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อร่วมวางแนวทางต่างๆ เช่น แนวทางการใช้ยาที่เหมาะสม การรักษาพยาบาลที่เหมาะสม หากมีข้อแนะนำที่เป็นหลักวิชาการและมาจากหน่วยงานกลาง ก็จะทำให้สามารถลดการใช้ยาไม่เหมาะสม หรือ ควบคุมงบประมาณการรักษาที่ไม่จำเป็น หรือ เรื่องยาเสพติด ที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลกรมแพทย์ ก็ถือว่ามีบทบาทสำคัญ ที่จะหารูปแบบการรับบริการ การรักษาแบบใหม่ๆเพื่อช่วยบำบัดผู้เสพได้
“วันนี้ถือว่าผมได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยมบ้านอีกครั้ง เพราะเคยทำงานในสังกัดกรมการแพทย์มาก่อนที่จะออกไปหาประสบการณ์ทำงานด้านอื่นๆ ซึ่งกรมแพทย์ถือว่าเป็นกรมที่มีศักยภาพสูง มีบทบาทด้านวิชาการ เทคโนโลยีที่จะเป็นต้นแบบได้ ซึ่งในอนาคตการทำงานอาจต้องทำแบบบูรณการมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่ทำได้ผลเป็นที่น่าพอใจอยู่แล้ว ก็อาจต้องนำไปรวมกับการทำงานของกองทุนสตรี เพื่อให้งานชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ เรื่องการเปิดเมดิคอลฮับ ต้องทำให้ประเทศอื่นๆเห็นถึงความสามารถว่าไทยมีความเด่นในเรื่องไหน อย่างไรบ้าง เพราะที่ผ่านมาไทยถือว่ามีผลงานทางวิชาการที่ไม่เป็นรองประเทศไหน” นพ.ประดิษฐ กล่าว
สำหรับแนวคิดเรื่อง 30 บาทพลัส นั้น ยังเป็นแนวคิดที่ต้องขยายผลต่อไป เพื่อพยายามทำให้ทั้ง 3 กองทุนมีความกลมกลืนกัน เพราะปัจจุบันสิทธิประโยชน์และการบริหารจัดการของทั้ง 3 กองทุน ถือว่ายังมีความแตกต่างกันอยู่ เพราะที่มาของกองทุนนั้นมีความแตกต่างกัน โดยจะต้องมองเรื่องการบริหารจัดการในอนาคต เช่น กองทุนย่อยต่างๆ โดยเฉพาะโรคพิเศษ ที่เพิ่มเข้ามาในงบของสปสช.อนาคตอาจต้องมีการยุบรวมเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่เหมาะสม ให้เกิดเป็นกองทุนเดียวที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปลี่ยนเป็นกองทุนเฉพาะกลุ่ม คือ เพื่อผู้สูงวัย หรือ คนพิการแทน เพราะการมีกองทุนย่อยทำให้ความสนใจในการดูแลผู้ป่วยนั้นถูกเบี่ยงเบนไปเพื่อทำภารกิจที่จะได้รับงบประมาณเพิ่มแทน ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังเป็นเพียงแนวคิดที่ต้องหารือกันในคณะกรรมการบริหารบอร์ด สปสช.ต่อไป