“สุรวิทย์” เผยทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก มีประโยชน์ต่อคนไทย ช่วยลดอัตราป่วยและตายจากมะเร็งปากมดลูก การบรรจุในชุดวัคซีนพื้นฐานฉีดฟรีแก่เด็กหญิงอายุ 12 ปีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ โดยจะต่อรองราคาให้ต่ำที่สุด
วันนี้ (22 ส.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูกผ่านสายสัมพันธ์แม่ลูก ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมความพร้อมเรื่องการให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมาอย่างต่อเนื่อง โดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามความคืบหน้าเรื่องนี้ และให้ศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ซึ่งทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจะเป็นประโยชน์กับประชาชนไทย สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึงร้อยละ 70 โดยจะฉีดวัคซีนให้กับเด็กหญิงที่มีอายุ 12 ปีควบคู่กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นของหญิงไทย
ปัญหาขณะนี้คือ วัคซีนมีราคาแพง ได้สอบถามราคาจากบริษัทผู้ผลิตซึ่งมี 2 ราย คือ MSD และ GSK แจ้งราคาเข็มละ 550 บาท และ 800 บาท ยังไม่มีการต่อรองราคา หรือการประกวดราคาแต่อย่างใด เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติในการประชุมวันที่ 27 สิงหาคมนี้ ซึ่งจะเป็นผู้เสนอแนวทางการดำเนินงานด้านวัคซีนแก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อบรรจุในชุดวัคซีนพื้นฐาน บริการฟรี เป็นนโยบายของประเทศต่อไป โดยอาจจะฉีดฟรีให้เด็กหญิงอายุ 12 ปีทั่วประเทศซึ่งมีประมาณ 400,000 ราย หรือเริ่มเป็นโครงการนำร่องประมาณร้อยละ 10 เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคก่อน โดยจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถกำหนดราคาวัคซีนเองได้ ที่ประชุมทุกครั้งที่ผ่านมามีความเห็น ว่า ให้ต่อรองราคาให้ลงมาต่ำที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนการสั่งซื้อ หากสั่งซื้อปริมาณมากราคาจะถูกลง หรือหากร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ใช้ระบบตลาดในการต่อรองราคาร่วมกัน อำนาจต่อรองจะสูงขึ้น แต่ก็จะทำให้การดำเนินการในไทยล่าช้า โดยขณะนี้ประเทศที่ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรี เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ซื้อวัคซีนในราคาเข็มละ 520 บาท ส่วนในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ที่ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี มีข้อมูลว่า ซื้อวัคซีนได้ในราคา 100 กว่าบาท แต่เป็นราคาที่เป็นการสั่งซื้อจำนวนมากทั้งทวีป และส่วนหนึ่งเป็นการช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ ซึ่งประเทศไทยไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือดังกล่าว
ทั้งนี้ ในวันนี้ ที่ประชุมได้เสนอผลการทดลองฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่ จ.นครศรีธรรมราช ของคณะผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.พญ.คุณหญิง กอบจิต ลิมปพยอม โดยทดลองฉีดวัคซีนให้เด็กหญิงอายุ 9-13 ปี ที่เป็นบุตรของหญิงกลุ่มเป้าหมายรับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีวีไอเอ ในปี 2554-2555 จำนวน 4,000 ราย ฉีด 3 เข็ม การวิจัยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนครบทั้ง 3 เข็ม ไม่มีผลข้างเคียงภายหลังฉีด ซึ่งการทดลองครั้งนี้ทำให้กระทรวงสาธารณสุข ได้แนวทางและขั้นตอนการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคก่อนดำเนินการจริง เช่น ต้องฝึกอบรมผู้ให้บริการฉีดวัคซีน การควบคุมคุณภาพวัคซีนระหว่างขนส่ง การให้คำแนะนำประชาชน รวมถึงการติดตามผลภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตาม มีผู้ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม จำนวน 6 ราย ซึ่งเป็นจุดที่ต้องติดตามและหาแนวทางแก้ไข เพราะหากเริ่มโครงการจริง จะทำให้เสียวัคซีนโดยเปล่าประโยชน์
วันนี้ (22 ส.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการป้องกันและควบคุมมะเร็งปากมดลูกผ่านสายสัมพันธ์แม่ลูก ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมความพร้อมเรื่องการให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมาอย่างต่อเนื่อง โดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามความคืบหน้าเรื่องนี้ และให้ศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ซึ่งทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจะเป็นประโยชน์กับประชาชนไทย สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึงร้อยละ 70 โดยจะฉีดวัคซีนให้กับเด็กหญิงที่มีอายุ 12 ปีควบคู่กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นของหญิงไทย
ปัญหาขณะนี้คือ วัคซีนมีราคาแพง ได้สอบถามราคาจากบริษัทผู้ผลิตซึ่งมี 2 ราย คือ MSD และ GSK แจ้งราคาเข็มละ 550 บาท และ 800 บาท ยังไม่มีการต่อรองราคา หรือการประกวดราคาแต่อย่างใด เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติในการประชุมวันที่ 27 สิงหาคมนี้ ซึ่งจะเป็นผู้เสนอแนวทางการดำเนินงานด้านวัคซีนแก่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อบรรจุในชุดวัคซีนพื้นฐาน บริการฟรี เป็นนโยบายของประเทศต่อไป โดยอาจจะฉีดฟรีให้เด็กหญิงอายุ 12 ปีทั่วประเทศซึ่งมีประมาณ 400,000 ราย หรือเริ่มเป็นโครงการนำร่องประมาณร้อยละ 10 เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคก่อน โดยจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถกำหนดราคาวัคซีนเองได้ ที่ประชุมทุกครั้งที่ผ่านมามีความเห็น ว่า ให้ต่อรองราคาให้ลงมาต่ำที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนการสั่งซื้อ หากสั่งซื้อปริมาณมากราคาจะถูกลง หรือหากร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ใช้ระบบตลาดในการต่อรองราคาร่วมกัน อำนาจต่อรองจะสูงขึ้น แต่ก็จะทำให้การดำเนินการในไทยล่าช้า โดยขณะนี้ประเทศที่ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรี เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ซื้อวัคซีนในราคาเข็มละ 520 บาท ส่วนในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ที่ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี มีข้อมูลว่า ซื้อวัคซีนได้ในราคา 100 กว่าบาท แต่เป็นราคาที่เป็นการสั่งซื้อจำนวนมากทั้งทวีป และส่วนหนึ่งเป็นการช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ ซึ่งประเทศไทยไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือดังกล่าว
ทั้งนี้ ในวันนี้ ที่ประชุมได้เสนอผลการทดลองฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่ จ.นครศรีธรรมราช ของคณะผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.พญ.คุณหญิง กอบจิต ลิมปพยอม โดยทดลองฉีดวัคซีนให้เด็กหญิงอายุ 9-13 ปี ที่เป็นบุตรของหญิงกลุ่มเป้าหมายรับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีวีไอเอ ในปี 2554-2555 จำนวน 4,000 ราย ฉีด 3 เข็ม การวิจัยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนครบทั้ง 3 เข็ม ไม่มีผลข้างเคียงภายหลังฉีด ซึ่งการทดลองครั้งนี้ทำให้กระทรวงสาธารณสุข ได้แนวทางและขั้นตอนการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคก่อนดำเนินการจริง เช่น ต้องฝึกอบรมผู้ให้บริการฉีดวัคซีน การควบคุมคุณภาพวัคซีนระหว่างขนส่ง การให้คำแนะนำประชาชน รวมถึงการติดตามผลภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตาม มีผู้ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม จำนวน 6 ราย ซึ่งเป็นจุดที่ต้องติดตามและหาแนวทางแก้ไข เพราะหากเริ่มโครงการจริง จะทำให้เสียวัคซีนโดยเปล่าประโยชน์