“สุรวิทย์” ยิ้ม นักวิชาการหนุนฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเด็กหญิง 12 ปี บอกคุ้มค่าราคาเข็มละไม่เกิน 500 บาท ฉีดครบ 3 เข็มป้องกันได้ตลอดชีวิต เตรียมยื่น สปสช.พิจารณา
วันนี้ (16 พ.ค.) นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานประชุมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดยการใช้วัคซีน ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ว่า ในวันนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมร่วมกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าในการใช้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้พิจารณาข้อมูลทางวิชาการและมีความเห็นตรงกันว่าควรฉีดวัคซีนเอชพีวี (HPV) เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกให้หญิงไทย โดยประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ถ้าวัคซีนเอชพีวี (HPV) ที่จะฉีดราคาเข็มละ 400-500 บาทจะถือว่าคุ้มค่า ขณะเดียวกัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาว่า ถ้าราคาวัคซีนต่ำกว่าเข็มละ 2,000 บาท ก็ถือว่าคุ้มค่า รวมทั้งจากการพูดคุยกับหัวหน้าภาควิชาสูตินรีเวช รพ.รามาธิบดี และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ให้ความเห็นตรงกันว่าถ้าราคาอยู่ประมาณเข็มละ 500 บาท ก็ถือว่าคุ้มค่า โดยเมื่อฉีดครบ 3 เข็มจะป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ตลอดชีวิต
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า ความคุ้มค่าที่กล่าวนี้ เปรียบเทียบจากมูลค่าในการซื้อวัคซีน กับค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ซึ่งขณะนี้ไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 10,000 ราย เสียชีวิตประมาณปีละ 5,000 ราย เป็นเงินค่ารักษาประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี เฉลี่ยรายละ 50,000 บาท รวมทั้งยังมีผลกระทบต่อครอบครัวสูญเสียรายได้ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานอายุ 40-50 ปี รวมทั้งยังขาดคนดูแลบ้านและบุตร ลูกหลานต้องหยุดงานไปเฝ้าดูแลผู้ป่วยทั้งที่บ้านและที่โรงพยาบาล ในภาพรวมที่ประชุมวันนี้ส่วนใหญ่สนับสนุนค่อนข้างมาก ซึ่งจะมีการหารือรายละเอียดในการดำเนินการต่อไป หลังจากนั้น ก็จะดำเนินการตามขั้นตอน โดยคณะกรรมการเกี่ยวกับวัคซีนพิจารณา นำเข้าสู่คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ รวมถึงผ่านที่ประชุมคณะอนุกรรมการสิทธิประโยชน์ของ สปสช.พิจารณาต่อไป ทั้งหมดนี้จะเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วเพื่อปกป้องชีวิตของสตรีไทย
“สำหรับความกังวลว่าจะสร้างภาระให้แก่รัฐและประเทศด้านงบประมาณหรือไม่นั้น ในการประเมินค่าความคุ้มค่ากับชีวิตของหญิงไทยที่เสียไป โดยการฉีดวัคซีนเอชพีวีป้องกัน มีคำแนะนำให้ฉีดให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรืออายุ 12 ปี เพื่อป้องกันไว้ตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ หากฉีดวัคซีนครอบคลุมปีละประมาณ 400,000 คน ทุกปีไปเรื่อยๆ เราจะลดการป่วย และการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกได้ถึงประมาณร้อยละ 70 ถือว่าเป็นการยกคุณภาพชีวิตของผู้หญิงไทยให้สูงขึ้น และขณะนี้ 40 ประเทศทั่วโลกได้เริ่มฉีดวัคซีนนี้แล้ว รวมทั้งประเทศที่ใกล้บ้านเราที่สุดคือมาเลเซีย สิงคโปร์” นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าว
สำหรับราคาวัคซีนนั้น หากผ่านการพิจารณาอนุมัติให้ใช้ในประเทศไทย จึงจะทราบราคาที่แน่นอน เท่าที่มีข้อมูลของประเทศมาเลเซีย อยู่ที่ราคาเข็มละ 500 บาท แต่ในประเทศไทย ถ้าเราฉีดเด็กหญิงอายุ 12 ปี หรือ ป.6 ที่มีประมาณปีละ 400,000 คน มากกว่ามาเลเซียที่ฉีดให้ปีละ 300,000 คน อำนาจต่อรองน่าจะสูงกว่า อีกทั้งเมื่อระยะเวลาผ่านไป ราคาวัคซีนจะยิ่งถูกลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนเอชพีวี ก็จะต้องมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์หรือวีไอเอต่อไปควบคู่กัน เพราะการฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งปากมดลูก ส่วนการตรวจแปปสเมียร์ หรือ วีไอเอ เป็นการตรวจหาคนที่เป็นมะเร็งปากมดลูก เป็นคนละขั้นตอน
วันนี้ (16 พ.ค.) นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานประชุมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกโดยการใช้วัคซีน ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ว่า ในวันนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมร่วมกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าในการใช้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้พิจารณาข้อมูลทางวิชาการและมีความเห็นตรงกันว่าควรฉีดวัคซีนเอชพีวี (HPV) เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกให้หญิงไทย โดยประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ถ้าวัคซีนเอชพีวี (HPV) ที่จะฉีดราคาเข็มละ 400-500 บาทจะถือว่าคุ้มค่า ขณะเดียวกัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาว่า ถ้าราคาวัคซีนต่ำกว่าเข็มละ 2,000 บาท ก็ถือว่าคุ้มค่า รวมทั้งจากการพูดคุยกับหัวหน้าภาควิชาสูตินรีเวช รพ.รามาธิบดี และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ให้ความเห็นตรงกันว่าถ้าราคาอยู่ประมาณเข็มละ 500 บาท ก็ถือว่าคุ้มค่า โดยเมื่อฉีดครบ 3 เข็มจะป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ตลอดชีวิต
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า ความคุ้มค่าที่กล่าวนี้ เปรียบเทียบจากมูลค่าในการซื้อวัคซีน กับค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ซึ่งขณะนี้ไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 10,000 ราย เสียชีวิตประมาณปีละ 5,000 ราย เป็นเงินค่ารักษาประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี เฉลี่ยรายละ 50,000 บาท รวมทั้งยังมีผลกระทบต่อครอบครัวสูญเสียรายได้ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานอายุ 40-50 ปี รวมทั้งยังขาดคนดูแลบ้านและบุตร ลูกหลานต้องหยุดงานไปเฝ้าดูแลผู้ป่วยทั้งที่บ้านและที่โรงพยาบาล ในภาพรวมที่ประชุมวันนี้ส่วนใหญ่สนับสนุนค่อนข้างมาก ซึ่งจะมีการหารือรายละเอียดในการดำเนินการต่อไป หลังจากนั้น ก็จะดำเนินการตามขั้นตอน โดยคณะกรรมการเกี่ยวกับวัคซีนพิจารณา นำเข้าสู่คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ รวมถึงผ่านที่ประชุมคณะอนุกรรมการสิทธิประโยชน์ของ สปสช.พิจารณาต่อไป ทั้งหมดนี้จะเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็วเพื่อปกป้องชีวิตของสตรีไทย
“สำหรับความกังวลว่าจะสร้างภาระให้แก่รัฐและประเทศด้านงบประมาณหรือไม่นั้น ในการประเมินค่าความคุ้มค่ากับชีวิตของหญิงไทยที่เสียไป โดยการฉีดวัคซีนเอชพีวีป้องกัน มีคำแนะนำให้ฉีดให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรืออายุ 12 ปี เพื่อป้องกันไว้ตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ หากฉีดวัคซีนครอบคลุมปีละประมาณ 400,000 คน ทุกปีไปเรื่อยๆ เราจะลดการป่วย และการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกได้ถึงประมาณร้อยละ 70 ถือว่าเป็นการยกคุณภาพชีวิตของผู้หญิงไทยให้สูงขึ้น และขณะนี้ 40 ประเทศทั่วโลกได้เริ่มฉีดวัคซีนนี้แล้ว รวมทั้งประเทศที่ใกล้บ้านเราที่สุดคือมาเลเซีย สิงคโปร์” นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าว
สำหรับราคาวัคซีนนั้น หากผ่านการพิจารณาอนุมัติให้ใช้ในประเทศไทย จึงจะทราบราคาที่แน่นอน เท่าที่มีข้อมูลของประเทศมาเลเซีย อยู่ที่ราคาเข็มละ 500 บาท แต่ในประเทศไทย ถ้าเราฉีดเด็กหญิงอายุ 12 ปี หรือ ป.6 ที่มีประมาณปีละ 400,000 คน มากกว่ามาเลเซียที่ฉีดให้ปีละ 300,000 คน อำนาจต่อรองน่าจะสูงกว่า อีกทั้งเมื่อระยะเวลาผ่านไป ราคาวัคซีนจะยิ่งถูกลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนเอชพีวี ก็จะต้องมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์หรือวีไอเอต่อไปควบคู่กัน เพราะการฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งปากมดลูก ส่วนการตรวจแปปสเมียร์ หรือ วีไอเอ เป็นการตรวจหาคนที่เป็นมะเร็งปากมดลูก เป็นคนละขั้นตอน