ผอ.คก.วัคซีนแห่งชาติ หนุนรัฐ จัดหางบวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข จะมีการนำเสนอโครงการให้รัฐบาลเห็นชอบในการจัดหาวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ว่า ขั้นตอนในการพิจารณา ว่า จะใช้วัคซีนตัวใดนั้น ในระดับสากลจะดูเรื่องความคุ้มค่า คุ้มทุน โดยพิจารณาปัจจัยหลายด้านประกอบกัน เช่น สถานการณ์ ขนาดของปัญหาที่เกิดขึ้น ประสิทธิภาพของวัคซีน คุณภาพของวัคซีน ราคา เป็นต้น โดยขณะนี้พบว่า สถานการณ์ปัญหาของประเทศไทย ในการเกิดมะเร็งปากมดลูก พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้พบผู้ป่วย 1 หมื่นรายต่อปี ส่วนเรื่องของประสิทธิภาพของวัคซีน พบว่า วัคซีนดังกล่าวป้องกันไวรัส HPV ชนิดที่พบบ่อยว่าเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง ได้ประมาณร้อยละ 70-80 ซึ่งในแง่การป้องกันถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
นพ.จรุง กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญที่อาจเป็นปัญหาในการจัดหาวัคซีนมะเร็งปากมดลูกให้กับประชาชน คือ เรื่องของราคา ซึ่งการคำนวณเรื่องความคุ้มทุนสามารถคิดได้หลายแบบ เนื่องจากการเจ็บป่วยเป็นเรื่องของชีวิตคน จะตีเป็นราคาเป็นเรื่องยาก ในระดับสากลการคำนวณจึงต้องคิดความคุ้มทุน 3 เท่าของรายได้ประชากร โดยคำนวณราคารวมค่าวัคซีน ค่าขนส่ง ค่าจัดบริการ ค่าเจ้าหน้าที่ โดยนำมาเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่น ค่าฉายแสง ค่าผ่าตัด ความสูญเสียรายได้จากการเจ็บป่วย รายได้ที่หายไปหากต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เป็นต้น ซึ่งการคำนวณความคุ้มทุน จะนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด จาก 2 ด้านมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งการคำนวณ พบว่า หากรัฐสามารถจัดหาวัคซีนได้ในราคา 400-500 บาท ก็จะยังถือว่าคุ้มทุน แต่หากสามารถต่อรองราคาได้ต่ำกว่านั้น ก็จะสามารถจัดหาวัคซีนให้กับประชาชนได้มากขึ้น
“ขณะนี้มีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องแนวทางป้องกันโรค โดยใช้ระบบการคัดกรอง และวัคซีน ทำให้การทำงานในเรื่องดังกล่าวยังล่าช้า แต่หากรัฐบาลเห็นประโยชน์ของโครงการนี้ ทำเป็นนโยบาย และจัดหางบประมาณให้ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีและประชาชนได้รับประโยชน์ ซึ่งหลังจากนั้น ยังต้องนำเรื่องเข้าคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการสิทธิประโยชน์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต่อไป”นพ.จรุง กล่าว
นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข จะมีการนำเสนอโครงการให้รัฐบาลเห็นชอบในการจัดหาวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ว่า ขั้นตอนในการพิจารณา ว่า จะใช้วัคซีนตัวใดนั้น ในระดับสากลจะดูเรื่องความคุ้มค่า คุ้มทุน โดยพิจารณาปัจจัยหลายด้านประกอบกัน เช่น สถานการณ์ ขนาดของปัญหาที่เกิดขึ้น ประสิทธิภาพของวัคซีน คุณภาพของวัคซีน ราคา เป็นต้น โดยขณะนี้พบว่า สถานการณ์ปัญหาของประเทศไทย ในการเกิดมะเร็งปากมดลูก พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้พบผู้ป่วย 1 หมื่นรายต่อปี ส่วนเรื่องของประสิทธิภาพของวัคซีน พบว่า วัคซีนดังกล่าวป้องกันไวรัส HPV ชนิดที่พบบ่อยว่าเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง ได้ประมาณร้อยละ 70-80 ซึ่งในแง่การป้องกันถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
นพ.จรุง กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญที่อาจเป็นปัญหาในการจัดหาวัคซีนมะเร็งปากมดลูกให้กับประชาชน คือ เรื่องของราคา ซึ่งการคำนวณเรื่องความคุ้มทุนสามารถคิดได้หลายแบบ เนื่องจากการเจ็บป่วยเป็นเรื่องของชีวิตคน จะตีเป็นราคาเป็นเรื่องยาก ในระดับสากลการคำนวณจึงต้องคิดความคุ้มทุน 3 เท่าของรายได้ประชากร โดยคำนวณราคารวมค่าวัคซีน ค่าขนส่ง ค่าจัดบริการ ค่าเจ้าหน้าที่ โดยนำมาเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่น ค่าฉายแสง ค่าผ่าตัด ความสูญเสียรายได้จากการเจ็บป่วย รายได้ที่หายไปหากต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เป็นต้น ซึ่งการคำนวณความคุ้มทุน จะนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด จาก 2 ด้านมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งการคำนวณ พบว่า หากรัฐสามารถจัดหาวัคซีนได้ในราคา 400-500 บาท ก็จะยังถือว่าคุ้มทุน แต่หากสามารถต่อรองราคาได้ต่ำกว่านั้น ก็จะสามารถจัดหาวัคซีนให้กับประชาชนได้มากขึ้น
“ขณะนี้มีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องแนวทางป้องกันโรค โดยใช้ระบบการคัดกรอง และวัคซีน ทำให้การทำงานในเรื่องดังกล่าวยังล่าช้า แต่หากรัฐบาลเห็นประโยชน์ของโครงการนี้ ทำเป็นนโยบาย และจัดหางบประมาณให้ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีและประชาชนได้รับประโยชน์ ซึ่งหลังจากนั้น ยังต้องนำเรื่องเข้าคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการสิทธิประโยชน์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต่อไป”นพ.จรุง กล่าว