ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (7 เม.ย.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว "Thaksin Shinawatra" ถึง พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคมว่า "อีกแง่มุมเพื่อความเข้าใจ โครงการ 2 ล้านล้าน ผมขอเล่าเศรษฐกิจประเทศเปรียบเทียบกับธุรกิจให้ฟัง ตอนสมัยผมทำธุรกิจ เวลาจะกู้หนี้ยืมสิน เขาจะดูสัดส่วนของหนี้ต่อทุนเพื่อรักษาไว้ไม่ให้เกิน 2 หรือมากสุด 2.5 เท่าต่อ 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะแข็งแรง
ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้นเขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อ GDP ของประเทศไม่ให้เกิน 50% ถือว่าดีเยี่ยม ไม่เกิน 60% ถือว่ายังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆเขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่น มีหนี้เกือบ 200% ต่อ GDP แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยนไปถ้า GDP หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น เหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก็จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมาเพิ่มเช่นกันครับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คือ การลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้น ทั้งทางตรงทางอ้อม
ทางตรงคือเงินที่ลงทุนและไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือโครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิม ไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง
ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหนี้จะพุ่งข้างเดียวเพราะรายได้ก็พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และก็ไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ IMF ที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไปครับ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธานส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่กำลังพิจารณาในกรรมาธิการฯ ว่า มีความไม่แน่นอนในทางปฏิบัติเพิ่มขึ้น หากร่างนี้มีผลบังคับใช้ การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายจะทำอย่างไร เช่น รถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลได้ส่งเรื่องกลับไปให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาถึงความคุ้มค่าการลงทุนทั้ง 4 เส้นทาง ทั้งที่ในการพิจารณาวาระแรก รัฐบาลพยายามบอกว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน แต่เมื่อกฎหมายผ่านวาระแรกไปแล้ว รัฐบาลกลับเพิ่งจะส่งเรื่องให้สภาพัฒน์ฯ พิจารณา เท่ากับว่าก่อนที่จะนำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าพิจารณาในสภาวาระแรก รัฐบาลไม่มีความรอบคอบในการใช้เงินกู้นี้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง เป็นการทำงานแบบหละหลวม รวบรัด เร่งรีบ จึงต้องถามว่า ทำเพื่ออะไร
กรณีที่ให้สภาพัฒน์ฯ เข้ามาดูแลในเรื่องรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ตามที่เอกสารระบุว่า กทม. -เชียงใหม่ , กทม.-หัวหิน, กทม.-นครราชสีมา และ กทม.-พัทยา ทั้งนี้งบประมาณที่กำหนดสำหรับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง คิดเป็นเงินประมาณ 7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท รัฐบาลจึงควรเลือกทำเส้นทางที่มีความคุ้มทุนอย่างชัดเจน แทนที่จะนำเงินทั้งหมดทำหลายเส้นทางพร้อมกัน ทั้งที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีความคุ้มทุนหรือไม่ ก็ควรเลือกทำเส้นทางที่คุ้มค่ามากที่สุดเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ และเกิดประโยชน์ต่อประชาชน เพื่อลดภาระหนี้และดอกเบี้ย รวมทั้งลดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม พรรคจะติดตามเรื่องนี้ต่อไป ว่าจะมีความไม่ชอบมาพากลอีกหรือไม่ เพราะทราบว่า รัฐบาลเพิ่งจะดำริตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อกำกับดูแลเรื่องราคาที่จะดำเนินการ ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ กลับไม่มีการทำมาก่อน จึงมีความจำเป็นที่พรรคจะต้องติดตามเรื่องการกู้เงินมาทำโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล ทั้งนี้ ยืนยันว่าพรรคไม่ได้คัดค้านการพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์แต่รัฐบาลต้องดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความโปร่งใส เนื่องจากเงิน 2 ล้านล้านบาท มีผลผูกพันให้มีหนี้ร่วมกันถึง 50 ปี มีดอกเบี้ย 3 ล้านล้านบาท เท่ากับต้องใช้รัฐบาล 12 รัฐบาล เข้ามารับผิดชอบดูแลเงินกู้ก้อนนี้
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า หลังเทศกาลสงกรานต์ จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2ล้านล้านบาท ของกระทรวงการคลัง ว่า อาจเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 นั้น พรรคเพื่อไทย ไม่รู้สึกหนักใจ ยืนยันว่า ไม่ได้ทำผิดตามกฎหมาย สมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล เคยออกพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท แต่ศาลก็ชี้ว่าไม่ขัดกฎหมาย สามารถทำได้ ซึ่งการไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการการตีรวน ขัดขวางไม่ให้รัฐบาลทำนโยบายโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชน ทั้งที่โครงการของพรรคเพื่อไทยใจกว้าง สร้างท่ารือน้ำลึกที่ จ.ชุมพร ด้วย
"พรรคประชาธิปัตย์ จะมีอายุครบ 67 ปี ถือว่าเลยวัยเกษียณมาแล้ว อยากให้ทำการเมืองและค้านอย่างสร้างสรรค์ จะได้เป็นประโยชน์กับประชาชน" นายพร้อมพงศ์ กล่าว และว่า ทางพรรคพร้อมที่จะหารือถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ตีความ ร่าง พ.ร.บ. กู้เงิน 2.2 ล้านบาทด้วย.
ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้นเขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อ GDP ของประเทศไม่ให้เกิน 50% ถือว่าดีเยี่ยม ไม่เกิน 60% ถือว่ายังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆเขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่น มีหนี้เกือบ 200% ต่อ GDP แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยนไปถ้า GDP หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น เหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก็จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมาเพิ่มเช่นกันครับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คือ การลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้น ทั้งทางตรงทางอ้อม
ทางตรงคือเงินที่ลงทุนและไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือโครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิม ไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง
ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหนี้จะพุ่งข้างเดียวเพราะรายได้ก็พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และก็ไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ IMF ที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไปครับ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธานส.ส. กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่กำลังพิจารณาในกรรมาธิการฯ ว่า มีความไม่แน่นอนในทางปฏิบัติเพิ่มขึ้น หากร่างนี้มีผลบังคับใช้ การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายจะทำอย่างไร เช่น รถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลได้ส่งเรื่องกลับไปให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาถึงความคุ้มค่าการลงทุนทั้ง 4 เส้นทาง ทั้งที่ในการพิจารณาวาระแรก รัฐบาลพยายามบอกว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน แต่เมื่อกฎหมายผ่านวาระแรกไปแล้ว รัฐบาลกลับเพิ่งจะส่งเรื่องให้สภาพัฒน์ฯ พิจารณา เท่ากับว่าก่อนที่จะนำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าพิจารณาในสภาวาระแรก รัฐบาลไม่มีความรอบคอบในการใช้เงินกู้นี้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง เป็นการทำงานแบบหละหลวม รวบรัด เร่งรีบ จึงต้องถามว่า ทำเพื่ออะไร
กรณีที่ให้สภาพัฒน์ฯ เข้ามาดูแลในเรื่องรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ตามที่เอกสารระบุว่า กทม. -เชียงใหม่ , กทม.-หัวหิน, กทม.-นครราชสีมา และ กทม.-พัทยา ทั้งนี้งบประมาณที่กำหนดสำหรับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง คิดเป็นเงินประมาณ 7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท รัฐบาลจึงควรเลือกทำเส้นทางที่มีความคุ้มทุนอย่างชัดเจน แทนที่จะนำเงินทั้งหมดทำหลายเส้นทางพร้อมกัน ทั้งที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีความคุ้มทุนหรือไม่ ก็ควรเลือกทำเส้นทางที่คุ้มค่ามากที่สุดเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ และเกิดประโยชน์ต่อประชาชน เพื่อลดภาระหนี้และดอกเบี้ย รวมทั้งลดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม พรรคจะติดตามเรื่องนี้ต่อไป ว่าจะมีความไม่ชอบมาพากลอีกหรือไม่ เพราะทราบว่า รัฐบาลเพิ่งจะดำริตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อกำกับดูแลเรื่องราคาที่จะดำเนินการ ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ กลับไม่มีการทำมาก่อน จึงมีความจำเป็นที่พรรคจะต้องติดตามเรื่องการกู้เงินมาทำโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล ทั้งนี้ ยืนยันว่าพรรคไม่ได้คัดค้านการพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์แต่รัฐบาลต้องดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความโปร่งใส เนื่องจากเงิน 2 ล้านล้านบาท มีผลผูกพันให้มีหนี้ร่วมกันถึง 50 ปี มีดอกเบี้ย 3 ล้านล้านบาท เท่ากับต้องใช้รัฐบาล 12 รัฐบาล เข้ามารับผิดชอบดูแลเงินกู้ก้อนนี้
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า หลังเทศกาลสงกรานต์ จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2ล้านล้านบาท ของกระทรวงการคลัง ว่า อาจเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 นั้น พรรคเพื่อไทย ไม่รู้สึกหนักใจ ยืนยันว่า ไม่ได้ทำผิดตามกฎหมาย สมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล เคยออกพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท แต่ศาลก็ชี้ว่าไม่ขัดกฎหมาย สามารถทำได้ ซึ่งการไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการการตีรวน ขัดขวางไม่ให้รัฐบาลทำนโยบายโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชน ทั้งที่โครงการของพรรคเพื่อไทยใจกว้าง สร้างท่ารือน้ำลึกที่ จ.ชุมพร ด้วย
"พรรคประชาธิปัตย์ จะมีอายุครบ 67 ปี ถือว่าเลยวัยเกษียณมาแล้ว อยากให้ทำการเมืองและค้านอย่างสร้างสรรค์ จะได้เป็นประโยชน์กับประชาชน" นายพร้อมพงศ์ กล่าว และว่า ทางพรรคพร้อมที่จะหารือถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ตีความ ร่าง พ.ร.บ. กู้เงิน 2.2 ล้านบาทด้วย.