พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thaksin Shinawatra" ถึง พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการคมนาคมว่า ขอเล่าเศรษฐกิจประเทศเปรียบเทียบกับธุรกิจให้ฟัง สมัยตนทำธุรกิจ เวลาจะกู้หนี้ยืมสิน เขาจะดูสัดส่วนของหนี้ต่อทุน เพื่อรักษาไว้ไม่ให้เกิน 2 หรือมากสุด 2.5 เท่าต่อ 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะแข็งแรง
ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้น เขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อจีดีพีของประเทศ ไม่ให้เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ถือว่า ดีเยี่ยม ไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ถือว่า ยังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆ เขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่นมีหนี้เกือบ 200 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยนไปถ้าจีดีพี หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้นเหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน (ส่วนของผู้ถือหุ้น) จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมากเพิ่มเช่นกันครับ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลคือ การลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้น ทั้งทางตรง ทางอ้อมทางตรงคือ เงินที่ลงทุน และไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือ โครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิมไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง
ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่า หนี้จะพุ่งข้างเดียว เพราะรายได้พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ไอเอ็มเอฟที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ใครสร้างเศรษฐกิจเป็นกับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไป
ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้น เขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อจีดีพีของประเทศ ไม่ให้เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ถือว่า ดีเยี่ยม ไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ถือว่า ยังดีอยู่ แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆ เขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่นมีหนี้เกือบ 200 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยนไปถ้าจีดีพี หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้นเหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน (ส่วนของผู้ถือหุ้น) จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมากเพิ่มเช่นกันครับ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลคือ การลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้น ทั้งทางตรง ทางอ้อมทางตรงคือ เงินที่ลงทุน และไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทางอ้อมคือ โครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิมไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง
ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่า หนี้จะพุ่งข้างเดียว เพราะรายได้พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ไอเอ็มเอฟที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ใครสร้างเศรษฐกิจเป็นกับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไป