รับหลักการกันไปเรียบร้อยแล้วครับ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไว้ขนผักเพื่อประชาชนจะได้บริโภคสดๆ ตามคำชี้แจงของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
ขั้นตอนต่อไปก็เป็นเรื่องของคณะกรรมาธิการ ผ่านคณะกรรมาธิการเข้าสภาฯ วาระที่ 2 วาระที่ 3 ต่อไปยังวุฒิสภาจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
ถึงตอนนี้แหละครับ เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิกที่คัดค้านร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนี้รอคอย เพราะเป็นช่วงเวลาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกของทั้งสองสภาฯ รวมกันจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาฯ ซึ่งเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาฯ แล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาฯ ที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า (มาตรา 154 รัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2550)
ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไป
เพราะฉะนั้นรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ อย่าได้ฝันหวานไปเลยว่า กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะหวานคอแร้ง ถึงตอนนั้นอาจเป็นพิราบตุ๋นกลับบินได้ ก็เป็นได้
ฝ่ายค้านบอกแล้วว่า การพัฒนาประเทศด้วยการสร้างถนนหนทาง พัฒนารถไฟเป็นระบบรางคู่ และให้มีความเร็วสูงนั้นไม่มีใครค้าน ไม่มีใครขัดขวาง รัฐบาลทำได้โดยที่ไม่ต้องกู้ โดยในแต่ละปีก็เพิ่มงบประมาณแผ่นดินไปอีก 3-4 แสนล้านบาทก็ทำได้
แต่ที่ต้องออกมาเป็นพระราชบัญญัติกู้เงินก็เพราะรัฐบาลหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากรัฐสภาไม่ทำเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณ ซึ่งสภาฯ ตรวจสอบได้ แต่พระราชบัญญัติกู้เงินมากองไว้ให้เป็นเงินนอกงบประมาณ สภาฯ ตรวจสอบไม่ได้
การจัดซื้อจัดจ้างก็ไม่ได้เป็นไปตามระเบียบพัสดุของสำนักนายกรัฐมนตรี อย่างที่รองนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ออกมาแหกตาสภาฯ โดยที่ไม่อายหรือเคอะเขินเลยแม้แต่น้อย หากแต่ใช้มติคณะรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เริ่มขึ้นมาก็ขัดรัฐธรรมนูญแล้วครับ เปิดรัฐธรรมนูญแล้วพลิกไปดูมาตรา 169 ซิครับ
มาตรา 169 การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นนี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย
ร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เข้าหลักเกณฑ์มาตรา 169 แห่งรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ตรงไหนครับ?
มีอยู่อย่างเดียวที่นำมาอ้างคือ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นฝ่ายค้านขณะนี้ก็เคยทำ รัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำได้หารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 12 คณะกรรมการชุดดังกล่าวให้ความเห็นว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมการกฤษฎีกาว่าไม่ขัดก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการกฤษฎีกาซิครับ
ผู้ที่จะวินิจฉัยว่า กฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่ใช่คณะกรรมการกฤษฎีกา หากแต่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ
สมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลมีพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทยไม่ได้นำเรื่องนี้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
แต่มาวันนี้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งจะนำเรื่องนี้ร้องต่อประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา เพื่อให้ส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแน่นอนครับ
ศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นด้วยหรือไม่กับการพัฒนาประเทศ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานหรือเกรงคนจะมองว่าถ่วงความเจริญของประเทศชาติหรือมาอย่างไร ไม่มีใครทายใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านได้หรอกครับ แต่สิ่งที่ท่านจะเอามาพิจารณาว่า มันขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็คือ ร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท กับมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ
ถ้าหากท่านเห็นว่าขัดแย้งกัน ร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทก็ตกไป ซึ่งถ้าหากว่าตามเหตุผลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแล้วก็ไม่ได้เสียหายสักเท่าไร อย่างถ้าหากเสียหายก็เพียงไม่ได้กินผักที่มันสดขึ้นมาอีกหน่อยเท่านั้นเอง ซึ่งเราก็อยู่กันได้ กินกันได้ ไม่มีใครตายเพราะไม่ได้กินผักสด กินกระหล่ำปลีที่ใช้รถกระบะขนมาจากเพชรบูรณ์ กินกุ้ง กินหอย กินปูที่ใช้รถกระบะขนบ้าง สิบล้อขนบ้าง ก็อยู่กันได้
อยากขนผักสดอย่างที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่า ก็ตราออกมาเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินซิครับ
ขั้นตอนต่อไปก็เป็นเรื่องของคณะกรรมาธิการ ผ่านคณะกรรมาธิการเข้าสภาฯ วาระที่ 2 วาระที่ 3 ต่อไปยังวุฒิสภาจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
ถึงตอนนี้แหละครับ เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิกที่คัดค้านร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนี้รอคอย เพราะเป็นช่วงเวลาที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกของทั้งสองสภาฯ รวมกันจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาฯ ซึ่งเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาฯ แล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาฯ ที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า (มาตรา 154 รัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2550)
ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไป
เพราะฉะนั้นรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ อย่าได้ฝันหวานไปเลยว่า กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะหวานคอแร้ง ถึงตอนนั้นอาจเป็นพิราบตุ๋นกลับบินได้ ก็เป็นได้
ฝ่ายค้านบอกแล้วว่า การพัฒนาประเทศด้วยการสร้างถนนหนทาง พัฒนารถไฟเป็นระบบรางคู่ และให้มีความเร็วสูงนั้นไม่มีใครค้าน ไม่มีใครขัดขวาง รัฐบาลทำได้โดยที่ไม่ต้องกู้ โดยในแต่ละปีก็เพิ่มงบประมาณแผ่นดินไปอีก 3-4 แสนล้านบาทก็ทำได้
แต่ที่ต้องออกมาเป็นพระราชบัญญัติกู้เงินก็เพราะรัฐบาลหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากรัฐสภาไม่ทำเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณ ซึ่งสภาฯ ตรวจสอบได้ แต่พระราชบัญญัติกู้เงินมากองไว้ให้เป็นเงินนอกงบประมาณ สภาฯ ตรวจสอบไม่ได้
การจัดซื้อจัดจ้างก็ไม่ได้เป็นไปตามระเบียบพัสดุของสำนักนายกรัฐมนตรี อย่างที่รองนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ออกมาแหกตาสภาฯ โดยที่ไม่อายหรือเคอะเขินเลยแม้แต่น้อย หากแต่ใช้มติคณะรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เริ่มขึ้นมาก็ขัดรัฐธรรมนูญแล้วครับ เปิดรัฐธรรมนูญแล้วพลิกไปดูมาตรา 169 ซิครับ
มาตรา 169 การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นนี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย
ร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เข้าหลักเกณฑ์มาตรา 169 แห่งรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ตรงไหนครับ?
มีอยู่อย่างเดียวที่นำมาอ้างคือ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นฝ่ายค้านขณะนี้ก็เคยทำ รัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำได้หารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 12 คณะกรรมการชุดดังกล่าวให้ความเห็นว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมการกฤษฎีกาว่าไม่ขัดก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการกฤษฎีกาซิครับ
ผู้ที่จะวินิจฉัยว่า กฎหมายใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่ใช่คณะกรรมการกฤษฎีกา หากแต่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ
สมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลมีพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทยไม่ได้นำเรื่องนี้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
แต่มาวันนี้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่งจะนำเรื่องนี้ร้องต่อประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา เพื่อให้ส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแน่นอนครับ
ศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นด้วยหรือไม่กับการพัฒนาประเทศ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานหรือเกรงคนจะมองว่าถ่วงความเจริญของประเทศชาติหรือมาอย่างไร ไม่มีใครทายใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านได้หรอกครับ แต่สิ่งที่ท่านจะเอามาพิจารณาว่า มันขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็คือ ร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท กับมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญ
ถ้าหากท่านเห็นว่าขัดแย้งกัน ร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทก็ตกไป ซึ่งถ้าหากว่าตามเหตุผลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแล้วก็ไม่ได้เสียหายสักเท่าไร อย่างถ้าหากเสียหายก็เพียงไม่ได้กินผักที่มันสดขึ้นมาอีกหน่อยเท่านั้นเอง ซึ่งเราก็อยู่กันได้ กินกันได้ ไม่มีใครตายเพราะไม่ได้กินผักสด กินกระหล่ำปลีที่ใช้รถกระบะขนมาจากเพชรบูรณ์ กินกุ้ง กินหอย กินปูที่ใช้รถกระบะขนบ้าง สิบล้อขนบ้าง ก็อยู่กันได้
อยากขนผักสดอย่างที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่า ก็ตราออกมาเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินซิครับ