ASTVผู้จัดการรายวัน - “ซีทีเอช” แจงปัญหาเคเบิลท้องถิ่นหวั่นMOU ไม่เป็นธรรม เคลียร์ลงตัวแล้ว 200 ราย จาก 300 ราย ถือว่าประสบความสำเร็จ เดินหน้าทดลองออกอากาศ 100 สถานี พร้อมแจกกล่องเซทท็อปร่วม 4 แสนกล่องในล็อตแรกแล้ว ใส่เกียร์ต่อเนื่อง คาดเม.ย.นี้ จุดพลุลุยแบรนด์ “CTH” เต็มกำลัง
นายเกษม อินทร์แก้ว ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย และกรรมการ บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกรณีวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นได้รวมตัวกันในนามสมัชชาเครือข่ายผู้ประกอบการ เคเบิลยั่งยืน - TheAssembly of Cable TV Operators (A.C.O.-เอคโค่) พร้อมจัดงานสัมมนาขึ้น หัวข้อ “ติดอาวุธทางปัญญาผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่น” แต่สาระสำคัญของการสัมมนาครั้งนั้นจะเป็นเรื่องของความกังวลใจเกี่ยวกับ MOU ที่ได้เซ็นกับทางซีทีเอช โดยมีนักวิชาการมาแสดงความคิดเห็นหาทางออกให้นั้น
ในความเป็นจริงมองว่าเป็นเรื่องดีสำหรับธุรกิจเคเบิลท้องถิ่นที่มีการรวมตัวกันทำให้เกิดความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของความกังวลใจเรื่องMOU ที่เกิดขึ้นนั้น มองว่าไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ แต่เป็นเพียงความกังวลใจที่สมาชิกบางรายยังมีอยู่ จากเงื่อนไขที่MOUยังไม่ครอบคลุม แต่หลังจากวันที่ 19 ที่ผ่านมา ได้มีการพูดคุยกันขึ้นของงานสัมมนาในวันนั้น
อย่างไรก็ตามทางซีทีเอชก็ได้เปิดโอกาสพูดคุยกับสมาชิกที่มีความกังวลใจ และหาทางออกร่วมกัน ตามมา จนทำให้ขณะนี้ ซีทีเอช มีสมาชิกที่เห็นชอบเซ็นMOU ไปแล้วกว่า 200 ราย จากสมาชิกทั้งหมด 300 ราย หรือเพิ่มขึ้นจากวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมาอีกราว 40 ราว
ทั้งนี้มองว่าสมาชิก 200 รายนี้ ถือเป็นตัวเลขที่ประสบความสำเร็จและครอบคลุมได้ทั่วประเทศแล้ว เพราะในความเป็นจริงย่อมเป็นไปได้ยากที่จะสามารถทำให้สมาชิกทั้งหมดพึงพอใจได้ แต่ทั้งนี้ทางซีทีเอชยังเปิดโอกาสให้สมาชิกที่เหลือเข้าร่วม MOUกับซีทีเอชอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง 100 รายที่เหลืออยู่นี้ มีทั้งรายใหญ่ที่ยังต้องการทำเอง และบางส่วนขอดูสถาณการณ์ก่อนว่า แพลทฟอร์มที่ซีทีเอชวางไว้นั้น จะเกิดขึ้นและอยู่ได้จริงหรือไม่ ถ้าทำได้จริงก็พร้อมที่จะเข้าร่วมแพลทฟอร์ทหลังจากนั้น
“ซีทีเอชได้มีการพูดคุยกับสมาชิกเพิ่มเติม แต่ละรายก็มีข้องตกลงแตกต่างกันไป ตามโมเดลการดำเนินธุรกิจของแต่ละราย เช่น รายเล็กก็ต้องมีการดูแลมากกว่ารายใหญ่ที่สามารถบริหารจัดการตัวเองได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่แพลทฟอร์มบนมาตรฐานเดียวกันสู่การแข่งขันในตลาดต่อไป”
นายเกษม กล่าวต่อว่า สำหรับ 5ยุทธศาสตร์ของซีทีเอชตามMOU ที่ตกลงกันนั้น ยังเป็นไปตามเดิม คือ 1แพลทฟอร์ม 1โครงข่าย 1บิลลิ่ง 1แบรนด์ และ1 มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์เรื่องของแพลทฟอร์มนั้น ได้ใส่รายละเอียดเพิ่มเติมให้แต่ละพื้นที่สามารถเลือกดึงช่องรายการอื่นๆนอกเหนือจากแพลทฟอร์มซีทีเอชกำหนดไว้ได้
แต่ทั้งนี้ช่องรายการหลักจะต้องมาจากซีทีเอชเป็นอันดับแรก
อย่างไรก็ตาม ขณะที่ทางซีทีเอชได้เริ่มทดลองการออกอากาศบนแพลทฟอร์มใหม่แล้วกว่า 100 สถานีทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด พร้อมทยอยแจกกล่องเซ็ท ท็อป บ๊อกซ์ จำนวน 4 แสนกล่องในล็อตแรกไปแล้ว จากทั้งหมด 2.5 ล้านกล่องที่ต้องแจกทั้งหมด คาดว่าจะครอบคลุมทั่วประเทศได้จาก 200 สมาชิกที่มีอยู่นี้
ส่วนแผนการขายบริการในรูปแบบแพกเกจต่างๆนั้นจะเริ่มเดือนมี.ค.นี้หรือไม่ก็เดือนเมษายนพร้อมๆกับการเปิดตัวแบรนด์ซีทีเอชอย่างเป็นทางการต่อไป โดยแบรนด์นี้จะถูกเรียกนำหน้าชื่อเคเบิลแต่พื้นที่ที่ให้บริการ เช่น ซีทีเอชนวมินทร์ เป็นต้น
นายเกษม อินทร์แก้ว ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย และกรรมการ บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกรณีวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นได้รวมตัวกันในนามสมัชชาเครือข่ายผู้ประกอบการ เคเบิลยั่งยืน - TheAssembly of Cable TV Operators (A.C.O.-เอคโค่) พร้อมจัดงานสัมมนาขึ้น หัวข้อ “ติดอาวุธทางปัญญาผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่น” แต่สาระสำคัญของการสัมมนาครั้งนั้นจะเป็นเรื่องของความกังวลใจเกี่ยวกับ MOU ที่ได้เซ็นกับทางซีทีเอช โดยมีนักวิชาการมาแสดงความคิดเห็นหาทางออกให้นั้น
ในความเป็นจริงมองว่าเป็นเรื่องดีสำหรับธุรกิจเคเบิลท้องถิ่นที่มีการรวมตัวกันทำให้เกิดความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของความกังวลใจเรื่องMOU ที่เกิดขึ้นนั้น มองว่าไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ แต่เป็นเพียงความกังวลใจที่สมาชิกบางรายยังมีอยู่ จากเงื่อนไขที่MOUยังไม่ครอบคลุม แต่หลังจากวันที่ 19 ที่ผ่านมา ได้มีการพูดคุยกันขึ้นของงานสัมมนาในวันนั้น
อย่างไรก็ตามทางซีทีเอชก็ได้เปิดโอกาสพูดคุยกับสมาชิกที่มีความกังวลใจ และหาทางออกร่วมกัน ตามมา จนทำให้ขณะนี้ ซีทีเอช มีสมาชิกที่เห็นชอบเซ็นMOU ไปแล้วกว่า 200 ราย จากสมาชิกทั้งหมด 300 ราย หรือเพิ่มขึ้นจากวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมาอีกราว 40 ราว
ทั้งนี้มองว่าสมาชิก 200 รายนี้ ถือเป็นตัวเลขที่ประสบความสำเร็จและครอบคลุมได้ทั่วประเทศแล้ว เพราะในความเป็นจริงย่อมเป็นไปได้ยากที่จะสามารถทำให้สมาชิกทั้งหมดพึงพอใจได้ แต่ทั้งนี้ทางซีทีเอชยังเปิดโอกาสให้สมาชิกที่เหลือเข้าร่วม MOUกับซีทีเอชอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง 100 รายที่เหลืออยู่นี้ มีทั้งรายใหญ่ที่ยังต้องการทำเอง และบางส่วนขอดูสถาณการณ์ก่อนว่า แพลทฟอร์มที่ซีทีเอชวางไว้นั้น จะเกิดขึ้นและอยู่ได้จริงหรือไม่ ถ้าทำได้จริงก็พร้อมที่จะเข้าร่วมแพลทฟอร์ทหลังจากนั้น
“ซีทีเอชได้มีการพูดคุยกับสมาชิกเพิ่มเติม แต่ละรายก็มีข้องตกลงแตกต่างกันไป ตามโมเดลการดำเนินธุรกิจของแต่ละราย เช่น รายเล็กก็ต้องมีการดูแลมากกว่ารายใหญ่ที่สามารถบริหารจัดการตัวเองได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่แพลทฟอร์มบนมาตรฐานเดียวกันสู่การแข่งขันในตลาดต่อไป”
นายเกษม กล่าวต่อว่า สำหรับ 5ยุทธศาสตร์ของซีทีเอชตามMOU ที่ตกลงกันนั้น ยังเป็นไปตามเดิม คือ 1แพลทฟอร์ม 1โครงข่าย 1บิลลิ่ง 1แบรนด์ และ1 มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์เรื่องของแพลทฟอร์มนั้น ได้ใส่รายละเอียดเพิ่มเติมให้แต่ละพื้นที่สามารถเลือกดึงช่องรายการอื่นๆนอกเหนือจากแพลทฟอร์มซีทีเอชกำหนดไว้ได้
แต่ทั้งนี้ช่องรายการหลักจะต้องมาจากซีทีเอชเป็นอันดับแรก
อย่างไรก็ตาม ขณะที่ทางซีทีเอชได้เริ่มทดลองการออกอากาศบนแพลทฟอร์มใหม่แล้วกว่า 100 สถานีทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด พร้อมทยอยแจกกล่องเซ็ท ท็อป บ๊อกซ์ จำนวน 4 แสนกล่องในล็อตแรกไปแล้ว จากทั้งหมด 2.5 ล้านกล่องที่ต้องแจกทั้งหมด คาดว่าจะครอบคลุมทั่วประเทศได้จาก 200 สมาชิกที่มีอยู่นี้
ส่วนแผนการขายบริการในรูปแบบแพกเกจต่างๆนั้นจะเริ่มเดือนมี.ค.นี้หรือไม่ก็เดือนเมษายนพร้อมๆกับการเปิดตัวแบรนด์ซีทีเอชอย่างเป็นทางการต่อไป โดยแบรนด์นี้จะถูกเรียกนำหน้าชื่อเคเบิลแต่พื้นที่ที่ให้บริการ เช่น ซีทีเอชนวมินทร์ เป็นต้น