ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.สผ.เผยอยู่ระหว่างศึกษาศักยภาพพื้นที่สำรวจปิโตรเลียมที่บราซิล ยันยังไม่ถึงขั้นร่วมทุน เพียงแค่ศึกษาเพื่อเตรียมหร้อมหากรัฐบาลบราซิลเปิดให้สัมปทาน ลุ้นแหล่งมอนทาราผลิตน้ำมันดิบได้เม.ย.นี้ ยอมรับหากเลื่อนผลิตอีกกระทบรายได้เดือนละ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า บริษัทฯอยู่ระหว่างการศึกษาด้านศักยภาพปิโตรเลียมของพื้นที่สำรวจปิโตรเลียมในประเทศบราซิล ซึ่งประเมินว่าพื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสพบปริมาณปิโตรเลียมค่อนข้างมากเพียงแต่อยู่ใต้ดินที่ค่อนข้างลึก
โดยสนใจที่จะลงทุนเพียงแต่อยู่ในขั้นตอนการศึกษา เพื่อเตรียมพร้อมหากรัฐบาลบราซิลเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม
โดยยืนยันว่ายังไม่ถึงขั้นเข้าไปร่วมทุนในแหล่งปิโตรเลียมของบราซิลที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบถึง 8 พันล้านบาร์เรลแต่อย่างใด โดยบริษัทฯศึกษาศักยภาพด้านปิโตรเลียมในหลายประเทศทั่วโลกอยู่แล้ว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิตปิโตรเลียม 9 แสนบาร์เรล/วันในปี 2563
ซึ่งการแสวงหาการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในต่างประเทศนั้นเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันไทยยังต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศมากขึ้นในทุกปี ขณะที่บริษัทฯมีกำลังการผลิตปิโตรเลียมไม่ถึง 30%ของความต้องการใช้ภายในประเทศ ทำให้ต้องไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งแสวงหาโอกาสการลงทุนในประเทศที่ห่างไกลออกไป
เช่นแคนาดา แอฟริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น โดยสนใจเข้าไปลงทุนทั้งเชลล์แก๊ส เชลล์ออยล์ หากพบว่ามีโครงการดีๆก็พร้อมที่จะเข้าไปร่วมทุนหรือซื้อกิจการ
นายเทวินทร์ กล่าวถึงความคืบหน้าการผลิตปิโตรเลียมโครงการมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย ว่า บริษัทฯต้องเลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์แหล่งปิโตรเลียมโครงการมอนทาราจากไตรมาสแรกปีนี้ เป็นเม.ย.2556 โดยยอมรับว่ายังมีความเสี่ยงจากพายุและมีอุปกรณ์ที่อยู่ระหวางแก้ไขอยู่เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เข้มงวดขึ้นของรัฐบาลออสเตรเลีย
เนื่องจากโครงการดังกล่าวล่าช้ามานับตั้งแต่เกิดเหตุเพลิงไหม้ 2552 ทำให้บริษัทฯมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการพัฒนาแหล่งมอนทาราจากเดิมที่บริษัทฯจะเช่าเรือมาเป็นซื้อเรือแทน เป็นต้น
จากความล่าช้าของโครงการรมอนทารา จากเดิมคาดว่าจะผลิตชิงพาณิชย์ได้กลางปี 2555 แต่ติดปัญหาความล่าช้าการออกใบอนุญาตจนล่วงเข้าสู่ช่วงมรสุม ทำให้โครงการดังกล่าวต้องเลื่อนการผลิตออกไปเป็นไตรมาสแรกปี 2556 ซึ่งบริษัทได้ตัดการด้อยค่าของทรัพย์สินมอนทาราไปแล้ว 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หากโครงการมอนทาราต้องเลื่อนการผลิตจากที่กำหนดไว้เม.ย.นี้
เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทเดือนละ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ ยังกระทบต่อเป้าหมายการผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียมของบริษัทฯในปีนี้ที่ตั้งไว้ 3.1 แสนบาร์เรล/วัน ซึ่งเดิมคาดว่าแหล่งมอนทาราจะผลิตน้ำมันดิบได้ในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา แต่โชคดีที่เป้าหมายการผลิตไม่ลด เนื่องจากแหล่งสิริกิติ์สามารถผลิตน้ำมันดิบได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยปัจจุบันแหล่งสิริกิติ์ผลิตอยู่ 3.5 หมื่นบาร์เรล/วัน
ทั้งนี้ โครงการมอนทาราจะผลิตน้ำมันดิบเบื้องต้น 3.1 หมื่นบาร์เรล/วัน และจะผลิตน้ำมันดิบได้เต็มที่ 4 หมื่นบาร์เรล/วัน โดยบริษัทฯจำเป็นต้องสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงว่าจะมีปริมาณสำรองน้ำมันเพิ่ม เพื่อต่ออายุของแหล่งดังกล่าว
ส่วนแหล่งซอติก้าที่พม่า คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้เม.ย.ปี 2557 โดยปลายปีนี้หรือต้นปีหน้าจะทดลองเดินเครื่องเพื่อทดสอบการไหลของก๊าซฯสร้างความมั่นใจว่าจะจ่ายก๊าซฯเข้าระบบให้ไทยได้ตามกำหนด
นายเทวินทร์ กล่าวต่อไปว่า โครงการแคนาดา ออยล์แซนด์ เคเคดี ที่แคนาดานั้น บริษัทฯได้ร่วมกับพันธมิตรในการพัฒนาแหล่งดังกล่าวเพิ่มเติม คาดว่าจะผลิตบิทูเมนได้เพิ่มขึ้นเป็น 7-8 หมื่นบาร์เรล/วันในปี 2560 จากปัจจุบันที่ผลิตอยู่ 1.5-1.6 หมื่นบาร์เรล/วัน ใน 3 แหล่งทั้งแหล่งLeismer แหล่ง Leismer Expansion และแหล่งคอนเนอร์
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า บริษัทฯอยู่ระหว่างการศึกษาด้านศักยภาพปิโตรเลียมของพื้นที่สำรวจปิโตรเลียมในประเทศบราซิล ซึ่งประเมินว่าพื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสพบปริมาณปิโตรเลียมค่อนข้างมากเพียงแต่อยู่ใต้ดินที่ค่อนข้างลึก
โดยสนใจที่จะลงทุนเพียงแต่อยู่ในขั้นตอนการศึกษา เพื่อเตรียมพร้อมหากรัฐบาลบราซิลเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม
โดยยืนยันว่ายังไม่ถึงขั้นเข้าไปร่วมทุนในแหล่งปิโตรเลียมของบราซิลที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบถึง 8 พันล้านบาร์เรลแต่อย่างใด โดยบริษัทฯศึกษาศักยภาพด้านปิโตรเลียมในหลายประเทศทั่วโลกอยู่แล้ว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิตปิโตรเลียม 9 แสนบาร์เรล/วันในปี 2563
ซึ่งการแสวงหาการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในต่างประเทศนั้นเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันไทยยังต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศมากขึ้นในทุกปี ขณะที่บริษัทฯมีกำลังการผลิตปิโตรเลียมไม่ถึง 30%ของความต้องการใช้ภายในประเทศ ทำให้ต้องไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งแสวงหาโอกาสการลงทุนในประเทศที่ห่างไกลออกไป
เช่นแคนาดา แอฟริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น โดยสนใจเข้าไปลงทุนทั้งเชลล์แก๊ส เชลล์ออยล์ หากพบว่ามีโครงการดีๆก็พร้อมที่จะเข้าไปร่วมทุนหรือซื้อกิจการ
นายเทวินทร์ กล่าวถึงความคืบหน้าการผลิตปิโตรเลียมโครงการมอนทารา ประเทศออสเตรเลีย ว่า บริษัทฯต้องเลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์แหล่งปิโตรเลียมโครงการมอนทาราจากไตรมาสแรกปีนี้ เป็นเม.ย.2556 โดยยอมรับว่ายังมีความเสี่ยงจากพายุและมีอุปกรณ์ที่อยู่ระหวางแก้ไขอยู่เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เข้มงวดขึ้นของรัฐบาลออสเตรเลีย
เนื่องจากโครงการดังกล่าวล่าช้ามานับตั้งแต่เกิดเหตุเพลิงไหม้ 2552 ทำให้บริษัทฯมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการพัฒนาแหล่งมอนทาราจากเดิมที่บริษัทฯจะเช่าเรือมาเป็นซื้อเรือแทน เป็นต้น
จากความล่าช้าของโครงการรมอนทารา จากเดิมคาดว่าจะผลิตชิงพาณิชย์ได้กลางปี 2555 แต่ติดปัญหาความล่าช้าการออกใบอนุญาตจนล่วงเข้าสู่ช่วงมรสุม ทำให้โครงการดังกล่าวต้องเลื่อนการผลิตออกไปเป็นไตรมาสแรกปี 2556 ซึ่งบริษัทได้ตัดการด้อยค่าของทรัพย์สินมอนทาราไปแล้ว 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หากโครงการมอนทาราต้องเลื่อนการผลิตจากที่กำหนดไว้เม.ย.นี้
เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทเดือนละ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ ยังกระทบต่อเป้าหมายการผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียมของบริษัทฯในปีนี้ที่ตั้งไว้ 3.1 แสนบาร์เรล/วัน ซึ่งเดิมคาดว่าแหล่งมอนทาราจะผลิตน้ำมันดิบได้ในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา แต่โชคดีที่เป้าหมายการผลิตไม่ลด เนื่องจากแหล่งสิริกิติ์สามารถผลิตน้ำมันดิบได้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยปัจจุบันแหล่งสิริกิติ์ผลิตอยู่ 3.5 หมื่นบาร์เรล/วัน
ทั้งนี้ โครงการมอนทาราจะผลิตน้ำมันดิบเบื้องต้น 3.1 หมื่นบาร์เรล/วัน และจะผลิตน้ำมันดิบได้เต็มที่ 4 หมื่นบาร์เรล/วัน โดยบริษัทฯจำเป็นต้องสำรวจพื้นที่ใกล้เคียงว่าจะมีปริมาณสำรองน้ำมันเพิ่ม เพื่อต่ออายุของแหล่งดังกล่าว
ส่วนแหล่งซอติก้าที่พม่า คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้เม.ย.ปี 2557 โดยปลายปีนี้หรือต้นปีหน้าจะทดลองเดินเครื่องเพื่อทดสอบการไหลของก๊าซฯสร้างความมั่นใจว่าจะจ่ายก๊าซฯเข้าระบบให้ไทยได้ตามกำหนด
นายเทวินทร์ กล่าวต่อไปว่า โครงการแคนาดา ออยล์แซนด์ เคเคดี ที่แคนาดานั้น บริษัทฯได้ร่วมกับพันธมิตรในการพัฒนาแหล่งดังกล่าวเพิ่มเติม คาดว่าจะผลิตบิทูเมนได้เพิ่มขึ้นเป็น 7-8 หมื่นบาร์เรล/วันในปี 2560 จากปัจจุบันที่ผลิตอยู่ 1.5-1.6 หมื่นบาร์เรล/วัน ใน 3 แหล่งทั้งแหล่งLeismer แหล่ง Leismer Expansion และแหล่งคอนเนอร์