xs
xsm
sm
md
lg

จำคุกไฮเทคไม่เกี่ยวการเมือง นำร่องเด็กแว้น-“อธิบดีอาญา”ชี้ไม่ขัดยุติธรรม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วานนี้ (26 มี.ค.) นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวถึงกรณีกระทรวงยุติธรรมประกาศกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจำคุกโดยวิธีอื่น ที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขต พ.ศ.2556 มีผลบังคับใช้เมื่อ 22 มีนาคม โดยระบุว่า เจตนาของกฎกระทรวงดังกล่าว คือต้องการระบายผู้ต้องหาออกจากเรือนจำ โดยป้องกันความเสียหายด้วยกำไลอิเล็กทรอนิกส์หรือกำไลฝังชิพ แต่ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีการบังคับใช้ในการพิจารณาคดีของศาล
ทั้งนี้ ศาลต้องดำเนินการไต่สวนตาม วรรค1 โดยกำหนดให้เจ้าพนักงาน ผู้มีหน้าที่จัดการ ตามหมายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่และรับผิดชอบในการดำเนินการตามคำสั่ง ในมาตรา 89/1 วรรค 4 ที่ให้ใช้บังคับโดยอนุโลม นี่คือที่มาของการออกกฎกระทรวงซึ่งให้อำนาจ และบทบาทกับศาลในการพิจารณา ซึ่งเรื่องนี้ตนเข้าใจว่า มีการออกแก้ไขตั้งแต่ปี 2550 แล้ว แต่ทางกรมราชทัณฑ์อาจยังไม่พร้อมปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม ศาลต้องนำกฎดังกล่าวมาพิจารณาอย่างเป็นทางการอีกครั้ง โดยอาจตั้งคณะทำงานขึ้นมาวางหลักเกณฑ์ เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติของศาลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด เพราะเมื่อออกเป็นกฎแล้วก็ต้องปฏิบัติตาม แต่หลักการเบื้องต้น ศาลต้องพิจารณาถึงฐานความผิดของผู้กระทำ ความประพฤติ สุขภาพ และความปลอดภัยของผู้เสียหาย และพิจารณาว่าสังคมจะได้อะไร เช่นคดีข่มขืน เป็นต้น
ด้านพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงยอมรับว่ามีการใช้มาตรการควบคุมนักโทษแทนการคุมขังในเรือนจำ ถือเป็นวิวัฒนาการซึ่งหลายประเทศทั้งอังกฤษ แคนาดา นำมาใช้ ส่วนในเอเชียมีสิงคโปร์ เกาหลีใต้ได้นำเครื่องมือที่เรียกว่า อีเอ็ม หรือ”Electronic Monitoring “แทนการคุมขังในเรือนจำ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนนักโทษที่ถูกจำคุกประมาณ 2.6 แสนคน จากเรือนจำทั้งหมด 143 แห่ง ขณะที่มีความสามารถในการรองรับนักโทษได้เพียง 1.9 คน จึงต้องมีแนวคิดเสริมในการระบายนักโทษออกไปคุมขังยังสถานที่ข้างนอกเพื่อลดจำนวนนักโทษในเรือนจำ และแม้ว่า กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจำคุกโดยวิธีการอื่นที่สามารถจำกัดการเดินทางและอาณาเขตจะมีผลบังคับใช้ทันทีหลังจากประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา แต่กระทรวงฯก็จะต้องออกกฎระเบียบและวิธีการปฎิบัติให้เร็วที่สุด ขอให้ผู้ที่จะยื่นขอใช้สิทธิรอไปก่อน เพราะจะต้องมีการหารือกับหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง เนื่องจากกฎกระทรวงดังกล่าวมีการเปิดกว้างไว้
“ข้อกังวลที่ระบุว่ากฎกระทรวงได้เปิดกว้างไว้ และอาจทำให้นักโทษคดียาเสพติดและคดีอุกฉกรรจ์ได้รับผลตรงนี้ไปด้วย ก็ต้องรับฟังและหารือก่อนจะมีการร่างข้อกำหนดก่อนจะมีการออกกฎระเบียบดังกล่าว และเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการทำเพื่อรองรับนักโทษคดีการเมือง นอกจากนี้การนำเครื่องมืออิเลคทรอนิคส์มาใช้กับนักโทษตามมาตรา 89//1 และมาตรา 89/2 เป็นคนละส่วนกับโครงการนำร่องที่กรมคุมประพฤติจะนำมาใช้กับกลุ่มเด็กแว้น สำหรับงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการสั่งซื้อเครื่องมือดังกล่าวนั้น ยังไม่สามารถกำหนดได้ เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนนักโทษ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าว
พล.ต.อ.ประชา ยังย้ำอีกว่า การปฎิบัติตามกฎกระทรวงดังกล่าวจะเน้นไปที่กลุ่มผู้ต้องขัง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ต้องชรา หรือป่วยเป็นโรคเอดส์ ไตวายเรื้อรัง มะเร็ง หากจำคุกต่อไปต้องเสียชีวิต 2 กลุ่มที่ต้องออกไปดูแลลูกและภรรยาหรือพ่อแม่ที่แก่ชราและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 3.กลุ่มผู้เจ็บป่วยเรื้อรังและต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง และ 4.กลุ่มนักโทษทีมีเหตุทุเลาการลงโทษ เช่น ต้องคลอดบุตร หรือวิกลจริต โดยญาติจะต้องร้องขอต่อเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลอีกครั้งส่วนศาลจะมีดุลยพินิจอย่างไร ถือเป็นอำนาจของศาล ซึ่งการปฎิบัติจะต้องมีความชัดเจนโดยจะใช้ระบบจีเอสเอ็มในการติดตามตัว ซึ่งปัจจุบันทางกรมราชทัณฑ์มีแนวปฎิบัติให้ลดวันต้องโทษและพักการลงโทษกับนักโทษชราและนักโทษเจ็บป่วยในระยะสุดท้ายอยู่แล้ว
นายชาญเชาว์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า เงื่อนไขสำคัญของกฎกระทรวงฉบับนี้ คือ ใช้เฉพาะกับนักโทษที่กำลังติดคุก ซึ่งตามประมวลกฎหมายป.วิอาญานักโทษที่เข้าข่ายจะใช้เครื่องมืออีเลคทรอนิคส์จะต้องติดคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1ใน 3 ของโทษตามที่ศาลมีคำสั่ง ถ้าใครไม่เข้าเงื่อนไข ก็ใช้วิธีการนี้ไม่ได้
กำลังโหลดความคิดเห็น