xs
xsm
sm
md
lg

ครม.เห็นชอบข้อเสนอ คอ.นธ.กรองนักโทษคดีไม่ร้ายแรงออกจากเรือนจำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ภาพจากแฟ้ม)
ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบข้อเสนอแก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ 10 ข้อ ตามที่ คอ.นธ.เสนอ เน้นกรองผู้ต้องหาคดีไม่ร้ายแรงออกจากเรือนจำ

วันนี้ (2 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบตามที่คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มีนายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา โดย คอ.นธ.ได้เสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอาญา และข้อเสนอแนะแนวทาง และมาตราการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ การควบคุมผู้ต้องขังและการใช้เครื่องพันธนาการ ดังนี้คือ

สำหรับแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาความแออัดของนักโทษ และผู้ต้องขังล้นเรือนจำ การควบคุมผู้ต้องขัง และการใช้เครื่องพันธนาการนั้น ทาง คอ.นธ.เห็นว่า การใช้มาตรากรทางเลือก แทนการใช้โทษจำคุกในเรือนจำ ตั้งแต่การเบี่ยนเบนก่อนเข้าสู่การะบวนการยุติธรรม จนถึงการใช้มาตราการทางเลือกในการลดโทษ ได้แก่ 1. กำหนดให้ความผิดทางอาญาบางประเภท เป็นความผิดอันยอมความได้ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์บางประเภท

2. การยกเลิกการใช้โทษทางอาญา สำหรับความผิดอาญาบางประเภท ที่มีฐานความผิดทางแพ่ง โดยกไหนดให้ใช้โทษอย่างอื่นแทนทษทางอาญา เช่น กรณีความผิดเกี่ยวกับการใช้เช็ค อาจใช้มาตราการหามใช้เช็คอีกต่อไป หรือมาตรการอื่นๆ 3. สนับสนุนให้มีการใช้มาตรการชะลอการฟ้อง สำหรับคดีอาญาบางประเภท ในชั้นพนักงานสอบสวนและชั้นพนักงานอัยการ เพื่อเบี่ยนเบนคดีเข้าสู่ศาล โดยมีเงื่อนไขการควบคุมความประพฤติ หากผิดเงื่อนไขก็จะถูกฟ้องต่อไป

4. สนับสนุนให้มีการใช้มาตราการคุมประพฤติ สำหรับผู้กระทำผิดทางอาญาให้มากขึ้น โดยการขยายหลักเกณฑ์และเงื่อนไข แต่เพื่อให้สังคมมีความมั่นใจในระบบคุมประพฤติ จึงควรนำเครื่องมือ Electronic Monitiring มาใช้ และรัฐควรให้การสนับสนุน กรมควบคุมประพฤติให้มากขึ้น เพื่อรองรับการทำงานคุมประพฤติที่เพิ่มขึ้น 5. ควรสนับสนุนให้ผู้ต้องหา หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ต้องหาระหว่างการสอบสวน และพิจารณาคดีในเรือนจำลดลง ทั้งนี้อาจกำหนดให้มีการใช้เครื่องมือ Electronic Monitiring ประกอบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการควบคุม และควมมั่นใจในการติดตามการหลบหนี

6. เร่งรัดให้มีการประกาศกระทรวงยุติธรรม ในการกำหนดสถานที่ขัง ตามกฎกระทรวงกำหนดสถานที่อื่น ที่ใช้ในการขัง จำคุก หรือควบคุมผู้ต้องหาจำเลย หรือผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด พ.ศ. 2552 โดยเร็ว ซึ่งหากกระทรวงยุติธรรมได้กำหนดสถานที่ขัง ตามกฎกระทรวงนี้แล้วศาลอาจมีคำสั่งให้จำเลย อยู่ในความควบคุมในสถานที่อื่นอันควร นอกจากเรือนจำหรือสถานที่อื่นที่กำหนดในหมายจำคุกได้ โดยเป็นไปตามมาตรา 89 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ในการดำเนินการจะต้องมีวิธีควบคุมและมีมาตราการป้องกัน การหลบหนีโดยอาจนำเครื่องมือ Electronic Monitiring มาใช้ประกอบด้วย

7. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การพักการลงโทษโดยการบดระยะเวลาการรับโทษในเรือนจำ ให้เหลือ 1 ใน 3 จาก 2 ใน 3 เพื่อให้ผู้ต้องขังมีสิทธิขอพักการลงโทษมากขึ้น แต่เพื่อความมั่นใจของสังคม ควรนำเครื่องมือ Electronic Monitiring มาใช้ประกอบด้วย 8. ผ่อนปรนการพักการลงโทษกรณีพิเศษให้มากขึ้น ทั้งนี้ให้นำ Electronic Monitiring มาใช้ เพื่ลดความระแวงของสังคมและควรมีการเปิดกว้าง ให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมเป็นกรรมการพิจารณาด้วย

9. สนับสนุนให้มีโรงเรียนประชาวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์มากขึ้น เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการอบรมก่อนปล่อยพักโทษกรณีพิเศษ และ 10. เพิ่มศักยภาพของเรือนจำชั่วคราวและทัณฑสถาน โดยเปิดเป็นศูนย์เตรียมความพร้อม ก่อนการปล่อยตัวให้สามารถรองรับผู้ต้องขัง ที่ใกล้พ้นโทษให้มากขึ้น เพื่อเป็นการระบายผู้ต้องขังจากเรือนจำใหญ่ มาไว้ที่ศูนย์เตรียมความพร้อม ก่อนการปล่อยตัวเป็นการลดความแออัดในเรือนจำใหญ่ ทั้งนี้อาจนำเครื่องมือ Electronic Monitiring มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม พร้อมทั้งแก้ไขระเบียบกรมราชทัณฑ์ เกี่ยวกับอัตราส่วนการควบคุม พร้อมท็งแก้ไขระเบียบกรมราชทณฑ์ เกี่ยวกับอัตราส่วนการควบคุมของผู้คุม ต่อผู้ต้องขังในเรือนจำชั่วคราวให้มากขึ้น

รองโฆษกฯ กล่าวว่า มาตราการทั้ง 10 ข้อ เป็นการกรองผู้ต้องขังในคดี ที่ทำผิดไม่ร้ายแรง หรือไม่มีพฤติกรรมอาชญากร ออกจากระบบเรือนจำ เพื่อให้เรือนจำเป็นที่คุมขังผู้ต้องขังที่เป็นอันตราย ต่อสังคมหรือผู้ต้องขังรายสำคัญ ส่วนปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยการจราจร กรณีเจ้าพนักงานจราจรเรียกรับเงิน จากผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่กระทำผิดกฎหมายว่าดวยการจราจร โดยเห็นควรให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แก้ปัญหาด้วยวีธีการออกระเบียบภายในเป็นการเพิ่มเติม โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ซึ่งผู้แทน สตช.เสนอขอรับมาตราการและแนวทาง ตามข้อเสนอของ คอ.นธ.นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น