วานนี้(26 มี.ค.56) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่า พรรคประชาธิปัตย์เตรียมที่จะอภิปรายการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกมาตราหากมีการพิจารณาในสภาฯ แต่ในมาตรา 68 นั้นเป็นประเด็นที่คิดว่าร้อนที่สุด เห็นว่า เป็นการลดทอนอำนาจการตรวจสอบของประชาชนกับศาลรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญก็คือตอนนี้ก็ต้องมาพิจารณากันว่า อยู่ดี ๆ ทำไมมาแก้ตรงนี้เพราะต้องการที่จะย้อนกลับไปรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ ขณะเดียวกันในมาตราอื่น ๆ ก็มีข้อสังเกต เช่น เรื่องมาตรา 190 ก็มีการแก้ไขถ้อยคำ คือเดิมเราก็บอกว่ามันไม่คล่องตัวจริง ๆ ก็มีการแก้ไขไปแล้วครั้งหนึ่งเพื่อให้มันคล่องตัวมากขึ้น แต่ตอนนี้มารื้อกลับไปเป็นเหมือนกับก่อนมีรัฐธรรมนูญปี 50 เพื่อที่จะให้ข้อตกลงต่างๆ นั้นไม่ต้องเข้าสภาเลยทั้งที่ความจริงไม่จำเป็น เพียงแต่ข้อตกลงอะไรที่คลุมเครือก็สามารถไปออกกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ว่าข้อตกลงประเภทไหนต้องเข้าสภา
นอกจากนี้ในมาตรา 237 เรื่องการยุบพรรค ถ้าเราเห็นว่าพรรคเป็นองค์กร ไม่ควรถูกยุบก็ไม่ว่ากัน แต่ว่าความรับผิดชอบของกรรมการบริหารนั้น จะพยายามโยนกลับไปเป็นเรื่องเฉพาะตัวอย่างเดียว ตรงนี้อันตราย เพราะว่าการที่พรรคไปทำอะไร โดยอาจจะมีการมอบหมายโดยเปิดเผย หรือไม่เปิดเผยนั้น ก็กลายเป็นว่าไม่มีใครต้องรับผิดชอบอะไร ใครถูกใช้ไปทำก็รับผิดไปคนเดียว ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ที่ให้กลับไปใช้รธน.ปี 2540 ที่ให้มีการเลือกตั้งทั้ง 200 คน โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถเลือกวุฒิสภาได้เพียงคนเดียว แต่ครั้งนี้มีข้อแตกต่างคือ ให้มีการเลือกตั้งเหมือนการเลือกผู้แทน จึงเกิดคำถามว่า ถ้าอย่างนั้นมี 2 สภาที่เป็นลักษณะเดียวกันได้อย่างไร
ที่พรรคเพื่อไทย นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค พท. กล่าวถึงกรณีกลุ่ม 40 ส.ว.จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สไกป์มาที่พรรคเพื่อไทยขัดต่อมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองโดยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณสไกป์มาเป็นการล้มล้างการปกครองก็ถือเป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณเพียงแค่ออกความเห็นรักษาประชาธิปไตย จะเป็นการล้มล้างการปกครองได้อย่างไร
อีกทั้ง รัฐบาลพรรคเพื่อไทยหาเสียงว่าจะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐบาลดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแก้ไขมาตรา 291 แต่มีปัญหาในการพิจารณาในวาระที่ 3 จึงต้องแก้ไขเป็นรายมาตราตามคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์มีปัญหาในตอนนี้ ทั้งที่พรรคประชาธิปัตย์เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรามาแล้วเมื่อตัวเองได้ประโยชน์
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์และแกนนำนปช. กล่าวว่า ในสภาฯ เวลานี้ไม่มีอะไรนอกระบบจนเกิดความขัดแย้ง อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลดูเหมือนจะเกิดอาการลุกลี้ลุกลนผิดปกติ และมีความพยายามสร้างประเด็นเพื่อปลุกระดม อย่างเช่นในโลกไซเบอร์ก็หยิบยกเอาเรื่องพลังงานเพื่อปั่นกระแส จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าฝ่ายค้านและอำนาจนอกระบบมีการตกลงกันแล้วหรือไม่ ว่าให้มาสร้างกระแสเพื่อทำให้สถานการณ์ทางการเมืองร้อนแรงขึ้น โดยเฉพาะในเดือนเมษายน ที่จะแปลกแยกแตกต่างออกไปคือ ฝ่ายค้านแตะมือกับอำนาจนอกระบบ พยายามสร้างประเด็นความขัดแย้งขึ้นมาใหม่เท่านั้นเอง.
นอกจากนี้ในมาตรา 237 เรื่องการยุบพรรค ถ้าเราเห็นว่าพรรคเป็นองค์กร ไม่ควรถูกยุบก็ไม่ว่ากัน แต่ว่าความรับผิดชอบของกรรมการบริหารนั้น จะพยายามโยนกลับไปเป็นเรื่องเฉพาะตัวอย่างเดียว ตรงนี้อันตราย เพราะว่าการที่พรรคไปทำอะไร โดยอาจจะมีการมอบหมายโดยเปิดเผย หรือไม่เปิดเผยนั้น ก็กลายเป็นว่าไม่มีใครต้องรับผิดชอบอะไร ใครถูกใช้ไปทำก็รับผิดไปคนเดียว ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ที่ให้กลับไปใช้รธน.ปี 2540 ที่ให้มีการเลือกตั้งทั้ง 200 คน โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถเลือกวุฒิสภาได้เพียงคนเดียว แต่ครั้งนี้มีข้อแตกต่างคือ ให้มีการเลือกตั้งเหมือนการเลือกผู้แทน จึงเกิดคำถามว่า ถ้าอย่างนั้นมี 2 สภาที่เป็นลักษณะเดียวกันได้อย่างไร
ที่พรรคเพื่อไทย นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค พท. กล่าวถึงกรณีกลุ่ม 40 ส.ว.จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สไกป์มาที่พรรคเพื่อไทยขัดต่อมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองโดยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณสไกป์มาเป็นการล้มล้างการปกครองก็ถือเป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณเพียงแค่ออกความเห็นรักษาประชาธิปไตย จะเป็นการล้มล้างการปกครองได้อย่างไร
อีกทั้ง รัฐบาลพรรคเพื่อไทยหาเสียงว่าจะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐบาลดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแก้ไขมาตรา 291 แต่มีปัญหาในการพิจารณาในวาระที่ 3 จึงต้องแก้ไขเป็นรายมาตราตามคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์มีปัญหาในตอนนี้ ทั้งที่พรรคประชาธิปัตย์เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรามาแล้วเมื่อตัวเองได้ประโยชน์
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์และแกนนำนปช. กล่าวว่า ในสภาฯ เวลานี้ไม่มีอะไรนอกระบบจนเกิดความขัดแย้ง อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลดูเหมือนจะเกิดอาการลุกลี้ลุกลนผิดปกติ และมีความพยายามสร้างประเด็นเพื่อปลุกระดม อย่างเช่นในโลกไซเบอร์ก็หยิบยกเอาเรื่องพลังงานเพื่อปั่นกระแส จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าฝ่ายค้านและอำนาจนอกระบบมีการตกลงกันแล้วหรือไม่ ว่าให้มาสร้างกระแสเพื่อทำให้สถานการณ์ทางการเมืองร้อนแรงขึ้น โดยเฉพาะในเดือนเมษายน ที่จะแปลกแยกแตกต่างออกไปคือ ฝ่ายค้านแตะมือกับอำนาจนอกระบบ พยายามสร้างประเด็นความขัดแย้งขึ้นมาใหม่เท่านั้นเอง.