คลังจับตาค่าเงินบาทใกล้ชิดหวั่นแข็งค่ามากกว่าภูมิภาคทำส่งออกสะดุดและอาจกระทบการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ ระบุจีดีพีอาจโตต่ำกว่าเป้าหมาย 5% เล็งปรับประมาณการณ์ใหม่สิ้นเดือนมีนาคมนี้ ประสานเสียง”โต้ง”ขย่มแบงก์ชาติใช้นโยบายการเงินเข้าดูแลก่อนหลุด 28 บาทต่อดอลลาร์
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สศค.กำลังจับตาการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาค โดยพบว่าในช่วง 10 วันที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าและเร็วกว่าสกุลเงินอื่นๆ จริง ทำให้อาจจะเกิดปัญหาต่อภาคการส่งออกของไทยตามมา จากที่ประเมินการขยายตัวของการส่งออกปีนี้ไว้ที่ระดับ 10% หรือขอกระทรวงพาณิชย์ที่ประเมินไว้ในระดับ 9%อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยหากค่าเงินแข็งขึ้นทุก1% จะกระทบการส่งออกลดลงถึง 0.3% ซึ่งขณะนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปแล้ว 5%
อย่างไรก็ตาม เงินบาทที่เคลื่อนไหวในขณะนี้ที่ 29 บาทต่อดอลลาร์นั้นถือว่ายังอยู่ในช่วงการคาดการณ์ของสศค.ที่ประเมินไว้ทั้งปีระหว่าง 28.70-30.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือมีค่ากลางที่ 29.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากเงินบาทลงมาอยู่ต่ำกว่าค่ากลางหรือแตะ 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐก็คงส่งผลกระทบต่อการส่งออกและและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ โดยอาจจะไม่ได้ขยายตัวในระดับ 5% ตามที่คาดการณ์ไว้เดิม โดยสศค.อยู่ระหว่างทบทวนตัวเลขจีดีพีและจะมีการประกาศอีกครั้งในสัปดาห์หน้า และขณะนี้ยังไม่ได้มองภาพในแง่ร้ายขนาดที่จีดีพีจะปรับลดลงเหลือ 3% อย่างที่ภาคเอกชนมีการประเมินกันใหม่แล้ว
“ยอมรับว่าสถานการณ์ค่าเงินบาทน่าเป็นห่วงผู้เกี่ยวข้องต้องเข้าไปดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วและมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เพราะจะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกตามมา โดยส่วนของมาตรการการคลังที่มีอยู่ก็ทำเกือบหมดแล้วทั้งการส่งเสริมการออกไปลงทุน การเร่งชำระหนี้ ทางด้านมาตรการการเงินทางธนาคารแห่งประเทศไมย(ธปท.) ก็ควรจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้นไปอีก โดยคงต้องติดตามว่าผลของมาตรการต่างๆ จะส่งผลหรือไม่ซึ่งขณะนี้ยังโชคดีที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังดีแม้เงินบาทแข็งก็กระทบให้ส่งออกลดลงเพียง 0.1-0.3% หากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าแย่ลงจะส่งผลกระทบหนักกว่า” นายสมชัยกล่าว
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า ได้ให้แนวทางสำนักบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ในการออกพันธบัตรระดมทุนเพื่อการลงทุนในโครสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทนั้น ในช่วงแรกๆ ควรออกพันธบัตรขายให้นักลงทุนในประเทศก่อนและน่าจะเป็นพันธบัตรอายุไม่ยาวนักประมาณ 3-5 ปี เช่น พันธบัตรออมทรัพย์ เพราะหากขายให้นักลงทุนสถาบันหรือต่างชาติที่ชอบลงทุนระยะยาว 10-20-30 ปี จะยิ่งทำให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามาเพื่อแลกเงินบาทลงทุนในพันธบัตร ก็จะยิ่งกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก และหากจะจ่ายดอกเบี้ยสูงๆ ให้ประชาชนในประเทศก็ไม่ถือว่าน่าเสียดาย
“แม้กฎหมายเปิดช่องให้กู้เงินต่างประเทศมาลงทุนได้แต่เป้าหมายคงใช้เงินออมในประเทศทั้งหมดที่มีกองอยู่ที่ธปท.ถึง 3.1 ล้านล้านบาทเพราะการไปออกพันธบัตรต่างประเทศหรือบาทบอนด์ก็จะยิ่งทำให้มีเงินไหลเข้ามากดดันเงินบาทให้แข็งค่าขึ้นไปอีก” นายกิตติรัตน์กล่าว
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สศค.กำลังจับตาการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาค โดยพบว่าในช่วง 10 วันที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าและเร็วกว่าสกุลเงินอื่นๆ จริง ทำให้อาจจะเกิดปัญหาต่อภาคการส่งออกของไทยตามมา จากที่ประเมินการขยายตัวของการส่งออกปีนี้ไว้ที่ระดับ 10% หรือขอกระทรวงพาณิชย์ที่ประเมินไว้ในระดับ 9%อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยหากค่าเงินแข็งขึ้นทุก1% จะกระทบการส่งออกลดลงถึง 0.3% ซึ่งขณะนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปแล้ว 5%
อย่างไรก็ตาม เงินบาทที่เคลื่อนไหวในขณะนี้ที่ 29 บาทต่อดอลลาร์นั้นถือว่ายังอยู่ในช่วงการคาดการณ์ของสศค.ที่ประเมินไว้ทั้งปีระหว่าง 28.70-30.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือมีค่ากลางที่ 29.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากเงินบาทลงมาอยู่ต่ำกว่าค่ากลางหรือแตะ 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐก็คงส่งผลกระทบต่อการส่งออกและและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ โดยอาจจะไม่ได้ขยายตัวในระดับ 5% ตามที่คาดการณ์ไว้เดิม โดยสศค.อยู่ระหว่างทบทวนตัวเลขจีดีพีและจะมีการประกาศอีกครั้งในสัปดาห์หน้า และขณะนี้ยังไม่ได้มองภาพในแง่ร้ายขนาดที่จีดีพีจะปรับลดลงเหลือ 3% อย่างที่ภาคเอกชนมีการประเมินกันใหม่แล้ว
“ยอมรับว่าสถานการณ์ค่าเงินบาทน่าเป็นห่วงผู้เกี่ยวข้องต้องเข้าไปดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วและมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เพราะจะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกตามมา โดยส่วนของมาตรการการคลังที่มีอยู่ก็ทำเกือบหมดแล้วทั้งการส่งเสริมการออกไปลงทุน การเร่งชำระหนี้ ทางด้านมาตรการการเงินทางธนาคารแห่งประเทศไมย(ธปท.) ก็ควรจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้นไปอีก โดยคงต้องติดตามว่าผลของมาตรการต่างๆ จะส่งผลหรือไม่ซึ่งขณะนี้ยังโชคดีที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังดีแม้เงินบาทแข็งก็กระทบให้ส่งออกลดลงเพียง 0.1-0.3% หากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าแย่ลงจะส่งผลกระทบหนักกว่า” นายสมชัยกล่าว
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวว่า ได้ให้แนวทางสำนักบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ในการออกพันธบัตรระดมทุนเพื่อการลงทุนในโครสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทนั้น ในช่วงแรกๆ ควรออกพันธบัตรขายให้นักลงทุนในประเทศก่อนและน่าจะเป็นพันธบัตรอายุไม่ยาวนักประมาณ 3-5 ปี เช่น พันธบัตรออมทรัพย์ เพราะหากขายให้นักลงทุนสถาบันหรือต่างชาติที่ชอบลงทุนระยะยาว 10-20-30 ปี จะยิ่งทำให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามาเพื่อแลกเงินบาทลงทุนในพันธบัตร ก็จะยิ่งกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก และหากจะจ่ายดอกเบี้ยสูงๆ ให้ประชาชนในประเทศก็ไม่ถือว่าน่าเสียดาย
“แม้กฎหมายเปิดช่องให้กู้เงินต่างประเทศมาลงทุนได้แต่เป้าหมายคงใช้เงินออมในประเทศทั้งหมดที่มีกองอยู่ที่ธปท.ถึง 3.1 ล้านล้านบาทเพราะการไปออกพันธบัตรต่างประเทศหรือบาทบอนด์ก็จะยิ่งทำให้มีเงินไหลเข้ามากดดันเงินบาทให้แข็งค่าขึ้นไปอีก” นายกิตติรัตน์กล่าว