ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวานนี้ (21มี.ค.) ช่วงที่กำลังพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกันชีวิต ได้เกิดปัญหาองค์ประชุมไม่ครบ ทำให้สภาล่ม โดยในการตรวจสอบองค์ประชุมก่อนลงมติครั้งแรก มีผู้อยู่ในห้องประชุม จำนวน 266 คน แต่นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ท้วงติงว่า ไม่น่าจะมีสมาชิกอยู่มากขนาดนั้น เนื่องจากประเมินจากสายตาเห็นว่า มีสมาชิกอยู่ในห้องประชุมน้อยมาก จึงเสนอให้มีการเสียบบัตรนับองค์ประชุมใหม่อีกครั้ง โดยผลการนับครั้งที่สองปรากฏว่า มีผู้อยู่ในห้องประชุมเพียง 235 คน ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของส.ส.ทั้งหมด ทำให้ไม่ครบองค์ประชุม นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม จึงสั่งปิดประชุมทันที ถือว่าสภาล่มเป็นครั้งที่สอง ในสมัยประชุมนี้
ทั้งนี้ ในที่ประชุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย เนื่องจากมีกำหนดการเดินทางไปนิวซีแลนด์ และปาปัวนิวกินี ในวันที่ 21-25 มี.ค. ทำให้ส.ส.รัฐบาล ถือโอกาสโดดร่ม จนเป็นเหตุให้สภาล่มดังกล่าว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ 2 อย่างในการประชุมสภาครั้งนี้ คือ กรณีที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีไม่สนใจงานสภา หนีกระทู้สดของฝ่ายค้าน จนต้องเลื่อนการถามกระทู้สดมาหลายสัปดาห์ และกรณีสภาล่ม แสดงให้เห็นชัดเจนว่า รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับสภาอย่างที่ควรจะเป็น ตั้งแต่ตัวนายกฯ ถึงรัฐมนตรี ซึ่งทุกสัปดาห์จะมีปัญหาไม่มาตอบกระทู้สดของฝ่ายค้าน โดยมักจะมอบหมายให้ รองนายกฯ หรือรัฐมนตรี มาชี้แจงแทน จึงเกิดปัญหาจนต้องเลื่อนการถามกระทู้ทุกครั้ง แต่สัปดาห์นี้ถือว่าหนักที่สุด คือไม่มีผู้มาตอบกระทู้ถึง 2 กระทู้ ทำให้ต้องเลื่อนไปสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นไปได้ยาก เนื่องจากในสัปดาห์หน้า จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท และสัปดาห์ถัดไป รัฐบาลจะนำเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เข้ามาพิจารณาอีก จากนั้นก็จะติดเทศกาลสงกรานต์ และปิดสมัยประชุม เท่ากับรัฐบาลหนีกระทู้ ทั้งสมัยประชุม
ส่วนกรณีที่สภาล่ม ก็น่าเชื่อว่าจะมีการกดบัตรแทนกันในการตรวจสอบองค์ประชุมหลายครั้ง ซึ่งตนได้ยื่นเรื่องให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ทำการสอบสวนเรื่องการกดบัตรแทนกันในที่ประชุม เมื่อสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา และครั้งนี้ ก็น่าจะอนุมานได้ว่า มีการกดบัตรแทนกันอีก เพราะการตรวจสอบองค์ประชุมครั้งแรกมีสมาชิกกดบัตร 266 เสียง แต่เมื่อให้มีการกดบัตรใหม่ โดยเป็นที่รู้กันว่า ถ้ามีการกดบัตรแทนกันอีก จะต้องถูกสอบสวนทำให้คะแนนออกมาเหลือเพียง 235 เสียง แปลว่ามีการกดบัตรแทนกัน 31 เสียง สะท้อนให้เห็นถึงความไม่รับผิดชอบ ซึ่งตนไม่ตำหนิใครคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่สภาต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของการปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับประมวลจริยธรรม ไม่เช่นนั้นจะให้คนอื่นมาปฏิบัติตามกฎหมาย และรัฐธรรมนูญคงเป็นไปได้ยาก ซึ่งเป็นเรื่องที่นายสมศักดิ์ จะต้องตรวจสอบ รวมกับเรื่องที่ตนร้องเรียนไปก่อนหน้านี้
"ความจริงไม่ต้องรอให้ผมยื่นเรื่องให้สอบสวน เพราะเป็นหน้าที่ประธานสภาฯต้องทำอยู่แล้ว แต่เมือมีการส่งให้ประธานกรรมการประมวลจริยธรรมของสภาฯตรวจสอบ เราก็ต้องรอผล แต่คิดว่าเวลานี้สมควรแล้วที่ควรจะมีการทวงถามความคืบหน้าในเรื่องนี้ หวังว่า นายสมศักดิ์ จะทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ไม่เช่นนั้นก็จะเสื่อมไปด้วย ที่จงใจปล่อยปละละเลย ให้มีการทำผิดกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ" นายจุรินทร์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากคิดว่ามีการทำผิดกฎหมายในสภา จะมีการยื่นให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ขอให้ประธานสภาฯทำการตรวจสอบให้สุดทางก่อน ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร เพราะนายสมศักดิ์ ก็รับปากว่าจะประสานงานกับนายกฯ และรัฐมนตรี ให้มาตอบแต่หลายสัปดาห์ก็ยังไม่ดีขึ้้น ดังนั้นตนคิดว่า รัฐบาลสมควรถูกประนามแล้ว จากสถานการณ์ที่หนักข้อขึ้นตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ตัวนายกฯ ที่มาประชุมสภาน้อยมาก ปรากฏตัวในสภานับครั้งได้ ส่วนกระทู้ถามสด ตั้งแต่มีสภาชุดนี้นายกฯ เพิ่งมาตอบแค่สองครั้ง เป็นกระทู้สดของรัฐบาลด้วยกันหนึ่งครั้ง และฝ่ายค้านหนึ่งครั้ง นอกจากนั้น ไม่เคยมาตอบเลย
เมื่อถามว่า ประธานสภาเป็นคนของพรรคเพื่อไทย จะกล้าทำหนังสือประนามนายกรัฐมนตรี หรือ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตรงนี้จะเป็นสิ่งสะท้อนถึงการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา เพราะการเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง นายกฯ จะปฏิเสธไม่มาร่วมก็ได้ เพราะอยู่ฝ่ายบริหาร แต่ต้องไม่ลืมว่า นายกฯก็เป็นผู้แทนคนหนึ่ง มีหน้าที่ต้องมาประชุมอย่างน้อยในฐานะส.ส. และต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ผู้แทนคนอื่นด้วย และเป็นผู้นำหลักของพรรคการเมือง ก็ต้องเป็นผู้นำส.ส.ในสังกัดพรรคเดียวกันด้วย
นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า จากการพิจารณาการบรรจุวาระของประธานสภาฯ คิดว่ามีแนวโน้มที่รัฐบาลจะหนีการแถลงผลงานครบรอบ 1 ปี เป็นครั้งที่สอง ในสมัยประชุมนี้ หลังจากพยายามหลีกเลี่ยงที่จะแถลงผลงานครบรอบ 1 ปีมาตั้งแต่สมัยประชุมที่แล้ว ทำให้การที่รัฐสภาลงมติให้รัฐบาลแถลงผลงานในสมัยประชุมนิติบัญญัติได้เป็นเพียงแค่ปาหี่หรือละครฉากหนึ่ง เพื่อให้รอดตัวไม่ให้รัฐบาลถูกประนามว่าหนีการแถลงผลงานเท่านั้น เพราะเมื่อรัฐสภาอนุมัตแล้ว กลับไม่มีการดำเนินการใด ๆ และยังไม่มีการบรรจุในวาระการประชุม แต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในที่ประชุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย เนื่องจากมีกำหนดการเดินทางไปนิวซีแลนด์ และปาปัวนิวกินี ในวันที่ 21-25 มี.ค. ทำให้ส.ส.รัฐบาล ถือโอกาสโดดร่ม จนเป็นเหตุให้สภาล่มดังกล่าว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ 2 อย่างในการประชุมสภาครั้งนี้ คือ กรณีที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีไม่สนใจงานสภา หนีกระทู้สดของฝ่ายค้าน จนต้องเลื่อนการถามกระทู้สดมาหลายสัปดาห์ และกรณีสภาล่ม แสดงให้เห็นชัดเจนว่า รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญกับสภาอย่างที่ควรจะเป็น ตั้งแต่ตัวนายกฯ ถึงรัฐมนตรี ซึ่งทุกสัปดาห์จะมีปัญหาไม่มาตอบกระทู้สดของฝ่ายค้าน โดยมักจะมอบหมายให้ รองนายกฯ หรือรัฐมนตรี มาชี้แจงแทน จึงเกิดปัญหาจนต้องเลื่อนการถามกระทู้ทุกครั้ง แต่สัปดาห์นี้ถือว่าหนักที่สุด คือไม่มีผู้มาตอบกระทู้ถึง 2 กระทู้ ทำให้ต้องเลื่อนไปสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นไปได้ยาก เนื่องจากในสัปดาห์หน้า จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท และสัปดาห์ถัดไป รัฐบาลจะนำเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เข้ามาพิจารณาอีก จากนั้นก็จะติดเทศกาลสงกรานต์ และปิดสมัยประชุม เท่ากับรัฐบาลหนีกระทู้ ทั้งสมัยประชุม
ส่วนกรณีที่สภาล่ม ก็น่าเชื่อว่าจะมีการกดบัตรแทนกันในการตรวจสอบองค์ประชุมหลายครั้ง ซึ่งตนได้ยื่นเรื่องให้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ทำการสอบสวนเรื่องการกดบัตรแทนกันในที่ประชุม เมื่อสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา และครั้งนี้ ก็น่าจะอนุมานได้ว่า มีการกดบัตรแทนกันอีก เพราะการตรวจสอบองค์ประชุมครั้งแรกมีสมาชิกกดบัตร 266 เสียง แต่เมื่อให้มีการกดบัตรใหม่ โดยเป็นที่รู้กันว่า ถ้ามีการกดบัตรแทนกันอีก จะต้องถูกสอบสวนทำให้คะแนนออกมาเหลือเพียง 235 เสียง แปลว่ามีการกดบัตรแทนกัน 31 เสียง สะท้อนให้เห็นถึงความไม่รับผิดชอบ ซึ่งตนไม่ตำหนิใครคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่สภาต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของการปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับประมวลจริยธรรม ไม่เช่นนั้นจะให้คนอื่นมาปฏิบัติตามกฎหมาย และรัฐธรรมนูญคงเป็นไปได้ยาก ซึ่งเป็นเรื่องที่นายสมศักดิ์ จะต้องตรวจสอบ รวมกับเรื่องที่ตนร้องเรียนไปก่อนหน้านี้
"ความจริงไม่ต้องรอให้ผมยื่นเรื่องให้สอบสวน เพราะเป็นหน้าที่ประธานสภาฯต้องทำอยู่แล้ว แต่เมือมีการส่งให้ประธานกรรมการประมวลจริยธรรมของสภาฯตรวจสอบ เราก็ต้องรอผล แต่คิดว่าเวลานี้สมควรแล้วที่ควรจะมีการทวงถามความคืบหน้าในเรื่องนี้ หวังว่า นายสมศักดิ์ จะทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ไม่เช่นนั้นก็จะเสื่อมไปด้วย ที่จงใจปล่อยปละละเลย ให้มีการทำผิดกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ" นายจุรินทร์กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากคิดว่ามีการทำผิดกฎหมายในสภา จะมีการยื่นให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ขอให้ประธานสภาฯทำการตรวจสอบให้สุดทางก่อน ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร เพราะนายสมศักดิ์ ก็รับปากว่าจะประสานงานกับนายกฯ และรัฐมนตรี ให้มาตอบแต่หลายสัปดาห์ก็ยังไม่ดีขึ้้น ดังนั้นตนคิดว่า รัฐบาลสมควรถูกประนามแล้ว จากสถานการณ์ที่หนักข้อขึ้นตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ตัวนายกฯ ที่มาประชุมสภาน้อยมาก ปรากฏตัวในสภานับครั้งได้ ส่วนกระทู้ถามสด ตั้งแต่มีสภาชุดนี้นายกฯ เพิ่งมาตอบแค่สองครั้ง เป็นกระทู้สดของรัฐบาลด้วยกันหนึ่งครั้ง และฝ่ายค้านหนึ่งครั้ง นอกจากนั้น ไม่เคยมาตอบเลย
เมื่อถามว่า ประธานสภาเป็นคนของพรรคเพื่อไทย จะกล้าทำหนังสือประนามนายกรัฐมนตรี หรือ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตรงนี้จะเป็นสิ่งสะท้อนถึงการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา เพราะการเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง นายกฯ จะปฏิเสธไม่มาร่วมก็ได้ เพราะอยู่ฝ่ายบริหาร แต่ต้องไม่ลืมว่า นายกฯก็เป็นผู้แทนคนหนึ่ง มีหน้าที่ต้องมาประชุมอย่างน้อยในฐานะส.ส. และต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ผู้แทนคนอื่นด้วย และเป็นผู้นำหลักของพรรคการเมือง ก็ต้องเป็นผู้นำส.ส.ในสังกัดพรรคเดียวกันด้วย
นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า จากการพิจารณาการบรรจุวาระของประธานสภาฯ คิดว่ามีแนวโน้มที่รัฐบาลจะหนีการแถลงผลงานครบรอบ 1 ปี เป็นครั้งที่สอง ในสมัยประชุมนี้ หลังจากพยายามหลีกเลี่ยงที่จะแถลงผลงานครบรอบ 1 ปีมาตั้งแต่สมัยประชุมที่แล้ว ทำให้การที่รัฐสภาลงมติให้รัฐบาลแถลงผลงานในสมัยประชุมนิติบัญญัติได้เป็นเพียงแค่ปาหี่หรือละครฉากหนึ่ง เพื่อให้รอดตัวไม่ให้รัฐบาลถูกประนามว่าหนีการแถลงผลงานเท่านั้น เพราะเมื่อรัฐสภาอนุมัตแล้ว กลับไม่มีการดำเนินการใด ๆ และยังไม่มีการบรรจุในวาระการประชุม แต่อย่างใด