วานนี้ (21 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มแพทย์ชนบท แสดงความไม่พอใจ กรณีที่กระทรวงสาธารณสุข ปรับวิธีการจ่ายเงินจากเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย เป็นค่าตอบแทนตามภาระงาน โดยขู่ว่า จะแต่งดำ นัดชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลทุกวันอังคาร จนกว่า นพ.ประดิษฐ จะพ้นจากตำแหน่งว่า ถ้าทุกวิชาชีพได้ฟังคำชี้แจงแล้วน่าจะเข้าใจ และเคารพเหตุผลซึ่งกันและกัน
ส่วนการมาชุมนุมนั้น ถ้าทำถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย มีการลาเพื่อให้จัดหาคนมาทำงานแทน โดยไม่กระทบกับการให้บริการ ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าทิ้งงานมา ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้บังคับบัญชาแต่ละชั้น มีการตรวจสอบดูแลกันเองอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะชี้แจงเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาชี้แจงหลายครั้ง แต่ยังไม่เข้าใจกัน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ยินดีชี้แจง ไม่มีปัญหา อยากให้ทุกคนเข้าใจว่า เป็นเพียงการปรับปรุงวิธีการจ่ายเงินเท่านั้น ไม่ได้มีการยกเลิกการจ่ายเงิน เพื่อให้ระบบอยู่อย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการทำงาน โดยผู้ที่ทำงานมาก ก็ได้ค่าตอบแทนมาก ผู้ที่ทำงานน้อย ก็ได้รับค่าตอบแทนน้อย ส่วนเรื่องการแบ่งพื้นที่นั้นเป็นเรื่องของฝ่ายข้าราชการประจำเป็นผู้ลงไปทำ หลักการคือ ในพื้นที่จำเป็นยังให้อยู่ ไม่ได้ไปลด หรือเปลี่ยนแปลง มีแต่จะมากขึ้นกว่าเดิม เช่น พื้นที่เสี่ยงภัย ทุรกันดาร 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในป่า เขา อยู่ตามเกาะ ยังคงอยู่เพราะจำเป็น ไม่มีการลด มีแต่จะทำอย่างไรให้เบี้ยตอบแทนคนที่อยู่ในพื้นที่เหล่านี้
** จี้สภาผ่านร่างพ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ มีตัวแทนเครือข่ายสาธารณสุขชุมชน และภาคประชาชน กว่า 500 คน นำโดย นายไพศาล บวงชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข และประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ได้มาชุมนุมเรียกร้อง เพื่อขอให้สภาฯ เร่งพิจารณาผ่าน ร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพสาธารณสุข พ.ศ... โดยได้ยื่นหนังสือต่อ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ คนที่ 1 เพื่อให้ยื่นต่อไปยัง ส.ส. และส.ว.ด้วย
ทั้งนี้บรรยากาศการชุมนุม ได้มีการอภิปรายโจมตี ส.ว. ที่ไม่ยอมผ่าน ร่าง พ.ร.บ.ตามร่างที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ทั้งยังมีการแก้ไขในคำนิยาม และการปฏิบัติที่ไม่ให้มีการตรวจรักษาเบื้องต้นกับประชาชน อาทิ น.ส.ทัศนา บุญทอง , พล.ต.ท.สมยศ ดีมาก และ นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ส.ว.สรรหา ทั้งๆที่บุคคลเหล่านี้ อดีตเคยรับราชการอาชีพด้านสาธารณสุข แต่กลับมีการแก้ไขร่างกฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชนให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ จึงขอเรียกร้องให้เร่งพิจารณา และผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว ภายในสมัยประชุมนิติบัญญัติ หรือ ก่อนวันที่ 18 เม.ย. นี้ มิฉะนั้นแพทย์ชุมชน จะยุติการให้บริการด้านสาธารณสุขกับประชาชนในพื้นที่
ด้านนายเจริญ กล่าวว่า การพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในชั้นของการพิจารณาในกรรมาธิการร่วมกันของสองสภาฯ หลังจากที่วุฒิสภา ได้มีการแก้ไขในคำนิยาม และทราบมาว่าขณะนี้ผู้อำนวยการกองกฎหมายดังกล่าว เดินทางไปต่างประเทศ จึงยังไม่สามารถเรียกประชุมได้ แต่ได้มีการนัดหมายให้ประชุมกันวันที่ 27 มี.ค.นี้ ตนจะประสานนำหนังสือและข้อเรียกร้องดังกล่าวให้กรรมาธิการร่วมฯพิจารณา
** "หมอชลน่าน"ชงตั้งกองทุน อสม.
ในวันเดียวกันนี้ ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมช.สาธารณสุข กล่าวในการประชุมวิชาการ วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ประจำปี 2556 ตอนหนึ่งว่า ระบบสุขภาพจะเข้มแข็ง หากสถาบันอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ไม่ถูกทำลาย และไม่ตกเป็นเครื่องมือใคร ดังนั้นคณะทำงานที่ดูแลเรื่องนี้จึงมีข้อเสนอคือ การสนับสนุนมูลนิธิ อสม. นำดอกผลที่ได้มาจัดสวัสดิการให้กับอสม. ส่วนค่าป่วยการในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่ง อสม. ควรได้รับนั้น เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน จึงมีการเสนอว่า อสม. ควรเป็นสถาบัน โดยมีกฎหมายมารองรับ คือ ร่าง พ.ร.บ.อาสาสมัครสาธารณสุข ในวันนี้อยากให้พี่น้องอสม.ช่วยกันดูร่าง พ.ร.บ.นี้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำเสนอต่อ รมว.สาธารณสุข เพื่อผลักดันเข้าสู่สภาฯต่อไป โดยใน ร่าง พ.ร.บ.มีการจัดตั้งกองทุนมาดูแลพี่น้อง อสม. ทำให้ทุกคนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
"พี่น้อง อสม. มีส่วนอย่างมากในการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในแนะนำพี่น้องประชาชนในพื้นที่ในการดูแลสุขภาพ เช่น เรื่องมะเร็งเต้านม นายกรัฐมนตรีหวังว่า จะสามารถค้นพบผู้ป่วยตั้งแต่ระยะที่ 1 หรือระยะที่ 2 ในปัจจุบันมี อสม. 1,040,000 ล้านคน อสม. 1 คนถ่ายทอดความรู้ หรือแนะนำผู้หญิง 20 คน เชื่อว่าทำได้" นพ.ชลน่าน กล่าว
ส่วนการมาชุมนุมนั้น ถ้าทำถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย มีการลาเพื่อให้จัดหาคนมาทำงานแทน โดยไม่กระทบกับการให้บริการ ก็สามารถทำได้ แต่ถ้าทิ้งงานมา ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้บังคับบัญชาแต่ละชั้น มีการตรวจสอบดูแลกันเองอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะชี้แจงเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาชี้แจงหลายครั้ง แต่ยังไม่เข้าใจกัน นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ยินดีชี้แจง ไม่มีปัญหา อยากให้ทุกคนเข้าใจว่า เป็นเพียงการปรับปรุงวิธีการจ่ายเงินเท่านั้น ไม่ได้มีการยกเลิกการจ่ายเงิน เพื่อให้ระบบอยู่อย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการทำงาน โดยผู้ที่ทำงานมาก ก็ได้ค่าตอบแทนมาก ผู้ที่ทำงานน้อย ก็ได้รับค่าตอบแทนน้อย ส่วนเรื่องการแบ่งพื้นที่นั้นเป็นเรื่องของฝ่ายข้าราชการประจำเป็นผู้ลงไปทำ หลักการคือ ในพื้นที่จำเป็นยังให้อยู่ ไม่ได้ไปลด หรือเปลี่ยนแปลง มีแต่จะมากขึ้นกว่าเดิม เช่น พื้นที่เสี่ยงภัย ทุรกันดาร 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในป่า เขา อยู่ตามเกาะ ยังคงอยู่เพราะจำเป็น ไม่มีการลด มีแต่จะทำอย่างไรให้เบี้ยตอบแทนคนที่อยู่ในพื้นที่เหล่านี้
** จี้สภาผ่านร่างพ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุข
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ มีตัวแทนเครือข่ายสาธารณสุขชุมชน และภาคประชาชน กว่า 500 คน นำโดย นายไพศาล บวงชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข และประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ได้มาชุมนุมเรียกร้อง เพื่อขอให้สภาฯ เร่งพิจารณาผ่าน ร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพสาธารณสุข พ.ศ... โดยได้ยื่นหนังสือต่อ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ คนที่ 1 เพื่อให้ยื่นต่อไปยัง ส.ส. และส.ว.ด้วย
ทั้งนี้บรรยากาศการชุมนุม ได้มีการอภิปรายโจมตี ส.ว. ที่ไม่ยอมผ่าน ร่าง พ.ร.บ.ตามร่างที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ทั้งยังมีการแก้ไขในคำนิยาม และการปฏิบัติที่ไม่ให้มีการตรวจรักษาเบื้องต้นกับประชาชน อาทิ น.ส.ทัศนา บุญทอง , พล.ต.ท.สมยศ ดีมาก และ นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ส.ว.สรรหา ทั้งๆที่บุคคลเหล่านี้ อดีตเคยรับราชการอาชีพด้านสาธารณสุข แต่กลับมีการแก้ไขร่างกฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชนให้เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ จึงขอเรียกร้องให้เร่งพิจารณา และผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว ภายในสมัยประชุมนิติบัญญัติ หรือ ก่อนวันที่ 18 เม.ย. นี้ มิฉะนั้นแพทย์ชุมชน จะยุติการให้บริการด้านสาธารณสุขกับประชาชนในพื้นที่
ด้านนายเจริญ กล่าวว่า การพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ขณะนี้อยู่ในชั้นของการพิจารณาในกรรมาธิการร่วมกันของสองสภาฯ หลังจากที่วุฒิสภา ได้มีการแก้ไขในคำนิยาม และทราบมาว่าขณะนี้ผู้อำนวยการกองกฎหมายดังกล่าว เดินทางไปต่างประเทศ จึงยังไม่สามารถเรียกประชุมได้ แต่ได้มีการนัดหมายให้ประชุมกันวันที่ 27 มี.ค.นี้ ตนจะประสานนำหนังสือและข้อเรียกร้องดังกล่าวให้กรรมาธิการร่วมฯพิจารณา
** "หมอชลน่าน"ชงตั้งกองทุน อสม.
ในวันเดียวกันนี้ ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมช.สาธารณสุข กล่าวในการประชุมวิชาการ วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ประจำปี 2556 ตอนหนึ่งว่า ระบบสุขภาพจะเข้มแข็ง หากสถาบันอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ไม่ถูกทำลาย และไม่ตกเป็นเครื่องมือใคร ดังนั้นคณะทำงานที่ดูแลเรื่องนี้จึงมีข้อเสนอคือ การสนับสนุนมูลนิธิ อสม. นำดอกผลที่ได้มาจัดสวัสดิการให้กับอสม. ส่วนค่าป่วยการในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่ง อสม. ควรได้รับนั้น เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน จึงมีการเสนอว่า อสม. ควรเป็นสถาบัน โดยมีกฎหมายมารองรับ คือ ร่าง พ.ร.บ.อาสาสมัครสาธารณสุข ในวันนี้อยากให้พี่น้องอสม.ช่วยกันดูร่าง พ.ร.บ.นี้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำเสนอต่อ รมว.สาธารณสุข เพื่อผลักดันเข้าสู่สภาฯต่อไป โดยใน ร่าง พ.ร.บ.มีการจัดตั้งกองทุนมาดูแลพี่น้อง อสม. ทำให้ทุกคนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
"พี่น้อง อสม. มีส่วนอย่างมากในการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เมืองไทยแข็งแรง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในแนะนำพี่น้องประชาชนในพื้นที่ในการดูแลสุขภาพ เช่น เรื่องมะเร็งเต้านม นายกรัฐมนตรีหวังว่า จะสามารถค้นพบผู้ป่วยตั้งแต่ระยะที่ 1 หรือระยะที่ 2 ในปัจจุบันมี อสม. 1,040,000 ล้านคน อสม. 1 คนถ่ายทอดความรู้ หรือแนะนำผู้หญิง 20 คน เชื่อว่าทำได้" นพ.ชลน่าน กล่าว