กาญจนบุรี - นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เตรียมระดมหมออนามัยทั่วประเทศชุมนุมหน้าสภา 21 มี.ค.นี้ หวังกดดัน ส.ว.และ ส.ส.ผ่านร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ฉบับสภาผู้แทนราษฎร
วันนี้ (17 มี.ค.) นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เปิดเผยว่า ตนได้หารือ และวางแนวทางในการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้กรรมาธิการ่วมรัฐสภาผ่านร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน เนื่องมาจากร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพ ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากวุฒิสภา ทำให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวกลับมาสู่สภาผู้แทนราษฎรที่จะต้องตั้งกรรมาธิการร่วมระหว่าง ส.ส. และ ส.ว.เพื่อพิจารณาร่างดังกล่าวต่อไป
ดังนั้น ในมติเห็นควรว่า วันพฤหัสบดีที่ 21 มี.ค.นี้ สมาคมวิชาชีพสาธารณสุขนำโดยตน ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย นำโดย คุณสำเริง จงกล ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และสมาคมหมออนามัย นำโดยนายสาคร นาต๊ะ นายกสมาคมหมออนามัย ขอเชิญชวนสมาชิก นักสาธารณสุข และหมออนามัยจากทั่วประเทศ เดินทางมาแสดงจุดยืนและยืนยัน พร้อมทั้งส่งมอบบัญชีรายชื่อประชาชนที่เรียกร้อง และสนับสนุนขอให้ใช้ร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบัญญัติให้เป็นกฎหมาย และเร่งให้มีการพิจารณาให้ทันในการประชุมสมัยนิติบัญญัตินี้ก่อนที่จะปิดประชุมสมัยนิติบัญญัติวันที่ 19 เมษายน 2556
นายไพศาล กล่าวต่อว่า โดยเวลาประมาณ 10.00 น. ของวันที่ 21 มี.ค. ขอให้มาร่วมชุมนุมที่บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา เพื่อส่งมอบรายชื่อประชาชนที่สนับสนุนยืนยันร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ และร่วมกันแสดงพลังคัดค้านไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาที่มีมติให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จนขัดหลักการ และเจตนารมณ์ของสภาผู้แทนราษฎร และเมื่อมีการตรากฎหมายบังคับใช้ จะทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน โดยเฉพาะการตัดถ้อยคำในสาระสำคัญของมาตรา 3 บทนิยามเกี่ยวกับ “การตรวจวินิจฉัยและการบำบัดรักษาโรคเบื้องต้น” และ “การประเมินอาการเจ็บป่วย” ให้คงไว้เพียงการช่วยเหลือผู้ป่วย และการส่งต่อเท่านั้น รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 50 บทเฉพาะกาล ซึ่งมีผลกระทบ และขัดแย้งในมาตราอื่นที่สำคัญตามมา
“การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราที่สำคัญย่อมขัดต่อเจตนารมณ์ และหลักการของร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ (ส.ส.334 เสียงต่อ 7 เสียง) ไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ผู้เขียนรับทราบข้อมูลว่า จะมีการประชุมนัดแรกในวันที่ 19 มีนาคม 2556 นี้ แต่ต้องมีเหตุให้เลื่อนนัดประชุมออกไปเป็นวันที่ 27 มีนาคม 2556 เนื่องจากกรรมาธิการร่วมฝ่ายวุฒิสภาไม่ว่าง อ้างติดภารกิจดูงานต่างประเทศ เกรงว่าองค์ประชุมจะไม่ถึงกึ่งหนึ่งที่ประชุมกรรมาธิการร่วมสภาผู้แทนราษฎร จึงให้เลื่อนวันประชุมออกไป”
วันนี้ (17 มี.ค.) นายไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข เปิดเผยว่า ตนได้หารือ และวางแนวทางในการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้กรรมาธิการ่วมรัฐสภาผ่านร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน เนื่องมาจากร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพ ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากวุฒิสภา ทำให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวกลับมาสู่สภาผู้แทนราษฎรที่จะต้องตั้งกรรมาธิการร่วมระหว่าง ส.ส. และ ส.ว.เพื่อพิจารณาร่างดังกล่าวต่อไป
ดังนั้น ในมติเห็นควรว่า วันพฤหัสบดีที่ 21 มี.ค.นี้ สมาคมวิชาชีพสาธารณสุขนำโดยตน ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย นำโดย คุณสำเริง จงกล ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และสมาคมหมออนามัย นำโดยนายสาคร นาต๊ะ นายกสมาคมหมออนามัย ขอเชิญชวนสมาชิก นักสาธารณสุข และหมออนามัยจากทั่วประเทศ เดินทางมาแสดงจุดยืนและยืนยัน พร้อมทั้งส่งมอบบัญชีรายชื่อประชาชนที่เรียกร้อง และสนับสนุนขอให้ใช้ร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบัญญัติให้เป็นกฎหมาย และเร่งให้มีการพิจารณาให้ทันในการประชุมสมัยนิติบัญญัตินี้ก่อนที่จะปิดประชุมสมัยนิติบัญญัติวันที่ 19 เมษายน 2556
นายไพศาล กล่าวต่อว่า โดยเวลาประมาณ 10.00 น. ของวันที่ 21 มี.ค. ขอให้มาร่วมชุมนุมที่บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา เพื่อส่งมอบรายชื่อประชาชนที่สนับสนุนยืนยันร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ และร่วมกันแสดงพลังคัดค้านไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาที่มีมติให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จนขัดหลักการ และเจตนารมณ์ของสภาผู้แทนราษฎร และเมื่อมีการตรากฎหมายบังคับใช้ จะทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน โดยเฉพาะการตัดถ้อยคำในสาระสำคัญของมาตรา 3 บทนิยามเกี่ยวกับ “การตรวจวินิจฉัยและการบำบัดรักษาโรคเบื้องต้น” และ “การประเมินอาการเจ็บป่วย” ให้คงไว้เพียงการช่วยเหลือผู้ป่วย และการส่งต่อเท่านั้น รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 50 บทเฉพาะกาล ซึ่งมีผลกระทบ และขัดแย้งในมาตราอื่นที่สำคัญตามมา
“การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราที่สำคัญย่อมขัดต่อเจตนารมณ์ และหลักการของร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ (ส.ส.334 เสียงต่อ 7 เสียง) ไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ผู้เขียนรับทราบข้อมูลว่า จะมีการประชุมนัดแรกในวันที่ 19 มีนาคม 2556 นี้ แต่ต้องมีเหตุให้เลื่อนนัดประชุมออกไปเป็นวันที่ 27 มีนาคม 2556 เนื่องจากกรรมาธิการร่วมฝ่ายวุฒิสภาไม่ว่าง อ้างติดภารกิจดูงานต่างประเทศ เกรงว่าองค์ประชุมจะไม่ถึงกึ่งหนึ่งที่ประชุมกรรมาธิการร่วมสภาผู้แทนราษฎร จึงให้เลื่อนวันประชุมออกไป”