ASTVผู้จัดการรายวัน - ธ.ก.ส.เตรียมเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 56 ทันทีหลังบอร์ดกขช.ชงครม.วันนี้ คาดมีข้าวเข้าร่วมโครงการ 7 ล้านตัน วงเงิน 1.05 แสนล้านบาท ระบุกระทรวงพาณิชย์จะส่งเงินจากการขายข้าวในคลังสินค้าให้ธ.ก.ส.ได้ 2.2 แสนล้านบาทภายในปีนี้
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธนาคารมีความพร้อมที่จะดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 56 หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้เห็นชอบเป้าหมายของโครงการดังกล่าว โดยคาดว่าจะมีข้าวเปลือกเข้าร่วมในโครงการอยู่ที่ 7 ล้านตัน คิดเป็นวงเงินที่ใช้สินเชื่อรับจำนำ 105,000 ล้านบาท ซึ่ง กขช.จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาในวันที่ 19 มี.ค.นี้ หากเห็นชอบก็จะสามารถดำเนินการได้ในวันที่ 1 เม.ย.เป็นต้นไป
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ทยอยขายสินค้าในคลังและส่งเงินคืนให้กับธนาคารแล้ว 75,000 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้หมุนเวียนต่อได้ในโครงการนี้ รวมทั้ง กรมการค้าต่างประเทศก็ได้มีประมาณการกระแสเงินสดที่จะส่งเงินคืนให้ครบ 220,000 ล้านบาท ภายในปี 56 ซึ่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ได้กำชับติดตามระบายและส่งเงินคืนทั้งหมดให้เป็นไปตามแผน ส่วนของธนาคารก็จะเสนอคณะกรรมการธนาคารในวันที่ 25 มี.ค.นี้
“ธ.ก.ส.เน้นดูแลในเรื่องของคุณภาพข้าวให้ตรงกับความต้องการตลาด ซึ่งข้าวที่มีอายุสั้นไม่เกิน 90 วันในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังนี้ รัฐบาลมีมติชัดเจนที่ไม่ให้เข้ารวมโครงการรับจำนำ เนื่องจากข้าวประเภทนี้มีคุณภาพต่ำ ซึ่งทำให้ไม่สามารถขายได้”
ขณะเดียวกัน ธ.ส.ก. ได้อนุมัติบัตรสินเชื่อโครงการบัตรเครดิตเกษตรกรแล้ว 2.1 ล้านใบ และทยอยมอบให้เกษตรกรซื้อปัจจัยการผลิตและใช้บัตรแล้ว 200,000 ราย คิดเป็นวงเงิน 3,000 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวก็ช่วยเหลือเกษตรกรได้จริง และเป็นสภาพคล่องที่จะช่วยเหลือให้เกษตรกรไม่ต้องเป็นหนี้นอกระบบเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้รับมอบนโยบายจากนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ที่ต้องดำเนินการภายในปี 56 นี้ โดยให้ขยายกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมกับเกษตรกรที่ทำการเกษตรกลุ่มอื่นด้วย และขยายบัตรสินเชื่อ จาก 2 ล้านใบ เป็น 4 ล้านใบ รวมทั้ง ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการที่มีอยู่ 4,000 ร้านค้า ให้เป็น 10,000 ร้านค้า โดย ธ.ก.ส.ได้ทำงานร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนร้านค้าของเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร ด้วยการดูแลคุณภาพในการผลิต ราคา บริการ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับเกษตรกรที่จะเลือกซื้อปัจจัยการผลิต
***ส.ว.จวก"จำนำข้าว"โกหก-โกง-ก่อหายนะ
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (18มี.ค.) นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุม ถึงโครงการรับจำนำข้าว ว่า ขอสรุปโครงการนี้ว่าเป็นเรื่อง 3 ก. คือ 1. โกหก เพราะเป็นการผูกขาดทั้งซื้อ และขาย ไม่ใช่การรับจำนำ อีกทั้งปกปิดตัวเลข ทั้งในฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ นอกจากนี้ก็ยังส่งออกได้น้อย ทั้งที่ในข้อเท็จจริงเป็นการระบายข้าวในประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่
2.โกง คือ ประกาศรับจำนำในราคา 15,000 บาท แต่ข้อเท็จจริงชาวนาได้รับเพียง 11,000 บาท อีกทั้งมีแต่การลักลอบนำข้าวถูกมาขาย และระบายในประเทศ ซึ่งถือเป็นการโกงกิน
3. ก่อหายนะ ไม่มีลูกค้าคนไหนซื้อขายเกินตันละ 15,000 บาท เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องขายขาดทุนเท่านั้น เท่ากับว่าพินาศไปแล้วปีละ 2.5 แสนล้านบาท 4 ปี คือ 1 ล้านล้านบาท
นายประสาร กล่าวอีกว่า ขออ้างถึง นายทรง องค์ชัยวัฒนะ ผู้ก่อตั้งตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกในประเทศไทย ที่ระบุว่า รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะซื้อข้าวเกวียนละ 2-3 หมื่นก็ได้ เพราะไม่ใช่เงินของน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่เป็นภาษีประชาชน แต่พอขายข้าวขาดทุน ก็เป็นเรื่องของคน 60 ล้านคน ที่ต้องรับผิดชอบ
อย่างไรก็ตาม ทั้งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ เตือนแล้วว่า การกระทำของรัฐบาลเป็นหายนะ แต่รัฐบาลกลับไม่ฟัง ยังเดินหน้าดันทุรังต่อไป ที่จะจำนำข้าวในราคา 15,000 บาทต่อตัน ตนขอตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลยังเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าวทั้งที่มีเหวอยู่ข้างหน้า ตนถือว่าเป็นประชานิยมบรรลัย เข้าทำนองที่ว่า ประเทศชาติชิบฉายช่างมัน รัฐบาลเพียงต้องการคะแนนเสียง ใช่หรือไม่
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธนาคารมีความพร้อมที่จะดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 56 หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้เห็นชอบเป้าหมายของโครงการดังกล่าว โดยคาดว่าจะมีข้าวเปลือกเข้าร่วมในโครงการอยู่ที่ 7 ล้านตัน คิดเป็นวงเงินที่ใช้สินเชื่อรับจำนำ 105,000 ล้านบาท ซึ่ง กขช.จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาในวันที่ 19 มี.ค.นี้ หากเห็นชอบก็จะสามารถดำเนินการได้ในวันที่ 1 เม.ย.เป็นต้นไป
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ทยอยขายสินค้าในคลังและส่งเงินคืนให้กับธนาคารแล้ว 75,000 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้หมุนเวียนต่อได้ในโครงการนี้ รวมทั้ง กรมการค้าต่างประเทศก็ได้มีประมาณการกระแสเงินสดที่จะส่งเงินคืนให้ครบ 220,000 ล้านบาท ภายในปี 56 ซึ่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ได้กำชับติดตามระบายและส่งเงินคืนทั้งหมดให้เป็นไปตามแผน ส่วนของธนาคารก็จะเสนอคณะกรรมการธนาคารในวันที่ 25 มี.ค.นี้
“ธ.ก.ส.เน้นดูแลในเรื่องของคุณภาพข้าวให้ตรงกับความต้องการตลาด ซึ่งข้าวที่มีอายุสั้นไม่เกิน 90 วันในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังนี้ รัฐบาลมีมติชัดเจนที่ไม่ให้เข้ารวมโครงการรับจำนำ เนื่องจากข้าวประเภทนี้มีคุณภาพต่ำ ซึ่งทำให้ไม่สามารถขายได้”
ขณะเดียวกัน ธ.ส.ก. ได้อนุมัติบัตรสินเชื่อโครงการบัตรเครดิตเกษตรกรแล้ว 2.1 ล้านใบ และทยอยมอบให้เกษตรกรซื้อปัจจัยการผลิตและใช้บัตรแล้ว 200,000 ราย คิดเป็นวงเงิน 3,000 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวก็ช่วยเหลือเกษตรกรได้จริง และเป็นสภาพคล่องที่จะช่วยเหลือให้เกษตรกรไม่ต้องเป็นหนี้นอกระบบเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้รับมอบนโยบายจากนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ที่ต้องดำเนินการภายในปี 56 นี้ โดยให้ขยายกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมกับเกษตรกรที่ทำการเกษตรกลุ่มอื่นด้วย และขยายบัตรสินเชื่อ จาก 2 ล้านใบ เป็น 4 ล้านใบ รวมทั้ง ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการที่มีอยู่ 4,000 ร้านค้า ให้เป็น 10,000 ร้านค้า โดย ธ.ก.ส.ได้ทำงานร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนร้านค้าของเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร ด้วยการดูแลคุณภาพในการผลิต ราคา บริการ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับเกษตรกรที่จะเลือกซื้อปัจจัยการผลิต
***ส.ว.จวก"จำนำข้าว"โกหก-โกง-ก่อหายนะ
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (18มี.ค.) นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุม ถึงโครงการรับจำนำข้าว ว่า ขอสรุปโครงการนี้ว่าเป็นเรื่อง 3 ก. คือ 1. โกหก เพราะเป็นการผูกขาดทั้งซื้อ และขาย ไม่ใช่การรับจำนำ อีกทั้งปกปิดตัวเลข ทั้งในฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ นอกจากนี้ก็ยังส่งออกได้น้อย ทั้งที่ในข้อเท็จจริงเป็นการระบายข้าวในประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่
2.โกง คือ ประกาศรับจำนำในราคา 15,000 บาท แต่ข้อเท็จจริงชาวนาได้รับเพียง 11,000 บาท อีกทั้งมีแต่การลักลอบนำข้าวถูกมาขาย และระบายในประเทศ ซึ่งถือเป็นการโกงกิน
3. ก่อหายนะ ไม่มีลูกค้าคนไหนซื้อขายเกินตันละ 15,000 บาท เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องขายขาดทุนเท่านั้น เท่ากับว่าพินาศไปแล้วปีละ 2.5 แสนล้านบาท 4 ปี คือ 1 ล้านล้านบาท
นายประสาร กล่าวอีกว่า ขออ้างถึง นายทรง องค์ชัยวัฒนะ ผู้ก่อตั้งตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกในประเทศไทย ที่ระบุว่า รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะซื้อข้าวเกวียนละ 2-3 หมื่นก็ได้ เพราะไม่ใช่เงินของน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่เป็นภาษีประชาชน แต่พอขายข้าวขาดทุน ก็เป็นเรื่องของคน 60 ล้านคน ที่ต้องรับผิดชอบ
อย่างไรก็ตาม ทั้งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ เตือนแล้วว่า การกระทำของรัฐบาลเป็นหายนะ แต่รัฐบาลกลับไม่ฟัง ยังเดินหน้าดันทุรังต่อไป ที่จะจำนำข้าวในราคา 15,000 บาทต่อตัน ตนขอตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลยังเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าวทั้งที่มีเหวอยู่ข้างหน้า ตนถือว่าเป็นประชานิยมบรรลัย เข้าทำนองที่ว่า ประเทศชาติชิบฉายช่างมัน รัฐบาลเพียงต้องการคะแนนเสียง ใช่หรือไม่