ถึงแม้ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากพรรคประชาธิปัตย์ได้รับชัยชนะเหนือคู่แข่งจากพรรคเพื่อไทยด้วยคะแนน 1 ล้าน 2 แสนกว่าคะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่มากที่สุดตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.มา
แต่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยก็ได้คะแนนล้านกว่าคะแนน ซึ่งถือได้ว่ามากเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เมื่อครั้งที่แล้วที่ผู้ชนะได้เพียง 9 แสนกว่าคะแนน และผู้แพ้ได้เพียง 6 แสนกว่าคะแนน และทั้งผู้แพ้และผู้ชนะก็มาจากสองค่ายเช่นเดียวกับในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อนำคะแนนที่ผู้สมัครจากทั้ง 2 พรรคได้รับไปเทียบกับครั้งที่แล้ว จะเห็นได้ว่า การเพิ่มขึ้นของคะแนนในครั้งนี้ น่าจะมีเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังนี้
1. ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา มีผู้มาลงคะแนน 63% จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งเพิ่มขึ้นจากครั้งที่แล้วที่มีเพียง 51%
2. ในการเลือกตั้งครั้งนี้พลังเงียบได้ออกมาด้วยเหตุจูงใจทางการเมือง คือไม่ต้องการให้พรรคเพื่อไทยได้รับเลือก และพลังเงียบที่ว่านี้ส่วนหนึ่งเลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆ ที่โดยปกติมิใช่คะแนนจัดตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ และอาจไม่นิยมชมชอบพรรคนี้เป็นการส่วนตัวด้วยซ้ำ
3. ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคเพื่อไทยครองอำนาจรัฐ และเชื่อว่ามีข้าราชการบางส่วนเกื้อหนุนทางการเมืองแก่พรรคนี้ จึงทำให้คะแนนของผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้น
จากเหตุปัจจัย 3 ประการดังกล่าวข้างต้น น่าจะทำให้ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทยจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ทางการเมืองใหม่ ถึงแม้ว่าทั้งสองพรรคจะได้คะแนนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยที่พออนุมานได้ดังนี้
1. ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าการเลือกตั้งครั้งต่อไปพลังเงียบออกมาน้อย และออกมาแล้วจะยังคงเลือกพรรคประชาธิปัตย์ด้วยเหตุไม่ชอบพอพรรคเพื่อไทยอยู่เช่นนี้หรือไม่
2. ในส่วนของพรรคเพื่อไทย ถ้าการเลือกตั้งครั้งต่อไปทางพรรคมิได้เป็นรัฐบาล บรรดาข้าราชการประเภทเอนเข้าข้างการเมืองดังที่เป็นอยู่จะยังคงอยู่เหมือนเดิมหรือไม่
สำหรับอนาคตทางการเมืองของแต่ละพรรคจะเป็นอย่างไร การที่ทั้งสองพรรคได้คะแนนเพิ่มขึ้นถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองใหม่ โดยเฉพาะในส่วนของคนทำโพลที่เกือบทุกสำนัก ยกเว้นนิด้า ผิดชนิดหาคำแก้ตัวยาก
อีกประการหนึ่ง การที่พรรคเพื่อไทยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นใน กทม.จะเป็นการเพิ่มศักยภาพทางการเมืองให้แก่ ส.ส.กทม.ของพรรคนี้ จะเห็นได้จากการที่ ส.ส.จำนวน 42 คนได้เสนอกฎหมายนิรโทษกรรมผ่านทางประธานสภาผู้แทนราษฎร และนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่ในขณะนี้
การที่พรรคเพื่อไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะทำให้พรรคนี้สามารถดำเนินการทางการเมืองที่ตนเองต้องทำ เช่น การออกกฎหมายนิรโทษกรรมได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านย้อนไปดูที่ไปที่มาของความต้องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมในรูปแบบต่างๆ ก็จะพบว่า นับจากเกิดการยึดอำนาจรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา ได้เกิดขบวนการต่อต้านการปฏิวัติของคนกลุ่มหนึ่ง ภายใต้ชื่อย่อว่า นปช. และคนกลุ่มนี้ได้เคลื่อนไหวทางการเมืองเรียกร้องความชอบธรรมให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณ และในการเคลื่อนไหวคนกลุ่มนี้ได้มีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างรุนแรง และกล่าวร้ายบุคคลต่างๆ ที่ตนเองคิดว่าอยู่เบื้องหลังการปฏิวัติในครั้งนั้น โดยเรียกคนที่พวกตนโจมตีว่า อำมาตย์
ที่รุนแรงที่สุดก็คือ การใช้กำลังเข้าบุกทำร้ายและทำลายทรัพย์สินที่พัทยา และที่กระทรวงมหาดไทย และจบลงด้วยความรุนแรงเผาบ้านเผาเมืองที่ราชประสงค์ ในยุคที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
แต่เมื่อพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล คนกลุ่มเดียวกันนี้เองได้ยุติบทบาทการก่อกวนนอกสภามาเป็นการต่อสู้ในสภา ในรูปแบบของการออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อหวังล้างผิดให้แก่กลุ่มตน และแฝงรวมไปถึงอดีตนายกฯ ทักษิณด้วย ส่วนที่พยายามจะนำเอาคนกลุ่มอื่นมาให้ได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้ ก็เพียงเพื่อแสวงหาความร่วมมือ และป้องกันการออกมาคัดค้านเท่านั้น
จากนัยที่มีเลศนัยในการออกกฎหมายของคนกลุ่มนี้ เชื่อได้ว่าในที่สุดแม้เสียงที่เพิ่มขึ้นใน กทม.ก็จะช่วยให้กฎหมายที่ว่านี้ผ่านออกมาได้ยาก และที่สำคัญเสี่ยงต่อการแตกแยกและวุ่นวายขึ้นมาอีกครั้งค่อนข้างแน่นอน
แต่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยก็ได้คะแนนล้านกว่าคะแนน ซึ่งถือได้ว่ามากเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เมื่อครั้งที่แล้วที่ผู้ชนะได้เพียง 9 แสนกว่าคะแนน และผู้แพ้ได้เพียง 6 แสนกว่าคะแนน และทั้งผู้แพ้และผู้ชนะก็มาจากสองค่ายเช่นเดียวกับในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อนำคะแนนที่ผู้สมัครจากทั้ง 2 พรรคได้รับไปเทียบกับครั้งที่แล้ว จะเห็นได้ว่า การเพิ่มขึ้นของคะแนนในครั้งนี้ น่าจะมีเหตุปัจจัยในเชิงตรรกะดังนี้
1. ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา มีผู้มาลงคะแนน 63% จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งเพิ่มขึ้นจากครั้งที่แล้วที่มีเพียง 51%
2. ในการเลือกตั้งครั้งนี้พลังเงียบได้ออกมาด้วยเหตุจูงใจทางการเมือง คือไม่ต้องการให้พรรคเพื่อไทยได้รับเลือก และพลังเงียบที่ว่านี้ส่วนหนึ่งเลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆ ที่โดยปกติมิใช่คะแนนจัดตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ และอาจไม่นิยมชมชอบพรรคนี้เป็นการส่วนตัวด้วยซ้ำ
3. ในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคเพื่อไทยครองอำนาจรัฐ และเชื่อว่ามีข้าราชการบางส่วนเกื้อหนุนทางการเมืองแก่พรรคนี้ จึงทำให้คะแนนของผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้น
จากเหตุปัจจัย 3 ประการดังกล่าวข้างต้น น่าจะทำให้ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทยจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ทางการเมืองใหม่ ถึงแม้ว่าทั้งสองพรรคจะได้คะแนนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยที่พออนุมานได้ดังนี้
1. ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าการเลือกตั้งครั้งต่อไปพลังเงียบออกมาน้อย และออกมาแล้วจะยังคงเลือกพรรคประชาธิปัตย์ด้วยเหตุไม่ชอบพอพรรคเพื่อไทยอยู่เช่นนี้หรือไม่
2. ในส่วนของพรรคเพื่อไทย ถ้าการเลือกตั้งครั้งต่อไปทางพรรคมิได้เป็นรัฐบาล บรรดาข้าราชการประเภทเอนเข้าข้างการเมืองดังที่เป็นอยู่จะยังคงอยู่เหมือนเดิมหรือไม่
สำหรับอนาคตทางการเมืองของแต่ละพรรคจะเป็นอย่างไร การที่ทั้งสองพรรคได้คะแนนเพิ่มขึ้นถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองใหม่ โดยเฉพาะในส่วนของคนทำโพลที่เกือบทุกสำนัก ยกเว้นนิด้า ผิดชนิดหาคำแก้ตัวยาก
อีกประการหนึ่ง การที่พรรคเพื่อไทยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นใน กทม.จะเป็นการเพิ่มศักยภาพทางการเมืองให้แก่ ส.ส.กทม.ของพรรคนี้ จะเห็นได้จากการที่ ส.ส.จำนวน 42 คนได้เสนอกฎหมายนิรโทษกรรมผ่านทางประธานสภาผู้แทนราษฎร และนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่ในขณะนี้
การที่พรรคเพื่อไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะทำให้พรรคนี้สามารถดำเนินการทางการเมืองที่ตนเองต้องทำ เช่น การออกกฎหมายนิรโทษกรรมได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านย้อนไปดูที่ไปที่มาของความต้องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมในรูปแบบต่างๆ ก็จะพบว่า นับจากเกิดการยึดอำนาจรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา ได้เกิดขบวนการต่อต้านการปฏิวัติของคนกลุ่มหนึ่ง ภายใต้ชื่อย่อว่า นปช. และคนกลุ่มนี้ได้เคลื่อนไหวทางการเมืองเรียกร้องความชอบธรรมให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณ และในการเคลื่อนไหวคนกลุ่มนี้ได้มีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างรุนแรง และกล่าวร้ายบุคคลต่างๆ ที่ตนเองคิดว่าอยู่เบื้องหลังการปฏิวัติในครั้งนั้น โดยเรียกคนที่พวกตนโจมตีว่า อำมาตย์
ที่รุนแรงที่สุดก็คือ การใช้กำลังเข้าบุกทำร้ายและทำลายทรัพย์สินที่พัทยา และที่กระทรวงมหาดไทย และจบลงด้วยความรุนแรงเผาบ้านเผาเมืองที่ราชประสงค์ ในยุคที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
แต่เมื่อพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล คนกลุ่มเดียวกันนี้เองได้ยุติบทบาทการก่อกวนนอกสภามาเป็นการต่อสู้ในสภา ในรูปแบบของการออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อหวังล้างผิดให้แก่กลุ่มตน และแฝงรวมไปถึงอดีตนายกฯ ทักษิณด้วย ส่วนที่พยายามจะนำเอาคนกลุ่มอื่นมาให้ได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้ ก็เพียงเพื่อแสวงหาความร่วมมือ และป้องกันการออกมาคัดค้านเท่านั้น
จากนัยที่มีเลศนัยในการออกกฎหมายของคนกลุ่มนี้ เชื่อได้ว่าในที่สุดแม้เสียงที่เพิ่มขึ้นใน กทม.ก็จะช่วยให้กฎหมายที่ว่านี้ผ่านออกมาได้ยาก และที่สำคัญเสี่ยงต่อการแตกแยกและวุ่นวายขึ้นมาอีกครั้งค่อนข้างแน่นอน