วานนี้(17 มี.ค.56) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวยอมรับในเวทีสัมมนา"การรักษาดุลยภาพทางการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย"ที่ จ.เพชรบุรี ว่า คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีจัดรายการอาหารชิมไปบ่นไป เป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ รวมถึงการวินิจฉัยบุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ว่า ถือเป็นเรื่องที่ดีที่นายวสันต์ ออกมายอมรับต่อสังคมเช่นนี้ เพราะสังคมจะได้เห็นความจริงว่าการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นั้นยึดกระแสมากกว่าตัวบทกฎหมายและหลักการของกฎหมาย ซึ่งตนเห็นว่าการวินิจฉัยคดีต่างๆ ควรยึดหลักกฎหมาย ความยุติธรรม และควรทำหน้าที่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญมากกว่า ไม่ควรขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ตนเอง
โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวอีกว่า ดูได้จากคดีล่าสุดที่มีการยื่นฟ้องกรณีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เข้าข่ายการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ โดยมีการยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 ระบุว่า ต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุดก่อน แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยว่ากรณีนี้ประชาชนสามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้นตนมองว่าควรที่จะมีการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องกระบวนตรวจสอบการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญไว้ด้วย เพื่อต่อไปคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลผูกพันกับทุกองค์กร จะได้มีกระบวนการตรวจสอบในการวินิจฉัยคดีของศาลไว้ด้วย เพื่อเป็นการถ่วงดุลการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
นายวันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ….ว่า ตนทราบว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวนี้ ขณะนี้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ได้ส่งเรื่องให้กับนายกรัฐมนตรีรับรองนานแล้วตั้งแต่เดือนมี.ค.ปี 55 และมาถึงวันนี้ก็ครบปีพอดี แต่ยังไม่ทราบความคืบหน้าว่าจะบรรจุเข้าวาระในการประชุมสภาเมื่อใด แต่ขณะเดียวกันมีข่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ว่า ด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ….ของส.ส. นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภา และได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระแล้ว
สำหรับร่างพ.ร.บ.ว่า ด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ…ของศาลรัฐธรรมนูญก็ได้เสนอไปตั้งแต่ปี 51 หลังจากที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ เราก็ได้ดำเนินการเพื่อให้มีพ.ร.บ.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ แทนฉบับปัจจุบัน แต่มาถึงขณะนี้จะมาบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญล่าช้าไม่ได้ เพราะเราได้ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่เมื่อเสนอไปแล้วพอไปเข้าสู่สภาแล้วไปถึงชั้นกรรมาธิการก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเสียจนเละไม่สามารถรับได้ ทำให้นายเจริญ จรรโกมล รองประธานสภาฯ ที่ขณะนั้นเป็นประธานกรรมาธิการได้ใช้วิธีถอนร่างออกมาก่อน เพื่อนำมาปรับแก้แล้วเสนอเข้าไปใหม่ง่ายกว่า หากมีปัญหาแล้วร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวตกไปก็จะอยากในการเสนอกลับเข้ามาอีกครั้ง ซึ่งทางศาลก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและได้มีการปรับแก้ไปบ้างแล้วตามที่กรรมาธิการชุดนั้นได้มีการตั้งข้อสังเกต แล้วก็ได้เสนอกลับไปใหม่ซึ่งเดือนมี.ค.นี้ถือว่าครบปีพอดี ก็ยังไม่ทราบว่าไปถึงไหน ขณะที่ร่างพ.ร.บ.ว่า ด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ... ที่ส.ส.ร่างขึ้นมานั้นได้ถูกบรรจุเป็นระเบียนวาระไปแล้ว และเท่าที่ทราบยังไม่มีฉบับของศาลรัฐธรรมนูญที่เสนอไปเข้านำไปบรรจุวาระร่วมพิจารณาด้วย
นายวสันต์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามถึงแม้ยังไม่มีฉบับของศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปร่วมด้วยก็ไม่เป็นไรเพราะสุดท้าย ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องเป็นผู้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ก่อนที่ประกาศใช้ต้องส่งมาให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตรวจสอบความถูกต้อง และความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อน ซึ่งเป็นบทบังคับของรัฐธรรมนูญ ต้องมาดูว่ามีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้วไม่ใช่ส่วนสำคัญก็ตกเฉพาะมาตราที่ขัดเท่านั้น แต่ถ้าเป็นในส่วนสาระสำคัญก็ตกทั้งฉบับ
“แต่ทั้งนี้เราก็ยังอยากให้พิจารณาในฉบับของที่ศาลเสนอไป หากยังมีอะไรที่ไม่พอใจหรือต้องปรับแก้ก็สามารถที่จะไปประนีประนอมกันในชั้นกรรมาธิการได้อีก และหากกลัวในเรื่องของการละเมิดอำนาจศาลที่ศาลได้เพิ่มเติมไปนั้น ก็ไม่น่าจะมีปัญหาก็สามารถคุยได้ว่าจะเอาแบบเดิมก็ได้ที่ไปฟ้องศาลอาญา ศาลก็ไม่ได้ขัดข้อง แต่ ณ เวลานี้เราก็ข้องใจว่าทำไมถึงไม่นำร่างพ.ร.บ.ฉบับของเราขึ้นมาพิจารณาเสียที อย่างไรก็ตามเราก็ยังคงใช้พ.ร.บ.เดิมไปก่อนได้จนกว่าจะมีใหม่ ” นายวสันต์ กล่าว
โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวอีกว่า ดูได้จากคดีล่าสุดที่มีการยื่นฟ้องกรณีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เข้าข่ายการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ โดยมีการยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 ระบุว่า ต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุดก่อน แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยว่ากรณีนี้ประชาชนสามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้นตนมองว่าควรที่จะมีการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องกระบวนตรวจสอบการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญไว้ด้วย เพื่อต่อไปคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลผูกพันกับทุกองค์กร จะได้มีกระบวนการตรวจสอบในการวินิจฉัยคดีของศาลไว้ด้วย เพื่อเป็นการถ่วงดุลการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
นายวันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ….ว่า ตนทราบว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวนี้ ขณะนี้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ได้ส่งเรื่องให้กับนายกรัฐมนตรีรับรองนานแล้วตั้งแต่เดือนมี.ค.ปี 55 และมาถึงวันนี้ก็ครบปีพอดี แต่ยังไม่ทราบความคืบหน้าว่าจะบรรจุเข้าวาระในการประชุมสภาเมื่อใด แต่ขณะเดียวกันมีข่าวว่า ร่างพ.ร.บ.ว่า ด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ….ของส.ส. นำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภา และได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระแล้ว
สำหรับร่างพ.ร.บ.ว่า ด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ…ของศาลรัฐธรรมนูญก็ได้เสนอไปตั้งแต่ปี 51 หลังจากที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ เราก็ได้ดำเนินการเพื่อให้มีพ.ร.บ.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ แทนฉบับปัจจุบัน แต่มาถึงขณะนี้จะมาบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญล่าช้าไม่ได้ เพราะเราได้ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่เมื่อเสนอไปแล้วพอไปเข้าสู่สภาแล้วไปถึงชั้นกรรมาธิการก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเสียจนเละไม่สามารถรับได้ ทำให้นายเจริญ จรรโกมล รองประธานสภาฯ ที่ขณะนั้นเป็นประธานกรรมาธิการได้ใช้วิธีถอนร่างออกมาก่อน เพื่อนำมาปรับแก้แล้วเสนอเข้าไปใหม่ง่ายกว่า หากมีปัญหาแล้วร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวตกไปก็จะอยากในการเสนอกลับเข้ามาอีกครั้ง ซึ่งทางศาลก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและได้มีการปรับแก้ไปบ้างแล้วตามที่กรรมาธิการชุดนั้นได้มีการตั้งข้อสังเกต แล้วก็ได้เสนอกลับไปใหม่ซึ่งเดือนมี.ค.นี้ถือว่าครบปีพอดี ก็ยังไม่ทราบว่าไปถึงไหน ขณะที่ร่างพ.ร.บ.ว่า ด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ... ที่ส.ส.ร่างขึ้นมานั้นได้ถูกบรรจุเป็นระเบียนวาระไปแล้ว และเท่าที่ทราบยังไม่มีฉบับของศาลรัฐธรรมนูญที่เสนอไปเข้านำไปบรรจุวาระร่วมพิจารณาด้วย
นายวสันต์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามถึงแม้ยังไม่มีฉบับของศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปร่วมด้วยก็ไม่เป็นไรเพราะสุดท้าย ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องเป็นผู้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ก่อนที่ประกาศใช้ต้องส่งมาให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตรวจสอบความถูกต้อง และความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อน ซึ่งเป็นบทบังคับของรัฐธรรมนูญ ต้องมาดูว่ามีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้วไม่ใช่ส่วนสำคัญก็ตกเฉพาะมาตราที่ขัดเท่านั้น แต่ถ้าเป็นในส่วนสาระสำคัญก็ตกทั้งฉบับ
“แต่ทั้งนี้เราก็ยังอยากให้พิจารณาในฉบับของที่ศาลเสนอไป หากยังมีอะไรที่ไม่พอใจหรือต้องปรับแก้ก็สามารถที่จะไปประนีประนอมกันในชั้นกรรมาธิการได้อีก และหากกลัวในเรื่องของการละเมิดอำนาจศาลที่ศาลได้เพิ่มเติมไปนั้น ก็ไม่น่าจะมีปัญหาก็สามารถคุยได้ว่าจะเอาแบบเดิมก็ได้ที่ไปฟ้องศาลอาญา ศาลก็ไม่ได้ขัดข้อง แต่ ณ เวลานี้เราก็ข้องใจว่าทำไมถึงไม่นำร่างพ.ร.บ.ฉบับของเราขึ้นมาพิจารณาเสียที อย่างไรก็ตามเราก็ยังคงใช้พ.ร.บ.เดิมไปก่อนได้จนกว่าจะมีใหม่ ” นายวสันต์ กล่าว